KM ไทย : ไม่เหมือนใคร


         ผมเกิดความคิดนี้หลังการพูดคุยกับคุณ Waltraut Ritter เมื่อวันที่ 24 มี.ค.49   เพราะเมื่อเราเล่าเรื่องบล็อก Gotoknow และเอาขึ้น LCD ให้ดูภาพความเคลื่อนไหว ลปรร.    การเป็นชุมชนในบล็อก   การใช้บล็อกในการจัดการความสำเร็จ/คุณภาพ/การมีส่วนร่วมภายในหน่วยงาน   เขาทึ่งมาก   เขาไม่คิดว่า KM ประเทศไทยจะก้าวหน้าด้านการใช้ IT ถึงขนาดนี้

         คุณธวัชจะเอารูปคุณ Waltraut ที่ถ่ายตอนมาคุยที่ สคส.   แต่รูปที่ผมเอามาลงนี้ได้จากอินเทอร์เน็ต   คุณ Waltraut เป็นคนเยอรมันที่มาอยู่ที่ฮ่องกง   เป็น Director, Knowledge Enterprises  ซึ่งเป็นบริษัทรับงานวิจัยที่ปรึกษาในฮ่องกง   เวลานี้เธอมาเมืองไทยบ่อย ๆ มารับงานที่ปรึกษาที่อุทยานวิทยาศาสตร์และที่ AIT   โดยมีงานร่วมมือกับ ศช. (BIOTEC) ในการศึกษาเปรียบเทียบนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากอุทยานวิทยาศาสตร์ของสิงคโปร์  จีน  ฮ่องกง  และไทย   โดยมีเป้าหมายขอทุนวิจัยจาก EU

 

คุณ Waltraut Ritter 

         คุณ Waltraut ทำงาน KM มาถึง 17 ปีแล้ว   ประสบการณ์มากกว่าเราเยอะ   และยังเป็นอาจารย์สอน KM ที่ HK Polytechnic University ด้วย   ก่อนหน้านั้นเธอเป็น ผศ. ด้าน KM ที่มหาวิทยาลัยนานยางที่สิงคโปร์   และเวลานี้เป็น founding president ของ HK Knowledge Management Society (www.hkkms.org)

         กลับมาเรื่อง KM ไทยไม่เหมือนใคร   ก็คือ KM ของเรามีการจัดการเชิงระบบในระดับประเทศ   มีการขับเคลื่อนเครือข่ายโดยมองเป้าหมายที่ประโยชน์ระดับประเทศเป็นสำคัญ   ไม่ใช่แค่มองระดับองค์กรแยก ๆ กันเท่านั้น

         คุณ Geoff Parcell ผู้เขียนหนังสือ Learning to Fly จึงชื่นชมมากที่ สคส. ระบุว่า purpose ของ สคส. คือขับเคลื่อนสังคมไทยสู่สังคมที่มีความรู้เป็นฐาน   เป็นสังคมเรียนรู้

วิจารณ์  พานิช
 25 มี.ค.49

หมายเลขบันทึก: 21276เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2006 10:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท