หลักการพัฒนาจริยศึกษาของสถานศึกษา


ธรรมศึกษา

 

ในการพัฒนาจริยศึกษาในสถานศึกษา มีหลักการที่ควรคำนึงอยู่ 4 ประการ คือ

1. การพัฒนาการศึกษาจะให้ได้ผลต้องพัฒนาทั้งระบบ คือ ทั้งระบบการศึกษาทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียนการสอนวิชาศีลธรรมในหลักสูตรในห้องเรียนอย่างเดียวไม่เป็นการเพียงพอจะต้องมีการดูแลแนะนำเอาใจใส่นักเรียนภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียนด้วย องค์ประกอบที่สำคัญทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา ที่จะต้องพัฒนาควบคู่กันไปกับการอบรมสั่งสอนศีลธรรมและจริยธรรมแก่นักเรียนนั้น มีดังนี้

1.1 บุคลากรในสถานศึกษา ได้แก่ หัวหน้าสถานศึกษา ผู้บริหารทุกระดับ ครูอาจารย์ทุกคน คนงานภารโรง เจ้าหน้าที่พนักงานทุกแผนกการ นักเรียน นักศึกษา ตลอดทั้ง บุคคลผู้เข้ามาประกอบกิจการอื่นภายในสถานศึกษา เช่น คนขายอาหารในสถานศึกษา เป็นต้นบุคคลเหล่านี้จะต้องร่วมมือในการพัฒนาจริยศึกษาของสถานศึกษาด้วย

1.2 การบริหารงานของสถานศึกษา ในทุกเรื่องจะต้องดำเนินการไปตามวิธีการ เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาจริยศึกษาของสถานศึกษา

1.3 สภาพแวดล้อมในสถานศึกษา ได้แก่ บริเวณอาคารสถานที่ สภาพทั้งภายในภายนอกอาคาร จะต้องได้รับการเอาใจใส่ ดูแลรักษา ปรับปรุงให้สะอาด เรียบร้อย ไม่มีสภาพเสื่อมโทรม

1.4 การมนุษย์สัมพันธ์และการประชาสัมพันธ์ ทั้งภายในสถานศึกษาและกับภายนอกสถานศึกษาจะต้องเป็นไปด้วยดี มีอะไร ทำอะไร จัดอะไร ทุกคนทุกฝ่ายจะต้องทราบและเข้าใจเห็นพร้อมต้องกันโดยตลอด เป็นการสร้างบรรยากาศแห่งความเป็นมิตร ความอบอุ่นใจทำให้สุขภาพจิตของทุกคนที่เกี่ยวข้องสมบูรณ์และสุขสบาย

1.5 การบริการและสวัสดิการในสถานศึกษา ต้องเพียงพอและพอดีกับปริมาณและความจำเป็นของคนในสถานศึกษา เช่น ห้องน้ำ ห้องส้วม น้ำดื่มสาธารณะ ที่รับประทานอาหาร ห้องพยาบาล ตลอดจนบริการเกี่ยวกับการศึกษา เช่น แผนกทะเบียน ห้องสมุด ที่เล่นกีฬา ที่พักผ่อน

1.6 กิจกรรมของนักเรียน มีส่วนสำคัญในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของนักเรียนเป็นอันมาก กิจกรรมที่จัดให้นักเรียนหรือนักเรียนจัดขึ้นควรมุ่งเพื่อประโยชน์ของการศึกษาสอดแทรกวิธีการของจริยศึกษาและขจัดสิ่งที่จะนำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่ดีไม่งามให้หมดไปด้วย

1.7 การสอนจริยศึกษาในแขนงวิชาของจริยศึกษาโดยตรง ครูอาจารย์ผู้สอนควรปรับปรุงตนเองให้มีคุณสมบัติส่วนตัวเหมาะสมมีความรู้ความสามารถในเนื้อหาวิชาที่สอน มีกลวิธีสอนที่ทำให้นักเรียนสนใจจัดทำจัดหาและใช้อุปกรณ์การสอนที่เหมาะสม จัดกิจกรรมร่วมหลักสูตรในวิชาที่สอน

1.8 การสอดแทรกจริยศึกษาในการสอนวิชาอื่น ในการสอนทุกวิชาทุกหลักสูตร ทุกชั้นสามารถสอดแทรกจริยศึกษาได้ทั้งสิ้น การสอดแทรกจริยศึกษาในการสอนวิชาอื่น ๆ อาจทำได้หลายวิธีในเวลาเดียวกัน เช่น กริยาวาจาของครู อาจารย์ผู้สอน การจัดระบบระเบียบเนื้อหาวิชาที่สอน การสรุปความรู้ทักษะและประสบการณ์ของแต่ละบทเรียน ฯลฯ สำคัญอยู่ที่ครู อาจารย์ทุกท่านทุกวิชาจะต้องระลึกอยู่ในใจตลอดเวลาสอนว่า จะต้องให้นักเรียนนักศึกษาได้รับหรือได้ฝึกหัดอบรมในด้านคุณธรรมและจริยธรรมไปพร้อมกับความรู้ทักษะและประสบการณ์จากบทเรียนนั้น

1.9 สิ่งแวดล้อมภายนอกโรงเรียน รวมถึงผู้บังคับบัญชาและผู้บริหารระดับเหนือของสถานศึกษาผู้ปกครองหรือผู้บริหารบ้านเมืองประชาชนในสังคม สถาบันสังคมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดหรือติดต่อกับสถาบันศึกษา เช่น วัด พระสงฆ์ สื่อมวลชนตลอดจนบ้านและญาติของนักเรียนนักศึกษาในสถานศึกษานั้นต่างเป็นปัจจัยที่จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาจริยศึกษาแและในขณะเดียวกันก็อาจเป็นอุปสรรคในการพัฒนาจริยศึกษาของสถาบันศึกษานั้นได้

2. การพัฒนาจริยศึกษาต้องถือหลักการป้องกันดีกว่าการแก้ไข จริยศึกษามิได้หมายถึงแต่เพียงการสอนศีลธรรมจรรยาอย่างเดียว แต่หมายถึง การพัฒนาความรู้ความเข้าใจเรื่องคุณธรรมจริยธรรม การพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีงาม การสร้างเจตคติและพฤติกรรมที่มีคุณค่าของบุคคลด้วย ดังนั้น จึงควรใช้วิธีการดังต่อไปนี้ ป้องกันพฤติกรรมที่ไม่สมควรของนักเรียน และเป็นการฝึกหัดอบรมคุณธรรมและจริยธรรมไปในตัวด้วย คือ

2.1 การให้คำแนะนำอย่างสม่ำเสมอ ทั้งเป็นส่วนบุคคลและเป็นกลุ่มครูอาจารย์ต้องเป็นผู้แนะนำแนวทางชีวิตที่ดีงาม ให้แก่นักเรียนนักศึกษาประพฤติปฏิบัติตนเป็นอย่างดี เป็นเหมือนเครื่องนำทาง และสร้างความสัมพันธ์กับนักเรียนนักศึกษา ชนิดที่ทำให้นักเรียนนักศึกษาอยากจะมาขอคำปรึกษาหรือขอคำแนะนำในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับบุคคลทุกโอกาส

2.2 การดูแลเอาใจใส่ใกล้ชิดของครูอาจารย์ ต้องรู้จักนักเรียนนักศึกษาของตนเอาใจใส่ใกล้ชิดเหมือนญาติผู้ใหญ่ที่คอยเอาใจใส่ลูกหลานของตน สร้างความสัมพันธ์ทางใจระหว่างครูอาจารย์กับศิษย์ให้เอื้ออาทรถึงกัน มีอะไรที่ไม่ดีไม่งามก็จะได้จัดการป้องกันแก้ไขเสีย ก่อนที่จะเกิดความเคยชินในสิ่งที่ไม่ดีไม่งามนั้นในตัวนักเรียนนักศึกษา

2.3 การดูและจัดสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา ให้มีบรรยากาศที่ชักนำไปในทางที่ดีงาม ขจัดสิ่งที่จะชักนำไปในทางที่จะเสียหายให้หมดไป เช่น บุคคลที่ไม่เหมาะสม นักเรียนนักศึกษาที่ประพฤติตัวไม่ดี บริเวณอาคารสถานที่ ที่สกปรกรกรุงรัง แหล่งอบายมุขต่าง ๆ

2.4 การอบรมให้นักเรียน มีวิจารณญาณสามารถตัดสินใจเลือกวิถีทางปฏิบัติต่าง ๆ อันถูกต้องด้วยตนเองตามวัยชั้นและระดับการศึกษาในสถานศึกษานั้น ควรมีการยกย่องผู้ที่ทำคุณงามความดีให้ปรากฏตักเตือนว่ากล่าวแก่ผู้ที่กระทำตัวไม่เหมาะสมและแนะนำให้ปรับตัวให้ดีขึ้น ทั้งการยกย่องชมเชยและตักเตือนต้องกระทำโดยไม่มีอคติ

2.5 การปลูกฝั่งอบรมนักเรียนแต่ละคนให้มีอุดมคติของชีวิต โดยการเล่าเรื่องหรือให้อ่านเรื่องราวชีวประวัติของผู้ที่ทำคุณประโยชน์แก่สังคมและบ้านเมืองในด้านต่าง ๆให้นักเรียนนักศึกษาได้เลือกเป็นตัวอย่างตามแรงบันดาลใจของตัวเอง

2.6 การตั้งครูอาจารย์คอยดูแลตรวจตราสังเกตและแนะนำความประพฤติของนักเรียน ทำนองครูผู้ปกครองหรือคณะกรรมการความประพฤตินักเรียนควรทำในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปและในสถานศึกษานั้นไม่มีระบบครูประจำชั้นหรือมีแต่ไม่ทำหน้าที่แบบนั้น ครูอาจารย์ หรือคณะกรรมการดังกล่าวควรทำงานจริงจัง แม้พบเห็นความไม่เรียบร้อยซึ่งเป็นกรณีเล็กน้อย ก็ต้องแนะนำว่ากล่าวตักเตือนหรือกรณีร้ายแรงก็ต้องแนะนำตักเตือนว่ากล่าว ดำเนินการเสนอผู้บริหารสถานศึกษา แก้ไขอย่ามีอคติและครูอาจารย์หรือคณะกรรมการนี้ ควรได้พบปะกับฝ่ายปกครองหรือฝ่ายบริหารสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอตลอดปีการศึกษา เพื่อรายงานเหตุการณ์การเป็นไปทางด้านจริยธรรมของนักเรียนนักศึกษาและปรึกษาหารือ แก้ไขหรือวางโครงการพัฒนาจริยศึกษาให้เหมาะสมตามลำดับไป

2.7 ความร่วมมือกับผู้ปกครองนักเรียน เป็นเรื่องที่สำคัญ การที่ครูอาจารย์หรือทางสถานศึกษาได้ติดต่อกับผู้ปกครองอย่างใกล้ชิด ให้บิดามารดาผู้ปกครองได้ทราบความดีหรือความบกพร่องของเด็กของตนทุกระยะ เป็นการป้องกันความเข้าใจผิด ไปส่งเสริมเด็กในทางที่ผิด และความร่วมมือในการอบรมสั่งสอนนักเรียน นักศึกษา ให้มีคุณธรรมและจริยธรรมที่พึ่งประสงค์ได้เป็นอย่างดี

2.8 ความร่วมมือระหว่างครูอาจารย์ต่างสถาบันกัน เป็นเรื่องสำคัญมากโดยเฉพาะสถานศึกษาระดับสูง ซึ่งอยู่ในท้องถิ่นเดียวกัน เช่น โรงเรียนมัธยมของรัฐบาลกับโรงเรียนของราษฎร์ในท้องที่เดียวกัน มักจะมีเหตุการณ์นักเรียน นักศึกษาทะเลาะวิวาทกัน ถ้าครูอาจารย์ของคู่กรณี รู้จักสนิทสนมให้ความร่วมมือกันในการปกครองดูแลนักเรียนนักศึกษาในด้านต่าง ๆ เหตุการณ์นี้ไม่สมควรดังกล่าวก็จะไม่เกิดขึ้น หรือแม้จะเกิดขึ้นก็ระงับป้องกันการรุกรามเป็นเรื่องใหญ่โตได้ง่าย

2.9 การศึกษาวิจัยปัญหาจริยศึกษาของนักเรียน โดยใช้หลักทางวิชาการวิเคราะห์หาสาเหตุและหาทางแก้ไข เป็นแนวทางการแก้ไขในระยะยาว และอาจจะเป็นการป้องกันและแก้ไขที่ถูกจุดได้ทางหนึ่งด้วย

3. การพัฒนาจริยศึกษาควรถือหลักส่งเสริมคุณลักษณะที่ดีงาม และห้ามปรามแก้ไขลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ คุณลักษณะของคนไทยที่สมควรปลูกฝั่งให้ถึงพร้อมในสถานการณ์ปัจจุบัน 10 ประการซึ่งเป็นคุณธรรมที่สรุปมาจากความมุ่งหมายของการศึกษาในแผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2520 เป็นคุณธรรมที่ควรส่งเสริมและพึงห้ามปราม แก้ไขลักษณะที่ตรงข้ามกับคุณลักษณะ 10 ประการ นี้ ดังนี้

3.1 ความมีระเบียบ ลักษณะที่ควรแก้ไขมีการไม่ตรงต่อเวลา การถือว่างานเป็นของเล่น ความมักง่ายไม่เรียบร้อย คตินิยมที่ว่า อะไรก็ ไม่เป็นไร การขอผ่อนผันอลุ่มอล่วย การไม่ยึดมั่นในกติกา การชอบมีอภิสิทธิ์

3.2 ความซื่อสัตย์สุจริต ลักษณะที่ควรแก้ไขได้แก่ การชอบเอาเปรียบคดโกง การชอบใช้อิทธิพลและอภิสิทธิ์ในกรณีต่าง ๆ การปลอมแปลงต่าง ๆ การหลอกลวงในรูปต่าง ๆ การพูดปด

3.3 ความขยัน ความประหยัด การยึดมั่นในสัมมาชีพ ลักษณะที่ควรแก้ไขได้แก่ ความเฉื่อยชา การผลัดวันประกันพรุ่ง ความฟุ่มเฟือย การฟุ้งเฟ้อ การอยากมีอยากได้ในสิ่งต่าง ๆ โดยขาดการประมาณตน การหมกมุ่นในอบายมุขต่าง ๆ การประกอบอาชีพที่ไม่สุจริต ความเกียจคร้าน การไม่มีคุณธรรมในการประกอบอาชีพ

3.4 ความสำนึกในหน้าที่ ความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ ลักษณะที่ควรแก้ไขปรับปรุง ได้แก่ การไม่รู้จักฐานะหน้าที่และความรับผิดชอบของตน เช่น หน้าที่บุตร หน้าที่ของนักเรียน หน้าที่พลเมืองดีการเห็นประโยชน์ตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ไม่ช่วยป้องกันรักษาสาธารณสมบัติ การวางเฉยไม่กระตือรือร้นในการรักษาความยุติธรรมในสังคม ฯลฯ

3.5 การส่งเสริมความคิดริเริ่ม การรู้จักสร้างสรรค์ และการมีเหตุผล ลักษณะที่ควรแก้ไข ได้แก่ การเชื่อโชคลาง การหลงไหลไปตามการโฆษณา การตื่นข่าวลือ การเอาแบบอย่างจากต่างชาติในทางที่ไม่ดีงาม การทำอะไรอย่างไม่มีจุดหมาย สักแต่ว่าทำอย่างที่เคยทำกันมา การไม่รู้จักคิดเหตุผลในการกระทำหรือการแสดงออกต่าง ๆ ฯลฯ

3.6 ความกระตือรือร้นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ความรักและเทิดทูนชาติศาสนาพระกษัตริย์ ลักษณะที่ควรแก้ไขได้แก่ ความเกรงกลัวผู้มีอิทธิพลที่เลว ความไม่เอาธุระกับการกระทำที่ไม่ดีไม่งามในสังคมการลุ่มหลงในอามิสสินจ้างให้กระทำในสิ่งที่ไม่สมควรหรือให้งดเว้นการกระทำในสิ่งที่ควรความเชื่องมงายในพิธีกรรมหรือแบบอย่างที่กะพี้ของศาสนา การไม่แสดงความคิดเห็นในทางสร้างสรรค์ การไม่สนใจในเรื่องการปกครองของประเทศ ฯลฯ

3.7 การมีพลานามัยที่สมบูรณ์ ทั้งทางกายและทางใจ ลักษณะที่ควรแก้ไข คือ การไม่รู้จักรักษาความสะอาด ความมักง่ายการตามใจปากท้องของตน ความนิยมที่ผิด ๆ การไม่รู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ การหลงงมงายในอบายมุขความนิยมหาความสำราญในแหล่งเริงรมย์ต่าง ๆ การเปลี่ยนความมุ่งหมายของการกีฬาไปในด้านการพนันความโลภในลาภอันไม่ควรมีควรได้ การไม่รู้จักประมาณตน ฯลฯ

3.8 พึ่งตนเองและมีอุดมคติ ลักษณะที่ควรแก้ไขได้แก่ การชอบขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น ความไม่มีความมั่นใจในความสามารถของตนเอง การเสี่ยงโชค การเห็นประโยชน์เฉพาะหน้า ความฟุ้มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย การปล่อยตัวตามยถากรรม ความลุ่มหลงในค่านิยมที่ผ

คำสำคัญ (Tags): #ป.บัณฑิต รุ่น 3
หมายเลขบันทึก: 212225เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2008 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท