ความมุ่งหมายและแนวนโยบายการศึกษาของรัฐ


หลักสูตรจริยศึกษา

ความมุ่งหมายและแนวนโยบายการศึกษาของรัฐ

      การศึกษาตามนัยแห่งแผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2520 เป็นกระบวนการต่อเนื่องกันตลอดชีวิต เพื่อมุ่งสร้างเสริมคุณภาพของพลเมืองให้สามารถดำรงชีวิตและทำประโยชน์แก่สังคมโดยเน้นการศึกษาเพื่อสร้างเสริมความอยู่รอดปลอดภัย ความมั่นคงและความผาสุกร่วมกันในสังคมไทยเป็นประการสำคัญ จึงได้กำหนดความมุ่งหมายของการศึกษาไว้รวมกัน 9 ข้อ

       ความมุ่งหมายของการศึกษาทั้ง 9 ข้อ เน้นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่ดีงามของบุคคล เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของพลเมือง ซึ่งอาจสรุปเป็นคุณลักษณะของคนไทยที่มีความจำเป็นต้องปลูกฝั่งให้ถึงพร้อมในสถานการณ์ปัจจุบัน 10 ประการดังนี้

1. ความมีระเบียบวินัย หมายถึง ความประพฤติ ทั้งทางกาย วาจา และใจ ที่แสดงถึงความเคารพในกฎหมาย ระเบียบประเพณีของสังคม และความประพฤติที่สอดคล้องกับอุดมคติหรือความหวังของตนเอง โดยให้ยึดส่วนรวมสำคัญกว่าส่วนตัวและรู้จักวางระเบียบวินัยของตนเองให้เป็นประโยชน์เกื้อกูลประโยชน์สุขส่วนรวม

2. ความซื่อสัตย์สุจริต และยุติธรรม หมายถึง ความประพฤติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนไม่เอาเปรียบ กลั่นแกล้ง หรือคดโกงผู้อื่นหรือส่วนรวม ให้ยึดถือหลักเหตุผล ระเบียบแบบแผนและกฎหมายของสังคมเป็นเกณฑ์ในการประพฤติ ทั้งทางกาย วาจา ใจ

3. ความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาชีพ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่ทำให้เสียเวลาของชีวิตและปฏิบัติกิจอันควรกระทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคม

4. ความสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่รัดเอาเปรียบสังคมในขณะเดียวกันไม่ปล่อยปละละเลยต่อหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองจนก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายต่อสังคม

5. ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินใจอย่างมีเหตุผล หมายถึง ความประพฤติในลักษณะสร้างสรรค์ปรับปรุง และเพิ่มพูนประโยชน์ให้แก่สังคมอย่างมีเหตุผล มีหลักการ และวิธีการ

6. ความกระตือรือร้นในการปกครองประชาธิปไตย มีความรัก และเทิดทูนชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หมายถึงความประพฤติที่สนับสนุนและความร่วมมือการอยู่ร่วมกันโดยยึดมติมหาชนที่ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นหัวใจของวัฒนธรรมไทยเป็นหลัก

7. ความเป็นผู้มีพลานามัยสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ หมายถึง ความมั่นคงทางร่างกายและจิตใจรู้จักบำรุงร่างกายและจิตใจให้สมบูรณ์ มีอารมณ์แจ่มใส มีธรรมะในจิตใจอย่างมั่นคง

8. ความสามารถในการพึ่งตนเอง และมีอุดมคติ หมายถึง ความประพฤติที่แสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ช่วยเหลือตนเองอยู่เสมอ มีอุดมคติเป็นที่พึ่ง ไม่ไหว้วานหรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น เป็นผู้ที่ไม่พยายามเบียดเบียนเวลา กำลังกาย และกำลังทรัพย์ของผู้อื่น

9. ความภาคภูมิและรู้จักทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และทรัพยากรของชาติ หมายถึงความประพฤติที่ก่อให้เห็นความนิยมไทย ส่งเสริมสินค้า และแสดงออกซึ่งศิลปะ และวัฒนธรรมแบบไทย ๆ มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรม และทรัพยากรของชาติ

10. ความเสียสละ เมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และสามัคคี หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกซึ่งการให้ปัน เกื้อกูลผู้อื่น ในเรื่องของเวลากำลังกายและกำลังทรัพย์และพร้อมที่จะให้ปันและเกื้อกูลผู้อื่นเมื่อเห็นว่าการกระทำนั้นเป็นประโยชน์อันยิ่งใหญ่และมีความจำเป็นต่อความอยู่รอดของส่วนรวมคุณลักษณะ 10 ประการนี้ เป็นทั้งแนวทางและเป้าหมายในการจัดการศึกษาและอบรม สั่งสอนนักเรียนนักศึกษาของสถานศึกษาทุกระดับแนวนโยบายการศึกษาของรัฐในการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนตามแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับนี้ได้ระบุไว้ในข้อ 13 ว่า รัฐพึงจัดให้สาระและกระบวนการการเรียนรู้ครบถ้วนและกลมกลืนกันระหว่างความเจริญงอกงามทางคุณธรรมจริยธรรมและปัญญากับความเจริญทางวัตถุและระหว่างความเจริญงอกงามทางร่างกายและจิตใจ ทั้งนี้เพื่อการดำรงชีวิตที่สมบูรณ์ตามสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาซึ่งเป็นการเน้นว่าในการศึกษาทุกประเภททุกระดับการศึกษาจะต้องจัดให้มีการเรียนการสอนตลอดจนการศึกษาอบรมให้นักเรียนนักศึกษามีความเจริญงอกงามทางคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กันไปกับความเจริญงอกงามทางปัญญาและความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพ

 

การจัดจริยศึกษากับหลักสูตรระดับมัธยมศึกษา

การศึกษาระดับมัธยมศึกษา เป็นการศึกษาหลังประถมศึกษา มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ทั้งวิชาการและวิชาชีพที่เหมาะสมกับวัย ความต้องการ ความสนใจ และความถนัดเพื่อให้แต่ละบุคคลเข้าใจ และรู้จักเลือกอาชีพที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคม การศึกษาระดับนี้แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้เวลาเรียนตอนละประมาณ 3 ปี ในมัธยมศึกษาตอนต้น พึงให้ผู้เรียนได้เลือกกลุ่มวิชาการและวิชาชีพตามความถนัดและความสนใจอย่างกว้างขวาง ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 ในมัธยมศึกษาศึกษาตอนปลาย พึงให้ผู้เรียนได้เน้นการเรียนกลุ่มวิชาที่ผู้เรียนจะยึดเป็นอาชีพต่อไป ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2524

 

หลักสูตรจริยศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

จุดมหายของหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 ในส่วนที่เกี่ยวกับ จริยศึกษา  มีดังนี้

ข้อ 3 เพื่อให้มีทรรศนะที่ดีต่อสัมมาชีพทุกชนิด มีระเบียบวินัยในการทำงาน ทั้งในส่วนตนและหมู่คณะ มานะ พากเพียร อดทน ประหยัดและใช้เวลาให้เป็นประโยชน์

ข้อ4เพื่อให้มีความซื่อสัตย์มีวินัยในตนเองเคารพต่อกฎหมายและกติกาของสังคมรับผิดชอบต่อตนเองครอบครัวและสังคมตลอดจนเสริมสร้างความเสมอภาคและความเป็นธรรมในสังคม

ข้อ 5 เพื่อให้รู้จักสิทธิและหน้าที่ รู้จักทำงานเป็นหมู่คณะ มีความสามัคคี และเสียสละเพื่อส่วนรวม รู้จักแก้ปัญหาด้วยสันติวิธีอย่างมีหลักการและเหตุผล

ข้อ 6 เพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ และให้รู้จักส่งเสริมการสาธารณสุขของชุมชน

ข้อ 7 เพื่อปลูกฝังให้มีความภูมิใจในความเป็นคนไทย มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ให้มีความรู้และเลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ร่วมกันธำรงรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงของประเทศชาติ

ข้อ 8 เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีของมนุษย์ชาติในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

    โครงสร้างหลักสูตร มัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี (ม. 1-3) แบ่งเป็นกลุ่มวิชารวม 5 กลุ่ม คือ

ภาษาไทย วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา พัฒนาบุคลิกภาพ และการงานและอาชีพ ในแต่ละกลุ่มวิชา แบ่งเป็นวิชาบังคับและวิชาเลือก

หลักเกณฑ์การใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 ได้กำหนดให้โรงเรียนต้องจัดกิจกรรมในเวลาเรียน 1 คาบ/สัปดาห์ กิจกรรมดังกล่าวจะต้องจัดขึ้นเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพและอุปนิสัยของนักเรียน และได้กำหนดให้มีการอบรมนักเรียนให้ยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา

พระมหากษัตริย์ ตลอดจนระเบียบวินัยของนักเรียนประจำทุกวัน และโรงเรียนต้องจัดให้มีการประชุม

อบรม สวดมนต์ไหว้พระตามโอกาสอันสมควรและเหมาะสมแก่ท้องถิ่น อย่างน้อยสัปดาห์ละครึ่งชั่วโมง

    ในหลักสูตรนี้ไม่มีรายวิชาที่สอนจริยศึกษาโดยเฉพาะ แต่ได้สอดแทรกจริยศึกษาไว้ในทุกวิชาที่สอน โดยเฉพาะในกลุ่มวิชาสังคมศึกษาและกิจกรรม มีเรื่องเกี่ยวกับจริยศึกษาอยู่ส่วนมากคือ

กลุ่มวิชาสังคมศึกษา หลักสูตรได้กำหนดจุดประสงค์ไว้ดังนี้

ข้อ 1 เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี ตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

ข้อ 2 เพื่อให้มีความรักชาติ มีความสามัคคีในชาติ มีความเสียสละเพื่อส่วนรวม มีความซาบซึ้งในผลงานอันดีเด่นของคนไทย รู้จักธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกราช และรู้จักรักษาแบบอย่างวัฒนธรรมประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ที่ดีงามของชาติ

ข้อ 3 เพื่อเสริมสร้างให้มีคุณภาพในการดำรงชีวิต มีคุณธรรมประจำใจ และมีคุณสมบัติต่าง ๆ อันพึงประสงค์ของสังคมไทย

ข้อ 4 เพื่อเสริมสร้างให้มีความรู้และความเข้าใจพื้นฐานในการพัฒนาสร้างสรรค์ และแก้ปัญหาในด้านสังคม เศรษฐกิจและเทคโนโลยี โดยอาศัยคุณธรรมและวิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นปัจจัยสำคัญ

ข้อ 5 เพื่อเสริมสร้างบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบและความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว ในชุมชน ในประเทศและในประชาคมของโลก

ข้อ 6 ……………………………. ฯลฯ ……………………….

    ตามโครงสร้างของหลักสูตรกลุ่มวิชาสังคมศึกษา

วิชาบังคับ ส. 101, ส. 102 (ประเทศของเรา) ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วิชาละ 5 คาบ/สัปดาห์/ภาค 2.5 หน่วยการเรียน มีวัตถุประสงค์ในส่วนที่เกี่ยวกับจริยศึกษาว่า …..

ข้อ 6 ให้มีความรู้ความเข้าใจในลักษณะของสังคมไทย ตลอดจนเห็นคุณค่าของสถาบันหลักและวัฒนธรรมอันเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของคนไทย และ

ข้อ 10 ให้สามารถเลือกสรรค์คุณธรรม และข้อปฏิบัติที่พึงนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคม ….”ซึ่งในการเรียนการสอนผู้เรียนจะได้ ศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, ธรรมะและพิธีกรรมตลอดจนแนวทางการดำรงชีวิตของประชาชนตามคติพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ ในประเทศไทย

        วิชาบังคับ ส.305, ส.306 (โลกของเรา) ในชั้นมัธยมปีที่ 3 วิชาละ 5 คาบ/สัปดาห์/ภาค  2.5 หน่วยการเรียน มีวัตถุประสงค์ในส่วนที่เกี่ยวกับจริยศึกษาคือ …. “ .. ให้มีความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีในคุณค่าทางสังคม จริยธรรม วัฒนธรรม และการปฏิบัติตนเพื่ออยู่ร่วมกันในสังคมได้ด้วยดี…”

        ในวิชาเลือก ส. 311 (สังคมและวัฒนธรรมไทย) ส.321 (ชีวิตและงานของบุคคลตัวอย่าง) สามารถสอดแทรกเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมในเนื้อหาการสอนได้เป็นอย่างมาก

        ในหลักสูตรกลุ่มพัฒนาบุคลิกภาพ ซึ่งมีวิชาพลานามัยและศิลปศึกษา มีจุดประสงค์เชิงจริยศึกษาในวิชาพลานามัย ตอนหนึ่งว่า…. “….

ข้อ 7. เพื่อให้มีคุณธรรมและพฤติกรรมที่สังคมยอมรับโดยเน้นถึงความสำคัญของประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ความสามัคคี ความเป็นผู้มีน้ำใจ เป็นนักกีฬา ความมีระเบียบวินัย ความสามารถแก้ปัญหาและความริเริ่มสร้างสรรค์..”  ดังนั้น ในการสอนสุขศึกษา และพลศึกษาต่าง ๆ จึงมีการฝึกหัดอบรมให้ผู้เรียนมีคุณธรรมและจริยธรรมดีงามตามจุดประสงค์ดังกล่าวได้

ในหลักสูตรวิชากิจกรรมที่บังคับให้มีการเรียนสัปดาห์ละ 1 คาบ ตลอด 3 ปี มีรายวิชา ลูกเสือ เนตรนารี กิจกรรมศาสนา ฯลฯ ซึ่งมีจุดประสงค์ให้นักเรียนได้รับจริยศึกษาโดยการฝึกหัดอบรมและปฏิบัติจริง ได้บังคับผลตามความมุ่งหมายการศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2520 ได้ทั้งสิ้น

 

หลักสูตรจริยศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

จุดหมายของหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 ในส่วนที่เกี่ยวกับจริยศึกษามีดังนี้

ข้อ 1 เพื่อให้รู้จักดำรงชีวิตอยู่บนพื้นฐานแห่งคุณธรรม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น มีความซื่อสัตย์ สุจริตและยุติธรรม มีระเบียบวินัย มีน้ำใจเป็นนักกีฬา มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว ท้องถิ่น และประเทศชาติ

ข้อ 2 เพื่อให้รู้จักการเรียน คิดเป็น ทำเป็น รู้จักแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีนิสัยใฝ่ความรู้และทักษะอยู่เสมอ รักการทำงานเป็นหมู่คณะ มีความขยันหมั่นเพียร อดทนและรู้จักประหยัด

ข้อ 3 ………………………… ฯลฯ……………………………………….

ข้อ 4 เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจและเห็นคุณค่าในวิทยากร ศิลปะ วัฒนธรรมธรรมชาติ รู้จักใช้และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

ข้อ 5 เพื่อให้รู้จักเคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น รู้จักหน้าที่ของตนเองและผู้อื่น รู้จักใช้สิทธิเสรีภาพของตนในทางสร้างสรรค์บนรากฐานแห่งกฎหมาย จริยธรรม และศาสนา

ข้อ 6 เพื่อให้มีความสำนึกในการเป็นคนไทยร่วมกัน เสียสละเพื่อส่วนรวม มีความรักชาติ รักประชาธิปไตยรู้จักใช้สติและปัญญาในการดำรงรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

ข้อ 7 ………………………………… ฯลฯ …………………………………

    หลักการของหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่เกี่ยวกับจริยศึกษามี 3 ข้อ คือ เริ่มจาก

ข้อ 3 เป็นหลักสูตรที่มุ่งให้ผู้เรียนใฝ่ใจแสวงหาความรู้ความจริง เพื่อให้เกิดความงอกงามทางสติปัญญา ความสำนึกและความซาบซึ้งในคุณค่าของธรรมชาติ ศิลปะวัฒนธรรม และงานสร้างสรรค์ของมนุษย์

ข้อ 4 เป็นหลักสูตรที่มุ่งปลูกฝังคุณธรรมและความกล้าทางจริยธรรม ทั้งนี้ให้เน้นการประพฤติปฏิบัติเป็นสำคัญ

ข้อ 5 เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการผสมผสานความรู้กับการปฏิบัติให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจสังคม และการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

    โครงสร้างของหลักสูตร มีวิชาบังคับและวิชาเลือก

    วิชาบังคับ มี 2 ส่วน คือ วิชาสามัญ 24 หน่วยการเรียน ได้แก่ ภาษาไทย สังคมศึกษา พลานามัย วิทยาศาสตร์ วิชาละ 5 หน่วยการเรียน และวิชาพื้นฐานวิชาอาชีพ จำนวน 12 หน่วยการเรียน

    วิชาเลือก มีวิชาทั้งในกลุ่มวิชาสามัญและวิชาอาชีพ

    หลักเกณฑ์การใช้หลักสูตร ใช้เวลาเรียนประมาณ 3 ปี (ม. 4, 5, 6) หรือ 6 ภาคเรียน ปีการศึกษาหนึ่ง ๆ ไม่น้อยกว่า 200 วัน หรือ 40 สัปดาห์ ให้เรียนวันละ 7-8 คาบ คาบละ 50 นาที สัปดาห์ละ 35-40 คาบ โดยนับในภาคเรียนปกติ 2 คาบ/สัปดาห์/ภาคเรียน และให้โรงเรียนจัดให้มี

กิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนในหลักสูตรให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อสนองความสนใจและเพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพ และสร้างเสริมอุปนิสัยอันดีงามของนักเรียนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 คาบ ทุกภาคเรียน

    กลุ่มวิชาสังคมศึกษา ประกอบด้วยวิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ จริยธรรม สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ กฎหมาย ประชากรศึกษาและสิ่งแวดล้อม โดยมีจุดประสงค์ ดังนี้

ข้อ 1 เพื่อให้รู้จักดำรงชีวิตบนรากฐานแห่งคุณธรรม มีความกล้าทางจริยธรรม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น มีความซื่อสัตย์ สุจริตและยุติธรรม มีระเบียบวินัย มีความอดทน รู้จักประหยัด มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว ท้องถิ่นและประเทศชาติ

ข้อ 2 เพื่อให้รู้จักวิธีการเรียนรู้ คิดเป็น ทำเป็น รู้จักแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีนิสัยใฝ่ความรู้และทักษะอยู่เสมอ เห็นคุณค่าของการทำงานที่สุจริตและสามารถทำงานเป็นหมู่คณะ

ข้อ 3 เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและเห็นคุณค่าในวิทยาการ ศิลปะ วัฒนธรรมธรรมชาติ รู้จักใช้และอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

ข้อ 4 ……………………… ฯลฯ ……………………………………

ข้อ 5 เพื่อให้รู้จักเคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น รู้จักหน้าที่ของตนเองและผู้อื่น รู้จักใช้สิทธิเสรีภาพของตนในทางสร้างสรรค์บนรากฐานแห่งกฎหมาย จริยธรรม และศาสนา

ข้อ 6 เพื่อให้มีความสำนึกในการเป็นคนไทยร่วมกัน เสียสละเพื่อส่วนรวม มีความรักชาติ รักประชาธิปไตยรู้จักใช้สติและปัญญาในการดำรงรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

 

ตามโครงสร้างของหลักสูตรกลุ่มวิชาสังคมศึกษา

วิชาบังคับ ส.401 วิชาละ 1 หน่วยการเรียน สังคมศึกษา มีจุดประสงค์ที่เกี่ยวกับ จริยศึกษา ……

ข้อ 1 เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพของสังคมไทยตลอดจนปัญหาทั่ว ๆ ไปในสังคมไทย

ข้อ 2 เพื่อให้มีทัศนคติเชิงสร้างสรรค์ที่ดีต่อสังคมและปฏิบัติงานเพื่ออยู่ร่วมกันในสังคม

ข้อ 3 เพื่อให้ตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบในฐานะพลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตย

ในรายวิชานี้มีการศึกษาการจัดระเบียบทางสังคม ซึ่งประกอบด้วยค่านิยม ความเชื่อ ปทัสถานวิถีประชา ศีลธรรม จรรยา และกฎหมาย

วิชาบังคับ ส. 402 สังคมศึกษา มีจุดประสงค์ที่เกี่ยวกับ จริยศึกษา

ข้อ 1 เพื่อให้ตระหนักในความสำคัญของจริยธรรมว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นต่อชีวิต และมีประโยชน์ในการแก้ปัญหาชีวิตได้

ข้อ 2 เพื่อให้รู้จักใช้มาตรฐานการตัดสินความดีความชั่วได้ถูกต้อง

ข้อ 3 เพื่อให้รู้จักแยกข้อเท็จจริงออกจากความเห็นในการตัดสินปัญหาต่าง ๆ

ข้อ 4 เพื่อให้เห็นความสำคัญของค่านิยม และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่านิยม ตลอดจนการปลูกฝังค่านิยมที่ส่งเสริมการพัฒนาตนเอง และสังคม

ข้อ 5 เพื่อให้รู้จักทำจิตใจให้สงบ ปรับจิตใจให้แข็งแกร่ง คล่องแคล่วพร้อมที่จะเรียนและทำงานให้มีประสิทธิภาพ

ข้อ 6 เพื่อให้ตระหนักถึงคุณธรรมที่จำเป็นในการพัฒนาบุคลิกภาพ สังคม และประพฤติปฏิบัติคุณธรรมเท่านั้น จนเป็นนิสัย

ในราย

คำสำคัญ (Tags): #ป.บัณฑิต รุ่น 3
หมายเลขบันทึก: 212218เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2008 14:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 10:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท