จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์


เรื่องแห่งความอัปยศ ของมนุษย์ ที่ใจร้าย ใจดำต่อ เพื่อนมนุษย์ ด้วยกันเอง

สอนน้องนิสิต เรื่อง จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

อาจารย์ รวิวรรณ เริ่มโปรย ด้วยการเล่าเหตุการณ์ โศกนาฎกรรม ในการวิจัย  4 เรื่อง

เรื่องเชลยชาวยิว ของนาซี ที่โดนเอาแช่น้ำ แข็ง หรือให้ถอดเสื้อผ้าอยู่นอกอาคาร ที่อุณหภูมิติดลบ  จนล้ม หยุดหายใจแล้วเอามาฝึก CPR ซึ่งส่วนมาก ปัมท์ไม่ขึ้น เชลยตาย หรือ

ให้อยู่ในถังความดันต่ำ ดูดอ๊อกซิเจนออกให้เหลือน้อย และสังเกตุว่าจะอยู่ได้นานเท่าไหร่ ถ้าเปิดถังและพบว่าไม่ตาย ก็เอาไปจมน้ำให้ตายและเอามาผ่าศพศึกษา ว่าขาดออกซิเจนแล้ว อวัยวะต่างๆ เป็นอย่างไร

 

เรื่องที่สอง เรื่องฉีด เซลล์มะเร็งเข้า คนใกล้ตาย 22 คน ดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น

 

เรื่องที่สาม จะรับเด็กเข้าในสถานเลี้ยงเด็กพิการ willow brook ก็ ต่อเมื่อผู้ปกครอง ยอมเข้าให้ทดลอง อนุญาติให้ทีมวิจัยให้เชื้อตับอักเสบเอให้เด็กเกิดการติดเชื้อโดยตั้งใจ

 อ้างว่าเพราะ สถานเลี้ยงเด็ก เต็ม และ อ้างว่า ถึงไม่ฉีดให้ เด็ก ก็ จะติดตับอักเสบเอจากกันอยู่แล้วเนื่องจากอยู่กันอัดแอ

 

เรื่องที่สี่  เฝ้าดูผู้ป่วยโรคซิฟิลิส โดยไม่รักษา อยู่ 40 ปี ที่ ทัสคีจี อลาบามา

เรื่องแห่งความอัปยศ ของมนุษย์ ที่ใจร้าย ใจดำต่อ เพื่อนมนุษย์ ด้วยกันเอง

 400 กว่าคนที่ป่วยเป็นซิฟิลิส  ที่ไม่เคยรู้วินิจฉัยโรคที่แท้จริง ทราบเพียงว่าตนเองมีเลือดเสีย

ต้องทุกข์ทรมานจากโรคซิฟิลิส ขั้น ออกดอก และค่อยๆป่วยจนเป็นถึงระยะที่ 3เข้าสมอง ตายไปหลายสิบคน และที่ร้าย  มีการติดไปถึงลูกเมียด้วย

ฟังเรื่องสะเทือนใจทั้ง 4 เรื่องแล้ว ตามด้วย กฏ ที่ตามมา เพี่อการทดลองที่เป็นประโยชน์ ต่อ มนุษยชาติจะได้ทำ ด้วยความระมัดระวัง ไม่ให้ผิดจริยธรรม

 

สุดท้าย ให้นิสิต สรุป ว่า ถ้าจบแพทย์ และมีอำนาจตัดสินใจ เช่นเป็น ผู้อำนวยการ จะจัดระบบ อย่างไร ไม่ให้มีการกระทำผิดจริยธรรมการวิจัย ใน โรงพยาบาล

นิสิตสุมหัว สองกลุ่ม

นิสิตกลุ่ม แรก

สรุปว่า

  1. กำหนดคุณสมบัติผู้ป่วยที่จะมาเป็นอาสาสมัคร
  2. แจ้งรายละเอียด ผลดี – ผลเสียแก่ผู้ป่วย
  3. ให้ผู้ป่วยตัดสินใจเข้าร่วม/ออกจากโครงการด้วยตัวเอง
  4. ไม่ควรทำการวิจัยที่มีผลเสียรุนแรงแก่ผู้ป่วย
  5. แจ้งผลการวิจัยให้ทราบเป็นระยะ
  6. ถ้าเกิดผลเสียผู้ทำวิจัยต้องรับผิดชอบ

 

 

โดยจัดระบบให้  

อาสาสมัคร     - ได้รับสิทธิ    รับรู้รายละเอียด   ยินยอมเข้า/ถอนตัวได้ทุกเมื่อ ได้รับประโยชน์ ได้รับการป้องกัน และทราบอันตรายที่จะเกิด

 

ผู้ทำการวิจัย ต้องให้ข้อมูล/รายละเอียดผุ้ทำวิจัย- ให้การดูแล/ให้ประโยชน์แก่อาสาสมัครสูงสุด ดูแลควบคุมให้อาสาสมัครได้รับอันตราย น้อยที่สุด ปกป้องข้อมูลผู้ป่วย ให้สิทธิผู้ป่วยในการตัดสินใจ

           

คณะกรรมการควบคุม พิจารณาผลดีผลเสียของวิจัย มีความเป็นกลาง ดูแลควบคุม

 

นิสิต อีกกลุ่มมีชื่อว่า กลุ่ม หนอน สรุปว่า ให้กำหนดคุณสมบัติรวมๆของผู้เกี่ยวข้อง มีดังนี้

 

  1. ผู้ทำการวิจัยควรได้รับการฝึกอบรมมาก่อน
  2. ศึกษาข้อมูลที่จะทำการวิจัยทั้งข้อดี – ข้อเสีย
  3. ผู้เข้าร่วมการวิจัยต้องทรายข้อมูลในการวิจัยนั้น ๆ ทุกอย่าง
  4. ผู้ทำวิจัยต้องรับผิดขอบผลอันเกิดขึ้นจากการวิจัย
  5. ผู้ทำวิจัยต้องแจ้งผลการวิจัยให้ผู้เข้าร่วมทราบเป็นระยะ ๆ
  6. ต้องมีแบบฟอร์มการยินยอมเข้าร่วมการวิจัย
  7. ผู้เข้าร่วมการวิจัยสามารถยกเลิกการเข้าร่วมการวิจัยได้ตลอดเวลา

 

 

* ผู้ทำวิจัย ควรมี  1), 2), 4), 5), 6) และต้องระมัดระวังเรื่อง         Conflict of interest และ      Confidentiality

 

* ผู้เข้าร่วมการวิจัย  2), 3), 6), 7)  และ  Vulnerable population

 

* ผู้ตรวจสอบควบคุมการวิจัย  ต้องมี  2), 6) และวางตัวเป็นกลาง

เป็นชั่วโมงที่ผู้สอน ลุ้นที่สุด ว่า นักเรียน จะเรียนรู้เรื่องไหม จะเข้าใจหรือเปล่า

ประเมินในห้องตอนสอนดูดี นิสิต มีส่วนร่วม และขณะที่ประชุมกลุ่ม มีการวิพากย์ วิจารณ์ และการช่วยเหลือกันดี

รอดูประเมินผลตอนสอบวันศุกร์ นี้ อีกที

หมายเลขบันทึก: 211389เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2008 06:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2012 19:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีค่ะ คุณหมอหน่อย

  • ครูอ้อยมาพร้อมกับกำลังใจค่ะ
  • น่าสนใจมากเลยนะคะ  วิจัยทั้งหมดที่กล่าวมา
  • ครูอ้อยจะรอติดตามอ่านนะคะ

รักษาสุขภาพด้วยนะคะ  คิดถึงค่ะ

ขอบคุณ ครูอ้อยค่ะ

ละอายใจจัง ไม่ได้มีสิทธิ์ ไปเยี่ยม หรือทักใคร ใครเลย

ขอบคุณ ครูอ้อยมากๆ ที่มีจิตใจเมตตา มุทิตาจิต สม่ำเสมอ

ขอบคุณ คุณครู โย่งค่ะ

ทีม natadee นี้ สมัครที่ไหน แล้วใครเป็นผู้คัด คะ

จะสมัคร คงอาศัยความกล้าพอควร

ขอแสดงความยินดี และชื่นชม กับการสอนนิสิตแพทย์ในเรื่องนี้นะคะ

ขอแสดงความยินดีกับ อ.รวิวรรณ ที่ได้เลื่อนตำแหน่งครับ

เป็นผลจากการตั้งใจ เอื้อเฟื้อ และสร้างความสุขในการทำงาน ได้รับผลตอบแทนที่ดีจริง ๆ ครับ

เข้ามาอ่านเรื่องนี้ ด้วยความตั้งใจค่ะ
ขอแสดงความยินดีกับ อ.รวิวรรณ ที่ได้เลื่อนตำแหน่งด้วยค่ะ

ขอบคุณ อ.รักพงษ์ มากๆ ค่ะ ได้ ความรู้สึกดีๆ จาก การทักทายของ อาจารย์

และยัง จาก อาจารย์ ศศินันท์ อีก

ขอบพระคุณมากๆ ทั้งสองท่านค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ เนื่องจากทำงานเกี่ยวข้องใน field เด็กขอร่วมเสนอความคิดเห็นด้วยคนนะคะ

กลุ่มประชากรหรือผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี ไม่ต้องขอความยินยอม แต่ให้บิดา/มารดาหรือผู้ปกครองเป็นผู้ให้ความยินยอมแทน

กลุ่มประชากรหรือผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยที่มีอายุระหว่าง 8-17 ปี ต้องขอความยินยอมจากทั้งเด็ก และบิดา/มารดาหรือผู้ปกครอง โดยผู้วิจัยเรียบเรียงข้อมูลสำหรับประชากรตัวอย่างด้วยภาษาให้เด็กเข้าใจได้ง่ายค่ะ

กลุ่มประชากรหรือผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยที่มีอายุระหว่าง 8-17 ปี ต้องขอความยินยอมจากทั้งเด็ก และบิดา/มารดาหรือผู้ปกครอง โดยผู้วิจัยเรียบเรียงข้อมูลสำหรับประชากรตัวอย่างด้วยภาษาให้เด็กเข้าใจได้ง่าย

ขอโทษค่ะตัวหนังสือเล็กไปหน่อย

ท่านอาจารย์ โสภาจาก น่าน เมือง อุดมคนดี

ท่านมาเพิ่มเติมข้อมูลสำคัญในเด็ก สิทธิเด็ก เรื่องการยินยอม ของอาสาสมัครที่เป็นเด็ก ซึ่งเป็น Vunerable subject ที่สำคัญมาก

ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท