ฉบับที่ ๕ พฤติกรรมการบริโภค


ความเจ็บปวดทำให้ผมคิด

ฉบับที่ ๕ พฤติกรรมการบริโภค

ถึงกานต์วลี

            กานต์วลีที่รัก  จดหมายฉบับนี้ได้ทิ้งช่วงเวลาแห่งการเขียนค่อนข้างจะยาวนาน   อาจจะเป็นเพราะผมมีความกังวลใจต่อเรื่องที่จะเขียน   ตามที่ได้สัญญากับกานต์ไว้เกี่ยวกับเรื่องพฤติกรรมด้านความรักของกานต์   ผมพยายามตั้งสติและจะเขียนถึงเรื่องเหล่านี้   ให้สุภาพที่สุด…. ผมรักกานต์

            “ Pain  makes  I  Think.  Thought  makes  I  wise.  Wisdom  make  life  endurable.”

    ความเจ็บปวดทำให้ผมคิด   การไตร่ตรองทำให้เกิดปัญญา   และปัญญาทำให้พอทนกับชีวิตได้

            พฤติกรรมที่เกี่ยวกับความรักของกานต์นั่นหรือ   กานต์ยังจำเรื่องอรรถประโยชน์ ( Utility)  ที่เราเคยเรียนกันในสมัยนั้นได้ไหม  ที่ว่าอรรถประโยชน์ หมายถึง  ความพึงพอใจที่ผู้บริโภคได้รับจากการบริโภคสินค้าและบริการอย่างใดอย่างหนึ่งในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง

            ผมยกเรื่องทฤษฎีอรรถประโยชน์มาเพื่ออธิบายทฤษฎีด้านความรัก   ด้วยความสัตย์ซื่อต่อความรักระหว่างเรา   ทฤษฎีอรรถประโยชน์จะช่วยอธิบายแทนผมว่า   กานต์ใช้ความรักอย่างไร  

            ผู้บริโภค   จะเลือกหรือบริโภคสินค้านั้นก็ขึ้นอยู่กับความพอใจสูงสุด   และสิ่งที่เขาเลือกบริโภคครั้งแรกก็จะเป็นความพอใจสูงที่สุด เช่น  เมื่อเรากินข้าวจานแรก ความพอใจ Utility (อรรถประโยชน์) เพิ่มก็สูงที่สุดและข้าวจานต่อมา แม้จะได้รับความพอใจทั้งหมด (อรรถประโยชน์รวม) มากขึ้น   แต่ความพอใจในจานที่สองถึงแม้มีอยู่ก็น้อยกว่าจานแรก   หากเป็นจานต่อไปความพอใจจะเข้าสู่จุดศูนย์   และจะติดลบในที่สุด   เมื่อบริโภคไปอีก

            กานต์วลี   จุดที่ความพอใจเป็นศูนย์   เป็นภาวะที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง   ทางเศรษฐศาสตร์เราเรียกว่าจุดดุลยภาพ (Equilibrium)   จุดนี้  นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า   คือจุดที่ผู้บริโภคใช้รายได้ที่มีอยู่ทั้งหมดซื้อสินค้าและบริการมาใช้ในปริมาณที่ก่อให้เกิดความพอใจหรืออรรถประโยชน์รวมสูงสุด  

 

            กานต์ต่างจากทฤษฎีอรรถประโยชน์ตอนไหนหรือ    ต่างกันตรงที่ความรักครั้งแรกของกานต์ไม่ได้สร้างความพอใจสูงสุด (Utility)  อรรถประโยชน์เพิ่มสูงสุด   แต่เหมือนกันตรงที่ว่ากานต์เพิ่มเติมความรักลงไปเรื่อย ๆ ไม่มีวันหยุด   และความพอใจในการเพิ่มความรักใหม่ ๆ ของกานต์  ไม่เคยติดลบ   กานต์ยังคงมีความสุขกับการเพิ่มเติมสิ่งใหม่ ๆ ลงในหัวใจที่ว่างเปล่า

                       ทฤษฎีอรรถประโยชน์                                           ความรักของกานต์

ข้าว (หน่วย)

อรรถประโยชน์เพิ่ม

อรรถประโยชน์รวม

 

 

ความรัก (ครั้งที่)

อรรถประโยชน์เพิ่ม

1

2

3

4

5

6

7

10

8

6

4

2

0

-2

10

18

24

28

30

30

28

1

2

3

4

5

6

7

10

12

14

17

21

26

31

           

 

และกานต์ยังคงจำทฤษฎีเส้นความพอใจเท่ากันได้

 

            ความพอใจนอกจากเราจะตีค่าออกมาเป็นหน่วยแบบทฤษฎีก่อนแล้ว   เรายังสามารถเอาความพอใจมาจัดเป็นลำดับได้   เช่น   หากเราจำเป็นต้องเพิ่มการบริโภคสินค้าอย่างหนึ่ง   ก็จำเป็นต้องลดสินค้าอีกอย่างหนึ่งลง   เพื่อสร้างความพอใจที่เท่ากันในระดับคงเดิม   เหมือนดั่งที่กานต์ลดความรักจากผม  แล้วเพิ่มให้คนอื่น   เพียงแต่ว่า   เหมือนความพึงพอใจของกานต์จะสูงขึ้น   ตามทฤษฎีเส้นความพอใจเราคงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงการบริโภคสินค้าได้ตามความพอใจมากนัก   สาเหตุอาจเป็นเพราะมนุษย์เรานั้นอาจจะมีข้อจำกัดในการเลือกบริโภค  เพราะมีเส้น  Budget  Line  หรือเส้นงบประมาณมาเกี่ยวข้อง   เราจะต้องบริโภคหรือเลือกสินค้าภายใต้งบประมาณที่มี

 

 (กราฟประกอบ    พฤติกรรมการเลือกบริโภค ภายใต้งบประมาณที่จำกัด)

(ขออภัยครับ  ขึ้นกราฟไม่เป็น)                         


                                    ถึงแม้เราอยากจะบริโภคสินค้าให้ได้มากมายเพียงใด   แต่ก็คงไม่สามารถเลือกส่วนประกอบของสินค้าเกินกว่าเส้น A  (เส้นงบประมาณ ) เช่นที่ส่วนประกอบสินค้า D ได้ถึงแม้อยู่บนเส้นความพึงพอใจ IC3 ซึ่งให้ความพึงพอใจในการบริโภคที่สูงกว่า  ผู้บริโภคมีข้อจำกัดด้วยงบประมาณ  จึงจำเป็นต้องเลือกส่วนประกอบของสินค้าที่ได้รับความพอใจสูงสุดในงบจำกัด เช่น  ส่วนประกอบ ที่จุด B และ C  หรือทุกจุดบนเส้น A  แต่จุดที่เราเรียกว่า จุดดุลยภาพ      คือจุด E ซึ่งเป็นส่วนประกอบของสินค้าที่ให้ความพอใจสูงที่สุด และงบประมาณก็หมดพอดี  แต่งบความรักของกานต์ดูเหมือนมีไม่จำกัด   กานต์จึงเสาะหาตัวเลือกมาเพิ่มเติมหัวใจที่ว่างเปล่าของกานต์  

 

            กานต์วลี   มนุษย์เรามักจะมีงบประมาณจำกัดและผมก็มีความอดทนไม่เพียงพอ

 

            เมื่อความทรงจำต่าง ๆ ถูกรื้อฟื้นขึ้นมา  ทำให้ผมทราบว่า กานต์กับผม แตกต่างกันเหลือเกินและเป็นเหตุผลที่สำคัญยิ่ง ในการตัดสินใจของผม

            ความรักไม่ได้ทำให้ตาบอด แต่มันทำให้มองเห็นมากขึ้น  ไม่ใช่น้อยลง และเพราะมันเห็นมากขึ้น ผมจึงเต็มใจที่จะเห็นให้น้อยลง

 

 

                                                                                                                 ผมไม่อดทนอีกต่อไป

                                                                                                                                       อภิษฐา

                                                           

 

 

หมายเลขบันทึก: 211384เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2008 05:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2012 16:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ได้อ่านบทเรียนของอาจารย์แล้วสุดยอดจริง ๆ นักเรียนคงไม่เบื่อแน่เลย เด็กสมัยนี้ชอบอ่านนิยายแบบรัก ๆ ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท