ปราชญ์ คือ ผู้รู้ ผู้เอื้อเฟื้อ


รู้รอบ รอบรู้ : เอื้อเฟื้อ เอื้ออาทร เอื้ออำนวย

            ในรอบปีที่ผ่านมา ( ปี  ๒๕๕๐/๒๕๕๑  )  ผม ( ทวีวัตร  เครือสาย ) และทีมงานบ้านสระขาว ,ละแม ชุมพร  ได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการขยายผลองค์ความรู้ปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง สปก. ระดับประเทศ  ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนและเอื้ออำนวยจาก  สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ( สปก.) ให้ปราชญ์ชาวบ้านจากทั่วประเทศ  จำนวน  ๖๔  ราย  ในห้าสิบจังหวัด และสมาชิกในเครือข่ายปราชญ์  ได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  พัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ท้องถิ่นให้เกิดเป็นรูปธรรมพร้อม ๆ กับการขยายผลในชชุมชนท้องถิ่น  ตำบล  อำเภอ  จังหวัด  ภาค  ประเทศ  ตามลำดับและศักยภาพและบริบทของเครือข่ายปราชญ์แต่ละพื้นที่  และเกิดการถักทอเป็น  เครือข่ายปราชญ์เกษตร ฯ  ในระดับประเทศ

           ผมประมวลสรุปผลการดำเนินงานของโครงการที่ผ่านมาดังนี้

 1. คัดเลือกปราชญ์เกษตรฯ  54  ราย ประกอบด้วยปราชญ์เกษตรฯ   ภาคเหนือ 14 ราย     ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  15 ราย ภาคกลาง  9 ราย ภาคใต้ 13 ราย มีองค์ความรู้/ ศูนย์เรียนรู้ด้านต่าง ๆ ดังนี้

1.1  ด้านสังคม        - ด้านการบริหารจัดการองค์กร / ชุมชน สวัสดิการ    จำนวน 6 ราย

                            - ด้านการวิถีวัฒนธรม /ศาสนธรรม                       จำนวน 3 ราย

                            - ด้านจัดการสุขภาพ                                         จำนวน  4 ราย

1.2  ด้านเศรษฐกิจ    - เศรษฐกิจ /วิสาหกิจชุมชน                                จำนวน 5 ราย

                             - การเกษตร                                                   จำนวน 21 ราย

                             - การแปรรูป /โภชนาการ                                   จำนวน 1 ราย

1.3 ด้านทรัพยากร      - การจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม                       จำนวน  5 ราย

.                             - เทคโนโลยีชาวบ้าน (พลังงาน / เครื่องกลการเกษตร จำนวน 5 ราย

2. ขยายผลองค์ความรู้ปราชญ์เกษตรฯ 54 ชุมชนๆละ 40 ราย

3. จัดเสวนาระดับชุมชน 54 ชุมชน จำนวนผู้เข้าร่วม 1,607 ราย  เพื่อพัฒนาแผนงานชุมชนปราชญ์ และขยายผลองค์ความรู้

4. จัดเวทีเสวนาระดับภาค 4 ภาค จำนวนผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น  2,979  ราย เพื่อการเชื่อมโยงเครือข่ายปราชญ์เกษตรฯ ระดับภาค

5. จัดเวทีเครือข่ายปราชญ์เกษตรระดับประเทศ  จำนวนผู้เข้าร่วม 286 ราย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปผลการดำเนินงาน ทิศทางและแนวทางการขับเคลื่อนเครือข่ายปราชญ์เกษตรฯ ปี 2551

6. สมาชิกชุมชนปราชญ์เกษตรฯ ที่พัฒนาโครงสร้างการผลิต  สามารถเป็นศูนย์เรียนรู้ฯ จำนวน 527 ศูนย์ 

7. เกิดแผนงานเครือข่ายชุมชนปราชญ์เกษตร และแนวทางการขับเคลื่อนเครือข่ายปราชญ์เกษตรฯ ทั้งระดับเครือข่ายระดับภาค และระดับประเทศ

      ในส่วนแผนงานและองค์ความรู้ต่างจะทยอยสื่อสารตอนหลัง.....

      แต่สิ่งที่สังเกตเห็นได้จากเข้าร่วมโครงการฯ  คือ ความเป็นปราชญ์เกษตร  แต่ละคนที่ได้มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  หรือ เวทีสรุปงานในแต่ละปีนั้น  ต่างก็แสดงออกถึงภูมิรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติ  ความรู้แฝงฝัง  แต่ละคนนั้นรอบรู้หลายด้านด้วยเพราะได้ประสบพบผ่านชีวิตมาพอสมควร  อีกประการหนึ่งที่แสดงออกได้คือ  ความเป็นผู้เอื้อเฟื้อ  ทั้งจากภูมิหลังและการแสดงออกที่เห็นได้ชัดคือ  ต่างคนต่างก็เอาสิ่งของ  พันธ์ไม้พันธุ์พืชมาแลกเปลี่ยนกัน  ทักทายปราศัยเสมือนพวกพ้องเดียว  หยิบยื่นมิตรไมตรีเอ้ื้ออาทรต่อกันอย่างเป็นธรรมชาติ  ( หน้ากากไม่มี )  ซึ่งแตกต่างกับ สภาผู้ทรงเกียรติ

     ในมุมมองที่เห็นหากได้สืบสานพลังความรู้  พลังเครือข่าย  พลังความดีความงาม  เหล่านี้ให้กระจายถ้วนทั่วชุมชนท้องถิ่นไทย  .... นี่แหละการเมืองใหม่ในมุมมองของผม  การเมืองที่กินได้  เสพได้ถึงอรรรส  มิใช่การเมืองตัวแทน  การเมืองเลือกตั้ง  .......ครับๆๆๆๆๆๆ

คำสำคัญ (Tags): #social chumphon
หมายเลขบันทึก: 211363เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2008 23:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท