SOPA
นาง โสภา อิสระณรงค์พันธ์

การพยาบาลข้ามวัฒนธรรม 3


ดูแลผู้ป่วยโดยคำนึงถึง ความเชื่อค่านิยม และวัฒนธรรมที่แตกต่างมากขึ้น

นอกเหนือจากการพยาบาลโดยยึดหลักแนวคิดทางด้านวัฒนธรรม แล้ว  บริการทางการพยาบาลจะมีหลายปัจจัยด้วยกันที่เป็นลักษณะเด่น ที่ทำให้ชาวต่างชาตินิยมเดินทางมารับบริการทางการพยาบาลในประเทศไทย  คือ   เรื่องของความปลอดภัยในที่พักอาศัย ความปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ ความร่มรื่นของธรรมชาติ  สถานพยาบาล ความสะอาดของที่พัก และความเพียงพอ และ อัตราค่าบริการที่ไม่สูงมากนัก     ขณะเดียวกันก็ยังมีปัจจัยที่ควรพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพการดูแลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  ดังนี้ 

 

1.     ส่งเสริมให้โรงพยาบาลมีความพร้อมในการยกระดับมาตรฐานของโรงพยาบาล ได้แก่ มาตรฐานเอชเอ (HA : Hospital Accreditation)  มาตรฐานไอเอสโอ (ISO: International Organization for Standardization) มาตรฐาน รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) และมาตรฐานเจซีไอเอ (JCIA: Joint Commission International Accreditation)

2.       ควรมีมาตรฐานความปลอดภัยทั้งทางด้าน คน และสิ่งแวดล้อม

3.       ด้านบุคลากรควรผ่านการอบรมและการสอบที่ได้มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ควรมีความรู้ ความชำนาญและเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน

4.       พัฒนาความสามารถของบุคลากรในการสื่อสารภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี

5.       เพิ่มและพัฒนาบุคลากรที่สามารถใช้ภาษานอกเหนือจากภาษาอังกฤษในการสื่อสารกับชาวต่างชาติที่ไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้

6.        ควรมีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่กำลังก้าวล้ำอยู่ในขณะนี้ อยู่เสมอ

7.      จัดให้มีแผนกรับปรึกษา  ให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติ  โดยผู้ให้คำปรึกษาต้องมีทักษะภาษาต่างประเทศ  โดยเฉพาะภาษาอังกฤษอย่างดี  มีความเข้าใจเรื่องวัฒนธรรมที่แตกต่าง

ปัจจุบันยังไม่พบความตื่นตัวมากนักในการให้การบริการทางการพยาบาลเชิงวัฒนธรรมโดย การ ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและความแตกต่างทางชาติพันธุ์  ค่านิยมความเชื่อ  แต่อนาคตอันใกล้นี้บริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปดังกล่าวข้างต้น  พยาบาลซึ่งเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยโดยคำนึงถึง  ความเชื่อค่านิยม และวัฒนธรรมที่แตกต่างมากขึ้น  Leininger (2002)  กล่าวว่า  พยาบาลที่มีความรู้ และทักษะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม จะช่วยให้พยาบาลเองมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด  และการทำงาน กับบุคคลที่มีความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม  ซึ่งจะส่งผลต่อความพึงพอใจต่อการบริการ 

ในอนาคตแนวโน้มทางการพยาบาล  ควรจัดให้มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับการให้การพยาบาลแก่บุคคลที่มีความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมที่มีความเฉพาะเจาะจงลงไปมากขึ้น  กล่าวคือ วัฒนธรรมในแต่ละประเทศ ซึ่งแตกต่างกัน เพื่อเรียนรู้ถึง ค่านิยม  ความเชื่อ  และรูปแบบการดูแลที่เหมาะสมต่อไป

เอกสารอ้างอิง

ฟาริดา  อิบราฮิม.  (2546).  การปฏิบัติการพยาบาลตามกรอบทฤษฎีการพยาบาล.  กรุงเทพฯ :  สามเจริญพานิชย์.

Leininger.  M , McFarland. R.M.  (2002)  Transcultural Nursing: Concepts, Theories, Research and  Practice:

           McGraw-Hill Professional.

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 211358เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2008 23:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 10:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีมากครับ เป็นข้อมูลที่เยี่ยมมาก

มีตัวอย่างทฤษฎีด้วย เยี่ยมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท