วิจัย...ตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่กด


นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

การทำแบบฝึกเสริมทักษะเรื่องตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา แม่กด

วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า

                1. เพื่อสร้างยุทศาสตร์ การทดลองใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา แม่กด ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองซอ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต2 อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

                2. เพื่อทดลองใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา แม่กด ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองซอ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต2 อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

                3. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน (Pre-test) และหลังเรียน (Post-test) ทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา แม่กด ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองซอ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต2 อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

 

สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า

ความเข้าใจในการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา แม่กด ของนักเรียน หลัง

ได้รับการฝึกสูงกว่าก่อนได้รับการฝึก

 

วิธีดำเนินการวิจัย

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

                กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวนนักเรียน 31 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 คน  โรงเรียนบ้านหนองซอ  ตำบลหินเหล็กไฟ  อำเภอหัวหิน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต2

                เนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง

                คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา แม่กด ดังนี้ จ , , , , , ติ , ตุ , ตร , ช ชร , , , ฑ ฒ , , ฎ ฏ , ถ รถ

                เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

1.    แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา แม่กด

2.    แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ เรื่องคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา แม่กด

                วิธีดำเนินการทดลอง

                ในการศึกษาผลการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนทักษะการเขียนตัวสะกดไม่ตรงมาตรา แม่กด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองซอ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ผู้วิจัยได้ใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่กด กับกลุ่มตัวอย่าง ใช้เวลาในการสอนวันละ 1 ชั่วโมง เป็นเวลา 16 วัน โดยมีขั้นตอนดังนี้

             1.  ผู้วิจัยชี้แจงให้นักเรียนทราบถึงจุดประสงค์รายละเอียดขั้นตอนต่างๆในการฝึกให้นักเรียนทราบพร้อมกันทุกคน

              2. นำแบบทดสอบ ไปทดสอบกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนบ้านหนองซอ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 จำนวน 31 คน แล้วบันทึกคะแนนไว้เป็นผลการทดสอบก่อนการฝึก

(Pre – test)

             3. ทำการฝึกโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนตัวสะกดไม่ตรงมาตรา แม่กด ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยมีขั้นตอนดังนี้

                         3.1 ผู้วิจัยแจกแบบฝึกให้นักเรียนทุกคน พร้อมทั้งอธิบายถึงขั้นตอนการทำแบบฝึกอย่างละเอียด พร้อมยกตัวอย่างที่กำหนดให้ประกอบการอธิบาย เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถามจนกระทั่งนักเรียนทุกคนเข้าใจการทำแบบฝึก และให้นักเรียนเริ่มทำแบบฝึก

                        3.2 ให้นักเรียนลงมือทำแบบฝึก โดยทำแบบฝึกตามลำดับขั้นตอนที่กำหนดให้ใช้เวลาประมาณ 30 นาที

4. เมื่อดำเนินการฝึกครบทุกแบบฝึกเสร็จแล้ว นำแบบทดสอบทักษะการเขียนตัวสะกดไม่ตรงมาตรา แม่กด ฉบับเดิมมาให้นักเรียนทำ (Post – test) แล้วบันทึกคะแนนที่ได้สำหรับวิเคราะห์ทางสถิติ เพื่อตรวจสอบการพัฒนาความเข้าใจของนักเรียนโดยวิธีทดสอบค่าที (t-test Dependent)

สรุปผลการวิจัย

                การวิจัยครั้งนี้สรุปผลได้ดังนี้ แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา แม่กด ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองซอ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต2 อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

                1. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน (Pre-test) และหลังเรียน (Post-test) ทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา แม่กด ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองซอ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต2 อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผลปรากฏว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียน (Post-test) เพิ่มขึ้น

                2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา แม่กดในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองซอ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต2 อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่ง มีผลการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

อภิปรายผลการวิจัย

                ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการทดลองการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา แม่กด ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองซอ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต2 อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน(Pre-Test) และหลังเรียน (Post – Test) หลังการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา แม่กด ที่สร้างขึ้นผลปรากฏว่าหลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียนดังนี้

จากผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน(Pre-Test) และหลังเรียน (Post – Test) หลังการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา แม่กด พบว่านักเรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนเพิ่มขึ้นจาก 20.68 เป็น 34.97  ค่าผลต่างเท่ากับ 14.29 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนลดลงจาก 6.13 เป็น 3.99  นั่นคือผลสัมฤทธิ์หลังจากใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา แม่กด สูงขึ้นกว่าก่อนการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา แม่กด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่าหลังการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา แม่กด นักเรียนมีทักษะการเขียนสะกดคำแม่กดสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากแบบฝึกที่มีการฝึกจากง่ายไปหายาก มีรูปภาพประกอบ มีความหมายของคำ มีการประสมคำ จึงทำให้นักเรียนมีทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา แม่กด สูงขึ้น และความเข้าใจในการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา แม่กด ของนักเรียน หลังได้รับการฝึกสูงกว่าก่อนได้รับการฝึก เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

 

ข้อสังเกตจากการวิจัย

จากการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้พบข้อสังเกตพอสรุปได้ดังนี้

                นักเรียนสนใจในการทำแบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา แม่กด ทุกชุด นักเรียนทุกคนจะมีความกระตือรือร้นและชอบทำหน่วยที่1 ขีดส้นโยงคำกับรูปภาพมากที่สุด เนื่องจากในหน่วยที่ 1 จะให้นักเรียนโยงเส้นคำกับรูปภาพให้สัมพันธ์กัน จะมีรูปภาพประกอบที่สื่อความหมายให้เข้าใจได้ง่าย หน่วยที่ 2 เป็นการประสมคำโดยใช้ภาพ นักเรียนส่วนใหญ่สนใจทำกิจกรรมได้ดี เนื่องจากในกิจกรรมมีรูปภาพประกอบให้นักเรียนประสมเป็นคำ จึงทำให้นักเรียนระบายสีรูปไปด้วย หน่วยที่ 3 การเขียนคำจากคำอ่าน นักเรียนทำกิจกรรมได้ดี หน่วยที่ 4 การเติมประโยค นักเรียนบางคนยังสับสน ผู้วิจัยต้องคอยชี้แนะ  หน่วยที่ 5 การแต่งประโยค เป็นกิจกรรมที่นักเรียนต้องใช้ความคิดอย่างมาก ผู้วิจัยต้องคอยให้คำปรึกษาและชี้แนะอยู่เสมอ

                ผู้วิจัยจึงมีความเห็นว่า แบบฝึกทักษะที่มีรูปประกอบมากๆ จะทำให้นักเรียนสนใจ และประสบผลสำเร็จในการจัดการเรียนการสอน

 

ข้อเสนอแนะทั่วไป

1. ผลการวิจัยพบว่า การใช้แบบฝึก ช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ในทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา แม่กด ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมีผลการเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนการเรียนโดยการ Pre-Test และ Post-Test ดังนั้นครูผู้สอนภาษาไทยควรใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา แม่กด ซึ่งช่วยให้นักเรียน เกิดการเรียนรู้ได้เพิ่มขึ้น เพื่อสะดวกและประหยัดเวลา

2. ครูผู้สอนควรใช้ภาพและคำสั่งสั้นๆ เพื่อให้นักเรียนเข้าใจง่ายในการทำแบบฝึก และควร

แจ้งผลการทำแบบฝึกให้นักเรียนทราบทันที่และทุกครั้ง เพื่อให้นักเรียนได้แก้ไขและจำคำที่ถูกต้อง จะทำให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการเขียนได้ดียิ่งขึ้น

3. ควรนำหลักการทางจิตวิทยาหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการทำแบบฝึกมาใช้ประกอบในการ

สร้างแบบฝึก จะทำให้แบบฝึกมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับนักเรียน

 

ข้อเสนอแนะสำหรับงานวิจัยครั้งต่อไป

1. ควรศึกษาหาผลสัมฤทธิ์การเรียนต่อวิชาภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มี

ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา แม่กด เป็นรายบุคคล

2.การวิจัยครั้งต่อไป เพื่อให้ผลการวิจัยเป็นสากล และเป็นตัวแทนของการเรียนรู้ ควรใช้กลุ่ม

ตัวอย่างมากๆ จากหลายๆโรงเรียน และในท้องถิ่นต่างกัน

                3. ควรมีการติดตามผล เพื่อนำมาปรับปรุงเอกสารประกอบการสอนให้ได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น

4.การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตาม

มาตรา แม่กด จะสัมฤทธิ์ผลได้เมื่อผู้สอนเตรียมพร้อมในบทบาทของตน เช่น สื่อ ชุดแบบฝึกทักษะ ฯลฯ

หมายเลขบันทึก: 211135เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2008 00:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท