การสร้างสถานการณ์จำลอง


การสร้างสถานการณ์จำลอง

การสร้างสถานการณ์จำลอง

 

            การสร้างสถานการณ์จำลองเป็นกิจกรรมที่มีลักษณะใกล้เคียงกับการแสดงบทบาทสมมติแตกต่างกันตรงอยู่ที่ว่า  การแสดงบทบาทสมมติเราเน้นที่การแสดงออกและความรู้สึกของผู้แสดงแต่ละคน  แต่การสร้างสถานการณ์จำลองเราเน้นที่กระบวนการและบรรยากาศทั้งหมดของการแสดงเน้นการจำลองสถานการณ์จริงทั้งหมดมาไว้ในห้องเรียน  เป็นต้น  เมื่อเราจะสอนเรื่องลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง  แทนที่จะบอกเล่าโดยการบรรยายเรื่องเดียว  ก็สร้างสถานการณ์จริงขึ้นมา  ซึ่งมีผ้สมัครเลือกตั้ง  มีเจ้าหน้าที่ของหน่วยเลือกตั้งมีหีบบัตร  มีบัตรลงคะแนนและอื่นๆ  ที่จำเป็นจริงๆ  ในการเลือกตั้ง  ครูและนักเรียนก็จะร่วมกันสร้างและจัดหาให้ครบและให้นักเรียนฝึกการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งตามขั้นตอนที่ถูกต้องจริงๆ

1.      ข้อเสนอแนะในการสร้างสถานการณ์จำลอง

1.1   การจัดสถานการณ์ต่างๆ  จะต้องให้เหมาะสมกับความสามารถและระดับขั้นของเด็ก

1.2   สถานการณ์จำลองที่จัดจะต้องสอดคล้องและเสริมบทเรียนของนักเรียน

1.3   ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผน  และดำเนินการสร้างสถานการณ์จำลอง

 

 

2.      ข้อควรระวังในการสถานการณ์จำลอง

2.1   อย่าปล่อยให้ผู้เรียนกระทำกิจกรรมในสถานการณ์จำลองโดยลำพัง  แต่ครูต้องคอยดูแล

อย่างใกล้ชิด

2.2   อย่ามองว่าการสอนโดยการสร้างสถานการณ์จำลองเป็นการแบ่งเบาภาระของครู

หมายเลขบันทึก: 210105เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2008 10:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 23:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท