ทฤษฎีการนิเทศแบบคลินิกตามรูปแบบของโกลด์แฮมเมอร์
โกลด์แฮมเมอร์ ได้เสนอรูปแบบ (model) ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ซึ่งเป็นลำดับที่ต่อเนื่องของการนิเทศ (sequence of supervision) ซึ่งความต่อเนื่องของการนิเทศนี้เมื่อรวมกันเข้าเรียกว่า วัฏจักรของการนิเทศ (cycle of supervision) ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การประชุมปรึกษาก่อนการสังเกตการสอน (pre-observation conference)
ขั้นตอนที่ 2 การสังเกตการสอน (observation)
ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลและกำหนดวิธีการประชุมนิเทศ (analysis and strategy)
ขั้นตอนที่ 4 การประชุมนิเทศ (supervision conference)
ขั้นตอนที่ 5 การประชุมวิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศ (postconference analysis)
กระบวนการของการนิเทศแบบคลินิกตามรูปแบบของโกลด์แฮมเมอร์ จึงประกอบด้วย 5 ขั้นตอนที่มีความต่อเนื่องกัน ซึ่งเรียกว่า “วัฏจักรของการนิเทศ” ซึ่งเริ่มต้นด้วย การประชุมปรึกษาก่อนการสังเกตการสอน เป็นพื้นฐานของความเข้าใจและตกลงร่วมกันระหว่างครูและผู้นิเทศเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน การสังเกตการสอน ซึ่งผู้นิเทศจะดำเนินการสังเกตการสอนจริงของครู การวิเคราะห์ข้อมูลและกำหนดวิธีการประชุม คือการรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมการสอนให้เป็นหมวดหมู่เป็นระบบเพื่อนำมาวิเคราะห์ และในขั้นตอนนี้ครูและผู้นิเทศจะร่วมกันคิดและวางแผนขั้นตอนของการประชุมนิเทศด้วย การประชุมนิเทศ เป็นการให้ข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับพฤติกรรมการสอนของครู และในขั้นสุดท้ายคือ การประชุมวิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศ เป็นการเปิดโอกาสให้ครูและผู้นิเทศได้ปฏิบัติตั้งแต่เริ่มต้นในขั้นตอนที่หนึ่ง จนถึงขั้นตอนที่สี่ เพื่อค้นหาถึงพฤติกรรมการนิเทศที่ดี และที่บกพร่องสมควรปรับปรุงโดยที่ครูมีส่วนรับผิดชอบที่จะให้ข้อมูลป้อนกลับ เกี่ยวกับพฤติกรรมการนิเทศ
ทฤษฎีการนิเทศแบบคลินิกตามรูปแบบของโคแกน
การนิเทศแบบคลินิกตามรูปแบบของโคแกน เป็นวัฏจักรของการนิเทศ ซึ่งประกอบด้วย 8 วัฏภาคด้วยกัน คือ
วัฏภาคที่ 1 การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูและผู้นิเทศ (establishing the teacher supervisor relationship)
วัฏภาคที่ 2 การวางแผนร่วมกันกับครู (planning with the teacher)
วัฏจักรที่ 3 การวางแผนยุทธวิธีในการสังเกตการสอน (planning the strategy of observation)
วัฏจักรที่ 4 การสังเกตการสอน (observing instruction)
วัฏจักรที่ 5 การวิเคราะห์กระบวนการเรียนการสอน (analyzing the teaching-learning process)
วัฏจักรที่ 6 วางแผนยุทธวิธีในการประชุมนิเทศ (planning the strategy of the conference)
วัฏจักรที่ 7 การประชุมนิเทศ (the conference )
วัฏจักรที่ 8 การวางแผนการสอนต่อเนื่อง (renewed planning)
การนิเทศแบบคลินิกตามรูปแบบของโคแมน เป็นรูปแบบที่ละเอียด มีขั้นตอนที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน แต่ก็มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
ทฤษฎีการนิเทศแบบคลินิกตามรูปแบบของโบยานและโคพแลนด์
การนิเทศแบบคลินิกตามรูปแบบของโบยานและโคพแลนด์ ใช้ชื่อว่า “กระบวนการนิเทศการสอน” (Insturctional supervision process) ซึ่งประกอบด้วย 4 ตอน และมีอยู่ 8 ขั้น ดังนี้
ตอนที่ 1 การประชุมก่อนการสังเกตการสอน (Preobservation Conference)
ขั้นที่ 1 จำกัดความพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องหรือที่เป็นความกังวลห่วงใยของครู
ขั้นที่ 2 ตัดสินใจเลือกหาที่จะได้มาซึ่งการวักพฤติกรรมการสอน โดยวัดจาก
พื้นฐานครั้งแรก (base rate) หรือโดยการวัดพฤติกรรมการสอนโดยการตั้งมาตรการของระดับความสามารถในการสอนเอาไว้ (performance criterion)
ขั้นที่ 3 เลือกเครื่องมือหรือสร้างเครื่องมือสำหรับใช้ในการสอนเอาไว้
(performance criterion)
ตอนที่ 2 การสังเกตการสอน (Observation)
ขั้นที่ 4 สังเกตพฤติกรรมการสอนที่เฉพาะเจาะจง
ตอนที่ 3 การวิเคราะห์การสอน (Analysis)
ขั้นที่ 5 การวิเคราะห์ผลที่ได้จากการสังเกตการสอน
ขั้นที่ 6 ขี้ระบุถึงพฤติกรรมการสอนที่ต้องการเก็บรักษาเอาไว้ หรือพฤติกรรมการ
สอนที่ต้องการให้เปลี่ยนแปลง
ตอนที่ 4 การประชุมหลังการสังเกตการสอน (Postobservation conference)
ขั้นที่ 7 ให้ข้อมูลป้อนกลับจากผลของการวิเคราะห์
ขั้นที่ 8 พิจารณาเลือกยุทธวิธี
ใน 8 ขั้นนี้ เมื่อประกอบเข้าด้วยกันแล้วเป็นกระบวนการของการนิเทศการสอน ที่แต่ละขั้นในกระบวนการจะมีความต่อเนื่องกัน เช่นในขั้นที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จะต้องจัดทำก่อนขั้นที่ 4 และขั้นที่ 4 จะต้องจัดทำก่อนขั้นที่ 5 แล้วทำต่อเนื่องกันไปจนครบ 8 ขั้น ในแต่ละตอนแต่ละขั้น ครูและผู้นิเทศจะทำงานร่วมกันไปในเกือบทุกขั้น ในบางโอกาสผู้นิเทศจะทำงานตามลำพัง (โดยเฉพาะในขั้นที่ 5 และขั้นที่ 6)
ทฤษฎีการนิเทศแบบคลินิกตามรูปแบบของแอคคีสันและแกลล์
แอคคีสันและแกลล์ได้เสนอรูปแบบของการนิเทศแบบคลินิกไว้อย่างกะทัดรัดและชัดเจน โดยให้ความคิดเห็นไว้ว่า วิธีการของการนิเทศแบบคลินิกนั้นหมายถึงกระบวนการหรือกิจกรรมที่ดำเนินการตามขั้นตอนการนิเทศ ซึ่งเรียกว่า “วัฏจักร” (Cycle) การนิเทศแบบคลินิกตามแนวคิดของแอคคีสันและแกลล์ได้เสนอไว้ 3 วัฏภาค (phase) ดังนี้
วัฏภาคที่ 1 การประชุมปรึกษาหารือกัน (planning conference)
วัฏภาคที่ 2 การสังเกตการสอน (classroom observation)
วัฏจักรที่ 3 การประชุมให้ข้อมูลป้อนกลับ (feedback conference)
ทฤษฎีการนิเทศแบบคลินิกตามรูปแบบของเบล์ลอนและฮัฟฟ์แมน
เบล์ลอนและฮัฟฟ์แมน ได้เสนอรูปแบบของการนิเทศการสอนไว้ในลักษณะที่มีส่วนใกล้เคียงกันกับรูปแบบของการนิเทศการสอนไว้ในลักษณะที่มีส่วนใกล้เคียงกันกับรูปแบบต่างๆที่ได้เสนอมา โดยมีอยู่ 4 วัฏภาค (phase)
วัฏภาคที่ 1 การประชุมปรึกษาก่อนการสังเกตการสอน (pre-observation conference)
วัฏภาคที่ 2 การสังเกตการสอน (classroom observation)
วัฏภาคที่ 3 การประชุมปรึกษาหลังการสังเกตการสอน (post-observation conference)
วัฏภาคที่ 4 การวัดผลและประเมินผลพฤติกรรมการสอน (evaluation performance)
เบล์ลอนและฮัฟฟ์แมน ได้ให้ข้อเสนอแนะไว้ว่า ความเชื่อและมีศรัทธาอันแรงกล้าในการทำงานของผู้นิเทศนั้น เป็นแรงจูงใจที่สำคัญมาก ผู้นิเทศควรมีความเชื่อเกี่ยวกับกระบวนการของการนิเทศการสอน
ไม่มีความเห็น