หลังจากการประชุมวิชาการ
Sharing for Learning ฝ่ายการพยาบาลฯ
มีกิจกรรมที่ต้องดำเนินการร่วมกับสำนักงานอาสากาชาด
สภากาชาดไทย ในการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ระบบ Home Health Care
Process (HHCP) ผู้ป่วย Stroke
เป็นการอบรมที่มีวัตถุประสงค์ให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำระบบ HHCP
ในกลุ่มผู้ป่วย Stroke ไปสู่การปฏิบัติ
ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการลดระยะเวลาอยู่โรงพยาบาล
และลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและครอบครัว
การอบรมใช้เวลา 2 วัน เป็นการเปิดโครงการครั้งแรก โดยโครงการนี้ฝ่ายการพยาบาล ร.พ.จุฬาฯ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานอาสากาชาด สภากาชาดไทย ได้ทำการศึกษาวิจัยและนำไปสู่การวางระบบการดูแลผู้ป่วย Stroke มาตั้งแต่พ.ศ. 2542 อาจกล่าวได้ว่าเป็นการถ่ายทอดระบบ HHCP ให้กับสถาบันอื่น ในเชิงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การปฏิบัติที่มีคุณภาพ มีผู้เข้าอบรม 46 คน มาจากทั้งภาครัฐและเอกชน
การอบรมครั้งนี้ นอกจากผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้จากวิทยากรแล้ว ยังมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้เรียน โดยนำความรู้จากวิทยากรไปสู่การสร้างระบบ HHCP ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละสถาบัน โดยใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่ม กลุ่มผู้เข้าอบรมบางสถาบันบอกว่าได้รูปแบบของ HHCP ที่ชัดเจนและนำไปสู่การปฏิบัติในสถาบันที่เหมาะสมกับบริบทตนเอง สิ่งที่เพื่อนร่วมกลุ่ม รู้ในบริบทของเขา สิ่งที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากเป้าหมาย คือการเกิดเครือข่ายการประสานการบริการระหว่างสถาบัน และเครือข่ายของบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการบริการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้านในผู้ป่วยระบบอื่น
การอบรมใช้เวลา 2 วัน เป็นการเปิดโครงการครั้งแรก โดยโครงการนี้ฝ่ายการพยาบาล ร.พ.จุฬาฯ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานอาสากาชาด สภากาชาดไทย ได้ทำการศึกษาวิจัยและนำไปสู่การวางระบบการดูแลผู้ป่วย Stroke มาตั้งแต่พ.ศ. 2542 อาจกล่าวได้ว่าเป็นการถ่ายทอดระบบ HHCP ให้กับสถาบันอื่น ในเชิงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การปฏิบัติที่มีคุณภาพ มีผู้เข้าอบรม 46 คน มาจากทั้งภาครัฐและเอกชน
การอบรมครั้งนี้ นอกจากผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้จากวิทยากรแล้ว ยังมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้เรียน โดยนำความรู้จากวิทยากรไปสู่การสร้างระบบ HHCP ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละสถาบัน โดยใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่ม กลุ่มผู้เข้าอบรมบางสถาบันบอกว่าได้รูปแบบของ HHCP ที่ชัดเจนและนำไปสู่การปฏิบัติในสถาบันที่เหมาะสมกับบริบทตนเอง สิ่งที่เพื่อนร่วมกลุ่ม รู้ในบริบทของเขา สิ่งที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากเป้าหมาย คือการเกิดเครือข่ายการประสานการบริการระหว่างสถาบัน และเครือข่ายของบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการบริการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้านในผู้ป่วยระบบอื่น
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาง ลดาวัลย์ รวมเมฆ ใน cnochulahospital
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก