Top 10 Trends in Business Intelligence for 2008


บทความฉบับนี้สรุปแนวโน้มที่สำคัญของ BI 10 ประการ ในปี 2008

Business Intelligence หรือ BI ยังคงเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญด้านการจัดการข้อมูลขององค์กรธุรกิจต่างๆ ต่อเนื่องมาจากปี 2007 และดูเหมือนจะมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น เมื่อปริมาณข้อมูลและสารสนเทศขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว บทความฉบับนี้สรุปแนวโน้มที่สำคัญของ BI 10 ประการ ในปี 2008


1. การควบรวมกิจการด้าน BI ทำให้เทคโนโลยีเติบโตสมบูรณ์มากขึ้น
ในช่วงปี 2007 การควบรวมกิจการระหว่างบริษัทซอฟต์แวร์เฉพาะทางด้าน BI อย่าง Cognos, Hyperion และ Business Objects โดยยักษ์ใหญ่อย่าง IBM, Oracle และ SAP (ตามลำดับ) กลายเป็นประเด็นสำคัญ และคาดว่าจะยังมีการควบรวมกิจการเพิ่มอีกในปีนี้ การควบรวมกิจการส่งผลดีต่อลูกค้า เพราะลดจำนวน vendor ลง และคาดว่าการผสานการทำงานระหว่างซอฟต์แวร์ BI กับผลิตภัณฑ์อื่นๆ จะเป็นไปอย่างราบรื่นมากขึ้น ถึงแม้ว่าในขณะนี้จะยังไม่เห็นผลชัดเจนนักก็ตาม ประเด็นสำคัญของการควบรวมกิจการคือ การส่งผลให้เทคโนโลยี BI แปลงสภาพจากเทคโนโลยีที่โดดเดี่ยว มีลักษณะเป็น stand-alone ให้กลายสภาพเป็นแพลตฟอร์มที่รองรับกระบวนการทำงานและเทคโนโลยีที่หลากหลาย เทียบชั้นได้กับระบบงานอย่าง ERP, CRM หรือ SCM

2. โอกาสใหม่ๆ จาก BI ในระดับปฎิบัติการ
Operational BI แปรสภาพจากการเป็นเรื่องฮ็อตที่ใครๆ ก็พูดถึงเมื่อปีที่แล้ว กลายมาเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญของปีนี้ เมื่อองค์กรทั้งหลายต่างก็ให้ความสำคัญกับการนำเครื่องมือด้าน BI ลงไปใช้ในทุกระดับชั้นขององค์กร จากแต่เดิมที่ BI เป็นเครื่องมือของกลุ่มผู้บริหารระดับสูงหรือนักวิเคราะห์จำนวนไม่มากนัก เพื่อเพิ่มคุณภาพของการตัดสินใจ แต่ Operational BI นำความสามารถเหล่านั้นมาสู่พนักงานระดับปฏิบัติการ ใกล้ชิดกับกิจกรรมทางธุรกิจในแต่ละวันมากขึ้น ทาง Gartner ประมาณการว่าภายในปี 2009 บริษัทในกลุ่ม Global 2000 จะมีการใช้ระบบคลังข้อมูลมาเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานสำคัญมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากแค่ 25 เปอร์เซ็นต์เมื่อปี 2007

3. Analytics กลายเป็นเครื่องมือสำคัญเชิงกลยุทธ์
Analytics หรือความสามารถด้านการวิเคราะห์ เป็นคำเรียกแอพลิเคชันที่นำข้อมูลมาผ่านการวิเคราะห์ เพื่อให้ได้ข้อสรุปหรือนำไปช่วยตัิดสินใจได้ การวิเคราะห์ข้อมูลอาจจะทำในเชิงสถิติ หรือเป็นการใช้แบบจำลองสถานการณ์ในการวิเคราะห์ก็เป็นได้ ในช่วงที่ผ่านมา การใช้ analytics มักจะมีมากในแวดวงด้านการเงิน แต่ปัจจุบันองค์กรหลายแห่งได้นำความสามารถนี้มาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการ ปฎิบัติงานตามแผนกลยุทธ์ที่วางไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการตลาด การที่ operational BI ได้รับความนิยมมากขึ้น ก็มีส่วนสำคัญทำให้งานด้าน analytics ทวีความสำคัญขึ้นเช่นกัน หลายบริษัทใช้แอพลิเคชันด้านการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นกาวเชื่อมประสานระหว่างข้อมูลจากระบบ ERP, CRM และ SCM เข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจในหลายด้าน

4. ภาคธุรกิจเริ่มเข้ามาผลักดันคุณภาพข้อมูลอย่างจริงจังมากขึ้น
แนวโน้มด้านการจัดการข้อมูลอ้างอิง (Master data management - MDM) และด้านการควบคุมคุณภาพข้อมูล ทวีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นในช่วงสองปีที่ผ่านมา บริษัทต่างๆ ที่เริ่มให้ความสำคัญด้านนี้ ต่างก็ประสบกับสิ่งท้าทายทั้งทางด้านเทคโนโลยีและองค์กร จนถึงตอนนี้ทั้งงานด้านคุณภาพข้อมูลและการจัดการข้อมูลอ้างอิง ต่างก็กลายเป็นเรื่องที่ทางฝั่งธุรกิจเริ่มเข้าใจมากขึ้นแล้วว่า ไม่สามารถปล่อยให้ทาง IT ผลักดันอยู่ฝ่ายเดียวได้ ทั้งสองฝ่้ายต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด จึงจะสามารถฟันฝ่าอุปสรรคนี้ไปด้วยกันได้ ความพยายามในด้าน MDM ที่เคยเป็นเพียง “ทดลองดู” ก็จะเปลี่ยนสภาพเป็นพันธกรณีที่สำคัญ กระบวนการธรรมาภิบาลข้อมูล และการมีกลยุทธ์ด้านข้อมูลอ้างอิง จะถูกเร่งความเร็วขึ้น กลุ่ม vendor ด้าน MDM solution ก็จะมีการปรับตัว โดยมีการแยกภาคชัดเจนระหว่างข้อมูลอ้างอิงเกี่ยวกับสินค้า และข้อมูลอ้างอิงเกี่ยวกับลูกค้า

5. BI Governance เคลื่อนตัวสู่ 3 ระดับ
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา องค์กรทั้งหลาย ต่างก็เริ่มตระหนักในที่สุดแล้วว่า งานด้านธรรมาภิบาล มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของกลยุทธ์ทางด้าน BI แต่กระนั้นก็ตาม จำนวนองค์กรที่ประสบความสำเร็จในการจัดสร้างหน่วยงาน และขั้นตอนธรรมาภิบาล BI ได้ยังมีจำนวนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อย่างไรก็ดี แนวโน้มที่สำคัญในปี 2008 ก็คือองค์กรต่างๆ เริ่มปรับเปลี่ยนวิธีในการจัดทำ BI Governance โดยเน้นผลสัมฤทธิ์ทางปฏิบัติมากขึ้น บริษัททั้งหลายเริ่มตระหนักแล้วว่า งานด้านธรรมาภิบาลส่งผลกระทบที่แตกต่างกันเป็นอย่างมากในสามระดับชั้นภายใน องค์กร ทั้งระดับ enterprise, intra-division และระดับ local ความต้องการของธุรกิจที่แตกต่างกันในแต่ละระดับ อาจผลักดันให้เกิดการจัดทำธรรมาภิบาลในระดับนั้นๆ โดยที่มีผลขัดแย้งกับงานในระดับอื่น ประเด็นสำคัญคือต้องป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งในกระบวนการธรรมาภิบาลที่ ต่างระดับกัน โดยอาจต้องตัดสินใจล่วงหน้าก่อนว่า ระดับใดสำคัญที่สุด สำหรับงานธรรมาภิบาล

6. คุณค่าของ unstructured information เริ่มเป็นที่ตระหนักถึงมากขึ้น
กลุ่มผู้บริหารระดับสูงได้เริ่มตระหนักกันแล้วว่า บางส่วนของสารสนเทศที่มีคุณค่ามากที่สุดไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ลูกค้า คู่ค้าผู้ผลิต และสภาพตลาด ไม่ได้ถูกจัดเก็บอยู่ในระบบฐานข้อมูล แต่ถูกฝังกระจัดกระจายอยู่ตามอีเมล์็ instant message powerpoint slides ไฟล์ภาพและเสียง และข้อมูลแบบ unstructure อื่นๆ แรงผลักดันอีกประการหนึ่งคือ ข้อกำหนดทางกฎหมายที่บังคับให้องค์กรต้องเสาะหาหนทางที่ดีขึ้นกว่าเดิมในการ จัดการ และค้นหาเอกสารและข้อมูลในรูปแบบที่ไม่เป็นโครงสร้าง ปัจจัยทั้งสองประการร่วมกันขับเคลื่อนคุณค่าของเทคโนโลยีด้าน BI ให้รุดหน้าไปยังลำดับต่อไป คือการแปลงข้อมูลแบบ unstructured ให้กลายเป็น actionable insight ในลักษณะเดียวกับข้อมูลแบบโครงสร้ัาง ในช่วงปีที่ผ่านมา บริษัทหลายแห่งได้เริ่มต้นพัฒนากรอบการทำงานด้าน unstructure data มีการรวบรวม จัดหมวดหมู่ ประเมิน และจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้อย่างเป็นระบบ รวมถึงการหาวิธีใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นให้ได้ผลสูงสุด และยังต้องคอยหาวิธีวัดผลตอบแทนการลงทุนไปพร้อมๆ กันด้วย ถึงแม้ว่าการจัดการ unstructured data จะได้รับการพูดถึงเพิ่มมากขึ้นในปีนี้ แต่การลงทุนพัฒนาและติดตั้งระบบยังคงต้องรอไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากความพร้อมทั้งทางด้านเทคโนโลยีและด้านความคุ้มค่าในการลงทุน

7. BI Appliance เข้าเกียร์สอง
ถึงแม้ว่าทิศทางของตลาดผู้ผลิตเทคโนโลยีด้าน BI จะมีแนวโน้มการควบรวมกันมากขึ้น แต่ปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องการการแก้ไขเร่งด่วนในองค์กรหลายแห่งคือเรื่อง performance และ manageability ของระบบ BI โดยรวม BI/DW Appliance เป็นระบบ “ขายยกกล่อง” คือมีการจัดทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ไว้เป็นชุด preconfigured ไว้ให้เหมาะกับงานด้าน BI และ data warehouse โดยลูกค้าสามารถซื้อแล้วเอาไปวางใช้งานได้เลย เป็นหนึ่งในวิธีการที่บริษัทหลายแห่ง ใช้ในการแก้ปัญหาเรื่องประสิทธิภาพการทำงานของระบบ ดูได้จากจำนวนการติดตั้ง BI/DW Appliance ที่เพิ่มสูงขึ้นมากในปี 2007 แนวโน้มการใช้งาน BI appliance จะยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องในปี 2008 โดยลูกค้าจะมองหา appliance ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยใช้เทคโนโลยีที่เป็นมาตรฐาน สามารถควบคุมได้โดยใช้ระบบควบคุมการทำงานแบบเดิมที่มีใช้อยู่แล้วในองค์กร และจะต้องสามารถผสานทำงานร่วมกันได้กับโครงสร้างพื้นฐานทาง BI ที่มีอยู่เดิมได้ดีด้วย

8. Managed Spreadsheets ปฎิบัตินิยมแนวใหม่
สเปรดชีตยังคงเป็นหนามยอกอกของงานด้าน BI จากการที่ผู้ใช้ยังยึดมั่นอยู่กับสเปรดชีตที่เขา (หรือเธอ) คุ้นเคย แทนที่จะย้ายไปใช้เครื่องมือใหม่ๆ ด้าน BI ซึ่งถึงแม้จะดูหรูหราแต่ก็งุ่มง่ามและไม่สะดวกเหมือนตารางที่คุ้นเคย ส่งผลให้เกิดข้อมูลซ้ำซ้อน ขาดการจัดการที่ดีและปัญหาอื่นๆ ตามมามากมาย แต่นับจากนี้ไป ทั้งเครื่องมือด้าน BI กับสเปรดชีตจะทำงานด้วยกันเป็นคู่หูมากกว่าจะเป็นคู่้แข่งเหมือนที่เคยเป็น มา ด้วยการผสานรวมกันที่ดีขึ้นระหว่างระบบ BI backend แต่ใช้สเปรดชีตเป็นส่วนติดต่อกับผู้ใช้ ทำให้เกิด managed spreadsheet ที่ผู้ใช้ยังสามารถใช้เครื่องมือที่คุ้นเคย ในการวิเคราะห์และดูข้อมูลได้เหมือนเดิม แต่การรวบรวมและผนวกข้อมูล จะถูกควบคุมไว้และอัพเดตจาก backend ทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

9. BI เข้าร่วมขบวน Internet cloud
เ้มื่อ BI ขยายตัวเข้าสู่กลุ่มผู้ใช้ที่กว้างขวางมากขึ้น รูปแบบการใช้งานและการจัดการข้อมูลก็เริ่มได้รับอิทธิพลจากรูปแบบการใช้งาน อินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นไปด้วย ตัวอย่างแรกๆ ที่เริ่มเห็นแล้วคือ การนำเสนอข้อมูล BI ในลักษณะของ portal แต่แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจะไม่หยุดอยู่เพียงเท่านั้น ในอนาคตอันใกล้นี้ กลไกการนำเสนอข้อมูลของ BI application จะเริ่มมีการผสมผสานเทคโนโลยี Web 2.0 มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น blog, Wiki, หรือ Instant message โดยมีการเรียกใช้งานผ่าน internet cloud เป็นตัวกลางที่จะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประสบการณ์การใช้งาน BI โดยรวม ความสามารถที่เพิ่มเติมเข้ามาใหม่นี้ ได้รับการสนับสนุนจากรูปแบบ Service-oriented architecture (SOA) ซึ่งได้รับการยอมรับมากขึ้นและกลายเป็นส่วนหนึ่งในแผนงานที่สำคัญของบริษัท เป็นจำนวนมาก การนำ SOA เข้ามาใช้ จะเป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้แนวคิดและเทคโนโลยีอื่นๆ สามารถแสดงศักยภาพได้เต็มที่ ไม่ว่าจะเป็น web 2.0, Internet cloud รวมไปถึง operational BI และยังมีส่วนในการกำจัดข้อกังขาของความเป็นไปได้ที่จะใช้ BI as a service อีกด้วย

10. บุคคลากรด้าน BI จำเป็นที่จะต้องเก่งรอบด้าน
เมื่อความสามารถด้าน BI กลายมาเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้โดยพนักงานหลากหลายระดับในองค์กร นับตั้งแต่กลุ่มผู้บริหาร ลงไปจนถึงพนักงานระดับปฎิบัติการ ก็ส่งผลให้เกิดความต้องการบุคคลากรด้าน Business Intelligence เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย เมื่อการใช้งานระบบ BI แพร่หลายไปทั้งในแนวกว้างและแนวลึกขององค์กร บุคคลากรด้าน Business Intelligence ก็จำเป็นต้องมีทักษะเพิ่มมากขึ้น ทั้งทางด้านเทคโนโลยีและทางด้านการจัดการ จะต้องสามารถทำความเข้าใจกับการวิเคราะห์ข้อมูล การประยุกต์ใช้งานสถิติ กระบวนการด้านธุรกิจ และความเข้าใจในลักษณะเฉพาะของอุตสาหกรรมที่ทำอยู่ นอกจากนั้นแล้ว ความต้องการบุคคลากรที่มีทักษะทางด้าน BI ที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับแรงกดดันที่จะลดค่าใช้จ่ายด้านบุคคลากรภายใน ทำให้ offshore outsourcing เป็นทางเลือกอันดับต้นๆ ของหลายองค์กร

สรุป
Business Intelligence เริ่มผสานกลายเป็นส่วนสำคัญของการปฎิบัติงานประจำวัน มีการเริ่มลงมือแก้ไขปัญหาหลายอย่างอย่างจริงจัง อาทิเช่น การธรรมาภิบาลและการจัดการข้อมูล และในขณะเดียวกัน แนวโน้มและโอกาสใหม่ๆ ในอนาคตอย่างการจัดการ unstructured data ก็ถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด แนวโน้มเหล่านี้คล้ายเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า Business Intelligence เริ่มเข้าสู่ยุคใหม่ที่องค์กรธุรกิจเริ่มจำเป็นต้องพึ่งพาความสามารถด้าน BI ในทุกๆ ระดับของการปฏิบัติงาน

ที่มา: http://blog.bzinsight.net/top-10-business-intelligence-trends-2008/

คำสำคัญ (Tags): #bi#business intelligence#trend
หมายเลขบันทึก: 209710เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2008 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ขอบคุณมากครับ สำหรับความรู้ ดีๆ เกี่ยวกับ BI
  • ผมกำลังจะทำโครงการ BI ให้องค์กร คงต้องกลับมาคอย update ตัวเองกับ Blog BI นี้แน่นอน

ขอบคุณนะคะ....หนูกำลังหาคำแปลเกี่ยวกับเรื่อง Top 10 Trends in Business Intelligence for 2008.

ดีใจจังที่เบาแรงไปอีกหน่อยคะ...

ที่เหลือก็แค่แต่งประโยคให้เป็นคำพูดของตัวเอง...เป็นภาษาอังกฤษ...

เพื่อ Present หน้าชั้นเรียนคะ...

ขอบคุณนะคะ

ทีมหาวิทยาลัยไหนในอเมริกาที่สอน BI โดยเฉพาะมั๊ยครับ

มีค่ะ ตอนนี้กำลังจะสมัครเรียนอยุ่

St.Joseph's university ที่ Philadelphia ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท