กฎหมายคุ้มครองผู้บริโรคกับหมอฟัน


กฏหมายฉบับนี้ถือเป็นการปลดแอกการกดขี่ข่มเหงของผู้ให้บริการที่จะกระทำต่อผู้บริโภคอย่างไรก้ได้เป็นเวลาช้านาน แต่ต้องการเป็นเสียงสะท้อนอีกอันหนึ่ง ที่อยากให้หมอทุกคนทำงานด้วยความระมัดระวัง และเห็นแก่ประโยชน์ของคนไข้ให้มากขึ้น...

หายหน้าหายตาจากการเขียนบันทึกลงบล็อกแห่งนี้

ต้องขออภัยเป็นอย่างสูง  หลังจากไปรับงานเป็นหัวหน้าสาขา  ต้องเข้าประชุมกับสอนหนังสือแทบทุกวัน.....

 

วันนี้ได้มีโอกาสไปเข้าร่วมประชุม ที่ห้องประชุม สี สิริสิงค์ คณะทันตแพทยศาสตรื จุฬา เห็นว่าเนื้อหาการประชุมมีประโยชน์ทีเดียว จึงอยากมาถ่ายทอดให้คนอื่นที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมเข้าฟัง ได้รับทราบเช่นเดียวกัน

ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม ที่ผ่านมา ประเทศไทยเราได้มีกฎหมายแบบใหม่คลอดออกมาชื่อ พรบ วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค  ซึ่งถือว่ามีผลกระทบต่อหมอฟันอย่างกระผม และคนอื่นๆพอสมควร

เนื้อหาของกฎหมาย ผมคงจะไม่กล่าวถึง  เพราะเชื่อว่าหลายๆคนคงทราบผ่านสื่อกันแล้ว

แต่ถ้ามีเสียงเรียกร้องอยากทราบ กระผมจะมากล่าวอีกครั้งในภายหลัง

เรามาว่ากันถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหมอๆดีกว่า

กฎหมายฉบับนี้เกี่ยวข้องอย่างไรบ้างหรือครับ?

1.กฎหมายฉบับนี้จะส่งผลให้คดีฟ้องร้องมีปริมาณมากขึ้น เพราะผู้บริโภคหรือคนไข้ฟ้องง่ายขึ้น ค่ารรมเนียมก็ไม่ต้องเสีย มีเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกเขียนคำฟ้องให้ด้วยซ้ำ

2.เป็นการพลิกโฉมของการฟ้องร้องอย่างสิ้นเชิง ซึ่งแต่เดิมเวลามีกรณีคนไข้ฟ้องหมอ คนไข้ต้องพยายามพิสูจน์ให้ได้ว่าหมอผิดอย่างไร ซึ่งยากมากๆที่คนไข้จะชนะ แต่ พรบ.ฉบับนี้ กำหนดให้ หมอต้องเป็นฝ่ายพิสูจน์ให้ศาลฟังว่าตนเองถูกต้องอย่างไร ซึ่งในกรณีนี้ หมอที่ไม่รู้กฎหมายจะเสียเปรียบมาก

3.ค่ารักษาพยาบาลในอนาคตน่าจะต้องสูงขึ้น เพราะคงต้องมีการตรวจ ทำประวัติ ถ่ายรังสี ก่อนรักษา มีการจัดทำระบบการเก็บข้อมูลคนไข้ให้เป้นระบบ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ คือ "ต้นทุน" ซึ่งในที่สุดแล้ว ก็คงต้องส่งผลให้ราคาค่าทำฟันสูงขึ้นในอนาคตเป็นแน่

4. การที่ให้อายุความยาวนานถึง 10 ปี ก็อาจทำให้เราต้องเก็บรักษาข้อมูลการรักษา จนกระทั่งอาจต้องมีการรับประกันงานที่เราทำให้คนไข้ในอนาคตก็เป็นได้

5. ต่อไปคนไข้จะผ่าฟันคุดที่คลินิกทั่วๆไปที่เป้นหมอทั่วไปคงลำบาก เพราะหมอคงเลือกทำการรักษาแต่ในกรณีที่ไม่มีความเสี่ยง ในกรณีที่ยาก คนไข้อาจต้องทำการรักษาในโรงพยาบาลใหญ่ๆที่มีหมอเฉพาะทาง ซึ่งแน่นอนว่าค่าใช้จ่ายต้องสูงขึ้นแน่

6. ความสัมพันธ์ระหว่างคนไข้กับหมอน่าจะเปลี่ยนไป จากเดิมสังคมไทยที่มีความเคารพในตัวหมอระดับหนึ่ง ก็ต้องอยู่บนพื้นฐานของการหวาดระแวง ความเอื้ออาทรก้คงลดน้อยลง จนในที่สุดการให้การรักษาก็จะเป็นแค่สินค้า ชนิดหนึ่ง ที่ผู้บริโภคพร้อมที่จะฟ้องร้องเมื่อไม่พอใจ ดังตัวอย่างในประเทศอเมริกา

ที่กล่าวมาทั้งหมด ไม่ได้มีเจตนาที่จะขู่ หรือทำให้หมอฟันกลัวกฎหมายฉบับนี้ เพราะในอีกด้านหนึ่ง กฏหมายฉบับนี้ถือเป็นการปลดแอกการกดขี่ข่มเหงของผู้ให้บริการที่จะกระทำต่อผู้บริโภคอย่างไรก้ได้เป็นเวลาช้านาน  แต่ต้องการเป็นเสียงสะท้อนอีกอันหนึ่ง  ที่อยากให้หมอทุกคนทำงานด้วยความระมัดระวัง และเห็นแก่ประโยชน์ของคนไข้ให้มากขึ้น...

 

ผมเชื่อว่าถ้าเราปฏิบัตต่อคนไข้เหมือนคนไข้เป็นญาติสนิทของเรา ปัญหายุ่งๆคงไม่เกิดขึ้นกับเราแน่....ขอให้ทุกคนมีความสุขในการทำงานครับ (^_^)

คำสำคัญ (Tags): #efrere
หมายเลขบันทึก: 209704เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2008 15:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 16:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หมอฟันที่จัดฟันให้ลูกสาวเขาไม่ทำไรให้ลูกเลยคะนอกจากเปรียนยางเป็นสีๆที่ฟันให้เป็นระยะเวลาสามปีกว่าก่อนทำการจัดฟันก็ไม่พิมปากบอกแต่ว่าเชื่อใจหมอนะหมอเก่งแค่นี้จิ้บๆสำหรับหมอที่จะบอกคือหมอเขากรอฟันหน้าูกสาวออกเพืีอครอบฟันที่ที่ฟันก็ดีอยู่แล้วแค่มันห่างเพราะเขาจัดฟันไม่เข้าแล้วเขาด็เอาที่ครอบมาใส่ให้เป็นครอบจริงนะคะไม่ได้เป็นครอบเทียมทั้งทึ่ไม่เคยใส่ครอบเทียมให้เลยตอนนี้สีฟันน้องไม่ตรงกับฟันจริงเป็นฟันหน้าด้วยน้องเป็นสาวคะน่าสงสารมากหมอไม่เคยถามว่าน้องจะเอาแบบไหนน้องชอบไหมใส่ให้เลยพอเสร็จน้องดูไม่ชอบใจเขาบอกแค่หมอทำดีที่สุดละเขาไม่แก้ให้ถ้าแก้ให้จะคิดเงินเพิ่มทั้งที่ผ่านมาสามปีไม่ทำไรให้เลยคะนอกจากเปรี่ยนสียางไม่มีดึงไม่มีแบบที่คนอื่นทำกันแบบนี้แม่ควรฟ้องกับหน่วยงานไหนได้คะขอแค่ให้เขาจ่ายค่าทะที่ครอบใหม่ในคนินิกอื่นคะเขาคิดค่าทำให้น้องใหม่ราคา20000ยังไม่ร่วมเอ็กสเรคะ ขอให้หมอรับผิดชอบตรงนี้แทน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท