แวะมาเติมอาหารสมองในงานResearch Expo'51


ช่วงเสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมานี้ลดความคับข้องใจจากบรรยากาศทางการเมืองด้วยการแวะไปร่วมงานการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติปี2551

ช่วงเสาร์+อาทิตย์ที่ผ่านมาแทนการหมกมุ่นและคับข้องใจเกี่ยวกับการเมือง..ฉันได้ไปเติมอาหารสมองให้กับตัวเองโดยการไปร่วมชมนิทรรศการและการสัมนาเกี่ยวกับการวิจัยในสาขาต่างๆที่ในงานการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติปี2551ซึ่งทาง วช.เป็นผู้จัดงานในระหว่างวันที่11-16กย. ณ.ศูนย์ประชุมบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ราชดำริ(ตึกด้านหลังห้างโตคิว/เซ็นทรัลเซน)

..รายการนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆในการเข้าร่วมกิจกรรมแถมยังมีสำนักพิมพ์นำหนังสือที่เกี่ยวกับการศึกษาและวิจัยและร้านค้าในโครงการส่วนพระองค์นำสินค้าที่น่าสนใจมาจำหน่ายด้วย

จะขอเล่าถึงหัวข้อการบรรยายเรื่อง"จริยธรรมการวิจัย"ซึ่งรู้สึกดีมากที่ได้มีโอกาสไปฟังเพราะนอกจากจะได้หัดตื่นตั้งแต่เช้าตรู่เพื่อมาฟังความรู้จากท่านวิทยากรซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยจากสาขาวิชาต่างๆไม่ว่าจะเป็นท่านศาสตราจารย์พิเศษวิชา มหาคุณ(กฏหมาย),รศ.ชอบวิทย์(ที่ปรึกษาจากวช.),ดร.ภิญโญ พานิชพันธ์(วิทยาศาสตร์การแพทย์)รศ.ดร.วริยา ชินวรโณ(สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์)และท่านศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

เนื่องจากว่ามาก่อนเวลาบรรยายจริงๆอยู่พอสมควรจึงได้มีโอกาสสังเกตและฟังการพูดคุยกันเองของท่านวิทยากร พบว่า วิทยากรทุกท่านรักษาเวลา-มาตรงเวลาและมีการวางแผนเตรียมตัวก่อนการบรรยายร่วมกัน แถมวิทยากรบางท่านคือ รศ.ดร.วริยา ชินวรโณได้นำเอากระเป๋าใส่เอกสารสีสวยๆมาแจกให้กับผู้เข้าร่วมฟังการบรรยายที่ตอบกลับแบบสอบถามอีก....เล่นเอาผู้ประชุมห้องอื่นๆอยากได้มั่ง  

                                       

เปิดการสัมนาด้วยการได้รับฟังแง่คิดมุมมองในด้านที่เกี่ยวกับการมีจริยธรรมการวิจัยของท่านเลขาธิการวช.ศ.ดร.อานนท์ บุณยรัตเวชซึ่งท่านกล่าวถึงการรับผิดชอบต่อการใช้งบของแผ่นดินและการที่จะต้องระมัดระวังการให้ข้อมูลเชิงวิชาการที่อาจมีผลกระทบต่อการตีความว่าอาจถือเป็นส่วนหนึ่งในหลักจริยธรรมของนักวิจัย

                      

                                        

วช.มีแนวทางจรรยาบรรณนักวิจัยตั้งแต่ปี2541  มีแนวทางเกี่ยวหลักจริยธรรมของการวิจัย9ข้อและกำลังมีออกเป็นพรบ.โดยมีคณะผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับการวิจับจาก17หน่วยงานมาร่วมเป็นกรรมการและคณะทำงาน วิทยากรท่านแรกที่บรรยายหลังประธานกล่าวเปิดเสร็จแล้วก็คือท่านรศ.ชอบวิทย์ (วช.)ซึ่งอาจารย์เล่าถึงปสก.ที่ทำงานในแถบยุโรปที่แม้แต่เด็กๆก็สามารถที่จะคิดหรือมองเห็นได้ถึงหลักของจริยธรรมว่าอะไรควรอะไรไม่ควร และสะท้อนให้เห็นมุมมองความคิดที่อยากให้มีการฝังลึก/ซึมอยู่ในสำนึกของนักวิจัยไทยเกี่ยวกับเรื่องของจริยธรรม

ตามมาด้วยเรื่องเล่าของศ.นพ.วิจารณ์พานิชในฐานะที่เคยดูแลสกว(บทบาทของผู้ให้ทุน) อจ.ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการมีจริยธรรมของนักวิจัยว่าเป็นเรื่องของการปูพื้นฐานชีวิตที่ดีในการที่จะได้รับความเชื่อถือ,นับถือ ,จริยธรรมเป็นเหมือนพลังชีวิตของผู้คน

ศ.วิชา มหาคุณอธิบายถึงหลักทฤษฏีทางกฏหมายที่สำคัญ2ทฤษฏี(Legal Positive VS.natural Low)และผลกระทบที่มีต่อการร่าง,ตีความและบังคับใช้กฏหมาย

ศ.ดร.ภิณโณบรรยายในแง่ผู้ได้รับทุนและความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์ให้ข้อคิดเด่นๆบางเรื่อง เช่น Subject vs. Participant ,จำกัดความของคำว่าความเกรงใจว่ามี3อย่างคือ นับถือ,เห็นใจ,กลัว,และEducation Research should not be in But for Education!

 

และรศ.ดร.วริยาอธิบายในแง่มุมของนักวิจัยสายสังคมศาสตร์และมนุษยวิทยา ซึ่งอย่างสาขาวิชาจิตวิทยาก็เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่อยู่ในสายสังคมศาสตร์,หลักจริยธรรมการวิจัยในสาขาสังคมศาสตร์ 5ข้อ

1.ความซื่อสัตย์

2.ความรับผิดชอบ

3.ความเป็นธรรมไม่ลำเอีบง

4.ความมีมารยาท

และ 5.การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น

ฟังแล้วเห็นด้วยกับท่านอจ.ทั้งหลายว่าถ้าเราตั้งใจทำวิจัยให้ดีที่สุดในทุกขั้นตอนโดยไม่ทิ้งหลักจริยธรรมแล้วสิ่งเหล่านี้จะเป็นเหมือนการกระตุ้นพลังและเป็นเหมือนเกราะที่จะคุ้มครองนักวิจัยและผู้ที่เกี่ยวข้องให้ได้รับประโยชน์และความสุขในการทำงานร่วมกัน

ซึ่งทางวช.ได้มีการนำเอาเนื้อหาการบรรยายในงานpostไว้ที่ในเว็บของวช.(nrct.or/th)สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 208725เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2008 02:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท