กานต์วลี-เศรษฐศาสตร์เชิงนวนิยาย


เศรษฐศาสตร์

กานต์วลีที่รัก  ทำไมความรักของสองเรา จึงต้องสิ้นสุดลง  เพียงเพราะผมอยาก

เป็นนักเศรษฐศาสตร์......

ฉบับที่  

แด่กานต์วลี

               

านต์วลีที่รัก ผมบินจากกานต์มาสู่ฟากฟ้าที่แสนไกล  ไกลจากที่กานต์อยู่ ผมไม่ทราบเหมือนกันว่าทำไมจึงต้องจากกานต์มา  แต่การที่กานต์ไม่เข้าใจและไม่ยอมรับเกี่ยวกับสิ่งที่ผมรัก เป็นสาเหตุหนึ่งที่เราต้องแยกทางจากกัน....

ความรักควรเป็นต้นไม้ที่รากฝังลึกอยู่ในดิน  แต่กิ่งก้านแผ่ขยายไปในท้องฟ้า..

                                กานต์ยังจำวันที่เราหมางเมินกันครั้งแรกได้ไหม    เรื่องเล็ก ๆ

ซึ่งไม่น่าจะเป็นสาเหตุ แห่งการแยกทางของสองเราเลย ครั้งนั้นผมชวนกานต์

สมัครเข้าเรียนคณะเศรษฐศาสตร์  แต่กานต์ไม่ยอม กานต์บอกว่าเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่มุ่งแต่จะเอารัดเอาเปรียบคน เป็นวิชาของพวกนายทุน เป็นวิชาของคนที่มุ่งแต่ประโยชน์ตน  ผมพยายามอธิบายให้กานต์ฟังว่า เศรษฐศาสตร์ หรือ Economics ในภาษาอังกฤษนั้น มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ OIKONOMIKOS ที่แปลว่า การจัดการบ้าน (Household) เศรษฐกิจ (Economy) ก็มาจากคำว่า Oikos “บ้าน”  กับ Nemein “การจัดการมันจึงเป็นเพียงวิชาการจัดการบ้าน การจัดการครอบครัวเท่านั้นเอง .. ทำไมกานต์ถึงมองเศรษฐศาสตร์ไปในแง่ลบได้มากมายถึงเพียงนั้น  และต่อมาผมจึงได้ทราบว่าสิ่งที่กานต์พูดทั้งหมด เป็นข้ออ้างเพียงเพื่อจะแยกทางไปจากผม  นึกดูแล้ว กานต์และผมก็เหมือนวิชาเศรษฐศาสตร์นั้นแหละ คือ เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาถึงกระบวนการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อนำไปผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด....

และผมจะทำอย่างไรให้หัวใจของกานต์ที่มีหัวใจลดน้อยลงทุกวันบรรจุความรักของผมที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดได้

 

                กานต์เลือกลงคณะโบราณคดี  ซึ่งผมก็ไม่เคยขัดขวางความต้องการของกานต์  กานต์บอกว่าชอบศึกษาเรื่องเก่า ๆ ค้นหาลึกสู่อดีต  แล้วทำไมกานต์ไม่ทราบหรือครับว่า เศรษฐศาสตร์ก็มีมาแต่โบราณกาล  ทุกชาติทุกประเทศก็เอาเศรษฐศาสตร์มาใช้กับชาติ เพื่อนำความมั่งคั่งเข้ามาสู่ประเทศของตน  ในศตวรรษที่  ๑๓๑๖ ประเทศต่าง ๆ พยายามที่จะส่งสินค้าออกไปขายให้มากกว่าการซื้อสินค้าเข้าประเทศ ซึ่งเขาเรียกว่าลัทธิพาณิชนิยม  และเศรษฐศาสตร์ ก็เริ่มเป็นศาสตร์ขึ้นมาอย่างแท้จริง เมื่อบิดาแห่งเศรษฐศาสตร์ อดัม  สมิธ   

 ( Adam  Smith )   ได้เขียนหนังสือชื่อ ความมั่งคั่งแห่งชาติ (The Wealth  of Nations ) ในศตวรรษที่ ๑๘  ... เมื่อ ค.ศ.๑๗๗๖ โดยกล่าวว่ามนุษย์จะตัดสินใจทางเศรษฐกิจอย่างมีเหตุผล เพื่อให้ตนเองได้รับผลประโยชน์มากที่สุด ซึ่งจะกลายเป็นผลประโยชน์ของส่วนรวมโดยปริยาย…         

และปลายปี ศตวรรษที่ ๑๙    อัลเฟรด  มาร์แซล        ( Alfred  Marshall )          เสนอทฤษฎีว่าด้วยการผลิตอันเป็นที่มาของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค ( Micro economics  Theory ) จนเมื่อเกิดเหตุการณ์เศรษฐกิจตกต่ำ       คนว่างงานมากขึ้น  จอห์น  เมนาร์ด  เคนส์ (John  Maynard  Keynes ) เสนอทฤษฎีว่าด้วยการจ้างงาน(Theory of Employment)โดยแนะนำให้รัฐบาล ใช้นโยบายการคลังจึงเกิดเศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics ) ขึ้น

 

                                เห็นหรือยังล่ะ กานต์วลี เศรษฐศาสตร์ของผมเป็นวิชาเก่าแก่เหมือนอย่างที่กานต์ต้องการค้นหา แม้แต่ในประเทศไทย เราก็มีสิ่งที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจมาตั้งแต่ สมัยกรุงสุโขทัย ซึ่งปรากฏในศิลาจารึกไงล่ะครับจูงวัวไปค้า  ขี่ม้าไปขาย  ใครจักใคร่ค้าช้างค้า  ใครจักใคร่ค้าม้าค้า  ใครจักใคร่ค้าเงินค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส…”  ส่วนหนังสือเศรษฐศาสตร์ เล่มแรกที่ชื่อว่า ทรัพยศาสตร์เบื้องต้น โดยพระยาสุริยานุวัตร เขียนเมื่อ พ.. ๒๔๕๔ ต่อมากรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (...)ได้ เขียนหนังสือตลาดเงินตรา ปี พ.ศ. ๒๔๕๙ และในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ก็มีการเปิดสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์และการเมือง

 

                ที่ผมเล่าให้กานต์ฟังอย่างยืดยาว ก็เพราะต้องการให้กานต์เข้าใจว่า วิชาเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่มีมาแต่โบราณกาล และจะยังคงมีต่อไปอีกในอนาคต

“ จิตใจของเธอกับใจของฉันจะยังตกลงกันไม่ได้

จนกว่าจิตของเธอจะหยุดคิดตัวเลข  และใจของฉันเลิกล่องลอยอยู่ในหมอก ”

Your  mind  and  my  heart  will  never  agree

Until  your  mind  ceases  to  live  in  numbers    And  my  heart  in  the  mist. 

                                ผมได้นึกย้อนถึงความรักของสองเรา    เมื่อลองวิเคราะห์ถึงกานต์และผมทีละส่วนอย่างละเอียด เช่น หัวใจ   สมอง   ความคิด  ฯลฯ   หัวใจของเรามีสี่ห้อง ใช่ไหมกานต์   กานต์ก็รู้ทุกพื้นที่ทั้งสี่ห้องมีแต่กานต์วลี  กานต์วลี แต่เมื่อผมนึกถึงสมองของกานต์   กลับเป็นว่า      ขณะนี้มีแต่ตัวเลขและเขาคนนั่น   กานต์รู้ไหมครับ  การที่เราศึกษาส่วนย่อย ๆ หรือวิเคราะห์เศรษฐกิจในหน่วยย่อย ๆ เช่นการศึกษาการบริโภคของนักเรียนโรงเรียนหนึ่ง    ศึกษาวิธีการบริโภคหรือการผลิตของบริษัทแห่งหนึ่ง เราเรียกว่า เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Micro economics)

 

                หรือ ถ้าคิดอย่างโดยรวม เช่น ความรักของผมและกานต์ใกล้สิ้นสุดจบลงแล้ว     มันก็คล้ายกับการศึกษาระดับรวมของประเทศ เช่น ภาวะการจ้างงานของประเทศ  ภาวะค่าครองชีพ     รายได้รวมของประเทศ เขาจะเรียกว่า เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macro economics)

                อย่างไรก็ตาม  ส่วนย่อยและส่วนใหญ่ย่อมมีความสัมพันธ์กัน เช่นสมองของกานต์ (ส่วนย่อย)   ทำให้ความรักของเรา (ส่วนรวม) เลวร้ายลง หรือเศรษฐกิจส่วนย่อยในหลาย ๆ ส่วนก็มีผลต่อเศรษฐกิจโดยส่วนรวม หรือ ความรักของเรา (ส่วนใหญ่) ทำให้หัวใจของผม (ส่วนย่อย) เศร้าสร้อย หม่นหมอง

                ดังนั้น เศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาคจึงต้องศึกษาสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด

 

                กานต์วลี  ผมถามกานต์สักนิดเถอะว่า ตลอดทั้ง ๔ ปี ที่ผ่านมา  กานต์ได้ให้อะไรตอบแทนแก่ชีวิตและหัวใจของผมบ้าง  ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์     มี ปัจจัยการผลิตอยู่  ๔ อย่าง  ได้แก่ ที่ดิน ทุน   แรงงาน และผู้ประกอบการ   ต่างก็มีผลตอบแทน

                ที่ดิน                      มีผลตอบแทนเป็น               ค่าเช่า (Rent)

                แรงงาน                มีผลตอบแทนเป็น               ค่าจ้าง (Wage)

                ทุน                    มีผลตอบแทนเป็น               ดอกเบี้ย ( Interest)

                ผู้ประกอบการ      มีผลตอบแทนเป็น               กำไร (Profit)

 


ความรักของผม  หัวใจของผม  กานต์ตอบแทนผมด้วยอะไร 

สุดท้ายนะ  กานต์วลี

                ปัญหาทางเศรษฐกิจ  ที่ทุกสังคมทุกประเทศ ต้องตอบให้ได้  เหตุเพราะทรัพยากรมีจำกัดและความต้องการของประชาชนมีอยู่อย่างไม่จำกัด ก็คือ

 

๑.       ผลิตอะไร  จำนวนเท่าใด ( What )

๒.     ผลิตอย่างไร ( How )

๓.      ผลิตเพื่อใคร (For Whom )

 

นั้นคือปัญหาทางเศรษฐกิจของเศรษฐศาสตร์ แต่นี่เป็นปัญหาของผมที่กานต์จะต้องตอบ

๑.      เราจะรักกันอีกนานเท่าใด ( Time )

๒.    กานต์จะเลือกใคร ( Choice )

๓.     เราจะจบลงเช่นไร ( Ending )

 

 

                          ยังคงทุ่มเทใจให้กานต์

                                                 อภิษฐา

 

หมายเลขบันทึก: 208233เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2008 05:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 11:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท