ระดับตำแหน่งกับภาวะผู้นำในองค์การ


ระดับตำแหน่งกับภาวะผู้นำในองค์การ

ระดับตำแหน่งกับภาวะผู้นำในองค์การ

จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า ปัจจัยทางด้านสถานการณ์นั้นย่อมมีความแตกต่างกันไป ในองค์การหนึ่ง ๆ ก็เช่นกันและเพื่อความกระจ่างในประเด็นนี้ก็จะขอผ่านองค์การออกเป็น 3 ส่วน มีผู้บริหาร 3 ระดับใหญ่ ๆ คือ

1. ผู้บริหารระดับสูง (Top management)

2. ผู้บริหารระดับกลาง (Middle management) อันได้แก่ผู้อำนวยการกอง, หัวหน้าฝ่าย

3. ผู้บริหารระดับล่าง (Supervisory Level) อันได้แก่ หัวหน้างาน

ในการพิจารณาว่าผู้บริหารในระดับใด จำเป็นต้องมีทักษะในด้านใด เพื่อให้ภาวะผู้นำมีประสิทธิภาพนั้น ก็จะพิจารณาจากระดับของผู้บริหารดังกล่าว ซึ่งทักษะของผู้บริหารที่จำเป็นต้องมีนั้นมี 3 ประเภทคือ

1. ทักษะทางด้านความคิด (Conceptual skill)

2. ทักษะทางด้านมนุษยสัมพันธ์ (Human relations skill)

3. ทักษะทางด้านเทคนิค (Technical skill)

ผู้บริหารระดับสูง (Top management)

1. ผู้บริหารระดับสูงนั้นจะเกี่ยวข้องอยู่กับการจัดทำแผนแม่บทและการจัดรูป องค์การเพื่อการดำเนินงาน

2. บุคคลที่อยู่ในตำแหน่งระดับนี้จะต้องอาศัยความช่วยเหลือในการอำนวยงาน และการควบคุมงานจากระดับรองลงมา

3. ผู้บริหารระดับนี้จำเป็นต้องมีทักษะทางด้านความคิดสูงกว่าระดับอื่น เพื่อใช้ในการกำหนดวัตถุประสงค์และภาพรวมของหน่วยงาน และเพื่อปรับปรุงองค์การให้สามารถดำรงคงอยู่และพัฒนา

ผู้บริหารระดับกลาง (Middle management)

1. บุคคลที่อยู่ในตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางนี้จะเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานในลักษณะของจัดแจง (intermediary) ของผู้บริหารระดับสูงและระดับหัวหน้างาน

2. เป็นผู้นำนโยบายต่าง ๆ รวมทั้งการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงลงมาระดับล่าง และนำเอากรณีไม่ปกติจากระดับล่างขึ้นไปยังระดับสูง

3. พัฒนาระดับและกระบวนวิธีการปฏิบัติงาน นโยบายและมาตรฐานการปฏิบัติงานที่จะทำให้องค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. งานของผู้บริหารระดับนี้ไม่ได้อยู่ที่การวางแผนจัดองค์กร อำนวยงาน และควบคุมเท่านั้น แต่ยังต้องประสานงานกับผู้ร่วมงาน staff

5. ทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักบริหารระดับนี้คือ ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์

ผู้บริหารระดับหัวหน้างาน
(Supervisory Management)

1. เป็นระดับเดียวที่อยู่ระหว่างนักบริหารด้านหนึ่งและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานที่ไม่มีอำนาจ ในการบริหารอีกด้านหนึ่ง

2. เป็นผู้ที่อยู่ภายใต้แรงกดดันค่อนข้างมากในการทำงานที่ได้รับมอบหมายจากระดับสูงให้บรรลุเป้าหมาย

3. เป็นผู้ที่ถูกลากระหว่าง 2 ฝ่ายไป 2 ทิศทางเสมอ ๆ

4. ผู้บริหารระดับหัวหน้างาน ถือว่าเป็นกุญแจสำคัญในลำดับขั้นของการบังคับบัญชา

5. เป็นสะพานเชื่อมระหว่างพนักงานปฏิบัติงานกับฝ่ายบริหาร

6. เป็นระดับที่ภาวะผู้นำต้องมี Technical skill สูงกว่าอีก 2 ระดับ

หมายเลขบันทึก: 208225เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2008 03:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 21:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท