ทฤษฎีที่นำมาสร้างบทเรียน


ทฎษฎีหลัก

ทฤษฎีที่นำมาสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วนสอนเรื่องปฏิมากรรมตุ๊กตาดินเผา

             ใช้ทฤษฎีการออกแบบสื่อของกาเย่ (Gagne )มี 9 ขั้น ดังนี้

1. การเร่งเร้าความสนใจ เป็นการนำเสนอบทนำของเรื่อง ควรจเริ่มด้วยดารใช้แสง สี เสียง หรือสื่อประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและมีความน่าสนใจ

              2. การบอกวัตถุประสงค์ จะเป็นการทำให้ผู้เรียนได้ทราบถึงความคาดหวังของบทเรียน รวมทั้งขอบเขตของเนื้อหาด้วย

              3. การทบทวนความรู้เดิม ควรจะมีการทบทวนความรู้เดิมก่อนที่จะนำเสนอเนื้อหาใหม่แก่ผู้เรียน เพื่อไม่ให้ผู้เรียนเกิดปัญหาในการเรียนรู้ วิธีปฎิบัติสำหรับบทเรียน CAI ก็คือ การทดสอบก่อนเรียน

             4.  การนำเสนอเนื้อหาใหม่ ควรนำเสนอภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ประกอบคำอธิบายสั้นๆ ง่ายๆ แต่ได้ใจความ

             5. การชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ ผู้ออกแบบจะต้องยึดหลัก การจัดการเรียนรู้จากสิ่งที่มีประสบการณ์เดิมไปสู่เนื้อหาใหม่ จากสิ่งที่ยากไปสู่ที่ง่ายกว่า ให้เป็นไปตามลำดับขั้น

             6. การกระตุ้นการตอบสนองบทเรียน บทเรียน CAI ผู้เรียนสามารถมีกิจกรรมร่วมในบทเรียนได้หลายลักษณะ  เช่น การให้ผู้เรียนได้ตอบคำถาม  การแสดงความคิดเห็น การเลือกกิจกรรม และการมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียน ซึ่งจะทำให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ

             7.  การให้ข้อมูลย้อนกลับ บทเรียน CAI จะต้องบอกเป้าหมายที่ชัดเจน โดยแจ้งให้ผู้เรียนทราบว่าขณะนั้นผู้เรียนอยู่ที่ส่วนใด อยู่ห่างจากเป้าหมายเท่าใด จึงจะทำให้บทเรียนนั้นท้าทาย และได้รับความสนใจ

             8.  การทดสอบความรู้ใหม่ หรือ การทดสอบหลังเรียน จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดสอบความรู้ของตนเอง และสามารถวัดผลัมฤทธิ์ทางการเรียนว่าผ่านเกณฑ์หรือไม่ อย่างไร

             9.  การสรุปและนำไปใช้  เป้นการสรุปองค์ความรู้ที่เรียนได้รับเฉพาะประเด็นสำคัญๆ รวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ ที่สามารถนำไปใชประโยชน์ได้ต่อไป

            สรุปจากความรู้ทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่  สามารถนำมาใช้ในการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อทำให้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับเป็นสื่อสำหรับนักเรียนทุกประเภทโดยเฉพาะกลุ่มเด็กพิเศษที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ผู้สร้างสามารถนำสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้กับเด็กเหล่านี้ได้เพราะมีหลักการออกแบบบทเรียนที่ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง มีการเสริมแรงและที่สำคัญเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึก   ทักษะ ซึ่งสามารถนำมาใช้คู่กันกับทฤษฎีธอนไดค์ในกฎการฝึกหัดหรือการปฏิบัติซ้ำ

 

 
 

             

หมายเลขบันทึก: 20793เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2006 08:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เก่งมาก......ให้  10  คะแนนเต็ม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท