การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR)ตอนที่ 4 ทบทวนบทบาทและวิเคราะห์ข้อมูล


"ข้อมูล" มีอยู่มากมาย แต่การเรียนรู้ต่างหากที่จะทำให้เจ้าหน้าที่สนใจและอยากใช้ข้อมูลเพื่อทำงาน

     วันที่ 11 สิงหาคม 2551 ได้ไปประชุมเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเกษตรอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เรื่องการพัฒนาระบบส่งเสริมการเกษตรปี 2551 ซึ่งเป็นการดำเนินงาน ครั้งที่ 4/2551 โดยมีเป้าหมายเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการเกษตรสำหรับใช้กำหนดเป้าหมายงานของหน่วยงาน

     การจัดกระบวนการประชุม ได้ใช้วิธีการแบบมีส่วนร่วมคือ เจ้าหน้าที่นำเสนอรายละเอียดของข้อมูลเกษตรกรแต่ละราย ในประเด็นของ "ต้นทุนการผลิตข้าวของเกษตรกร" ซึ่งเมื่อนำเสนอข้อมูลของเกษตรกร ประมาณ 2-3 ราย (พอให้เห็นเป็นตัวอย่าง)  ก็ได้ร่วมกันเปรียบเทียบข้อมูลโดยดูที่ประเด็นหลัก ๆ ได้แก่  ความแตกต่างของต้นทุนการผลิต  ความแตกต่างของวิธีการผลิต  ความแตกต่างของเทคโนโลยีการผลิตที่ใช้  เป็นต้น โดยการตั้งประเด็นจะมาจากเจ้าหน้าที่ที่ร่วมกันพูดคุย  ส่วนผลของคำตอบมาจากการสนทนา/ อภิปราย จากข้อมูลที่บันึก/ แสดงให้เห็น  ทั้งนี้ดิฉันได้ทำหน้าที่เป็นผู้กระตุ้น/ ตั้งข้อสงสัย ให้กับกลุ่มได้คุยกัน

     จากข้อมูลเรื่องต้นทุนการผลิต ก็ได้เชื่อมโยงมาสู่ข้อมูลเทคโนโลยีที่เกษตรกรใช้  และข้อมูลที่เกษตรกรทำแล้วได้ผล  เพื่อหาทางออกว่า "แล้วสำนักงานเกษตรอำเภอบางปลาม้า จะต้องทำอะไรบ้างในเรื่องนี้จากข้อมูลที่กำลังโชว์/ แสดงให้เห็น"  ดังนั้น ประเด็นการทำงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่จึงเกิดขึ้นจากเวทีการวิเคราะห์ข้อมูล เท่าที่มีตัวอย่างของข้อมูลที่ได้ทดลองนำมาใช้/ ได้ร่วมกันเรียนรู้ความมีประโยชน์ของข้อมูล 
และการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการทำงาน

     จากเหตุ-ผล ที่เกิดขึ้นจากการใช้ประโยชน์ของข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในเวทีการประชุมได้นำมาสู่การกำหนดเป้าหมายงาน หมายความว่า  ข้อสรุปที่เจ้าหน้าที่ได้อภิปราย/ แลกเปลี่ยน/ แสดงความคิดเห็น นั้นเป็นผลมาจากการคิดภายใต้ข้อมูลที่ทุกคนเห็นร่วมกัน และสรุปว่า "เกษตรกรควรจุลดต้นทุนการผลิตในการทำนา" เพราะค่าใช้จ่ายในเรื่องสารเคมีมีสูง  อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ต่อไร่สูงกว่าหลักวิชาการ เป็นต้น  ดังนั้น  เป้าหมายงานส่งเสริมการเกษตรของหน่วยงานก็คือ  ส่งเสริมให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิตข้าว

     การจัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม จึงใช้เป็นเครื่องมือและเป็นกลยุทธ์เพื่อให้เจ้าหน้าที่เรียนรู้ความมีประโยชน์ของข้อมูลการเกษตรที่มาจากการจัดเนื้อหาสาระ "เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลการเกษตร" ให้เจ้าหน้าที่ได้รับเพิ่มเติมจากประเสบการร์ที่มีอยู่เดิมเท่านั้นเอง.

หมายเลขบันทึก: 206094เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2008 16:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 17:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท