หัวใจของการปฏิรูปการศึกษา


ปฏิรูปการเรียนการสอน

การปฏิรูปการเรียนการสอน :หัวใจของการปฏิรูปการศึกษา

 

 

1.ปัญหาใหญ่ของการศึกษาไทยอยู่ที่การคิด

           1.คิดผิด     : คิดแบบเอาเปรียบ, คิดแบบเรียนลัด, คิดแบบเก็งกำไร

           2.คิดไม่เป็น :  ตามผู้อื่น,เลียนแบบ,เชื่อเพราะผู้พูดเป็นผู้ใหญ่หรือผู้อาวุโส

           3.ไม่คิด   :  ติดนิสัยพึ่งพาผู้อื่น,เชื่อตัวบุคคล,เชื่อนักวิชาการ,เชื่อหนังสือพิมพ์โดยไม่

                             ไตร่ตรอง

           4.คิดแล้วไม่ทำ  : ประชุมเสร็จก็เลิกรา, ปล่อยให้คนที่รับผิดชอบไปทำคนเดียว, ไม่ช่วยระดม

                                      ในรูปกลุ่ม

 2 การปฏิรูปการเรียนการสอนใหม่ต้องสอนให้คิดได้ 10มิติ

          1.คิดเชิงวิพากษ์             ค้นหาจุดดีจุดอ่อน

          2. คิดเชิงวิเคราะห์          จำแนกแจกแจง, หาเหตุผล

          3. คิดเชิงสังเคราะห์       นำไปรวมกันเป็นสถานการณ์ใหม่, คิดสมมุติสถานการณ์

          4. คิดเชิงเปรียบเทียบ     ชั่งน้ำหนัก เชื่อมโยงกับสิ่งอื่น

          5. คิดเชิงมโนทัศน์          คิดถึงแก่น,หลักการ,ปรัชญา

          6. คิดเชิงประยุกต์           นำไปทดลองใช้ในรูปแบบอื่น

          7. คิดเชิงกลยุทธ              ค้นหากลเม็ด,กลอุบายที่จะเป็นทางเลือกหลายทางไปสู่ความสำเร็จ

          8. คิดเชิงบูรณาการ          คิดแบบผสมผสาน , ใช้ความรู้รอบด้านมาตอบ

          9.คิดเชิงสร้างสรรค์         คิดสร้าง, ค้นหาสิ่งแปลกใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน

        10. คิดเชิงอนาคต             วาดไปในอนาคต คาดการณ์จะเกิดอะไรขึ้น

 

3.การสอนแบบบรรยายไม่ใช่เลวร้ายไปหมด     แต่ควรใช้เพียง 20%   สอนด้วยวิธีที่หลากหลาย 

   80%

   จะใช้การบรรยายใน  3   สถานการณ์

1)  เหมาะกับการพูดกับคนจำนวนคราวละมากๆได้พร้อมกัน

2) ใช้เกริ่นนำและสรุปเนื้อหาเพื่อบอกให้ชัดเจน ตรงไปตรงมา

3) เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้รู้ไปยังผู้ไม่เคยรู้มาก่อน

       จะต้องมีเงื่อนไขหากจะบรรยาย  

   1)  ผู้พูดต้องเก่ง มีน้ำเสียงลีลาน่าฟัง เสียงสูงเสียงต่ำ

   2) เนื้อหาต้องน่าสนใจ

    3)  ความยาวไม่มาก

    4)  เชื่อมโยงกับชีวิตจริง

    5)  มีการชักแม่น้ำทั้งห้า อุปมาอุปมัย เปรียบเทียบ พรรณนา

    6)   บรรยากาศไม่พูดแข่งกัน ไม่ร้อนเกินไป

  4. วิธีการถ่ายทอดของผู้สอนที่เน้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้

          1. ผสมผสานสรรพวิชาเข้าด้วยกัน

         2. ให้รู้จักเรื่องใกล้ตัวก่อน แล้วจึงขยายวงออกไป

         3. รู้จักตนเองก่อน จึงรู้จักผู้อื่น กลุ่มอื่น

         4. นำเรื่องที่เหมาะสมกับตนเองมาก่อน ง่ายก่อน

         5. ให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม

         6. ไม่ติดยึดตำรา แหล่งเรียนรู้แหล่งเดียว

         7. เปิดใจให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ไปค้นหาเพิ่มเติม

         8. ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ว่ามีสิ่งที่รู้แล้ว และยังไม่รู้อีกมาก ต้องพัฒนาตนเองใฝ่รู้

         9. สอนให้ฟังไปคิดตามไปด้วย

5.  การสอนให้ฝึกคิดวิเคราะห์

  - ฝึกให้คิดแบบต่างๆ       คิดคล่อง คิดหลากหลาย คิดละเอียด คิดชัดเจน คิดกว้าง คิดไกล คิด

                                           ลึกซึ้ง คิดมีเหตูผล                                               

  - ฝึกคิดอย่างมีขั้นตอน      คิดจากง่ายไปยากตามลำดับ  คิดแก้ปัญหาตามโจทย์ที่สั่ง   คิดแบบ

                                           แตกต่างไปจากเดิม       คิดโดยพัฒนาสิ่งใหม่

-วิธีเปลี่ยนพฤติกรรมให้คิด  1.ต้องชี้ให้เห็นข้อเท็จจริง ทำให้ผู้ฟังคิดและบอกเรื่องที่รู้ได้

                                             2.ให้วิเคราะห์จำแนกแยกแยะส่วนย่อยต่างๆได้

                                             3. ทำให้ตัดสินใจได้ บอกได้ว่าสิ่งใดถูกต้อง ดีชั่ว หนักเบา โดย

                                                 ประเมินค่า

                                            4. ชี้ให้เห็นและให้นำไปใช้ประยุกต์ได้จริง

 

6. แต่ละวิชาใช้ทักษะเรียนรู้ที่ไม่เหมือนกัน

วิชา                              เน้นทักษะ

ภาษา                   ฟัง พูดอ่าน เขียน สื่อสารผู้อื่น

สังคม                  สร้างเจตคติ ฝึกทักษะกลุ่ม

ศิลปะ ดนตรี          ลงมือทำ อารมณ์สุนทรีย์ ความคิดสร้างสรรค์

กีฬา                             ลงมือฝึกให้ร่างกายเคลื่อนไหวในสถานการณ์แข่งขัน

วิทยาศาสตร์           คิดเป็นกระบวนการ ทดลองค้นหาความจริง

ฝึกอาชีพ                       ลงมือฝึก รับผิดชอบ สร้างเอกลักษณ์วิชาชีพ

ปรัชญา ศาสนา       รู้เข้ม วิเคราะห์ลึก สร้างศรัทธาให้เข้าใจชีวิตและตนเอง

เทคโนโลยี                 ซื้อมาใช้ เลียนแบบ ดัดแปลง สร้างเอง

คณิตศาสตร์              ทำแบบฝึกหัด ตีโจทย์ให้แตก หาเหตุผล ต้องเข้าใจ

 

7. เทคนิกการสอนแบบส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองLearning Style  มีหลายวิธีเช่น

 

    -การสอนโดยพัฒนาการเรียนรู้ของสมอง Brain based-learning

  -การสอนแบบจัดทำโครงงาน Project based- learning

  - การสอนให้คิดสร้างสรรค์ Constructionism

   -การสอนโดยเน้นการแกัปัญหา Problem solving learning

 - การเรียนทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ต E_learning(Distant learning through internet)

  - การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle)

  -การสอนทักษะชีวิต             Life Skills

 

 ตัวชี้วัดความสำเร็จ การปฏิรูปการเรียนการสอน

ตัวบ่งชี้ของนักเรียนนักศึกษา                ตัวบ่งชี้ของครู                                 ตัวบ่งชี้ของผู้บริหาร

 

1.มีประสบการณ์ตรง                     1.เตรียมเนื้อหาและวิธีการหลากหลาย 1.เป็นผู้นำการปฏิรูป

2.ค้นพบความถนัดของตน            2.จัดบรรยากาศจูงใจ                             2.จัดหาสถานที่อุปกรณ์

3.ร่วมกิจกรรม กับกลุ่ม                  3.เอาใจใส่ผู้เรียนรายบุคคล                  3.จัดหาความรู้มาเผยแพร่

4.คิดหลากหลายได้แสดงออก       4.กระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงออก               4.ยกย่องผู้มีผลงานดีเด่น

5.ได้รับการเสริมแรง                     5.ให้โอกาสพัฒนาตนเอง                     5.รายงานความก้าวหน้า

6.ได้ฝึกค้นรวบรวมข้อมูล             6.ใช้สื่อทันสมัยช่วยสอน                     6.ให้กำลังใจครูและผู้เรียน

7.สนุกกับการร่วมกิจกรรม           7.ใช้แหล่งเรียนรู้หลากหลาย

8.รับผิดชอบในการทำงาน            8. ฝึกเรียนรู้จากกลุ่ม

9.ประเมินตนเองยอมรับผู้อื่น        9.สังเกตความก้าวหน้าของผู้เรียน

 

ตัวชี้วัดความสำเร็จกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมเชิงสร้างสรรค์

 

1.ส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณธรรมขั้นพื้นฐาน: ความรับผิดชอบ+ ทำงานร่วมกับผู้อื่น

2.จัดกิจกรรมครอบคลุมทั้งการคิด+พฤติกรรมที่ทำ+ เกิดความรู้สึก

3.ใช้วิธีส่งเสริมแบบบูรณาการให้เกิดความคิดในเชิงบวก

4.สร้างบรรยากาศสิ่งแวดล้อมรอบโรงเรียนที่อบอุ่น

5. สร้างโอกาสการเรียนรู้เชิงคุณธรรมให้แก่นักเรียน

6.  สอดแทรกคุณธรรมทุกวิชาและ ให้เกียรตินักเรียน

7. กระตุ้นให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

8.  กระตุ้นครูทุกคนเป็นแบบอย่างที่ดีของศิษย์

9.  สร้างกิจกรรมนักเรียนในการเป็นผู้นำที่มีคุณธรรม

10.  ขอความร่วมมือผู้ปกครองและชุมชน สนับสนุนการทำดีของลูก

11.การประเมินความสำเร็จของโรงเรียนให้ประเมินจากพฤติกรรมของเด็กนักเรียน

 

แหล่งอ้างอิง    ดร.จรวยพร  ธรณินทร์   ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

                        http:// www.charuaypontorranin.com

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 205749เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2008 19:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท