ปฏิรูปการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย


ยกเครื่องกศน.ยุคใหม่ ปี2551

ยกเครื่องกศน.ยุคใหม่ปี2551 :  ปฎิรูปงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

                                                                                 

ขอบข่ายของสาระ

1. ความเป็นมาจากงานการศึกษาผู้ใหญ่สู่งานส่งเสริมการ ศึกษานอกระบบและการศึกษา  

    ตามอัธยาศัย

              2.  สาระพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยพ.ศ.2551

            3.วิเคราะห์สถานการณ์และกำหนดภาระงานที่ต้องขับเคลื่อนงานการศึกษานอกระบบและ 

        การศึกษาตามอัธยาศัย

            4. โอกาสของกศน.ในการ จัดการศึกษาตลอดชีวิต

        5. ข้อเสนอแนะช่วยกศน.ฝ่าวิกฤต

       6.  จะจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยยุคใหม่อย่างไร

        7.  การสร้างความเข้มแข็งในการบริหารจัดการแบบเครือข่าย

             8. การขับเคลื่อนกศน.ยุคทองพ.ศ.2551

 

1. ความเป็นมาจากงานการศึกษาผู้ใหญ่  สู่งานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 

            1.1 กองการศึกษาผู้ใหญ่

              ได้เริ่มต้นจัดตั้งในปี พ.ศ. 2483 โดยได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการในสำนักงานปลัดกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน)  ให้มี กองการศึกษาผู้ใหญ่เป็นหน่วยงานที่จัดศึกษาให้กับประชาชนที่อยู่นอกระบบโรงเรียน เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสรับการศึกษา

             1.2 กรมการศึกษานอกโรงเรียน     

            กรมการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2522 เป็นกรมหนึ่งในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีรากฐานมาจาก กองการศึกษาผู้ใหญ่

             1.3 สำนักบริหารการศึกษานอกโรงเรียน

                  ในปีพ.ศ.2546 ได้เกิดการปฎิรูปราชการไทยครั้งใหญ่ ส่งผลให้กระทรวงศึกษาธิการต้องเปลี่ยนโครงสร้างครั้งใหญ่ที่สุด  ทำให้ในส่วนของกรมการศึกษานอกโรงเรียนนั้นได้มีการยุบและรวมงานการศึกษานอกโรงเรียนให้มีฐานะเป็นสำนักบริหารการศึกษานอกโรงเรียน ที่ขึ้นตรงต่อสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ                                                                      

              1.4  สำนักส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

                ตามที่พระราชบัญญัติการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่4 มีนาคม 2551 หลังจากได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 3 มีนาคม 2551แล้ว ส่งผลให้ สำนักบริหารการศึกษานอกโรงเรียนได้ปรับเปลี่ยนชื่อและบทบาทเป็น สำนักส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมีลักษณะเป็นกรมที่ไม่เป็นนิติบุคคล โดยมีเลขาธิการ คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ใช้ชื่อย่อ เลขาธิการกศนมีฐานะเป็นอธิบดี  มีคณะอนุกรรมการภาคีเครือข่าย เรียกย่อว่า อภ.กศน.เข้ามาร่วมจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ระดับกทม./จังหวัดให้มี สำนักงานกศน.กทม./จังหวัด เป็นหน่วยงานการศึกษาตามพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  มีสถานศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ ซึ่งอาจจัดศูนย์การเรียนชุมชนได้ และให้สถานศึกษาของกศน. ต้องมีคณะกรรมการสถานศึกษา

2.  สาระพ.ร.บ.การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยพ.ศ.2551

                      พ.ร.บ.การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยพ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่4 มีนาคม 2551 หลังจากได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 3 มีนาคม 2551

                 เหตุผลต้องออกกฎหมาย :  ให้มีหน่วยการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจัดให้เป็นไปตามพ.ร.บ.การศึกษาพ.ศ. 2542  ที่กำหนดให้มีการศึกษา 3 ประเภท  ได้แก่การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  กฎหมายฉบับนี้จะทำให้สำนักบริหารการศึกษานอกโรงเรียน ซึ่งเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สำนักส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  เป็นผู้รับผิดชอบจัดเองส่วนหนึ่ง และส่งเสริมให้หน่วยงาน อื่น  ทั้งของรัฐ เอกชน  สถานประกอบการ ตลอดจนชุมชนเข้ามาร่วมจัด       เดิมกศน. มีกลุ่มเป้าหมายบริการของการศึกษานอกระบบอยู่2.3ล้านคน   และการศึกษานอกระบบอีก 7 ล้านคน  หากส่งเสริมโดยมีเครือข่ายร่วมจัดจะขยายเป้าหมายบริการได้กว้างขวาง   เนื่องจากผลสำรวจตัวเลขแรงงานไทยจำนวน21.6ล้านคนมีวุฒิ ต่ำกว่าประถม 6 และ  ตัวเลขแรงงานไทยจำนวน39ล้านคนมีวุฒิ ต่ำกว่ามัธยม6    และในส่วนของการศึกษาตามอัธยาศัยที่ผ่านมา   ไม่มีการระบุอย่างชัดเจนในการส่งเสริมคนไทยให้มีการพัฒนาตนเองจนเกิดเป็นการศึกษาตลอดชีวิต

                    สาระของกฎหมาย    

       -ระบุหลักการในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย :   ให้ตรงตามความต้องการของผู้เรียน/ต่อเนื่องตลอดชีวิต/เสมอภาค/กระจายอำนาจให้เครือข่าย/ศักยภาพกำลังคน โดยมีเป้าหมายในการสร้างสังคมอุดมปัญญา                                                             

                                                                             

-การส่งเสริมสนับสนุน: ให้สิทธิประโยชน์ยกย่อง และสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายร่วมจัด

-คุณภาพมาตรฐาน: จัดระบบประกันคุณภาพภายของการศึกษานอกระบบ

         การบริหารจัดการ: -มีคณะกรรมการส่งเสริมสนับสนุนและประสานความร่วมมือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  เรียกย่อว่าคณะกรรมการกศน. โดยใช้โครงสร้างที่กำหนดตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ.พ.ศ.2546

                                - สำนักงานบริหารการศึกษานอกโรงเรียน เปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามและการศึกษาตามอัธยาศัย ใช้ชื่อย่อสำนักงานกศน. อยู่ภายใต้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ไม่มีการตั้งหน่วยงานใหม่ (หน่วยงานกศน.ในส่วนกลางที่มีโครงสร้างคล้ายกับสำนักงานก.ค.ศ.ในปัจจุบัน)

                                 - มีเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย ใช้ชื่อย่อ เลขาธิการกศน

                                - มีคณะอนุกรรมการภาคีเครือข่าย เรียกย่อว่าอภ.กศน. เข้ามาร่วมจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

                                - ระดับกทม./จังหวัดให้มี สำนักงานกศน.กทม./จังหวัด เป็นหน่วยงานการศึกษาตามพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีสถานศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ ซึ่งอาจจัดศูนย์การเรียนชุมชนได้

                                 -ให้สถานศึกษาของกศน. ต้องมีคณะกรรมการสถานศึกษา

                                - มีการกำหนดบทเฉพาะกาลให้ผู้อำนวยการกศน.ปฎิบัติหน้าที่เลขาธิการกศน และผู้อำนวยการศูนย์กศน.จังหวัดปฎิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกศน.จังหวัด และผู้อำนวยการ

กศน.ในเขตกทม 1 คน ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกศน.กทม ไปพลางก่อน แล้วให้ดำเนินการแต่งตั้งภายใน180วันหลังที่กฎหมายบังคับใช้แล้ว  ไม่มีตำแหน่งผู้อำนวยการกศน.ภาค

 

สิ่งที่ต้องดำเนินการหลังพ.ร.บ.การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยมีผลบังคับใช้

1.ต้องออกกฎหมายประกอบ คือกฎกระทรวง 4 ฉบับ และประกาศ 3 ฉบับ

1.1 กฎกระทรวง 4 ฉบับ

         1) กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

         2) กฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดจำนวนอนุกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการได้มาของประธานและอนุกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่ง รวมทั้งการกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการภาคีเครือข่าย                                                             

                                                            

         3) กฎกระทรวงว่าด้วยคุณสมบัติ วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และการประชุมของคณะกรรมการ กศน.กทม/จังหวัด

         4) กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพ

1.2    ต้องออกประกาศ 3  ฉบับ

         1) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ การจัดตั้ง ยุบ เลิก รวม การกำหนดบทบาท อำนาจและหน้าที่ของสถานศึกษาที่จัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

         2) ประกาศคณะกรรมการกศน.ว่าด้วยจำนวนกรรมการคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการได้มาของประธานและอนุกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่ง รวมทั้งการกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษากศน.

         3) ประกาศระทรวงศึกษาธิการรายชื่อสถานศึกษาที่จัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

2 ต้องตามไปแก้กฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับฉบับนี้

-          พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการศธ.พ.ศ.2546 เพื่อเปลี่ยนชื่อและปรับอำนาจหน้าที่ของสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนให้เป็น สำนักส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

-          พ.ร.บ.ระเบียบบริหารข้าราชการครูเพื่อขอแก้ตำแหน่งและวิทยฐานะผู้อำนวยการกศน.จังหวัดเป็นผู้อำนวยการหน่วยงานการศึกษาและมีตำแหน่งรองผู้อำนวยการ

-          พ.ร.บ.เงินเดือนวิทยฐานะข้าราชการครูเพื่อขอแก้ตำแหน่งและ วิทยฐานะผู้อำนวยการกศน.จังหวัด

3.ต้องจัดระบบการส่งเสริมภาคีเครือข่าย    ร่วมจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

( Service Providers)

4. จัดระบบพัฒนาสื่อ เทคโนโลยี แหล่งเรียนรู้ การยกย่องเกียรติคุณ สิทธิประโยชน์ ศูนย์การเรียนของชุมชน

5.จัดระบบประกันคูณภาพภายใน  

 3. วิเคราะห์สถานการณ์และกำหนดภาระงานที่ต้องขับเคลื่อนงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย   

1.สังคมส่วนใหญ่มองการศึกษานอกระบบเป็นทางเลือกสุดท้าย ไม่นิยมเรียน ผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่องของมหาวิทยาลัยลดลง

2.สังคมมองผลผลิตของการศึกษานอกระบบยังไม่มีคุณภาพ

 3. กลุ่มเป้าหมายการศึกษานอกระบบเป็นผู้ด้อยฐานะทางเศรษฐกิจ และย้ายถิ่นสูง ไม่สามารถเข้ารับบริการ ร่วมกิจกรรมได้ต่อเนื่อง

หมายเลขบันทึก: 205745เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2008 19:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 14:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท