องค์การแห่งการเรียนรู้


องค์การแห่งการเรียนรู้

 

ความหมายขององค์การแห่งการเรียนรู้

          องค์การแห่งการเรียนรู้เป็นแนวคิดที่เติบโตมาจากกระแสการเปลี่ยนแปลงเรื่องการเรียนรู้ องค์การ

และการจัดการ การฝึกอบรม และพัฒนา (Pedler et al., 1991) กล่าวคือ หากเป็นกระแสด้านการเรียน

การสอนก็จะเปลี่ยนจากศูนย์กลางการเรียนรู้อยู่ที่ผู้สอน และการเรียนรู้อย่างเป็นทางการ มาเป็นศูนย์กลาง

การเรียนรู้อยู่ที่ผู้เรียน (learner center) และการเรียนรู้จากการปฏิบัติด้วยตนเอง (action learning) โดย

การเรียนรู้จะถูกร้อยเรียงเป็นกระบวนการต่อเนื่องตลอดชีวิต และผสมผสานเข้ากับสภาพแวดล้อมในชีวิต

และการทำงาน

          องค์การแห่งการเรียนรู้ ในความหมายของปีเตอร์ เชงกี้ (Senge, 1994) คือ องค์การที่ซึ่งสมาชิก

ได้มีการขยายขอบเขตความสามารถของตนเองอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับ

องค์กร เพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมายที่บุคคลในระดับต่างๆ ต้องการอย่างแท้จริง ซึ่งประกอบไปด้วยวินัย 5

ระการ ได้แก่ ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษของบุคคล (personal mastery) แบบแผนทางจิตใจที่มองโลก

ตามความเป็นจริง (mental model)  การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (shared vision) การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม

(team learning) และการคิดเชิงระบบ (systems thinking)

          มาร์ควอตส์ (Marquardt, 1996) นิยามว่า องค์การแห่งการเรียนรู้ หมายถึง องค์การซึ่งมี

บรรยากาศของการเรียนรู้รายบุคคลและกลุ่ม มีวิธีการเรียนรู้ที่เป็นพลวัต มีการสอนคนของตนเองให้มี

กระบวนการคิดวิเคราะห์เพื่อช่วยให้เข้าใจในสรรพสิ่ง สามารถเรียนรู้ จัดการ และใช้ความรู้เป็นเครื่องมือไป

สู่ความสำเร็จควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยองค์ประกอบของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้

มี 5 องค์ประกอบได้แก่

          พลวัตการเรียนรู้ (learning dynamics)

การปรับเปลี่ยนองค์การ (organization transformation)

การเพิ่มอำนาจแก่บุคคล (people empowerment)

การจัดการความรู้ (knowledge management)

การใช้เทคโนโลยี (technology  application)

          องค์การแห่งการเรียนรู้ เป็นองค์การที่มีความปราถนาในการที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ เพื่อการพัฒนาการ

ทำงานมีการแบ่งปันความคิดในการทำงาน มีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม มีการทุ่มเททรัพยากรเพื่อลง

ทุนให้บุคลากรทุกระดับเกิดการเรียนรู้ตลอดจนสร้างค่านิยมเกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรมและทดลองทำสิ่ง

ใหม่ๆจนกลายเป็นวัฒนธรรมขององค์การ (Yulk, 2002)

หมายเลขบันทึก: 205542เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2008 10:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 12:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท