โค้ชส้ม Citrus
Miss. ปรีดิ์ฤทัย โค้ชส้ม ตั้งจิตญาณพัฒน์

รู้แต่ว่า กู่เจิง เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง อย่างอื่นไม่ต้องพูดถึง


ไม่เคยสัมผัสกู่เจิง มาก่อน เมื่อเช้ายังเรียกว่ากู่เจิ้ง อยู่เลย คิดไม่ถึงว่าคนใน SCG จะสนใจเรื่องนี้เหมือนกัน

     สองวันก่อนได้รับ e-mail ชวนไปร่วมฟังบรรยายและฟังดนตรีกู่เจิง ที่ชมรมพัฒนาจิตจะจัดในเย็นวันพุธที่ 3 ก.ย. ถ้าเป็นเมื่อก่อน อาจจะไม่มีแรงบันดาลใจอยากไปฟังเท่าไหร่ เพราะไม่มีความสนใจ แถมต้องเดินข้ามถนนไปฝั่งสำนักงานใหญ่ มันไกลมากในความรู้สึก (ของคนขี้เกียจเดิน)

     เมื่อนาฬิกาเดินเข็มเป็นเวลา 5 โมงเย็น เฮ้อ จะไปหรือไม่ไปดีหนอ วันนี้ประชุมทั้งวัน มีเรื่องต้องสะสางเต็มไปหมด เพราะความหาเรื่อง หางานมาใส่ตัว จนพัวพันแกะไม่ออก ผ่านไปสิบห้านาทีแล้ว ใช้เวลาเดินกว่าจะไปถึงห้องบรรยายอีก สิบนาที เอ้า รับปากน้องผู้จัดไว้แล้ว ถ้าไม่ไปก็เสียผู้ใหญ่ ไม่รักษาคำพูด คิดได้ดังนั้นสองเท้าก็พาร่างท้วมๆ เดินไปถึงห้องสัมมนา เป็นเวลาเกือบ ห้าโมงครึ่ง เจอน้องผู้จัดยืนยิ้มเผล่ อยู่หน้าห้องเห็นมาแต่ไกล เมื่อเดินมาถึง น้องบอกว่า เล่นเพลงสมัยราชวงศ์ชิงไปแล้วครับ.. อ๋อ เหรอ

     ตอนเข้าไปนั่ง อ.หลี่หยาง ซึ่งเป็นครูผู้สอนกู่เจิ้งให้กับเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ฯ หน้าตาขาว ใส สวยงาม อายุน่าจะไม่เกินสี่สิบห้า แต่งตัวดี น่าชม อ.กำลังเล่นดนตรีกู่เจิ้ง เป็นเพลงอะไรก็ไม่รู้ ขณะนั้นตัวเองกำลังวุ่นวายใจหลายเรื่อง สมองยุ่งไปหมด พอมาได้ยินเพลงบรรเลง แทบจะทนไม่ไหว มันรู้สึกเหมือนกับว่าทำไมเสียงสูงๆ ดังๆ แผ่วพริ้วในบางช่วง จึงเข้ามากระแทกที่หัวใจนไม่สามารถที่จะลืมตาอยู่ได้ ต้องขอนั่งหลับตาสักพัก ครู่หนึ่งเลยต้องหยิบสมุดขึ้นมาขีดเขียนเส้นสายตามเสียงดนตรีพาไป คล้ายกับที่เคยไปอบรม "วาดดนตรีกับจีวัน"

    ผ่านไปได้หนึ่งเพลง รู้สึกว่าโล่งขึ้นมากและเริ่มรู้สึกซาบซึ้งกับเสียงดนตรีมากขึ้นกว่าตอนที่เข้ามาแบบมีอะไรอยู่ในหัว ในใจเต็มไปหมด แต่พอเริ่มโล่ง ก็สามารถรับสัมผัสเสียงเพลงบรรเลงได้ดีขึ้น อ.หลี่หยางมีการพูดุคย ตอบคำถามของผู้ที่เข้ามานั่งฟัง ทำให้ได้รับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องของการดูแลรักษากู่เจิง ราคา การเลือกซื้อ ลีลาการดีดกู่เจิง และประโยชน์ที่ได้จากการเล่นกู่เจิง

    ข้อมูลที่ได้รับฟังดูทั่วไป ถ้าไม่คิดมาก ก็อาจจะเหมือนเป็นเรื่องธรรมดา แต่สำหรับคนผิดปกติอย่างเราได้ข้อคิดเยอะ โดยเฉพาะเมื่อ อ.เปรียบเทียบคนที่ฝึกเล่นมาแบบผิดหลักตั้งแต่ต้น อ.จะไม่อยากรับสอน เพราะเหมือนเวลาเราวาดรูปบนกระดาษสีขาวล้วน จะสนุกกว่า ใช้เวลาน้อยกว่า ไม่ต้องไปเสียเวลาแก้ไข เพราะบางทีแก้ยากมาก เปรียบเหมือนนำกระดาษที่เคยวาดรูปไปแล้ว ต่อให้ใช้ยางลบลบ ออกไป ก็ยังเหลือร่องรอยเดิมให้เห็นอยู่ดีซึ่งจะรบกวนการวาดรูปใหม่ลงไปที่ทำให้ลายเส้นไม่สวยงาม

   อีกเรื่องที่ อ.ถ่ายทอดให้ฟังคือ คนเล่นดนตรี ขณะเล่นหากไม่มีสมาธิ ใจลอย หรือมีเรื่องคิดในหัวเยอะอยู่ เสียงเพลงที่ดีดออกมาจะไม่รื่นหู มีเสียงลอย เสียงสะดุด การเล่นดนตรีให้ไพเราะ จึงต้องฟังเสียงที่ตัวเองเล่นด้วย ทำให้ได้ฝึกสติ สมาธิ จนเกิดความสุข ความผ่อนคลาย ช่วยระบายความเครียด หรือสารพิษออกจากร่างกาย เพราะขณะเล่นต้องใช้พลังในการออกลีลาด้วย มิน่าเราเดาอายุอาจารย์ผิดไปเป็นเกือบสิบปี  ชักอยากเล่นดนตรีบ้างแล้วสิ ตั้งใจอยู่เหมือนกัน แต่อยากเล่นขิมมากกว่า แต่ไม่รู้ว่าจะสูงวัยเกินที่จะเรียนหรือยัง น่าลองดูเหมือนกัน  อาจารย์บอกว่า อ.มีความสุขด้วยที่เวลาไปแสดงที่ไหนคนจะชื่นชมและซาบซึ้งไปกับความไพเราะของเสียงเพลงที่บรรเลงออกมา เมื่อทำให้คนฟังมีความสุขได้ ผู้เล่นยิ่งสุขทวีคูณ

คำสำคัญ (Tags): #กู่เจิง
หมายเลขบันทึก: 205446เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2008 21:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 05:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ตามมาอ่านเกี่ยวกับดนตรีค่ะ

มีฉากหนึ่งในสามก๊ก

ขงเบ้งโดนสุมาอี้ตามมาตีที่เมืองหนึ่ง

สู้ไม่ชนะแน่

ขงเบ้งบอกทหารทำตัวปกติ เปิดประตูเมืองรอ

คว้ากู่เจิงมาเล่น ด้วยจิตใจสงบ

สุมาอี้ได้ฟังจึงประเมินว่าในเมืองเข้มแข็ง จึงเล่นกู่เจิงได้เสียงสงบอย่างนี้ แบบว่าสบายใจ

เลยยกทัพกลับ

ว่ากันว่า กู่เจิงจะบอกจิตใจคนเล่นได้ดีมาก ใจไม่นิ่งเพื้ยนทันที

เลยสนใจดนตรชิ้นนี้มาตั้งแต่ฉากนั้นครับ

ว่าแต่ถ้าขงเบ้งเล่นให้พวกเราฟัง คงไม่รู้อยู่ดีว่าใจเป็นไง ก็ฟังไม่ออกนิ

สวัสดีจ้ะ คุณไม่ประสงค์ออกนาม

ตอนที่ อ.หลี่หยางสอน ก็พูดถึงขงเบ้งเหมือนกัน แต่พูดว่า นักปราชญ์ต้องทำได้ 4 อย่าง หนึ่งในนั้นคือต้องเล่นกู่ฉิงเป็น (ยากกว่ากู่เจิง) ต้องใช้พู่กันจีนเขียนหนังสือและ วาดภาพ ต้องเล่นหมากล้อมเป็น

ก็จริงนะ ตอนฟังก็พยายามใช้ประสาทสัมผัสทางหู อย่างเต็มที่และจินตนาการตามเสียงเพลง รู้แต่ว่าคนเล่นสมาธิ จิตใจจดจ่ออยู่กับตรงหน้าอย่างเดียว ไม่วอกแวก คงเหมือนการเล่นดนตรีแบบ orchestra

สวัสดีค่ะ....ชบา อีกแล้วค่ะ คือว่าอ่านมาน่าชื่นชมมากสำหรับ กระทู้ที่ 1 แต่กระทู้ที่ 3 มีเข้าใจคลาดเคลื่อนค่ะ จริง ๆ เครื่องดนตรีที่ขงเบ้งใช้ลวงสุมาอี้ เป็นกู่ฉิง หาใช่กู่เจิงไม่ค่ะ เพราะนักปราชญ์โบราณ ต้องเรียนศาสตร์นี้อยู่แล้ว ดังนั้น เครื่องดนตรีชนิดนี้คือกู่ฉิง อย่างแน่นอนค่ะ ก็เป็นโอกาสที่ร่วมยินดีและ share ประสบการณ์ร่วมกันน๊ะค๊ะ ชบา ... หากสนใจสอบถามหรือพูดคุยในเรื่องเกี่ยวกับกู่เจิง เรียนเชิญคุยได้ตามที่ mail ค่ะ : [email protected] อะแฮ่ม วันที่ อาจารย์หลี่หยาง ไปบรรยายที่ปูนฯ ชบา ร่วมเหตุการณ์ด้วย รู้สึกเป็นเกียรติประวัติกับตัวเองและรู้สึกมีส่วนร่วมอย่างที่เรียกว่าชาตินี้ไม่มีวันลืมเลือนเสียงกู่เจิง อันแสนไพเราะ ให้เลือนจากหัวใจไปได้เลยค่ะ ขอให้ทุกคนมีความสุขอย่างเช่นชบา น๊ะค่ะ ชบา

เขียนบรรยายได้ดีจังคะ ขนาดฟังพร้อมกันยังไม่สามารถอธิบายได้เท่านี้เลย เขียนอีกนะคะ

สวัสดี ค่ะ ชบาค่ะ

วันนี้มีเรื่องดี ๆ มีแนะนำ ใครอยากรู้ อยากอ่านความเป็นกู่เจิงที่ประวัติศาสตร์อันยาวนาน ต้องมาอ่านที่นี่ค่ะ พี่ pindeva ก็ถือเป็นผู้หนึ่งที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องของกู่เจิงได้ดีทีเดียวค่ะ ชบาอ่านแล้วต้องขอคารวะค่ะ

http://siamguzheng.multiply.com/

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท