บันทึกการเมืองไทย : ปลวกสังคม


 

          ตามปกติผมไม่คุยเรื่องการเมือง    แต่ช่วงนี้ (๒๕ – ๒๘ ส.ค. ๕๑) ได้ยินเรื่องที่ทำให้ผมพอจะเข้าใจว่าทำไมคนจึงอดทนมาประท้วงให้รัฐบาลลาออก   ทั้งๆ ที่มีความยากลำบากมาก    เข้าใจว่าเขารู้ว่ามีการทำร้ายบ้านเมืองเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองอย่างลับๆ และล้ำลึกมาก    ยากที่ จะบรรยาย

 ปากว่าเลิกเล่นการเมืองแล้ว   แต่ยังโทรศัพท์มาสั่งการ  ยังให้สมุนโทรศัพท์ไปรายงานตลอดเวลา    คนก็ยังไม่ตระหนักในความเป็นคนไม่ซื่อตรง    ปากอย่างใจอย่าง


 ฟังมาว่า ... มีรัฐมนตรีประชุมกระทรวงที่บ้าน   รมต. พูด ๑๐%  spouse พูด ๙๐%   ที่ใช้คำว่า spouse (คู่สมรส) ก็เพื่อไม่ให้ชัดเกินไปว่าเป็น รมต. หญิงหรือชาย   แสดงความเป็น รมต. ตัวแทน   และแสดงการเข้ามาแสวงผลประโยชน์ที่ไม่ชอบ


 ฟังมาว่า ... งบจังหวัด มี สส. ของพรรค.... เข้าไปจัดการ เดิมถือเป็นงบ สส. พรรค.... ๕๐%   เวลานี้ ๑๐๐%   ไอติมแท่งดูดได้คนเดียวเป็นชิ้นเป็นอัน   ไม่ต้องผ่านการดูดหลายชั้น


 ข้าราชการระดับสูงทำงานยากมาก เพราะจะมีโทรศัพท์มาขอโน่นขอนี่   ขอให้ตั้งคนโน้นคนนี้   ถ้าไม่ให้ตามขอ เก้าอี้คลอน    แม้มหาวิทยาลัยเขายังกล้าขอ


 ข้าราชการถูกแบ่งแยกแล้วปกครอง   เพื่อให้ยอมอยู่ใต้อำนาจ   การทำงานเป็นทีมในหมู่ข้าราชการระดับสูงจึงเป็นไปไม่ได้    เพราะไม่มีใครไว้ใจใคร      ตกอยู่ในสภาพทำงานเพื่อเอาตัวรอด  ผมได้ยินจากปากคนระดับอธิบดีหลายคน


 ผมคิดว่าการเมืองปัจจุบันใช้วิธีมอมเมาประชาชนด้วยนโยบายประชานิยม   ที่เสนอผลประโยชน์ส่วนตัว ส่วนบุคคล ระยะสั้น   ชาวบ้านชอบ โดยไม่ตระหนักว่าแลกกับผลประโยชน์ส่วนรวม   และแลกกับผลประโยชน์ระยะยาว


 ธุรกิจที่แข่งขันเสรีอยู่ยาก   เพราะมีธุรกิจของกลุ่มการเมืองพรรค...เข้ามาถือไพ่เหนือ หรือผูกขาด   ตามสไตล์ของนาย.....    ที่มุ่งกินแดนหมด   ไม่เหลือพื้นที่/ที่ยืน ให้คนอื่น   และนี่คือเหตุผลที่ทำให้หาแผ่นดินอยู่ยาก


 ในช่วงเวลา ๕ – ๖ ปีที่ผ่านมา    คอรัปชั่น และการเล่นพวก รุนแรงมาก กัดกร่อนสังคมเป็นแผลลึก


 เข้าใจยากมากว่าบ้านเมืองของเรากำลังถูก “ปลวกสังคม” กัดกินแกนในของสังคมอย่างไร   แกนในคือคุณธรรมจริยธรรม    

          นี่คือการตีความของผมเอามา ลปรร.   ขอย้ำว่าผมเป็นคนไม่เข้าใจการเมือง    ไม่ ยืนยันว่าผมตีความถูกต้อง

 

วิจารณ์ พานิช
๒๙ ส.ค. ๕๑

         

หมายเลขบันทึก: 204209เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2008 15:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 10:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

เรียนท่านอาจารย์ครับ

ขออนุญาตใช้อารมณ์ ความรู้สึก สด ๆ มาแสดงความคิดเห็นดังนี้ครับ

  • เห็นด้วยกับท่านอาจารย์เกือบทั้งหมด
  • นาย ก คนนั้น ผมคิดว่า เขากินคนเดียว กินรวบ กินไม่แบ่งคนอื่น กินมาก กินทั้งหมด ที่สำคัญเขากินไม่หยุด และหลงในการกิน หลงในชีวิต (เก่งแต่หลง)
  • ถ้าเทียบกับ นาย ก คนอื่น ๆ เขาไม่ได้กินคนเดียว บางคนไม่กินเลยเช่น นาย ก ช ถึงแม้พรรคพวกเขาจะกินก็ตาม แต่เขาก็ไม่กิน เขาเลยไม่มีคดีเพราะไม่มีโจทย์ ถึงแม้เขาจะเห็นตีนงูและนมไก่ แต่เขาก็ไม่ใช่ทั้งงูและไก่ ก็เลยไม่สนดีกว่า
  • เพราะกินไม่แบ่งใคร โจทย์ก็เลยเยอะหน่อย แถมกินจุ กินรวบ และหลงไปกับการกินก็เลยดูและเห็นได้ชัดเจน
  • แต่กินน้อย ๆ ค่อย ๆ เล็ม แบ่งกันกิน เรา ๆ ท่าน ๆ จะไม่ค่อยเห็น
  • -----------
  • วัฒนธรรมการแอบกิน แบ่งกันกิน ค่อย ๆ กิน หรือเรียกอย่างเป็นทางการ คือ ทุจริตเชิงนโยบาย หรือ โจรในเครื่องแบบ หรือ โจรในคาบผู้ดี ผลาญเงินอย่างถูกกฏหมู่ (มีความรู้เป็นโล่ห์และอาวุธ) ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัวว่ากระทำอยู่ ดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยมีใครสังเกตุเห็นว่าเป็นโจรปล้นแผ่นดิน
  • หรือคล้าย ๆ กับสร้างบาปไปแล้วเอาบุญมากลบปลอบใจตนเอง ว่า งปม. เท่านี้ ก็ได้งานประมาณนี้ หรือ ได้งานอยู่บ้าง จะยั่งยืนหรือไม่ยั่งยืน คุ้มค่าเงินภาษีหรือไม่...
  • ----- ความจริงที่เราต้องเข้าใจให้ได้ คือ จริง ๆ แล้วรากหญ้ารู้ในสิ่งที่เราคิดว่าเขาอาจจะไม่รู้ถึงรู้ก็ไล่ไม่จนกระดาน เขารู้และสัมผัสด้วยตนเองทั้งในรูปแบบโครงการของรัฐและอะไรต่อมิอะไร (มันหมดยุคสมัยแห่งการปกปิดและคิดว่าเขาไม่รู้กันแล้ว)
  • --- คนชั้นบนกำลังเรียนรู้ถึงสิ่งที่คนชั้นล่างสัมผัสได้มาตลอด พึ่งจะเรียนรู้จาก นาย ก คนดังกล่าว สักวันท่านคงจะชินและปลงได้เองว่า ...แย่จัง...
  • --- คนชั้นล่างไม่ใช่เขาไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร แต่เขานั่งดูคนชั้นบนต่างหาก ว่าท่านจะเรียนรู้และเข้าใจปัญหานี้ เข้าใจหัวอกคนรากหญ้าได้หรือไม่ หรือท่านจะยังคงคิดว่า เขาโง่ เห็นแก่เงินอุดปากเล็ก ๆ น้อย ๆ แห่งนโยบายประชานิยม ถ้าเราหันลงไปมองเงินนั้นเขาเอาไปทำบุญบริจาคผ้าป่า กฐิน ก็ไม่น้อย
  • พิจารณานโยบายประชานิยม ให้เงียบและลึกอีกสักนิดหนึ่ง แล้วท่านจะเห็นและเข้าใจมากขึ้น
  • เหมือนในหนัง เรือโนอาร์ ถ้าท่านขอพรจากพระเจ้า...พระเจ้าจะประทานพรดังกล่าวมาให้ท่านหรือจะประทานโอกาสให้สร้างตามพรที่ท่านขอนั้น...
  • ด้วยความดับถือ และต้องขออภัยที่มาบ่น ๆ ในกระทู้ของท่าน เพราะผมเชื่อว่า ท่านจะช่วยเหลือประเทศนี้ได้ไม่มากก็น้อยครับ

ขอบคุณครับ อาจารย์หมอ :) ... ถือเป็นข้อมูลอีกด้านครับ นอกเหนือจากการประโคมข่าวของสื่อมวลชนต่าง ๆ

สังคมอุดมปัญญาจริงๆ หากไม่มีปัญญาแกะออกมาไม่ได้ขนาดนี้ ต้องให้น้องมะปราง มาเรียนรู้จะได้ไม่กลุ้มใจคนเขียนการเมือง กลัวเสียความเป็นกลาง อยู่กับความถูกต้องไม่ต้องกลัวอะไร

การเมืองนั้นถ้าคนขาดคุณธรรมก็จะมีปัญหาฉ้อราษฎร์ บังหลวง แบบนี้ทุกยุคทุกสมัย การฉ้อราษฎร์ ในสมัยก่อนก็มีให้เห็นนะครับ ยกตัวอย่างเช่น

สมัยพระเจ้าเอกทัศ สถานการณ์ยิ่งหนักกว่าพลเป็นนาย เพราะขุนนางใหญ่ล้วนแล้ว แต่เป็น “พี่เมียพระเจ้าแผ่นดิน” พระยาราชมนตรี เจ้าหมื่นศรีสรรักษ์ ขุนนางใหญ่ ก็เป็นพี่ชายเจ้าจอมเพง เจ้าจอมแมน หาดเล็กชื่อนายสังข์ ชาวบ้านคูจาม เป็นพี่ชายเจ้าจอมพัก เจ้าจอมปานก็เลื่อนขั้นเป็นขุนนางทำหน้าที่...ผูกขาดเก็บภาษีผักบุ้ง ตั้งเกณฑ์เก็บภาษีตามขนาดแพผักบุ้ง บังคับรับซื้อไว้ในราคาถูก แล้วขายให้ชาวบ้านในราคาแพง ใครแอบขายผักบุ้ง ถูกจับปรับถึง 10 บาท ราษฎรก็เดือดร้อน ร้องเรียนเท่าไหร่ก็ไม่ถึงพระเนตรพระกรรณสักทีวันหนึ่ง พระเจ้าเอกทัศบรรทมไม่หลับ รับสั่งให้หาละครไปเล่น นายแทนนายมีก็เล่นเป็นจำอวด ย้ำแต่คำว่า จะหาเงินมาแต่ไหน แต่เก็บผักบุ้งขายต้องเสียภาษี ทรงรู้เรื่องก็พิโรธมาก สั่งให้ชำระเร่งคืนเงินภาษีให้ราษฎร นายสังข์ พี่เมีย เฉียดถูกบั่นคอริบเรือน (1)

คนสมัยก่อนถูก กดขี่ แม้กระทั่งผักบุ้งยังเป็นิสนค้าต้องห้าม สมัยนี้คงกว่าเมื่อก่อน เพราะแม้นว่าจน เพียงใด ก็ยังเก็บผักบุ้งกินได้อยูนะครับ

ยิ่งกว่าเนื้อร้าย ที่อาจารย์เปรียบปลวกที่กัดกิน ก่อตัวเพื่อทำลายความมั่นคงชาติ

ถ้าคิดแบบคนธรรมดา

ไม่เข้าใจว่า...คนเราที่มีโอกาสเข้าไปปกครองบ้านเมือง ทำไมคิดแบบ Common sense ไม่เป็นค่ะ...อาจารย์

แม้ดูเหมือนว่าหลายๆ กลุ่มจะเข้าใจปัญหาการเมืองลึกๆจริงได้บ้าง

แต่ในกลุ่มของชาวบ้านบางพื้นที่ ที่มีปัญหาความเป็นอยู่เพราะต้องคำนึงถึงปากท้องเป็นสำคัญ และเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ จะยังเป็นตัวแปรหลัก? คะ ...

ขอบพระคุณค่ะท่านอ. อย่างน้อยๆ เราคงพอมีความหวังได้บ้าง?คะ

หากต่อไป การกำหนดคุณสมบัติ สส. ซึ่งเป็นข้าหลวงแผ่นดิน และประชาชน น่าจะต้องลงลึก ในรายละเอียด มิควรได้รับสิทธิพิเศษเกินไป

สส. เป็นคนของประชาชน ต้องเสียสละความเป็นส่วนตัวทั้งหมด

สส. ควรเป็นคนที่ตั้งใจจะทำงานด้านการเมืองจริงๆ มิควรเป็นนายทุน ที่ใช้การเมือง เพื่อธุรกิจ -

ฤา นักการเมืองไทยเราหมดสิ้นจิตสำนึก จนจะต้องถึงขนาด ต้องมีผู้ควบคุมการทำงานอีกระดับ และรายงาน ตรวจสอบ ติดตาม ความประพฤติ กันทุกไตรมาส  -

เพื่อ ความโปร่งใส ชัดเจน ในการทำงานการเมือง เพราะสำหรับนักการเมืองที่ดีจริงๆ คงเข้าใจ ยอมรับ กฎเกณฑ์ต่างๆ ได้

ประการสำคัญที่สุด คือ บทลงโทษการตีความ นำใช้กฎหมายด้านการเมือง ควรเด็ดขาด - ใครทำผิด ต้องจัดการเพิกถอน ห้ามเข้าลงสมัคร สู่ระบบการเมือง ทั้งหมด ตั้งแต่หัวหน้าถึงลูกน้อง (หรือต้องรวมผู้สนับสนุนด้วย)  โดยมิมีข้อยกเว้น ...

มิเช่นนั้นแล้ว ปัญหาเก่า ๆ ก็จะตามมา หมุนเปลี่ยนเวียนไป เหมือนไวน์เก่าในขวดใหม่

(จริงๆ เปรียบไวน์ก็คงไม่ได้นะคะ เพราะไวน์ยิ่งเก่ายิ่งรสดี แต่นี่ ... :) 

... ได้เพียงหวังว่า จากนี้ไปอะไรๆ คงดีขึ้น และดีขึ้นตามลำดับ ขอบพระคุณค่ะ ...

  • อาจารย์คะ อยากให้ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองออกมาช่วยกันแก้ปัญหาค่ะ
  • ไม่อยากเป็นแบบที่ต่างคนต่างพูด
  • แค่นี้ก็เจ็บปวดกันมากแล้ว
  • ไม่อยากสูญเสียใครไปในเหตุการณ์นี้
  • อยากให้ทุกคนช่วยกันอย่าเพิกเฉยรอให้ใครสังเวยเพียงเพราะเขาไม่ใช่ญาติเรา อย่านั่งสะใจอยู่หน้าจอทีวีเลยนะคะ
  • ขอให้ทุกคนออกมาเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติปัญหาโดยเร็วนะคะ

เช้ามืดวันที่ ๑ ก.ย. ผมได้รับอี-เมล์ข้างล่างนี้ มีชื่อและ อี-เมล์ ติดต่อด้วย แต่ผมไม่เอามาเปิดเผย

ข้อความ:

หลังจากที่ดิฉันได้รับฟังการอภิปรายของรัฐสภาวันนี้ แล้วจบลงอย่างไม่สบายใจนอนไม่หลับ อยากพูดให้คนในประเทศไทยที่มีพลังเสียงช่วยลุกขึ้นต่อต้านพลังของนายกสมัคร สุนทรเวช ที่มีความคิดแต่จะกำจัดประชาชนที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกับตัวเอง ดิฉันอยู่ในพื้นที่เชียงราย และในพื้นที่นี้ถูกครอบงำด้วยพลังประชาชน ซึ่งมีวิธีการต่างๆที่จะทำอย่างไรก็ได้ให้ได้เสียงของคะแนน ในกลุ่มเพื่อนๆของดิฉันซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ พยาบาล ครู ไม่รู้จะไปพึ่งใครได้แล้ว ดิฉันก็เลยลองค้นหาอีเมลที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้คนได้บ้าง วิงวอนขอให้พลังเงียบได้ออกมาต่อต้าน การเข่นฆ่าคนไทยด้วยกัน กราบวิงวอน ขอให้ท่านได้เปิดอีเมล์แล้วช่วยหาวิธีการ หยุดความคิดของนายกซึ่งเอาแต่ความคิดของตนเองเป็นใหญ่ สาธุ

มีคนส่ง link บทความข้างล่างมาให้ โดยบอกว่าได้มาจาก Bangkok Post จึงนำมาลงไว้

Tyranny of a minority

By Thitinan Pongsudhirak

The writer is Director of the Institute of Security and International Studies, Faculty of Political Science, Chulalongkorn University.

--------------------------------------------------------------------------------

Over the past three years, Thai politics has degenerated from the tyranny of a majority under former prime minister Thaksin Shinawatra to that of a minority led by the People's Alliance for Democracy (PAD).

Prior to the military coup in September 2006, Mr Thaksin exploited his Thai Rak Thai party's electoral successes to abuse power and monopolise political outcomes, reaping rents and rewards for businesses of his family and associates and lining pockets of his cronies. But now his erstwhile opponents have abused their unelected power from a different direction, holding the entire country hostage to their demands and revealing their distrust and disdain for the majority of the electorate.

The ongoing political crisis took a turn for the worst on August 26 when PAD demonstrators moved from their regular street protests to arbitrarily take over a state TV station, several ministries and Government House. They resorted to physical force by breaching and tearing down the fences and walls of these state agencies, and have since encamped at Government House. These unlawful efforts were an unprecedented provocation.

In other civilised countries, such a provocation and occupation of the seat of government would have been met with a swift and complete enforcement of the law to regain the state properties. Instead, the PAD's revolting rampage has been met with tamed official responses. Even at Makkhawan Bridge in an old and historic area of Bangkok where altercations between the authorities and protesters ensued following a police attempt to dismantle the three-months-old protest site, injuries were limited. More protesters were injured when they marched and confronted police at the gates of the Metropolitan Police Bureau. Stationed inside the gates with the PAD crowds massing outside, the police reportedly deployed several tear gas canisters.

The adverse public reactions to the authorities over these scuffles are understandable. State-perpetrated violence against the people is deeply etched in the Thai psyche, imprinted by the military's gruesome suppression of university students in October 1976 and middle-class demonstrators in May 1992. Prime Minister Samak Sundaravej's role in the October 1976 suppression also constrains him from being seen as trigger-happy. As a result, Mr Samak has allowed the PAD to rule the streets and illegally occupy Government House.

In addition, as the PAD bullies its way in a unilateral and anti-democratic effort to bring closure on the Samak government, its many sceptics and critics are cowed into silence. Dissent against the PAD brings personal attacks and character assassinations.

Yet this is the time for those myriad Thais - the silent majority - who never liked Mr Thaksin then and despise Mr Samak now - to come out and condemn the PAD's blatant hijacking of Thailand's democratic system. They lack the PAD's voice, vehicle and organisation, but they must find a way to speak out. The white ribbon campaign, initiated by Thammasat University law professors, should be revived for those who are no fans of Mr Samak and his government but who oppose the PAD's methods and intentions. Other campaigns to give voice to the columns of people sandwiched between the PAD and the Samak government should also be considered and tried.

As fledging and fragile as it is, Thailand's democratic system is still in operation. It staged a general election just eight months ago. The voices of people who spoke at the polling booths then should still be respected. Moreover, these voices are now reinforced by a restoration of institutional checks and balances after the coup. Even the PAD leaders have not doubted the current integrity of the independent agencies such as the Election Commission, National Counter Corruption Commission and Constitution Court. Nor has anyone disputed the rulings of the Supreme Court and Criminal Court, which have taken Mr Thaksin to task and issued a conviction and three-year jail sentence on his wife. Mr Thaksin and his wife even had to flee from the law by their exile in England. This judicial process and its several critical verdicts to come on Mr Samak's conflicts of interest and the ruling People Power party's dissolution, among other cases involving government officials, should be respected and allowed to run their course.

But the PAD knows that in the end the majority of the electorate is likely to opt for a party with Thai Rak Thai and PPP's winning policy platform. As a result, it has nakedly revealed its hand. The PAD wants to bring Thai politics back to a bygone era of appointed representatives, of keeping Mr Thaksin, Mr Samak, Thai Rak Thai and PPP out of power for good through its own seizure of power.

The forces in cahoots with the PAD are now conspicuous. The Democrat party, which has lost the elections time and again and is still unable and unwilling to focus on appealing policies, has never categorically rejected the PAD methods and objectives. Leading Democrats have visited the PAD at Government House, and a Democrat MP has been a PAD organiser from the outset.

Democrat party canvassers and their networks are reportedly involved in the closure of Phuket and Krabi airports. If this is untrue, it is imperative on the Democrats' leadership to categorically deny their members' handiwork in the unrest in the southern provinces, their electoral stronghold.

Mr Samak now faces dire choices. The PAD leaders have staked their movement exclusively on Mr Samak's resignation. Caught between a rock and a hard place, Mr Samak cannot crack down on the illegal occupants of Government House for fear of what is perceived as his past sins and the potential for a broad-based confrontation and violence. But allowing the PAD's rampage to settle in makes the prime minister look lame duck and ineffectual.

The bicameral legislative meeting yesterday was a good way forward but unlikely to resolve the crisis. As Mr Samak's position becomes more untenable, his resignation and the PAD's blackmailed success would be an event of infamy in Thai political annals, a huge setback for Thai democracy. Even those who abhor Mr Samak but who want to see Thailand's longer-term political maturation would have to root for him to weather this round of PAD-instigated maelstrom.

http://www.bangkokpost.com/topstories/tops...s.php?id=130220

วิจารณ์

สวัสดีครับ

อ่านข้อคิดเห็นต่างๆแล้วทำให้เข้าใจมิติต่างๆได้ดีขึ้นครับ...

มีคำถามบางคำถามที่อยากให้ช่วยกันคิด ดังนี้

1. ถ้าท่านเป็นสมัคร...ท่านจะทำอย่างไร? แล้วทางที่ท่านเลือกจะแก้ไขปัญหาได้จริงหรือไม่? เอาใครเป็นนายกดี (กรณีลาออก)...

2. ปชป. ดีจริงหรือ? โกงเหมือนกันทุกพรรค จริงหรือไม่?

3. หรือเอาตามพธม.พูดไว้ เช่น 70/30, ขอเลือกนายกเอง ฯลฯ

4. หรือประชาธิปไตยไม่ใช่คำตอบ?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท