คุณธรรมจริยธรรมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน


คุณธรรมจริยธรรม

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า  “... การก้าวไปข้างหน้า  เราต้องก้าวไปอย่างมั่นคง   เหมือนกับบ้านก็ต้องมีเสาเอกที่มั่นคง   ต้องมีการวางรากฐานของบ้าน...”  ความเจริญก้าวหน้าใน โลกยุคโลกาภิวัตน์ นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่าง  ให้เป็นไปตามกระแสของการวิวัฒนาการ  หรือตามสิ่งที่ต้องการของโลก ทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นมีการพัฒนาเป็นลำดับอย่างรวดเร็ว  แต่การพัฒนานั้นไม่ได้เป็น  การพัฒนาที่ยั่งยืน  ตราบใดที่ทุกคนมุ่งแต่หาผลประโยชน์ โดยไม่ได้คำนึงถึงผลที่ได้รับจากการที่พัฒนา   ถึงแม้จะมี         การศึกษาสูง เพียงใดก็ตาม หากขาดความ พอดีของสังคมที่เป็นอยู่  ก็จะทำให้เกิดปัญหาตามมามากมายภายหลังมิได้หยุดหย่อน  ทั้งนี้มีสาเหตุมาจาก  ฝีมือของมนุษย์เองขาด   คุณธรรม  จริยธรรม  ได้มีผู้ที่ให้ความหมายของคำดังกล่าวข้างต้น ไว้หลายประการ เช่น   ศ.นพ.ประเวศ   วะสี  ได้ให้ความหมายว่า  คุณธรรม  จริยธรรม  คือ การเป็นผู้มีจิตใจสูง  ไม่เห็นแก่ตัวฝ่ายเดียว แสดงออกโดยการไม่เบียด เบียน  มีความเมตตา  กรุณา  มุ่งช่วยเหลือผู้อื่น  ให้พ้นทุกข์  คุณธรรม  จริยธรรม  คือ คุณสมบัติของความเป็นมนุษย์ อันเป็นไปเพื่อความสุขของตนเองและการอยู่ร่วมกัน หรือ  ศีลธรรม ศ.ดร.สัญญา   สัญญาวิวัฒน์  ได้ให้ความหมายว่า   คุณธรรม  คือ  คุณความดี  คนที่มี     คุณธรรม  คือ  คนดี  คนดีจะมองเห็นคนอื่นเป็นคนเหมือนเขา   จะไม่เอารัดเอาเปรียบ  ดูถูก   เหยียดหยาม  และเมตตา  กรุณา  กตัญญูรู้คุณ มีหลายคนหลายท่านกล่าวว่า   การศึกษา เป็นรากฐานของทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งนี้คงจะต้องมีสิ่งหนึ่งควบคู่กันไปด้วยกันกับการศึกษา นั่นคือ   คุณธรรม จริยธรรม  ซึ่งในยุคสังคมปัจจุบัน นับวันจะมีเหลือน้อยลงทุกที  ไม่ว่าจะอยู่แห่งหนตำบลใด  ไม่ว่าใกล้หรือไกล  ในสังคมของปวงชนชาวไทย เพื่อเป็นการเสริมรากฐาน  สิ่งต่าง ๆ ให้มีความยั่งยืนจริง คำว่า  คุณธรรม  จริยธรรม มีชื่อเรียกมากมาย หรือตามแต่บุคคล จะเรียกชื่อกัน  บางทีก็จะบอกว่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของกลุ่มคน ชุมชน  สังคม  หรือองค์กรนั้น ๆ  ซึ่งพอสรุปผลของการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ  ต้องเริ่มต้นที่     การพัฒนามนุษย์    เป็นเป้าหมายสูงสุดที่จะทำให้เกิดสิ่งต่าง ๆได้ดังใจคิด  หากมี คุณธรรม  จริยธรรม  ก็จะสามารถทำให้การดำรงชีวิต มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และยึด    หลักการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญา  เศรษฐกิจพอเพียง ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ   เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน   บนรากฐานความเป็นอยู่ของตนเอง  ก่อนที่จะขยายไปส่วนต่าง ๆ  ของชุมชน  สังคม  และดำรงตนอยู่ได้ในสังคมยุคโลกาภิวัฒน์ ด้วยหลักธรรมะขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  คือ  ทศพิธราชธรรม   มี  ๑๐  ข้อ  พอสรุปได้ดังนี้

๑. ทาน  คือ  การให้

๒. ศีล  คือ  การรักษาศีล

๓.    ปริจาคะ  คือ  การบริจาค หรือเสียสละความสุขสำราญ  บริจาคเป็นการให้เพื่อหวังผล ให้ประโยชน์ส่วนน้อยเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่

๔. อาชชวะ  คือ  ความซื่อสัตย์

๕. มัททวะ  คือ  ความเป็นผู้มีอัธยาศัย และกิริยามารยาทสุภาพ อ่อนโยน

๖. ตบะ  คือ   ความเพียร  ให้เอาชนะใจตนเองให้ไปในทางที่ถูกต้อง คิดก่อนพูด  คิดก่อนทำ

๗. อักโกธะ  คือ  ความไม่โกรธ

๘. อวิหิงสา  คือ  การไม่เบียดเบียน

๙. ขันติ  คือ  ความอดทน

๑๐. อวิโรธน  คือ  ความไม่คลาดเคลื่อนในธรรม   

ศ.นพ.ประเวศ      วะสี  กล่าวว่า           คุณธรรม  จริยธรรม  เป็นคุณสมบัติของความเป็นมนุษย์  เป็นเครื่องมือของศีลธรรม  หรืออุดมการณ์ของชาติ   หากคนไทยเราทุกคน  ยึดแนวทาง         การดำเนินชีวิตตามรอยพระยุคลบาทขององค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ    อยู่ในศีลธรรม  ศึกษาตนเอง  ทำงานโดยใช้  ความรู้  รัก สามัคคี  ก็จะสามารถทำให้การดำเนินชีวิตของมนุษย์เราอยู่ปกติสุขได้ทั้งกายและใจ                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                   

 

หนังสืออ้างอิง

ประเวศ   วะสี.  ๒๕๔๘.  เอกสารประกอบการ

สัมมนาเรื่อง “โครงการรวมพลังสื่อสร้างกระแสคุณธรรม”  ณ โรงแรมแอมบาส ซาเดอร์  สุขุมวิท.  กรุงเทพฯ.

สุเมธ   ตันติเวชกุล. ๒๕๔๕. เอกสารประกอบ

การบรรยาย  ในฐานะเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา  ณ  โรงเรียนนายทหารอากาศอาวุโส  สถาบันวิชาการทหารอากาศ   ชั้นสูง  เมื่อ ๖  พฤศจิกายน  ๒๕๔๕. กรุงเทพฯ.

สัญญา  สัญญาวิวัฒน์.  ๒๕๔๗.  ทฤษฎีและ
กลยุทธ์การพัฒนาสังคม

(พิมพ์ครั้งที่ ๕)  กรุงเทพฯ :

สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 20360เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2006 19:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 19:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท