ชื่นชมการเริ่มต้น KM ของ สสจ. กรมส่งเสริมการเกษตร


กลุ่มแกนมีความตั้งใจมาก เรียกว่าเตรียมคว้าจักรยานเพื่อจะขี่แล้ว...ไม่รอคำสั่ง...ไม่สนใจว่าจะมีงบประมาณหรือไม่

วันนี้ ได้มีโอกาสอีกครั้งไปเข้าร่วมเวทีเพื่อทำความเข้าใจในการจัดทำ KM ในสำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ขอเรียกสั้นๆ ว่า สสจ. นะคะ  มีสิ่งที่น่าชื่นชมมากคือกลุ่มแกนมีความตั้งใจมาก เรียกว่าเตรียมคว้าจักรยานเพื่อจะขี่แล้ว พวกพี่ๆ เขาไม่รอว่าจะต้องมีการสั่งการจากกรม และไม่สนใจว่าจะมีงบประมาณหรือไม่ เขาเริ่มเลย โดยเชิยผุ้สนใจเข้าร่วมรับฟังแนวคิดและประสบการณืในการทำ KM จากคณะทำงาน ซึ่งก็มีดิฉัน และคุณสำราญไปทำหน้าที่เป็นผู้เล่า  ทั้งนี้ ส่วนสำคัญอาจมาจากการที่ สสจ. ได้ ผอ.ใหม่ ซึ่งก็ไม่ใช่ใครที่ไหน ผอ.โอฬาร พิทักษ์ ซึ่งเคยช่วยผลักดันการทำ KM ของกรมในปี 48 ด้วยตอนนั้นท่านเป็นประธานคณะทำงาน KM ของกรม โดยตำแหน่ง ท่านเข้าใจทั้งหลักการ KM และเนื้องานของ สสจ. รวมทั้งเห็นความสำคัญ จึงสนับสนุนกลุ่มแกนให้ดำเนินการ ประกอบกับยังมีพี่ๆ ที่เป็นนักปฏิบัติจริงอยู่มาก เช่นผอ.อรสา ดิสถาพร  พี่วิลาวัลย์ คุณะเกษม  คุณวันทนา บัวทรัพย์ และอื่นๆ ที่ไม่ได้เอ่ยนามในที่นี้ และสำหรับที่เอ่ยนามไปแล้ว ถ้าชื่อ-สกุลผิดถูกอย่างไร ก็ขออภัยด้วย

พี่เขามีการตั้งกล่องรับบริจาค เพื่อเป็นทุนในการทำ KM ของเขาด้วย ซึ่งตรงนี้ เป็นสิ่งที่ดีมากๆ สะท้อนให้เห็นถึงการมีใจของคนทำงานที่นี้ที่จะให้กับ KM ซึ่งถ้ามองย้อนไปเมื่อปีก่อน ก็คล้ายๆ กับหลายจังหวัดนำร่องที่ทำ KM เมื่อปีที่แล้ว เวลาพวกเขาจัดเวทีแลกเปลี่ยน เขาใช้เวทีปกติ ในเวลาราชการ แต่งบประมาณสำหรับค่าอาหารกลางวัน หรืออื่นๆ ไม่ต้องพูดถึงต่างคนต่างลงขันกันเอง เพราะอะไร เพราะเขาตั้งใจ

อย่างไรก็ตามก็ยังมีประเด็นที่คณะทำงานจะต้องมาย้อนคิดเหมือนกันว่าเราจะช่วยประสานอย่างไร เพื่อให้การทำ KM ของกอง/สำนักในส่วนกลาง ได้เชื่อมโยงกับจังหวัดนำร่อง 18 จังหวัด เพื่อให้องค์ความรู้ที่จะได้จากขบวนการ KM ของกอง/สำนักเป็นองค์ความรู้ที่จังหวัดนำร่องต้องการเพื่อใช้ในการสนับสนุนการทำงานในพื้นที่ตามโครงการ Food Safety ของจังหวัด

ก็เริ่มๆ คิดในใจว่าข้อมูลเกี่ยวกับการ scan พื้นที่ การกำหนดพืช กลุ่มเป้าหมาย และประเด็นการแลกเปลี่ยนของจังหวัดที่สอดรับกับโครงการจะเป็นข้อมูลที่สำคัญสำหรับกอง/สำนัก....ซึ่งคณะทำงาน KM จะต้องประสานกับจังหวัดเพื่อให้ได้ความชัดเจนต่อไป...

พอเสร็จเวทีการเล่าเรื่องของเราสองคน ก็มีผู้ถามว่าจากตัวอย่างกรณีน่านเรื่องส้ม ผู้เล่าเรื่องเป็นเกษตรกร คุณกิจเป็นเจ้าหน้าที่  ส่วนเรื่องการเพาะถั่วงอก (เปิดดูได้ที่ KM WEB ในส่วนของจังหวัดน่าน) ผู้เล่าเป็นเจ้าหน้าที่ และคุณกิจก็เป็นเจ้าหน้าที่  ตกลงจะทำ KM ในระดับไหน  ก็ตอบไปว่าการทำ KM ไม่จำกัดเฉพาะระดับใดระดับหนึ่ง แต่อยู่ว่าทีมงานกำหนดเป้าหมายอย่างไร จะทำในระดับเจ้าหน้าที่ หรือเกษตรกรแล้วแต่ และก็ไม่ได้บังคับด้วยว่าในเรื่องหนึ่งๆ จะทำเฉพาะคุณกิจกลุ่มใด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่าสถานการณ์ของแต่ละแห่ง หากแต่ประเด็นเรื่องเล่าควรเป็นเรื่องที่คุณกิจจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ และผู้ที่จะทำหน้าที่เล่ามีประสบการณ์เป็นที่ยอมรับว่าสำเร็จไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นหัวหน้า หรือลูกน้อง เกษตรหรือเจ้าหน้าที่ นักวิชาการภายในหรือภายนอกองค์กร ตรงนี้ ผลของการประเมินตนเองของคุณกิจ เพื่อบ่งชี้ประเด็นความรู้ที่ต้องการ การสำรวจผู้รู้ และแหล่งข้อมูล จะช่วยได้มากในการบริหารจัดการว่าจะจัดการแลกเปลี่ยนแบบไหนอย่างไร ที่สำคัญในการใช้เครื่องมือก็ไม่ได้บังคับว่าต้องเป็นเครื่องมือชุดธารปัญญา แล้วแต่จะถนัดแบบไหน การใช้วิธีเล่าเรื่องก็เหมือนกันไม่ได้บังคับว่าต้องใช้ เพียงแต่ในชั้นนี้ เห็นว่าการเล่าเรื่องทำให้เหมือนเรามานั่งคุยกันมาแลกเปลี่ยนกัน และยิ่งคนที่ประสบความสำเร็จในเรื่องนั้นๆ มาเล่ามันจะมีพลังของการถ่ายทอด แต่ประการสำคัญอยู่ที่เมื่อจบเวทีแล้ว ต้องมีการถอดเป็นองค์ความรุ้ แล้วจัดทำเป็นความรุ้เด่นชัด เผยแพร่สู่ผู้อื่นต่อไป ซึ่งในองค์ความรู้บางเรื่องอาจจะต้องมีการนำไปทดลองปฏิบัติกันดูแล้วนำมาแลกเปลี่ยนกันอีกเกิดการปรับแต่งความรุ้นั้นให้เป็นปัจจุบันยิ่งขึ้น 

สุดท้าย...มีผู้มาแอบกระซิบถามว่า...เนี่ยหากมีการทำการวิจัยในพื้นที่...แล้วมีการจัดทำแปลงพิสูจน์ทราบ..ทดลองปฏิบัติร่วมกับเกษตรกรแล้วพบว่าเป็นความรู้ที่น่าจะเผยแพร่สู่เกษตรกร...แล้วดำเนินการเผยแพร่ไป อันนี้ใช่ KM ไหม ..ผู้เล่าก็มีความเห็นว่าใช่ส่วนหนึ่งแล้วหละและที่สำคัญเป็นการสร้างความรู้ใหม่ด้วย แต่ถ้าจะไม่ให้เป็นการเผยแพร่ผลงานวิจัยเป็นแบบนำขึ้นหิ้ง..ก็น่าจะมีการนำความรู้นั้นสู่การปฏิบัติจริง...แล้วให้ผู้รู้ ...ผู้ปฏิบัติมาคุยแลกเปลี่ยนกันว่าได้นำความรู้นั้นไปใช้แล้วเป็นอย่างไรเกิดผลตามงานวิจัยหรือไม่...อย่างไร ซึ่งตรงนี้ อาจจะทำให้เกิดการพัฒนาต่อยอดงานวิจัยนี้ ซึ่งตรงนี้ก็แล้วแต่ความจำเป็น  การที่จะนำการวิจัยสู่การปฏิบัติจริงนั้นสำคัญจะต้องเริ่มจากการวิจัยในสิ่งที่คุณกิจต้องการ...    

คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 20354เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2006 18:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
ไพโรจน์ ลิ้มจำรูญ
แวะมาทักทายก่อน
      หลายคนกำลังตั้งตา...รออ่านบันทึกของคุณอุษาอยู่ครับ

แหม..คุณอุษานี้เล่าได้มันจริงๆผมสนใจข้อความ(ข้อเขียน)ตรงนี้ครับ.."อย่างไรก็ตามก็ยังมีประเด็นที่คณะทำงานจะต้องมาย้อนคิดเหมือนกันว่าเราจะช่วยประสานอย่างไร เพื่อให้การทำ KM ของกอง/สำนักในส่วนกลาง ได้เชื่อมโยงกับจังหวัดนำร่อง 18 จังหวัด เพื่อให้องค์ความรู้ที่จะได้จากขบวนการ KM ของกอง/สำนักเป็นองค์ความรู้ที่จังหวัดนำร่องต้องการเพื่อใช้ในการสนับสนุนการทำงานในพื้นที่ตามโครงการ Food Safety ของจังหวัด" สำหรับตัวผมเองจะให้ความสำคัญกับทีมงาน ในทุกระดับ ทุกทีม และก็ทุกคนในทีม ....     ใจมาปัญหาคลาย     ได้ใจ   ได้ชัยนะ ได้ครอบครอง

ไพโรจน์ ลิ้มจำรูญ
blog นี้เงียบเหงาจัง
ไพโรจน์ ลิ้มจำรูญ
กำลังตามหาเจ้าของ blog .ใครเจอบอกด้วยครับ
แมวเจอค่ะท่านรอง เจ้าของ blog บอกว่าจะเขียนในเร็วๆนี้ ตอนนี้กำลังยุ่งมาก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท