ถอดบทเรียนเครือข่ายครอบครัวร่วมใจ เด็กไทยโภชนาการดี


วันนี้เข้ามาร่วมเป็นวิทยากรถอดบทเรียนให้กับ กองโภชนาการ กรมอนามัย ตามโครงการประชุม “เครือข่ายครอบครัวร่วมใจเด็กไทยโภชนาการดี” ที่โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี งานนี้มีผู้ปกครองและเด็กมาเข้าร่วมประมาณ ๘๐ คน

เรื่องเดิม คือ กองโภชนาการได้มีการจัดค่าย ผ่านฐานการเรียนรู้ ให้กับผู้ปกครองและลูก มีการจัดกกิจขกรรมที่หลากหลาย รวมถึงการให้ความรู้ผ่านฐานต่างๆ ลักษณะ Walk Rally ได้ดำเนินกิจกรรมดังกล่าวมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๔  จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น ๖ รุ่น

มีการประเมินผลมาส่วนหนึ่งแล้วถึงความสำเร็จการทำค่าย และในครั้งนี้ได้รวมเครือข่ายผู้ที่ผ่านค่าย(ผู้ปกครองและลูก) อีกครั้งเพื่อถอดบทเรียนร่วมกัน หลังจากที่ได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้ข้างต้น

ผมไม่ทราบรายละเอียดมากนัก แต่ก็มาในบทบาทของผู้ถอดบทเรียนให้กับกองโภชนาการ

มานั่งฟัง  นพ.ณรงค์ สายวงศ์ ผอ.กองโภชนาการ กล่าวรายงานและแลกเปลี่ยนในพิธีเปิด ได้ประเด็นข้อมูลที่น่าสนใจหลายๆประเด็นครับ

·       เด็ก กทม. ๒๐ เปอร์เซนต์ เป็นโรคอ้วน

·       แก้ปัญหาโรคอ้วนในเด็กเยาวชน โดยใช้ รูปแบบครอบครัว ได้ผลดี พบว่าครอบครัวให้กำลังใจ และเสริมแรงในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

·       ตามข้อกำหนดของ กองอนามัยโลก กำหนดไว้ว่า ให้เด็กกินผัก ๔๐๐ กรัม (๔ ขีด) ต่อวัน แต่เด็กไทยประมาณ ๖๐ %  กินผักเพียง ๒๕๐ กรัม ต่อวัน

ความคาดหวังของกรมอนามัยต่อ การทำกิจกรรมเรียนรู้ในครั้งนี้ นอกจากแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในระหว่างผู้ปกครองว่า ทำอย่างไรให้เด็กกินผักผลไม้มากขึ้นและทำอย่างไรให้เด็กออกกำลังกายมากขึ้น แลกเปลี่ยนทั้งเทคนิค วิธีการ  สำเร็จ-ไม่สำเร็จ

ผมนั่งสังเกตการณ์เงียบๆเห็นกิจกรรมระหว่างผู้ปกครอง คุณพ่อ คุณแม่พร้อมคุณลูกวันนี้แล้วมีความสุขดี ผมมองว่าครอบครัวเป็นพื้นฐานของชีวิตสมาชิกในครอบครัว เป็นสถาบันสำคัญที่ช่วยกล่อมเกลา สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน หากสถาบันครอบครัวเข้มแข็งก็จะส่งผลต่อการพัฒนาโดยรวมของสังคม-ประเทศ

ช่วงก่อนเที่ยงผมได้เข้าร่วมกลุ่มเพื่อแนะนำตัวกับผู้ปกครองในกลุ่มที่ผมต้องทำหน้าถอดบทเรียน เริ่มต้นพูดคุยก็สนุกสนาน เฮฮา คุณพ่อ คุณแม่มีส่วนร่วมพูดคุยอย่างเป็นกันเอง เมื่อเราทำความรู้จักกันมากขึ้น บทสนทนาเราก็พรั่งพรูด้วยถ้อยคำมากมาย....เสวนาภาษาครอบครัว นี่เองเป็นบรรยากาศเริ่มต้นที่ทุกคนพร้อมที่จะเปิดใจ  เรียกภาษาของ Fa ก็คือ ไฟเริ่มติด แล้ว

ช่วงบ่ายจะมี Story telling ระหว่างผู้ปกครอง นอกจากประเด้นเบื้องต้นที่ต้องการถอดบทเรียนจากการทำค่ายแล้ว ความรู้จากการปฏิบัติจริง สู่ผลที่คาดหวังจะถูกแลกเปลี่ยนกันอย่างเป็นธรรมชาติ ผมคุยกันผู้จัด(กองโภชนาการ กรมอนามัย)  ความคาดหวังที่เพิ่มเข้ามาคือ เราจะสร้างเครือข่ายผู้ปกครอง ที่มาร่วมงานครั้งนี้ได้อย่างไร? โจทย์นี้ผมจะโยนเข้าสู่เวทีบ่ายนี้ครับ

เรื่องราวต่อเนื่อง รวมถึงบรรยากาศในเวทีจะเป็นอย่างไร ผมจะนำมาเเลกเปลี่ยนต่อเนื่องในบันทึกต่อไป

เสร็จงานผมรีบเดินทางมา Check in ที่สนามบินดอนเมืองเพื่อเดินทางต่อ และถือโอกาสนั่งเขียนบันทึกแบบสดๆเพื่อแลกเปลี่ยนกัน

ชีวิตกับการเดินทางคือนิยามของผมโดยเฉพาะช่วงนี้ครับ


 

 

 

สนามบินดอนเมือง,กรุงเทพ

๒๔ ส.ค.๕๑

๑๖.๑๓ น.

หมายเลขบันทึก: 203177เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2008 16:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)
  • สวัสดีค่ะคุณเอก
  • หลาน ๆ ที่บ้านก็ไม่ยอมกินผักเหมือนกัน ครอบครัวมีส่วนมาก พ่อของเด็กก็ไม่ชอบกินผัก พาลพาลูก ๆ ไม่กินไปด้วย ดีอย่างที่ตอนนี้ไม่มีหลานคนไหนอ้วน เพียงแต่ไม่ชอบกินผัก
  • เวลาพวกเขามาที่บ้านพี่ พวกเรา (พี่เอง-พ่อและแม่ของพี่) ก็พยายามพูดจาหว่านล้อม หลอกล่อให้กินได้บ้าง แม้จะไม่มาก แรก ๆ ไม่ยอมกินปลาด้วย เพราะพ่อแม่เขาไม่ชอบกิน แต่ตอนนี้กินแล้ว โดยเฉพาะปลาตะเพียนต้มเค็มฝีมือแม่พี่....ชอบมาก
  • ขอให้คุณเอกมีความสุขและปลอดภัยในการเดินทางนะคะ...ระลึกถึงเสมอค่ะ

สวัสดีค่ะ

ของพี่เป็นโครงการคนไทยไร้พุงค่ะ

ก็ต้องเริ่มต้นจาก ผู้จัดอาหารในครอบครัวนั่นแหละ การเลือกอาหาร และคุณค่า

ขอบคุณค่ะ

พี่ได้มีโอกาสไปร่วมเป็นวิทยากรเรื่อง  การดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ทีโคราชมา มีวิทยากรหลายท่านได้กล่าวถึง

สาเหตุการเกิดโรคต่างๆในปัจจุบัน เกิดจากพฤติกรรมการกินที่มีปัญหา

  • กินของดิบ
  • กินเนื้อสัตว์มากกว่า ผัก
  • กินขนมหวาน
  • กินของเค็ม
  • สูบบุหรี่ ดื่มกาแฟ ฯลฯ

เกิดโรค

  • หัวใจ
  • มะเร็ง
  • ไตวาย  ฯลฯ

นอกจากเรื่องกิน แล้วยังมีเรื่องอื่นอีก เช่น 

  • อุบัติเหตุ ทำให้เด็กวัยรุ่นกลายเป็นเด็กพิการ จากการที่พ่อแม่ซื้อมอเตอร์ไซด์ให้ขับ
  • คนแก่เลี้ยงเด็ก (เลี้ยงหลาน เพราะพ่อแม่ต้องไปหาเงิน)
  • เด็กจมน้ำ เพราะว่ายน้ำไม่เป็น

ปัญหาสุขภาพมีมากมายค่ะ พูดทีละเรื่องก็ได้นะคะ

พูดเรื่องกินก่อนก็ได้ค่ะ....น้องเอก

 

 

 

จะมาตามอ่านอีกนะคะ

ปัญหาโรคอ้วนนี้น่าจะมาจากหลายตัวแปร multifactor
วิถีชีวิตเด็กไทยเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง การออกกำลังกาย..เอาแค่การละเล่นพื้นบ้านชนิดสนุกด้วย ออกกำลังด้วย.หายไปหมดแล้ว
เด็กติดคอมพ์พิวเตอร์แทน
(*ลูก-น้องภูยังต้องแก้เกมกันด้วยการวางแผน..ให้ติดกีฬาแทน) อานิสงส์จากโรงเรียนฝึกด้วยค่ะ

****อ่านถึงตอนท้าย..ขอมอบเพลง"หนุ่มพเนจร" ให้ค่ะ****

;P  พี่เอง

พี่เอก เหมือนพอลล่าเลยค่ะ การทำงานคือการเดินทาง มาสมัครเข้าแก๊งค์หน้าตาดีไหมคะพี่ ที่นี่ค่ะ คิดถึงพี่เอกนะคะ ดูแลสุขภาพด้วยค่ะ http://gotoknow.org/blog/kittyjumpza/203205

ค่ะ  ครอบครัว มีส่วนสำคัญยิ่งในการสนับสนุนส่งเสริมให้เด็กๆมีโภชนาการดี   

ชีวิต  เริ่มต้น จากครอบครัว  ค่ะ

           ของขวัญเล็กๆ  ที่เด็กๆ  ทำให้ค่ะ

 ร้อยดอกหญ้า กะร้อยเฟื่องฟ้า เป็นความคิดเล็กๆเด็ก ป.2 

พี่ ปวีณา ธิติวรนันท์

ในช่วงนั่งพูดคุยกับผู้ปกครองก็มีสารพัดวิธีที่ทำให้ลูกหันมาชอบกินผักให้ได้ ...บางครอบครัวก็น่ารักดีมีกุศโลบายที่น่ารัก บางครอบครัวก็ถึงขั้นบังคับเล็กๆ

คุยกับคุณพ่อท่านหนึ่ง คุณพ่อท่านนี้ท่านดูแลลูกส่วนใหญ่ (คุณภรรยาไปทำงานนอกบ้าน) น่ารักมากครับ เรื่องอาหารก็จัดให้ลูกได้ครบถ้วน เพียงแต่อาจดูแข็งๆตามสไตล์ผู้ชายเท่านั้นเอง

วันนี้มีความสุขครับที่ได้ร่วมเรียนรู้กับผู้คนที่หลากหลาย

ระลึกถึงพี่ปวีณาเช่นกันครับผม

ฟังเพลง สายลม ด้วยกันในวันหยุดแบบนี้ครับ

 

พี่หมอรุ่งครับ

ปลายปี ผมก็มีงาน ถอดบทเรียน "โครงการคนไทยไร้พุง"  ครับ พี่ทางกรมอนามัยแจ้งมาครับ

ส่วนที่สถานีอนามัยพี่รุ่ง เรื่องราวเป็นยังไง เล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ

พี่แก้วครับ

วันนี้มีโอกาสได้ฟัง อ.สง่า ดามาพงศ์ บรรยายเรื่อง อันตรายจากโรคอ้วน(ลงพุง) แล้วได้ประโยชน์มากครับ ผมคิดว่าจะนำมาเขียนบันทึกแลกเปลี่ยนต่อไป

อ.สง่า บอกว่า เป็นสาเหตุหลักของ "เบาหวานและคณะ" ครับผม

พี่หมอเล็กครับ

ในช่วงบ่ายมี Story telling ระหว่างผู้ปกครอง มีประเด็นที่น่าสนใจมากมาย คิดว่าจะนำมาสังเคราะห์เล็กๆให้อ่านสนุกๆในบันทึกต่อไปครับ

งานนี้ที่มีความสุขอีกอย่างคือ เห็นความผูกพันระหว่างคุณพ่อ คุณแม่และคุณลูกที่เข้ามาร่วมงานวันนี้ครับ

พอลล่าครับ

แกงค์คนหน้าตาดี...ผมไม่ค่อยกล้าครับ เพราะคุณสมบัติไม่ครบ :) ขอตามดูห่างๆดีกว่าครับ

เดินทางบ่อยๆรักษาสุขภาพด้วยครับ ผมพักผ่อนน้อยช่วงนี้ก็เลยเป็นหวัดเล็กน้อย

สุขภาพสำคัญที่สุดครับ

 

เห็นบันทึกคุณครู  @..สายธาร..@  แล้วคิดถึง ครูแอ๊วอีกท่านหนึ่งครับ นำเสนอแง่มุมน่ารักๆบ่อยๆ

ชุ่มชื้นหัวใจดีจัง

  • ที่โรงเรียนมีเด็กอ้วนมากๆอยู่ 2 คน เป็นผู้ชาย อยู่ชั้น ป.3 น้ำหนักประมาณ 58 กิโลกรัม เป็นเด็กเรียนเก่ง จะเห็นอยู่ในห้องสมุดทุกวัน ไม่ออกไปเล่นกับเพื่อนๆ ไม่ชอบออกกำลังกาย
  • คุณแม่บอกว่าทานผักไม่เป็นเลย(พ่อแม่ตามใจด้วย) ไปโรงเรียนคุณครูก็พยายามให้ลองทาน เค้าก็ทำท่าเหมือนจะอาเจียน เห็นแล้วสงสาร เวลาจะลุกจะนั่งแต่ละครั้งก็แสนจะลำบาก โดยเฉพาะเวลาเข้าห้องน้ำ
  • ตอนนี้เด็กที่มีน้ำหนักเกิน จะเป็นปัญหามากกว่าเด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ไปแล้วค่ะ เพราะลดยากจริงๆค่ะ
  • เดินทางบ่อยรักษาสุขภาพนะคะ

 

พี่นก NU 11 ครับ

ถอดบทเรียน "เด็กอ้วน" แล้ว ผมก็เรียนรู้เงื่อนไขหลายประเด็นที่ทำให้เด็กอ้วนครับ หลักๆ อยู่ ๒ ประเด็น คือ ไม่กินผัก ไม่ชอบออกกำลังกาย

แต่ภายใต้ เงื่อนไขหลัก ยังมีปัจจัยอื่นๆมากมาย

- พ่อแม่ตามใจนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ถอดบทเรียนออกมาร่วมกัน

- ต้นแบบของเด็ก พบว่า ผู้ปกครองหลายท่านก็ไม่ชอบกินผัก เช่นกัน

- เด็กยุคใหม่ชอบกินแป้ง โดยเฉพาะ พิชซ่า ฯลฯ

- เด็กติดเกมส์ ทำให้ร่างกายไม่ได้ขยับ

ฯลฯ

แต่ในกระบวนการถอดบทเรียนที่ผมชวนคุยนั้น ผู้ปกครองบทุกคนให้ความสนใจ เรียนรู้ผู้ปกครองท่านอื่นที่มีวิธีดูแลลูกที่ได้ผล กล่าวคือ เด็กไม่อ้วน และสุขภาพดี

ว่าจะเขียนบันทึกต่อเนื่องครับ

ขอบคุณครับผม

หวัดดีค่ะ...

เป็นแฟนพันธุ์แท้ก็ต้องตามอ่านกันเหนื่อยหน่อย...นะคุณ

แวะมาอ่านและให้กำลังใจค่ะ...

 

ขอบคุณครับ คุณ  windy  ผมเพิ่งกลับมารจากประจวบครับ  เกือบจะไปทักทายคุณวินดี้ที่หน้าที่ทำงานละครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท