ความเห็นเกี่ยวกับหนังสือไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น


ไอน์สไตน์, พระพุทธเจ้า, วิทยาศาสตร์, พุทธศาสนา

Share photos on twitter with Twitpic

วันก่อนนี้ได้รับหนังสือเล่มนี้จากผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง คงเพราะท่านเห็นว่าผมทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีและสนใจพุทธศาสนา ก็เลยเห็นว่าผมคงจะสนใจ ผมจึงฉลองศรัทธารับมาอ่าน โดยอ่านรวดเดียวหมดทั้งเล่มเพราะเนื้อหาและวิธีเขียนเรียบง่ายน่าอ่าน

ด้องเรียนก่อนครับว่าโดยส่วนตัวไม่ยินดีกับความพยายามจะโยงเอาวิทยาศาสตร์กับศาสนาเข้ามาเทียบเคียงกัน (ไม่เฉพาะกับพุทธศาสนา) หลายๆบทความตั้งใจจะสื่อให้เห็นว่าศาสนายังทันสมัยน่าเชื่อถือ จึงพยายามนำมาโยงกับวิยาศาสตร์ ซึ่งก็เป็นเจตนาดีแต่ผมจะพบในเกือบทั้งหมดว่าในความพยายามโดยเจตนาดีนั้น กลับขาดความเข้าใจในสาระของวิทยาศาสตร์หรือขาดความเข้าใจในสาระของศาสนา หรือแม้แต่ขาดความเข้าใจในสาระของทั้งสองด้าน ทำให้แทนที่จะเกิดศรัทธามากขึ้น ก็อา่จจะเสื่อมความศรัทธาลงไป หรือแม้แต่หากผู้อ่านเชื่อไปตามนั้น ก็จะทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนตามมา

โดยเฉพาะกับพุทธศาสนา ซึ่งผู้เขียนเห็นว่ามีส่วนสำคัญที่เหลื่อมกับวิทยาศาสตร์จนไม่น่าจะนำมาเทียบเคียงกัน

และเ่ล่มนี้ก็เช่นกันที่ผมพบความคลาดเคลื่อนอย่างน่าเป็นห่วง เนื่องจากผู้เขียนเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ และหนังสือเล่มนี้ก็มีคำนิยมจากบุคคลสำคัญๆหลายท่าน

หลังจากอ่านจนจบแล้ว ผมก็คุยกับเพื่อนๆผ่านทางบริการ twitter จึงได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าหนังสือเล่มนี้หยุดพิมพ์แล้ว (เล่มที่ผมอ่านเป็นการพิมพ์ครั้งที่ 25) และได้ค้นคว้าต่อไปว่ามีการวิจารณ์หนังสือเล่มนี้อย่างไรบ้างก็ได้พบบทความวิจารณ์ที่น่าสนใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ GotoKnow ซึ่งผมก็เป็นสมาชิกอยู่ด้วย เช่นบทวิจารณ์ของ อ.บัญชา ซึ่งท่านเขียนไว้ได้ชัดเจน ครบถ้วน ในด้านของวิทยาศาสตร์

ผมจึงคิดว่าน่าจะเขียนเพิ่มเติมไว้อีกสักเล็กน้อย โดยเฉพาะเรื่องหนึ่งที่ผมอยากจะเขียนไว้่ด้วยคือ กาลามสูตร ซึ่งมักจะถูกโยงเข้ามาเวลาถกเถียงกันเป็นประจำ ซึ่งผมกลับมองว่าพระสูตรนี้คือทางแยกที่สำคัญของศาสนาพุทธจากปรัชญา (และวิทยาศาสตร์) โดยจะทยอยเขียนไปตามสไตล์ของคนไม่ค่อยได้เขียนอย่างผมครับ

 

วิทยาศาสตร์ในฐานะแขนงหนึ่งของปรัชญา - ขอบเขตของพุทธศาสนา

เวลา ในฐานะของปริมาณ - ระยะเวลาข้ามภพข้ามชาติ, ระยะทางในมิติที่แตกต่าง - การจุติและอุบัติของสัตว์

ผี วิญญาณที่ยังไม่ไปเกิด - ความเชื่อท้องถิ่น กับคติพุทธ

ญาณทัศนะ พุทธ หรือพราหมณ์

กาลามสูตร ทางแยกสำคัญระหว่างวิทยาศาสตร์และพุทธศาสนา

วิทยาศาสตร์และพุทธศาสนา เรื่องใกล้ตัวหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์

หมายเลขบันทึก: 202820เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2008 08:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 06:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

โดยส่วนตัว..ผมไม่ชอบหนังสือ"เทียบบุคคล"แบบนี้เลยครับ...เพราะมันเป็นคนละ time and space ครับ....ซึ่งถ้าอยากจะนำมาสนับสนุน หรือโต้แย้ง ก็ไม่ควรจะจับเป็น "บุคคลคู่" นะครับ...ปกติแล้ว นักวิชาการ เขาจะใช้วิธี "ตรวจเอกสาร"..ไม่ใช้วิธี "จับคู่โต้เทียบ" ครับ....ยิ่งเทียบแบบหนังสือเล่มนี้แล้ว...ก็แน่นอน ดูจากชื่อปกหนังสือ....สูตรสำเร็จก็จะเป็นไปในทำนองที่ว่า..ไอสไตน์สู้พระพุทธเจ้าไม่ได้....มันยังไงๆชอบกลนะครับ....มันไม่น่าออกมาแบบนี้นะครับ...ถ้าเป็นนักวิชาการจริงๆน่ะครับ..........จริงใจครับ...ชยพร แอคะรัจน์

สวัสดีค่ะ อาจารย์

  • เห็นหนังสือเล่มมานาน ว่าจะหยิบขึ้นอ่านและซื้อมา แต่ก็ไม่ได้ซื้อซักที
  • ตัวเองเป็นคนไม่รู้เรื่องทั้งศาสนาและวิทยาศาสตร์ แต่ปัจจุบันเห็นหลายคนดึงมาเชื่อมโยงกัน
  • จะรออ่านวิเคราะห์ของอาจารย์ต่อค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

เป็นความเชื่อส่วนบุคคลค่ะ อ่านแล้วค่ะ รู้ว่าต้องคิดดี ทำดี พูดดี ก็พอแล้วค่ะ

สวัสดีครับ อาจารย์อังกุศ

       ขอบคุณมากครับที่แวะไปเยี่ยมบันทึกที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้นะครับ

       ขอแสดงความคิดไว้ ณ ที่นี้ครับ เพราะแม้จะได้แสดงทัศนะไปบ้างแล้ว (แต่ก็ยังมีอีกหลายเรื่องที่ยังนำเสนอไม่ได้ ต้องรอเวลา)

       สำหรับหนังสือ "ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น" นี้ แม้ผู้เขียน จะเขียนด้วยเจตนาดี แต่วิธีการไม่น่าจะเรียกได้ว่าดีครับ

       เหตุผลก็คือ หากอ่านตั้งแต่ต้นจนจบอย่างละเอียด โดยมีความรู้เพียงพอจะพบว่า

       1) ผู้เขียน "ปักธงนำ" เอาไว้ก่อนแล้วว่า ลัทธิความเชื่อที่ผู้เขียนเชื่อถืออยู่นั้นเหนือกว่าวิทยาศาสตร์ (สังเกตว่าผมใช้คำว่า 'ลัทธิความเชื่อที่ผู้เขียนเชื่อถืออยู่นั้น' ไม่ได้ใช้คำว่า 'พุทธศาสนา' หรือ 'พุทธธรรม' ดังจะแสดงเหตุผลต่อไป)

       2) ผู้เขียนใช้วิทยาศาสตร์และพุทธศาสนา (หรือพุทธธรรม) เป็นเพียงเครื่องมือ เพื่อนำผู้อ่านเข้าสู่ความเชื่อของตน อันได้แก่ การฝึกจิต -> เรื่องนี้ปรากฏเด่นชัดขึ้นในงานเขียนเล่มหลัง โดยเฉพาะ "เดอะท็อป ซีเคร็ต"

       3) ในการทำ 1) และ 2) นี้ ผู้เขียนบิดเบือนวิทยาศาสตร์ (ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม) และอาจจะตีความพุทธศาสนาบางส่วนเสียใหม่ เพื่อให้ทุกสิ่งทุกอย่างดูกลมกลืนกัน

       แต่ทว่า...

       4) การที่ข้อมูลและทัศนะทางวิทยาศาสตร์มีความผิดพลาดมาก มากอย่างไม่น่าเชื่อว่า ผู้มีสติปัญญาดี (มิฉะนั้นคงจะเอนทรานซ์เข้าเรียนทันตแพทย์ไม่ได้ และเรียนโทในสาขาจิตวิทยาไม่ได้) และได้อ้างว่า "ฝึกจิต" มาจนค้นพบอะไรบางอย่างแล้ว เหตุใดจึง "อ่านหนังสือไม่แตก" ถึงเพียงนี้

          นี่เองเป็นหลักฐานสนับสนุนข้อสังเกต 1) และ 2) ครับ

       5) ในปัจจุบัน มีผู้ได้รับผลกระทบต่อจิตในเชิงลบจากการอ่านหนังสือชุดนี้แล้ว (ถึงขั้นต้องเข้าขอคำปรึกษาต่อจิตแพทย์) ดังนั้น คำกล่าวในลักษณะที่ว่า แล้วแต่บุคคล ฯลฯ ซึ่งถึงแม้จะถูกต้อง แต่มีความเสี่ยงกับคนที่ "ปม" บางอย่างครับ

       6) มีอีกแง่มุมหนึ่งที่คนทั่วไปยังไม่ทราบ คือ การสร้างธุรกิจกวดวิชาโดยอาศัยชื่อเสียงของผู้เขียน แต่เรื่องนี้สะดุดอยู่ชั่วคราว เพราะผู้เขียนได้แสดง 'ความรู้ไม่จริง แต่คิดว่ารู้' ออกมาอย่างมากมายในการเขียนหนังสือฟิสิกส์ระดับ ม.4

       ยังมีอีกหลายเรื่องที่อาจจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อสังคมไทย เรื่องนี้น่าจะเป็นบทเรียนสำคัญทีเดียว แต่อาจจะต้องรอเวลาเป็นตัวคลี่คลายประเด็นต่างๆ ออกมาเองครับ

ขอแสดงความนับถือ

บัญชา ธนบุญสมบัติ

ขอบคุณอาจารย์บัญชามากครับที่กรุณาเสนอแนะและให้ความเห็นเพิ่มเติม รวมทั้ง Link ถึงบทความที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งเป็นจุดที่ผมตั้งใจจะ Link เพิ่มด้วยเช่นกันครับ

ครับ เจตนาดีแต่หากเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ทำให้เกิดผลเสียได้ไม่น้อยกว่าเจตนาร้าย

ก็หวังว่าผมจะได้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามนำเสนอข้อเท็จจริงและความจริงครับ

อ่านแล้วเหมือนกันคะ ช่วงที่อ่านใหม่ก้อจะไปเล่าใหเพื่อนฟัง คุยกับอาจารย์บ้าง หลายคนก้อสงสัยและก้ออยากอ่านเรื่องนี้เช่นกัน ตอนแรกเป็นอะไรที่ตื่นเต้น แปลก เลยรู้สึกอยากอ่านดู บางอันก้องงเข้าไม่ถึง และบางอย่างก้อมีข้อสงสัยเช่นกัน แต่คิดว่า ถ้าอยากรู้จริงก้อลองอ่านไตรปิฏก ที่แปรแล้วดู คือสงสัย อยากรู้ว่าใช่เหรอ เลยต้องหาข้อมูลเพิ่ม แต่คงไม่หมกหมุ่นกับมันมากมายค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท