งานวิจัย


โครงร่างการวิจัยแนวการพัฒนาสื่อ

           

1.  ชื่อปัญหาการวิจัย  การพัฒนาบทเรียนการ์ตูน เรื่อง คำศัพท์หมวดผลไม้  สำหรับ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

2.  ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

            พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542  (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2  .. 2545 )  ในมาตรา 22  กำหนดไว้ว่า  การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคน

มีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้   และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ   ฉะนั้นครูผู้สอนจะต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทจากการเป็นผู้ชี้นำ ผู้ถ่ายทอดความรู้ ไปเป็นผู้ช่วยเหลือ ส่งเสริมและสนับสนุนผู้เรียนในการแสวงหาความรู้จากสื่อและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ และให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้เรียนเพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้สร้างสรรค์ความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง

            ลักษณะของสื่อการเรียนรู้ที่จะนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ควรมีความหลากหลายทั้งสื่อธรรมชาติ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยี และสื่ออื่นๆ ที่ช่วยส่งเสริมให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีคุณภาพ น่าสนใจ และเข้าใจง่าย รวมทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการแสวงหาความรู้  เกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง ลึกซึ้ง และต่อเนื่อง  

ผู้วิจัยเห็นว่า สื่อการเรียนรู้ มีความสำคัญ ต่อการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง   และด้วยเหตุที่การ์ตูนเป็นสื่อที่น่าสนใจของนักเรียนทุกวัย จึงได้มีการพัฒนา บทเรียนการ์ตูน เรื่อง   คำศัพท์หมวดผลไม้ สำหรับ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เพื่อกระตุ้นความสนใจ  ทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน   เกิดการเรียนรู้ได้ดี   อันจะส่งผลให้ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น

3.  วัตถุประสงค์การวิจัย

            3.1  เพื่อการพัฒนาบทเรียนการ์ตูน เรื่องคำศัพท์หมวดผลไม้

            3.2  เพื่อศึกษาผลการใช้บทเรียนการ์ตูน เรื่องคำศัพท์หมวดผลไม้

            3.3  เพื่อการประเมินผลการใช้บทเรียนการ์ตูน เรื่องคำศัพท์หมวดผลไม้

 

 

4.  ขอบเขตของการวิจัย

4.1  กลุ่มเป้าหมาย 1  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5  โรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ  อำเภอเมือง  จังหวัดนครนายก  จำนวน  5  คน

     กลุ่มเป้าหมาย 2  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5    โรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ  อำเภอเมือง  จังหวัดนครนายก  จำนวน  15  คน

4.2  เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนการ์ตูน เรื่องคำศัพท์หมวดผลไม้ คือ

            1.  ผลไม้พื้นเมืองของประเทศญี่ปุ่น

            2.  ผลไม้นำเข้าจากต่างประเทศ

4.3  ผู้วิจัยใช้เวลาดำเนินการวิจัย เริ่มตั้งแต่ วันที่ 17 มิถุนายน  2549  - 17  ตุลาคม  2549

5.  คำนิยามศัพท์

1.  บทเรียนการ์ตูน หมายถึง บทเรียนสำเร็จรูปที่ใช้ภาพการ์ตูนดำเนินเรื่องต่อเนื่องตามเนื้อหาที่จะเรียน โดยใช้อักษรบรรยายหรือบทสนทนา มีตัวอย่าง มีคำถามข้อสรุป โดยบทเรียนจะเสนอเป็นตอนๆ ตอนละ 1 เรื่อง
            2.  ผลไม้พื้นเมืองของประเทศญี่ปุ่น หมายถึง  ผลไม้ที่ปลูกได้ตามธรรมชาติ

ในประเทศญี่ปุ่น  จะเขียนโดยใช้อักษรฮิรางะนะ (  ひらがな  )

            3.  ผลไม้นำเข้าจากต่างประเทศ  หมายถึง  ผลไม้ที่นำเข้าประเทศญี่ปุ่นจากประเทศต่างๆ    จะเขียนโดยใช้อักษรคะตะคะนะ (  かたかな )

6.  วิธีดำเนินการวิจัย

 6.1     กลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มเป้าหมาย 1  คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 /5   โรงเรียน

ปิยชาติพัฒนาฯ  อำเภอเมือง  จังหวัดนครนายก  จำนวน  5  คน

          กลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มเป้าหมาย 2.  คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 /5   โรงเรียน

ปิยชาติพัฒนาฯ  อำเภอเมือง  จังหวัดนครนายก  จำนวน  15  คน

6.2  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

            1.  บทเรียนการ์ตูน เรื่องคำศัพท์หมวดผลไม้

            2.  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องคำศัพท์หมวดผลไม้                

            3.  แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนการ์ตูน

 

 

6.3  วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 

            ผู้วิจัยเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องคำศัพท์หมวดผลไม้ และ แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนการ์ตูน เรื่องคำศัพท์หมวดผลไม้

เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย 1  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5    โรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ  อำเภอเมือง  จังหวัดนครนายก  จำนวน  5  คน  กลุ่มเป้าหมาย 2  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 /5   โรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ  อำเภอเมือง  จังหวัดนครนายก  จำนวน  15  คน

6.4  สถิติที่ใช้และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

            1. E1 / E2  การหาประสิทธิภาพของสื่อ

            2.  ค่าร้อยละ

            3.  ค่าเฉลี่ย (X)

            4.  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D.) 

            5.  ค่า t-test แบบ One Sample

7.  เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

             7.1 เอกสารที่เกี่ยวข้องคือ

                        1.  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.. 2544

                        2.  หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

                        3.  คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นหมวดผลไม้

                        4.  แนวคิดในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนการ์ตูน            เช่น
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และ คณะ ได้กล่าวถึงประโยชน์ของหนังสือการ์ตูนที่มีต่อการเรียนการสอน สรุปได้ดังนี้
Ùใช้แสดงกิจกรรม ท่าทางและอารมณ์ของสิ่งต่างๆ ที่กล่าวถึง ประกอบการเล่าเรื่องราว หรือนิทาน

Ù ทำให้การสอนมีชีวิตชีวา เร้าความสนใจของผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเข้าใจประเด็นปัญหาได้เป็นอย่างดี
Ù การ์ตูนสามารถสรุปประเด็นปัญหา หรือความคิดหลักของบทเรียนให้เข้าใจได้ง่าย และยังจำได้นานอีกด้วย

Ù ใช้ประกอบการสอนภาษาโดยมีการ์ตูนแสดงกิจกรรมต่างๆ ให้ผู้เรียนแปลภาพออกมาเป็นภาษา
Ù ใช้การ์ตูนแสดงสถานการณ์ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการอภิปรายเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาต่างๆ ได้

7.2  งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

  วิมลรัตน์ ศรีสุข  (2543)  ได้ศึกษาพัฒนาการของการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์และคุณลักษณะทางจิตพิสัยที่พึงประสงค์ด้านความมีน้ำใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนโดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ด้วยบทเรียนการ์ตูน  ผลการวิจัยพบว่า  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ที่ได้รับการสอนโดยวิธีเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ด้วยบทเรียนการ์ตูน มีผลเฉลี่ย ของคะแนนสอบหลังเรียนมีค่าสูงกว่าผลเฉลี่ย ของคะแนนสอบก่อนเรียน  

 ศุภางค์ พิมพ์ชัย (2536)  ได้ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องความเสียสละและความเมตตากรุณา กลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย ระหว่างวิธีสอนด้วยหนังสือการ์ตูนและวิธีสอนปกติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   พบว่านักเรียนที่เรียนโดยการสอน ด้วยหนังสือการ์ตูนสี มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่า นักเรียนที่เรียนด้วยหนังสือการ์ตูนสีขาว-ดำ และที่เรียนโดยการสอนด้วยวิธีปกติ 

จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจะเห็นได้ว่า   การนำการ์ตูนมาพัฒนาเป็นบทเรียนการ์ตูนเพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้นั้น   นำประโยชน์อันมหาศาลมาสู่การจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง   เพราะการ์ตูนเป็นสิ่งที่นักเรียนส่วนใหญ่ชื่นชอบ   เมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียน จะทำให้บทเรียนน่าสนใจ   นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน    เกิดการเรียนรู้ได้ดีและจะส่งผลให้ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

 

8.  กรอบแนวคิดการวิจัย

ขั้นที่ 1  สร้างและหาประสิทธิภาพ

            -  ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

-  ยกร่าง บทเรียนการ์ตูน

-  ผ่านผู้เชี่ยวชาญ

-  ทดลองใช้ กับกลุ่มเป้าหมาย 1  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5    โรงเรียน

ปิยชาติพัฒนาฯ  อำเภอเมือง  จังหวัดนครนายก  จำนวน  5  คน 

-  หาประสิทธิภาพ E / E  

ขั้นที่ 2   นำไปใช้

-  นำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย 2  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5    โรงเรียน

ปิยชาติพัฒนาฯ  อำเภอเมือง  จังหวัดนครนายก  จำนวน  15  คน

-  ทำการทดสอบและประเมินผล  ให้ผ่านเกณฑ์ 80 %

ขั้นที่ 3   ประเมินผล  โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนการ์ตูน

9.  ชื่อผู้เสนอโครงการวิจัย

            นางสาวอรนุชา    จันทรจุลเจิม   ตำแหน่งครู โรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ

 อำเภอเมือง  จังหวัดนครนายก 

ØØØØØØØØØØØØØØØØØØØØØØØØØØØØ

 

หมายเลขบันทึก: 202292เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2008 18:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท