ไปเป็นวิทยากรเรื่องบทบาทมหาวิทยาลัยราชภัฏกับการพัฒนาอีสาน


ราชภัฏกับการพัฒนา

เมื่อ 15 สิงหาคม 2551 ผมไปร่วมเสวนาที่ มรภ.นครราชสีมา เรื่อง บทบาท มรภ.กับการพัฒนาอีสาน  ในงานประชุมทางวิชาการเสนองานวิจัยประจำปี  ผู้ร่วมเวที มี  รศ.สุริชัย หวั่นแก้ว ผอ.สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ, ดร.สีลาภรณ์ (ผอ.ฝ่าย4 สกว.), ดร.บัญชร แก้วส่อง, ผศ.พัชรินทร์ ดำรงกิตติกุล (สกว.) ผมสะท้อนความเห็นว่า

- ในอดีต 15-20 ปี ที่แล้ว มรภ.สมัยเป็น วค. มีบทบาทออกไปพัฒนาชุมชนโดยอาศัยตัวบุคคล(คืออาจารย์บางคนที่มีจิตสาธารณะ  อาสาไปทำงานกับชุมชนเอง)  ซึ่งมีแห่งละ 1-2 คน ไปทำงานกับ NGO's กับกลุ่มชาวบ้าน และปราชญ์ชาวบ้าน  พระสงฆ์นักพัฒนาบางรูป

- มรภ.เพิ่งมาตื่นตัวมาทำวิจัย ทำงานพัฒนากับชุมชุมจริงๆหลังที่ตั้งเป็นสถาบันราชภัฏ และมหาวิทยาลัย ที่มีปรัชญาว่าเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เมื่อ 10 ปีมานี้   โดยทาง สกว. วช. สกอ. มีส่วนมาช่วยกระตุ้นให้อาจารย์สนใจทำวิจัยเพื่อท้องถิ่น

- ในสภาพปัจจุบันการทำงานวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น ยังอยู่ในช่วงการพัฒนาทักษะทำวิจัย และทำงานพัฒนาให้อาจารย์รุ่นใหม่  นักวิจัยรุ่นใหม่  โดยยังประสบปัญหารการโตไม่ทันของคนรุ่นใหม่   เพราะบริบททางสังคมในรั้วมหาวิทยาลัยเปลี่ยนไปมากทั้งด้านแหล่งทุน  แรงจูงใจ  การเสริมองค์ความรู้

- ในอนาคต  คาดว่าแนวโน้มจะค่อยๆดีขึ้น  ในการทำวิจัยและพัฒนาท้องถิ่นโดยเฉพาะการทำงานในรูป Matching Fund กับ จังหวัด อปท. NGO's แหล่งทุนส่วนกลาง(สกว. วช. สกอ. สสส. สวทช. ฯลฯ)

หมายเลขบันทึก: 202289เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2008 18:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท