เหนือ กลาง ใต้ อีสาน


เครื่องดนตรีพื้นบ้าน



 

เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง

 ซอด้วง 

รูปร่างลักษณะ

เครื่องสายชนิดหนึ่งบรรเลงโดยการใช้คันชักลากสี กล่องเสียงทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ขึงหน้าด้วยหนังงู มีช่องเสียงอยู่ด้านตรงข้าม คันทวนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ยาวประมาณ ๖๐ ซม.มีลูกบิดขึ้นสายอยู่ตอนบน ซอด้วงใช้สายไหมฟั่นหรือสายเอ็น มี ๒ สาย ขนาดต่างกัน คันชักยาวประมาณ ๕๐ ซม.ซอด้วงมีเสียงแหลม ใช้เป็นเครื่องดนตรีหลักในวงเครื่องสาย

ประวัติ  ซอด้วงมีประวัติความเป็นมาไม่ชัดเจนเชื่อว่า ทำเล่นกันมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา แล้ว

การเทียบเสียง                         ขึ้นคู่ ๕ 

การประสมวง                    .  บรรเลงเดี่ยว

                                          ๒.  ประสมวงเครื่องสาย

                                          . ประสมวงมโหรี

บริเวณที่นิยมบรรเลง              ทุกจังหวัดในภาคกลาง และมีเล่นในจังหวัดอื่นๆ ด้วย

โอกาสที่บรรเลง                       เพื่อความบันเทิงในทุกโอกาส บางครั้งในงานศพก็เล่น โดยประสมในวงเครื่องสาย มโหรี และเล่นเพลงสำเนียงมอญ (ท่วงที่ลีลาที่เศร้าสร้อย)

บทเพลงบรรเลง         เพลงพื้นบ้านภาคกลางและเพลงไทยชั้นสูงทุกเพลงเช่น เขมรพระปทุม จรเข้หางยาว พม่ารำขวาน    ศรีนวล

ซออู้

รูปร่างลักษณะ

 เครื่องสายใช้สี กล่องเสียงทำด้วยกะโหลกมะพร้าวขึ้นหน้าด้วยหนังวัว มีช่องเสียงอยู่ด้านตรงข้าม คันทวนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ยาวประมาณ ๖๐ ซม.มีลูกบิดขึ้นสายอยู่ตอนบน คันชักยาวประมาณ ๕๐ ซม.ซออู้มีเสียงทุ้ม บรรเลงคู่และสอดสลับกับซอด้วงในวงเครื่องสาย

 ประวัติ  ซออู้เป็นซอไทยที่เราทำขึ้นใช้เองอาจวิวัฒนาการมาจากสะล้อของล้านนาประมาณว่ามีมาก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว

การเทียบเสียง     ขึ้นคู่ ๕ ให้สายเอกของซออู้เท่ากับสายทุ้มของซอด้วง โดยขึ้นเสียง C - G 

 การประสมวง             ๑.  บรรเลงเดี่ยว

                                    ๒.  ประสมวงเครื่องสาย

                                    ๓. ประสมวงมโหรี

 บริเวณที่นิยมบรรเลง ทุกจังหวัดในภาคกลาง และภาคอื่นๆ บางจังหวัด

โอกาสที่บรรเลง งานรื่นเริงทุกโอกาส และงานศพในบางกรณีเช่นเดียวกับซอด้วง

 บทเพลงที่นิยมบรรเลง เพลงพื้นบ้านภาคกลางและเพลงไทยชั้นสูงทุกเพลงเช่น เขมรพระปทุม จรเข้หางยาว พม่ารำขวาน ศรีนวลฯลฯ

 

ซอปีบ ซอกระป๋อง

รูปร่างลักษณะ

ซอชนิดนี้เป็นของชาวบ้านที่ประดิษฐ์ขึ้นจากวัสดุเหลือใช้ ทำขึ้นเพื่อความบันเทิง โดยทำแบบซอด้วง หรือซออู้ แต่ใช้ปีบขนาดเล็ก กระป๋องนมหรือกระป๋องอื่นๆ มาทำกล่องเสียงแทนไม้และกระโหลกมะพร้าว ไม่ต้องขึงหนัง แต่ใช้ด้านก้นกระป๋องเป็นหน้าซอแทน ส่วนประกอบอื่นๆ เหมือนกับซอด้วง ซออู้ นิยมใช้สายเอ็นตกปลาแทนสายไหม

ประวัติ                 ทำเล่นกันมาประมาณสัก ๕๐ ปีแล้ว แต่ไม่แพร่หลายนัก พบตามชนบทที่ห่างตัวเมืองมากๆ ซึ่งหาวัสดุที่จำเป็นยาก

 การเทียบเสียง     ขึ้นคู่ ๕ เช่นเดียวกับซออู้และซอด้วง 

 การประสมวง       .  บรรเลงโดยเอกเทศ

                               ๒.  ประสมกับขลุ่ย เครื่องดนตรีอื่นๆ ตามแต่จะมี และเครื่องจังหวะ

บริเวณที่นิยมบรรเลง พบตามชนบทในจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม อยุธยา นครปฐม

โอกาสที่บรรเลง เพื่อความบันเทิงในทุกโอกาส 

 บทเพลงที่นิยมบรรเลง เพลงไทยชั้นสูงในอัตราจังหวะสองชั้น และเพลงพื้นบ้านที่ร้องกันได้ ตลอดจนเพลงลูกทุ่งทำนองเพลงไทยๆ หลายเพลง

เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคอีสานเหนือ

พิณ

 รูปร่างลักษณะ

 พิณเป็นเครื่องดีด ทำด้วยไม้ กล่องเสียงเป็นรูปสี่เหลี่ยมมนหรือคล้ายใบไม้ กว้างประมาณ ๒๕ ซม. ยาวประมาณ ๓๐ - ๓๕ ซม. หนาราว ๗- ๑๐ ซม. มีช่องเสียงตรงกลางด้านหน้า คัณพิณยาวประมาณ ๔๐ - ๕๐ ซม. ตอนปลายทำเป็นลวดลายหัวพญานาค ใช้สายลวด ๒ - ๔สาย บางครั้งใช้ ๒ คู่ มีนมแบ่งเสียง ใช้ดีดด้วยแผ่นเขาบางๆ 

ประวัติ   ชาวไทยอีสานใช้พิณเล่นเดี่ยวและประกอบวงดนตรี มาแต่ครั้งโบราณแล้ว 

การเทียบเสียง พิณ ๒ สายขึ้นคู่ ๔ หรือคู่ ๕ A- E 

                        พิณ ๓ สายขึ้นชั้น E - A - E 

                        พิณ ๔ สายขึ้นสายเป็น ๒ คู่ ให้ ๒ สายแรกเป็นเสียง เอ และ ๒ สายเอก เสียง E

การประสมวง. บรรเลงเดี่ยว

                       ๒. บรรเลงร่วมกับแคนและเครื่องจังหวะ 

                       ๓. บรรเลงในวงโปงลาง

                       ๔. บรรเลงประกอบหมอลำในหมอลำเพลิน

บริเวณที่นิยมบรรเลง จังหวัดต่างๆ ในอิสานเหนือ

โอกาสที่บรรเลง ใช้เพื่อการบันเทิงทั่วๆ ไป ทั้งในยามปกติและเทศกาล

 บทเพลงที่นิยมบรรเลง เพลงพื้นบ้านอิสานทุกเพลง เช่น เต้ยโขง เต้ย พม่า ลำเพลิน ฯ ลฯ 

  

หุน หึน

รูปร่างลักษณะ

เป็นเครื่องดีดทำด้วยไม้ไผ่ ยาวในราว ๑๒ - ๑๕ ซม กว้าง ๑ ๑ ๒ ถึง ๒ ซม แล้วแต่ขนาด หนา ๑- ซม. ตรงกลางเซาะร่องเป็นลิ้นในตัว แบบลิ้นเดียว ปลายด้านหนึ่งเป็นที่จับ ด้านตรงข้ามใช้ดีดด้วยนิ้วหัวแม่มือ หรือนิ้วชี้ เวลาเล่นประกบลิ้นหืนเข้ากับปาก โดยใช้กระพุ้งปากเป็นกล่องเสียงดีดได้ ๒ ๓ เสียง ทำทำนองได้เล็กน้อย  

ประวัติ  ชาวไทยอิสานใช้เล่นมาแต่ครั้งโบราณแล้ว 

 การเทียบเสียง แล้วแต่ขนาดและการดัดแปลง กระพุ้งปากของผู้บรรเลง

 การประสมวง ไม่นิยมประสมวง ส่วนมากบรรเลงเดี่ยว

 บริเวณที่นิยมบรรเลง จังหวัดต่างๆ ในอิสานเหนือ

 โอกาสที่บรรเลง ยามว่าง ไม่ใช้ในการประโคม ประสมวง หรือ งานใดๆ เป็นการเล่นแก้เหงาเฉพาะบุคคล

 บทเพลงที่นิยมบรรเลง ไม่มีเพลงตายตัว 

 

 ซอปีบ, ซอกระป๋อง

รูปร่างลักษณะ

คล้ายซอด้วง คันซอทำด้วยไม้มีลูกบิดขึ้นสาย ๒ ลูก ใช้สายลวด กล่องเสียงทำด้วยปี๊บนำมันก๊าด หรือกระป๋องต่างๆ เช่น กระป๋องลูกอม ใช้ด้านเปิดเป็นช่องเสียง คันชักทำด้วยไม้เหลา ขึงด้วยสายเอ็นขนาดเล็ก หรือหางม้า มีทั้งที่อยู่ระหว่างสาย และคันชักอิสระนอกสาย คือ ซอปี๊บคันชักอยู่ใน ซอกระป๋องคันชักอิสระ

ประวัติ    ซอทั้ง ๒ ชนิดนี้ เพิ่งมีใช้สมัยที่มีกระป๋องน้ำมันก๊าด และกระป๋องโลหะต่างๆ พบเมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ เลิกใหม่ๆ 

การเทียบเสียง ระหว่างสายคู่ คือคู่ ๕ โดยเทียบเสียงกับเสียงคน ( ซี - จี หรือ เอ - อี หรือ อี - บี ) 

การประสมวง.สีเดี่ยว

                       ๒.สีประกอบหมอลำหมู่ แมงตับเต่าคู่กับพิณและแคน

บริเวณที่นิยมบรรเลง พบในจังหวัดร้อยเอ็ด และมหาสารคาม

โอกาสที่บรรเลง ในการบันเทิงทั่วไป และงานเทศกาล งานมงคลที่มีหมอลำหมู่ แมงตับเต่าไปแสดง 

บทเพลงที่นิยมบรรเลง เพลงลายแคนทั้งหลาย และเพลงพื้นบ้านทั่วไป แต่ซอปี๊บนิยมบรรเลงลายแมงตับเต่า โดยเทียบเสียงเดียวกับลายส้อย

 

เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคอีสานใต้

พิณน้ำเต้า

รูปร่างลักษณะ

 พิณสายเดี่ยว ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ยาวประมาณ ๗๕ ซม. ปลายข้างหนึ่งทำด้วยโลหะ หล่อเป็นลวดลายสำหรับขึงสายสวมติดไว้ด้านตรงข้ามมีลูกบิด ทำด้วยไม้เนื้อแข็งสอดไว้ กล่องเสียงทำด้วยผลน้ำเต้าแห้ง มีเชือกรัดสายพิณซึ่งทำด้วยโลหะให้คอดตรงบริเวณใกล้กล่องเสียง ใช้บรรเลงด้วยการดีดด้วยนิ้วมือเวลาบรรเลงจะใช้กล่องเสียงประกบกับอวัยวะของร่างกาย เช่น หน้าอก หรือท้อง มีเสียงเบามาก สามารถทำหางเสียง( Harmonic) ได้ด้วย         

ประวัติ  พิณน้ำเต้าเป็นเครื่องดีดที่เก่าแก่มากชิ้นหนึ่งมีเล่นกันมาหลายร้อยปีแล้ว ดังปรากฏในหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง 

 การเทียบเสียง ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว แล้วแต่ผู้บรรเลงจะพอใจเพราะใช้บรรเลงโดยเอกเทศ 

 การประสมวง บรรเลงเดี่ยวประสานเสียงร้อง

 บริเวณที่นิยมบรรเลง จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ

 โอกาสที่บรรเลง เพื่อความบันเทิง

  บทเพลงที่นิยมบรรเลง ทุกเพลงที่บรรเลงในภาคอิสาน คลอเสียงร้อง

 

 ตรัว, ซอกรันตรึม

รูปร่างลักษณะ

เครื่องสายใช้สี ทำด้วยไม้ กล่องเสียงซึงด้วยหนังงู มีช่องเสียงอยู่ด้านตรงข้าม หน้าซอ ใช้สายลวด มี ๒ สาย คันชักอยู่ระหว่างสาย คันซอยาวประมาณ ๖๐ ซม. มีลูกบิดอยู่ตอนบนอกซอใช้รัดด้วยเชือก ขนาดของซอแตกต่างกันไปตามความประสงค์ของผู้สร้าง โดยทั่วไปมี ๓ ขนาด ตรัวจี้(เล็ก) ตรัวเอก(กลาง) ตรัวธม(ใหญ่)

 ประวัติ  ซอกรันตรึม ใช้เป็นเครื่องดนตรีหลักในวงกรันตรึมมาช้านานแล้ว แต่เดิมบรรเลงเฉพาะเพลงพื้นบ้านภายหลังได้รับอิทธิพลจากภาคกลางไปบ้าง

การเทียบเสียง ซอจี้ (ซอเล็ก) คู่ ๕ -  ซอกลาง ซอธม (ซอใหญ่)คู่ ๕ 

การประสมวง ประสมในวงกรันตรึม วงเจรียง อาไย รวมทั้งประกอบระบำ (เรือม)ต่างๆ 

บริเวณที่นิยมบรรเลง จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ

โอกาสที่บรรเลง - การละเล่นในงานมงคล, งานเฉลิมฉลองตามประเพณี , ในโอกาสทำพิธีกรรมต่างๆ 

บทเพลงที่นิยมบรรเลง ได้แก่ เพลงพื้นบ้านอิสานใต้ทั่วไป เช่น กะโนบ ติงตอง อมตูก ปะการัญเจก ฯลฯ

   

 ตรัวอู้

รูปร่างลักษณะ

เครื่องสายใช้สี กล่องเสียงทำด้วยกะโหลกมะพร้าว ฝานด้านหนึ่งออก หุ้มด้วยหนัง ด้านตรงข้ามเป็นกล่องเสียง คันซอทำด้วยไม้ สายทำด้วยลวด คันชักอยู่ระหว่างสาย

ประวัติ มีเล่นกันมาในท้องถิ่นนี้ช้านานแล้ว

การเทียบเสียง ขึ้นคู่ ๕ โด- ซอน

การประสมวง ประสมในวงกรันตรึม วงเจรียง อาไย รวมทั้งประกอบระบำ (เรือม)ต่างๆ

บริเวณที่นิยมบรรเลง จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ

โอกาสที่บรรเลง - การละเล่นในงานมงคล, งานเฉลิมฉลองตามประเพณี , ในโอกาสทำพิธีกรรมต่างๆ

 บทเพลงที่นิยมบรรเลง ได้แก่ เพลงพื้นบ้านอิสานใต้ทั่วไป เช่น กะโนบ ติงตอง อมตูก ปะการัญเจก ฯลฯ

 

 ภาคใต้

กลองหนัง

รูปร่างลักษณะ

กลองหนัง ภาคกลางเรียกกลองตุ๊ก ตัวกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ขนาดเส้นผ้าศูนย์กลางประมาณ ๘ นิ้ว สูง ๑๐ นิ้ว ขึงหนัง ๒ หน้า ทำด้วยหนังวัว หรือหนังแพะ ใช้ตั้งตีกับพื้น มีขาหรือค้ำยันเพื่อให้ตีสะดวก ตีด้วยไม้ ๑ คู่ 

ประวัติ กลองหนัง มีมาช้านานแล้ว ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีมาแต่เมื่อไร แต่ใช้ในการละเล่นภาคใต้ทั่วไป 

การเทียบเสียง ไม่มีการเทียบเสียง

การประสมวง  ใช้บรรเลงในวงดนตรี ประกอบการแสดงโนห์รา 

บริเวณที่นิยมบรรเลง ภาคใต้ทุกจังหวัด

โอกาสที่บรรเลง ทั้งงานมงคล และ อวมงคล

  โพน

รูปร่างลักษณะ

โพน เป็น กลองสองหน้า ภาคกลางเรียกกลองทัด ตัวกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ขนาดเส้นผ้าศูนย์กลางประมาณ ๑๘ - ๒๒ นิ้ว สูง ๒๒- ๒๕ นิ้ว ขึงหนังวัว ๒ หน้า ตรงกลางตัวกลองมีหูโลหะไว้สำหรับแขวน ตีด้วยไม้   

ประวัติ มีมาช้านานแล้ว ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีมาแต่เมื่อไร แต่ใช้ในการละเล่นภาคใต้ทั่วไป 

การเทียบเสียง ไม่มีระดับเสียงแน่นอน

การประสมวง บางคราวตีปรักอบกับฆ้องเดี่ยว (ฆ้องหุ่ย) ไม่ใช้ประสมวงดนตรี ประกอบกับปืด ตีในกรณีคุมพระ (แห่พระเมื่อออกพรรษา ทอดกฐิน ชิงพระ ) บ้าง 

บริเวณที่นิยมบรรเลง จังหวัดต่างๆ ในภาคใต้

โอกาสที่บรรเลง ตีเป็นอาณัติสัญญาณ ตามเวลาพระฉันเพล หรือลงโบสถ์ กับการแห่พระ

 

ปืด

รูปร่างลักษณะ

กลองสองหน้า ทำด้วยไม้ประดู่ ชิงชัน หรือขนุน หุ้มด้วยหนังแพะ หรือหนังนาก ดึงให้ตึงด้วยเชือกหนัง ถ่วงเสียงดดด้วยข้าวสุกบดกับขี้เถ้ากาบมะพร้าว เรียก " ขี้ปืด" มีลำตัวยาว ๒๐ นิ้ว หน้าด้านหนึ่ง ๙ นิ้ว อีกด้านหนึ่งเสียงต่ำกว่า กว้าง ๑๐ นิ้ว  

ประวัติ ปืดมีใช้ในการบรรเลงดนตรีมาช้านานแล้ว 

การเทียบเสียง ขึ้นกับขนาด 

การประสมวง ตีประกอบโพน โดยขัดจังหวะกัน

บริเวณที่นิยมบรรเลง จังหวัดภาคใต้

โอกาสที่บรรเลง บรรเลงในงานออกพรรษา และงานชักพระบ้าง กับใช้เป็นสัญญาณสำหรับวัด มีการแข่งขันกัน ระหว่างวัดว่าของใครเสียงจะดีกว่ากัน และลีลาการตีดีกว่ากัน

 

หมายเลขบันทึก: 201697เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2008 17:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ

ไม่รู้จักอยู่หลายอย่าง

แม้แต่ของอิสานที่เป็นถิ่นเกิดก็ไม่รู้จักก็มีค่ะ

ขอบคุณที่นำสิ่งดีๆมาฝากค่ะ

จะซื้อกลองหนังได้ที่ไหนบ้างครับ

ผมรักดนตรีไทยมากเลยครับผมเรียนดนตรีไทยอยู่ที่จังหวัดอยุธยาบางปะหันบ้านดนตรีไทยศรีผ่อง

ผมจะถามว่า คูรผม ไห้มา หา กลอง ไทย ไห้มาก กว่า 25 ชนิด อะครับ ไม่รู้ หา ได้ ที่ ไหน ถา รู้ส่ง เวป มา ไห้ ที่ เมย์ นะ ครับ ขอบ คุณ มาก ๆๆ นะครับ

หนูว่าก็สวยน่ะค่ะ

แต่ถ้ามีรูปภาพประกอบด้วย

จะดูดีและสวยงามกว่านี้ค่ะ

หนูขอจบการวิจารณ์เพียงเท่านี้ค่ะ

.................................

ใช้ทำชิ้นงานอย่างเป็นสุข

ขอบพระคุณคะ หามานานแล้วอีสานเหนือเนี๋ย

ผมขอศึกษาด้วยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท