*****สวัสดี **** KM Forum of DMS : 2008


กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกรมการแพทย์

             KM Forum of DMS เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อบุคลากรในกรมการแพทย์ ได้มีโอกาสได้พบปะกันและมีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสนับสนุนให้บุคลากรใช้กระบวนการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพของบุคลากรอย่างต่อเนื่องและให้เกิดเครือข่ายขึ้น เน้นให้ผู้เข้าประชุมเข้าร่วมในกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่นำเสนอ การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่หลากหลายโดยเฉพาะทางด้าน IT, การเรียนรู้จากความสำเร็จและจากเวทีตลาดนัดความรู้ ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 7-8 ส.ค 2551 ที่โรงพยาบาลราชวิถี

สิ่งที่คาดหวังก่อนมาร่วมกิจกรรม

          เมื่อได้มีโอกาสที่จะได้ร่วมกิจกรรมนี้ ได้แอบคาดหวังว่าจะได้รู้สิ่งเหล่านี้คือ

·       อยากเห็นบรรยากาศของตลาดนัดความรู้ ว่าจะเป็นอย่างไร จะสามารถได้อะไรนำกลับไปบ้างจากกิจกรรมนี้

·       อยากรู้จัก IT in KM and Gotoknow ซึ่งต้นตำรับมาเอง

·       อยากได้เทคนิคการเล่าเรื่องและการทำ CoPs

·       การจะนำความรู้อะไรบ้างมาปรับใช้กับงาน

เป็นแก้วที่ว่างเปล่า …….พร้อมรับความรู้และประสบการณ์.....

เป็นแก้วที่ว่างเปล่า...พร้อมรับความรู้และประสบการณ์ เป็นข้อความที่ชอบมาก หลวงปู่ชา บอกว่าอย่าทำตัวเป็นชาล้นถ้วย จนไม่สามารถที่จะเติมอะไรลงไปได้ ก็คงไม่มีประโยชน์อะไรทีจะสอนให้  ต้องทำแก้วให้ว่างอยู่เสมอจึงจะได้ประโยชน์จากสิ่งที่ต้องการจะศึกษา ในงาน KM Forum of DMS นี้ก็มีสิ่งที่เป็นประสบการณ์มากมายและหลากหลายในการที่จะได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

ได้ใส่อะไรบ้างในแก้วนี้จาก KM Forum of DMS

ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ (KM: Knowledge Management) ในตอนเช้าได้มีการพูดถึงความสำคัญของ KM ว่าในกรมการแพทย์นั้นเริ่มเข้ามามีบทบาทในการปฏิรูประบบราชการให้มีประสิทธิภาพโดยนำระบบคุณภาพการพัฒนาการบริหารจัดการภาครัฐ(PMQA) ซึ่งเข้ามาในปี 2548 และปรากฎเป็นตัวชี้วัดหนึ่งของกรมการแพทย์ในปีงบประมาณ 2548 เริ่มดำเนินการส่งเสริม สนับสนุน เรื่องการจัดการความรู้ โดยสร้างความตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของกลวิธีการนำความรู้ภายนอกจากทฤษฏีต่างๆ การอบรมหรือดูงานจากหน่วยงานของภาครัฐและเอกชนและความรู้ที่ซ่อนเร้นหรือแฝงในตัวบุคลากรมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนเกิดองค์ความรู้หรือนวัตกรรมใหม่ๆและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง กรมการแพทย์ใช้ KM ในการผลักดันยุทธศาสตร์ ซึ่ง KM เป็นเครื่องมือในการพัฒนางานไม่ใช่เป้าหมาย

ตลาดนัดความรู้ สิ่งที่ได้พบมีความหลากหลายในสาขาวิชาชีพทางการแพทย์ เป็นเสน่ห์ของตลาดที่สามารถเลือกชมในสิ่งที่เราสนใจและความน่าทึ่งของหน่วยงานอื่นที่เป็น best practices ที่น่าเอาอย่างและเลลือกมาปรับใช้กับงานของเรารวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันรวมถึงการเป็นพันธมิตรเครือข่ายในเรื่องที่น่าสนใจร่วมกัน

บอดร์ที่ 1 การจัดทำฐานข้อมูลและการลงทะเบียนโรคผิวหนังในเขตภาคใต้ปี 2551 (ศูนย์โรคผิวหนังในเขตร้อนภาคใต้ จังหวัดตรัง) โดยการสร้างเครือข่ายการไหลเวียนของฐานข้อมูลมาตรฐาน 12 แฟ้ม ของสถานพยาบาลเครือข่ายในภาคใต้ ซึ่งมีฐานข้อมูลที่ครอบคลุมทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ และนำฐานข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในเชิงบริหาร บริการและวิชาการ สามารถประมวลผลรายงานที่เป็นปัจจุบันได้ตลอดเวลา

บอดร์ที่ 2 การเตรียมผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านมโดยใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน(Self help group) ของศูนย์มะเร็งฯอุบลราชธานี โดยนำผู้ป่วยที่ผ่าตัดแล้วมาทำ CoPsกับผู้ป่วยที่ยังไม่ได้ผ่าตัดมาคุยกัน สามารถช่วยให้ผู้ป่วยได้ตัดสินใจที่จะเปลี่ยนแปลง สู้กับภาวะวิกฤตได้และยังได้พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน(หัวอกเดียวกัน)จึงโดนใจมากกว่า ผู้ป่วยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนำไปเป็นคลังความรู้

บอดร์ที่ 3 แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ของศูนย์มหาวชิราลงกรณ์ธัญบุรี แนะถึงเทคนิคการทำCoPsผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย แล้วนำมาปรับใช้ มีการรวบรวมปัญหา ประชุม 5จังหวัด ใน 6ประเด็น นำญาติและผู้ป่วยมาแลกเปลี่ยนกันในปัญหาและเชิญทีมที่เชี่ยวชาญ และร.พ ที่มีประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนกัน สกัดแก่นความรู้
ออกมา

บอดร์ที่ 4 ระบบสารสนเทศในการจัดการความรู้ โรงพยาบาลราชวิถี เป็นการใช้ Camtasia Studio ซึ่งน่าสนใจมาก สามารถนำความรู้จากห้องประชุมมาใช้ได้เลย http://thaikm4u.com

บอดร์ที่ 5 การดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดเกินขนาดในการผ่าตัดลิ้นหัวใจ(Warfarin Overdose) ของสถาบันโรคทรวงอก มีการแชร์ความรู้และเทคนิค เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดเกินขนาดให้มีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยปลอดภัยลดภาวะแทรกซ้อนและทำวิจัยต่อ

บอดร์ที่ 6 การพัฒนารูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ของสถาบันโรคทรวงอก เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลจากสหสาขาวิชาชีพตามปัยหาและสถานการณ์ของผู้ป่วยแต่ละราย ได้รับการติดตามและประเมินผลอย่างเป็นระบบจากทีมดูแลเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งรวบรวมข้อมูลของผู้ป่วยเพื่อสร้างองค์ความรู้และวิจัยทางคลินิคต่อไป  มีการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่เพื่อเป็นองค์ความรู้

บอดร์ที่ 7 การดูแลผู้ป่วยวัณโรคแบบครบวงจร ของสถาบันโรคทรวงอก

บอดร์ที่ 8 น้ำลายเทียมจากว่านหางจรเข้ ของศูนย์มะเร็งฯ ชลบุรี น้ำลายเทียมจากว่านหางจรเข้ช่วยบรรเทาความทุกข์ทรมานจากอาการสภาวะปากแห้ง ซึ่งเป็นอาการแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีบริเวณศีรษะและลำคอได้ดี ซึ่งมีองค์ประกอบใกล้เคียงกับน้ำลายธรรมชาติของมนุษย์มากที่สุด ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยบริเวณศีรษะและลำคอ หลังฉายรังสีได้ดียิ่งขึ้น

บอดร์ที่ 9 คู่มือปฏิบัติงานในการฉายแสง ของศูนย์มะเร็งฯ ชลบุรี

บอดร์ที่ 10 กล้อง OTOP ของศูนย์มะเร็งฯ ชลบุรี

บอดร์ที่ 11 ส่งน้องไร้ชีวิตด้วยความเป็นมนุษย์ ของโรงพยาบาลเลิดสิน เป็นไอเดียที่ดีมาก ทำให้ผู้เป็นแม่รู้สึกดีเมื่อได้เห็นน้องได้อยู่ในสภาพที่ดี เนื่องจากแม่เสียใจมากพอแล้วเมื่อมาเห็นน้องในถุงดำที่ติดชื่อไว้(แบบเก่า)ยิ่งเสียใจ มีการทำCQI แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นซึ่งกันและกันจนได้รูปแบบกล่องที่ดูสวยงาม ไว้ส่งน้องไร้ชีวิตกลับคืนให้แม่

 บอดร์ที่ 12 Telling Story ในประเด็นการให้คำปรึกษา ของโรงพยาบาลเลิดสิน

 บอดร์ที่ 13 Telling Story ในประเด็นเทคนิคการสืบค้นข้อมูลเพื่อติดตามญาติ ของโรงพยาบาลเลิดสิน

 บอดร์ที่ 14 Clinical Tracer of head injury ของโรงพยาบาลเลิดสิน

 บอดร์ที่ 15 Trigger Tool ของโรงพยาบาลเลิดสิน เช่น รถสระผม ตะกร้าใส่มือ

 บอดร์ที่ 16 การทำ Tissue micro array อย่างง่าย ของสถาบันพยาธิวิทยา

 บอดร์ที่ 17 กิจกรรมพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน ของสถาบันโรคผิวหนัง โดยการใช้ CoPs และนำคนไข้มาร่วมด้วย นำไปสู่การวิจัย

บอดร์ที่ 18 กิจกรรมการพัฒนาการเฝ้าระวังการติดเชื้อแผลผ่าตัดปลูกถ่ายผิวหนัง ของสถาบันโรคผิวหนัง

บอดร์ที่ 19 การดูแลข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ของ สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ การทำ CoPs คุยกันหลายฝ่าย ทดลองทำ วิจัยพัฒนาเป็นโมเดล เผยแพร่ใช้จริง มีสระธาราบำบัด

บอดร์ที่ 20 จุดเปลี่ยนความสุขของชีวิต ของสถาบันสุขภาพเด็ก แบบประเมินพบว่ามีความสุขบ้าง ไม่มีบ้าง เครียด นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน คิดอย่างไรในปัญหาที่พบ เก็บรวบรวมEK มีมากมายหลายหัวข้อ เรื่องเล่าเพื่อหาปัจจัยสู่ความสำเร็จ

 บอดร์ที่ 21 การจัดการความปวดหลังการผ่าตัด อบรมก่อนจากผู้เชี่ยวชาญสู่เจ้าหน้าที่ และเชิญเจ้าหน้าที่มาทำ AAR เกิดความรู้ปรับใช้

 บอดร์ที่ 22 การจัดการความรู้ที่ X-Ray ของสถาบันสุขภาพเด็ก มีเทคนิคใหม่ๆและจัดทำคู่มือโดยการถ่ายความรู้ให้คนอื่น

 บอดร์ที่ 23 การเตรียมความพร้อมระบบไฟฟ้าขัดข้อง ของสถาบันสุขภาพเด็ก นำช่างไฟฟ้ามาให้ความเห็นแล้วแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้แนวทางว่าควรจะทำอะไรบ้าง อุปกรณ์เดิมพอไหม? รวมทั้งป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บอดร์ที่ 24 การจัดการความรู้พัฒนาแนวทางการปฏิบัติป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยที่คาสายปัสสาวะในเขต 20 ของสำนักการพยาบาล

 บอดร์ที่ 25 นวัตกรรม ย่ามหนูน้อยยูโร ของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหหาหราชินี ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้เด็กลงจากเตียงมาทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างสะดวกสบาย
โดยไม่ต้องหิ้วถุงปัสสาวะ ทั้งยังส่งเสริมภาพลักษณ์ของผู้ป่วยให้ดีขึ้น

 บอดร์ที่ 26 ร่วมด้วยช่วยกันแก้ปัญหา ของโรงพยาบาลนพรัตน์ เป็นการคุยกันในผู้ปฏิบัติ ทำ CQI, sharing นำความรู้ ทักษะของร.พ อื่นๆมาแลกเปลี่ยนกันรวมเป็นคลังความรู้

แนวคิดที่ได้จากตลาดนัดความรู้

ประเภทแรก เปรียบเหมือนเรามาจ่ายตลาดทำอาหาร ถ้าทำอาหารเป็นก็จะมีมุมมองอีกแบบหนึ่ง รู้ว่าต้องการอะไร ก็จะเลือกซึ้อและรู้จักหยิบเอาแต่สิ่งที่ต้องการมาใช้ประโยชน์และทำอาหารชนิดที่ต้องการได้ KM ก็เช่นกันคนพอมีความรู้อยู่บ้างก็สามารถหยิบเอาความรู้ที่ต้องการมาใช้ประโยชน์กับจุดประสงค์และประยุกต์ได้หรือนำแนวคิดมาปรับใช้

ประเภทที่สอง คนทำอาหารไม่เป็นแต่อยากทำ ก็เหมือนกับเราไม่มีความรู้พื้นฐานหรือมีน้อย จึงต้องการเก็บทุกอย่างที่พบเจอแล้วค่อยมาคิดเมนูอาหารว่าจะทำอะไรดี ดังนั้นจึงมีทั้งที่ต้องการและไม่ต้องการเยอะไปหมด  ข้อมูลอาจโอเวอร์โหลดได้

ซึ่งคนที่มางานนี้มีทั้งสองประเภท จากการทำ AAR พบว่าประมาณ 50% เลยทีเดียว ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นอย่างไหน ถือว่าได้ประโยชน์เช่นกัน ดังนั้นจึงอยากให้มีตลาดนัดความรู้อย่างนี้อีก

ความรู้ด้านIT  : ซึ่งน่าสนใจมาก เป็นสิ่งที่เกินความคาดหมายว่าจะได้พบเทคโนโลยีที่น่าสนใจ 3 เรื่องคือ

1. การสร้างองค์ความรู้จากงานประจำด้วยระบบข้อมูลแบบ UCHA โดยนพ.ทวีทอง กออนันตกูล เป็นการเรียกใช้ข้อมูลที่ง่ายและและได้ข้อมูลที่รวดเร็ว ครบถ้วน ง่ายต่อการใช้งาน

2. ระบบสารสนเทศในการจัดการความรู้โรงพยาบาลราชวิถี เป็นโปรแกรมการใช้ Camtasia Studio เป็นระบบที่สามารถนำเอาสื่อต่างๆที่เรามีอยู่มานำเสนอไได้อย่างหลากหลายมานำเสนอในโปรแกรมเดียวกัน

 3. IT in KM and Gotoknow โดย ผศ.ดร.ธวัชชัย ปิยะวัฒน์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์ ได้นำเสนอโครงการระบบออนไลน์เพื่อการจัดการความรู้สุขภาวะ (Digital KM) ทำให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้ IT ในการเป็นเครื่องมือการเข้าถึงความรู้และการนำเสนอเป็นสิ่งที่จำเป็นในการเผยแพร่ผลงาน เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการต่อยอดความรู้ ซึ่งถ้าข้ามสาขาวิชาชีพข้ามสายงานด้านการแพทย์ ถ้ามีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันจะมีมุมมองที่แตกต่างกันเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ ซึ่งหัวใจของ TK คือการมีใจที่จะแบ่งปัน หัวใจของ EK คือการเรียนรู้และยกระดับ ซึ่ง Gotoknow.org เป็นจุดศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดี โดยการเล่าเรื่องความสำเร็จเล็กๆน้อยๆในการทำงาน การผิดพลาดนำมาเล่าเพื่อไม่ให้ทำซ้ำ เล่าความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติ  เป็นการส่เสริมเรื่องเล่าเร้าพลัง ถ่ายทอดจากบุคคลที่เจอเหตุการณ์นั้นๆเป็นประสบการณ์เพื่อเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้อ่านได้นำไปประยุกต์ใช้หรือจุดประกายความคิดเพื่อให้ต่อยอดความรู้ในกิจกรรมการทำงานและกิจกรรมอื่นๆ และสนับสนุนการให้เกีรยติแก่เจ้าของความรู้โดยไม่สนับสนุนการละเมิดลิขสิทธิ์งานเขียน ภาพ เสียงและสื่อมัตติมีเดีย และยังมีบทบาทในการรวมขุมความรู้ของไทย อีกทั้งยังเป็นพื้นที่เสมือนให้สมาชิกสาขาอาชีพต่างๆมารวมตัวกัน

ประโยชน์จากการเขียนบล็อก ซึ่งคุณธวัชชัยได้ให้ความเห็นอย่างน่าฟังว่า

1.      การเขียนบันทึกทำให้ได้รู้จักตัวเองมากยิ่งขึ้น

2.      ฝึกทักษะการเขียน การจัดลำดับความคิดเห็นเพื่อถ่ายทอดความคิดของตนเองให้คนอื่นอ่านและทำความเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น

3.      บันทึกประสบการณ์ความรู้ของตนเองไว้และสามารถกลับมาทบทวนได้ตลอดเวลา

4.      ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และยังสามรถนำมาใช้ประโยชน์ในการทำงานและดำรงชีวิต

5.      เรียนรู้การสร้างความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น

มีโครงการที่น่าสนใจมากมายเช่น Mailing lists , ThaiHealth TV , Commons Magazine , Homework.in.th, HealthThis.org ในอนาคตจะมีสิ่งดีๆที่เกิดขึ้นในโลกดิจิตอล น่าชื่นชมโครงการนี้มากๆ

กิจกรรม AAR

การทำกิจกรรม AAR นั้นเป็นกิจกรรมสุดท้ายในการประชุม ซึ่งได้จัดเก้าอี้เป็นวงกลมไว้และบอกกติกากันก่อนว่า เมื่อเราได้เรียนรู้ร่วมกันแล้วก็เอามาเล่าสู่กันฟัง แต่มีข้อแม้ว่า ต้องพูดสุนทรีย์วาจาและพูดเชิงบวกเป็นหลักใช้เวลาประมาณ 5 นาที/คน มีคนดูแลสองคน จดบันทึกหนึ่งคนและสามารถนำความรู้ที่ได้นั้นเป็นแผนที่ความคิดต่อได้

สาระสำคัญในการทำ AAR มี 5 ข้อคือ

1.      ท่านคาดหวังอะไรที่มางานนี้

2.      อะไรที่บรรลุความคาดหวังบ้าง?

3.      อะไรที่ไม่ได้ตามความคาดหวัง

4.      แล้วอยากให้คณะ KM ทำอะไรต่อ(ข้อเสนอแนะต่อผู้จัด)

5.      แล้วบอกว่าจะกลับไปทำอะไรต่อในด้าน KM (ข้อเสนอแนะต่อหน่วยงาน)

สิ่งที่ได้จาก AAR   

หมายเลขบันทึก: 200420เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2008 14:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สิ่งที่ได้จาก AAR  

·           เป็นการสรุปรวมของแต่ละคน ทำให้ได้เห็นมุมมองของหลายๆคนในการคิดและเห็นในสิ่งที่อาจจะเหมือนหรือแตกต่างกันออกไปและสามารถนำสิ่งนั้นมาเป็นแนวคิดในการปรับใช้กับงานเราได้

·           คิดว่าสำคัญมากสำหรับงานทุกงานเป็นการประเมินสองทางทั้งผู้จัดงานและผู้ร่วมงาน แบบเปิดใจ รู้สึกชอบส่วนนี้มากและก็รู้สึกประทับใจดี...น่าเสียดายมีหลายคนที่ไม่ได้อยู่ร่วมในส่วนนี้ ซึ่งได้บรรยากาศของการปิดงานที่มีประโยชน์ ได้รู้จักเพื่อนและรับรู้ถึงไมตรีจิตผู้มาร่วมงานจากหน่วยงานอื่นที่เราไม่รู้จัก และบางคนก็ทำให้ได้มีโอกาสที่จะทำงานร่วมกันในอนาคตซึ่งสนใจในเรื่องเดียวกัน

สิ่งที่ได้กลับไปจากงานนี้

1.          ได้รู้จักตลาดนัดความรู้ของ KM และทำให้เห็นว่างานที่หน่วยงานอื่นๆนำมาเสนอนั้น ในหน่วยงานของเราก็มีตั้งหลายเรื่องที่ได้ทำและน่าจะนำมาเสนอในงานลักษณะนี้ได้อย่างน่าสนใจไม่แพ้หน่วยงานอื่นเลย ซึ่งคราวหน้าหน่วยงานเราคงไม่พลาดโอกาสอีก

2.          ทำให้ได้เห็นหน่วยงานอื่นทำงานอะไรก้าวหน้าไปถึงไหนแล้วและหน่วยงานไหนบ้างที่เราสามารถเข้าร่วมเป็นเครือข่ายกันได้บ้าง และบางอย่างก็สามารถนำมาปรับใช้กับงานเราได้ไหม?

3.          ได้ IT ที่มีประโยชน์และมองหาว่าจะใช้กับงานเราได้ไหม?และจุดไหนจะได้ประโยชน์บ้างและได้โปรแกรมของร.พ ราชวิถี มาทดลองใช้กับสารสนเทศในงานที่ทำด้วย

4.              เห็นถึงความสำคัญของการเผยแพร่ความรู้ที่ได้ให้คนอื่นได้ทราบด้วย

สิ่งที่จะนำมาปรับใช้กับงาน

1.          อยากจะใช้ UCHA กับการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับทางห้องปฏิบัติการที่ทำอยู่

2.          อ.ธวัชชัย จุดประกายให้รู้จักการนำเสนอบทความในบล็อกเกี่ยวกับงานที่ทำ โดยเริ่มจากสิ่งที่เล็กๆน้อยๆในงาน มาเล่าสู่กันฟัง โดยสนับสนุนการเขียนเรื่องเล่าเร้าพลังจากประสบการณ์และการเรียนรู้ในการทำงาน เพื่อเป็นประโยชน์และเพื่อให้จุดประกายความคิดต่อยอดในการทำงาน

3.          นำเรื่องราวที่ได้จากการมาครั้งนี้ เล่าให้เพื่อนร่วมงานที่ไม่ได้มาฟัง และร่วมกันคิดเพื่อปรับใช้ในการพัฒนางาน

ไม่ว่าความรู้อะไรก็ตามที่ได้เรียนรู้จาก KM Forum of DMS ถ้าสิ่งที่ได้รู้นี้ไม่ถูกถ่ายทอดและไม่นำไปปฏิบัติ สิ่งที่รู้ก็คงจะค่อยๆถูกลืมเลือน ดังนั้นความรู้ต้องคู่กับการปฏิบัติเสมอ จึงจะเกิดผล. และดีใจที่เป็นส่วนหนึ่งของงานนี้ค่ะ.

สวัสดีค่ะ

เรื่องราวดีๆๆทั้งเลยนะคะ

ขอบคุณที่นำมาเล่า

ไม่ได้ไปดูเอง ก็ยังได้แนวคิดมาหลายอย่างเลยทีเดียวค่ะ

สวัสดีค่ะP pa_daeng [มณีแดง คนสวย แซ่เฮ]

  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ
  • ได้สิ่งที่เป็นมุมมองหลากกลายเลยอยากนำมาเล่าสู่กันฟังค่ะ
  • น้องใหม่อย่างเราจึงอยากขอคำแนะนำค่ะ.

อยากจะใช้ UCHA กับการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับทางห้องปฏิบัติการที่ทำอยู่

--> ติดต่อไปที่สำนักงานที่ปรึกษากรมฯ เลย อย่ามัวรีรอ ความรู้ใหม่ๆ ในงานประจำ รอท่านอยู่

สวัสดีค่ะ ท่านที่ปรึกษากรมฯ

·  กราบขอบคุณที่ท่านกรุณามาเยี่ยมบล็อกค่ะ.

·  ผึ้งงานตั้งใจอยากจะใช้ UCHA มาลองเก็บข้อมูลในห้องปฏิบัติการดูว่า จะสามารถเรียกข้อมูลเพื่อมาพัฒนางานได้หรือไม่?และกำลังจะติดต่อสอบถาม ฝ่ายพัฒนาบุคลากรของสถาบันฯว่ามีที่อยู่ที่จะขอโปรแกรมของท่าน นพ.ทวีทอง กออนันตกูล หรือเปล่า?

·  ขอบคุณท่านที่ปรึกษากรมฯอีกครั้งที่กรุณาและจะแวะไปรบกวนขอโปรแกรมอีกครั้งค่ะ.

                                    

ทวีทอง กออนันตกูล

เพิ่งเข้ามาเห็นวันนี้

ต้อวการ อูฉะ ไปทำอะไร กรุณาแจ้งตรงเลยครับ ยินดีครับ

ต้อวการทราบความคืบหน้า กรุณาติดตามที่

twitter.com/uchathai

http://202.183.204.125/wiki

ทวีทอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท