การเรียนรู้ของผู้ใหญ่


แก่แค่ไหนก็เรียนรู้ได้ถ้ารู้จักวิธี

พอดีไปอ่านเจอ ทฤษฎีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ของ มัลคัม โนลส์ Andragogy Theory of  Malcolm Knowles  ที่เขียนโดย ดร. อรทัย  ศักดิ์สูง  ที่บอกว่าการเรียนรู้ของผู้ใหญ่แตกต่างจากการเรียนรู้ของเด็ก  เพราะผู้ใหญ่มีประสบการณ์มากกว่า ดังนั้นการเรียนการสอนต้องยึดหลักให้ตอบสนองต่อธรรมชาติของผู้ใหญ่ นั่นคือต้องรู้  หลักการศึกษาผู้ใหญ่ ซึ่งโนลส์ (Knowles, 1980) เรียกวิชาการศึกษาผู้ใหญ่นี้ว่า แอนดราโกจี (Andragogy)  และ อาชัญญา รัตนอุบล (2542) ได้ให้คำนิยามไว้ว่าเป็น “ ศิลป์และศาสตร์ในการช่วยให้ผู้ใหญ่เกิดการเรียนรู้ ” ซึ่งประกอบด้วย 1) มโนทัศน์ของผู้เรียน(Self –concept) ผู้ใหญ่จะมีลักษณะที่เติบโต ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ มีวุฒิภาวะสูง มโนทัศน์ต่อตนเอง จะพัฒนาจากการพึ่งพาผู้อื่นไปเป็นการนำตนเอง เป็นตัวของตัวเอง   2)ประสบการณ์ของผู้เรียน(Experience) ผู้ใหญ่มีวุฒิภาวะมากขึ้น มีประสบการณ์อย่างกว้างขวางที่จะเป็นแหล่งทรัพยากรอันมีค่าของการเรียนรู้ ขณะเดียวกันก็จะมีพื้นฐานเปิดกว้างที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ  3) ความพร้อมที่จะเรียน(Readiness) ผู้ใหญ่มีความพร้อมที่จะเรียน เมื่อรู้สึกว่าสิ่งนั้น “จำเป็น” ต่อบทบาทและสถานภาพทางสังคมของตน  และ 4) แนวทางการเรียนรู้ (Orientation to learning) ผู้ใหญ่จะยึดปัญหาเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ มุ่งนำความรู้ไปใช้ทันที

 วิธีสอนผู้ใหญ่ตามหลักการศึกษาผู้ใหญ่ (Andragogy)
ทฤษฎี แอนดราโกจี (Andragogy) ของ มัลคัล  โนลส์  ได้กำหนดขึ้นตอนวิธีการสอนผู้ใหญ่ ดังนี้ (Malcolm S. Knowles, 1980)
1. มโนทัศน์ของผู้เรียน (Self – concept)   ประกอบด้วย
     1. การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้
     2. การวิเคราะห์ความต้องการในการเรียนรู้
     3. การวางแผนร่วมกัน
     4. การนำประสบการณ์การเรียนรู้มาใช้ในการเรียนการสอน
     5. การประเมินผลการเรียนรู้
 2. ประสบการณ์ของผู้เรียน (Experience) ประกอบด้วย
   1. ความสำคัญของการนำประสบการณ์มาเป็นเทคนิคในการเรียนการสอน
    2. ความสำคัญของการนำประสบการณ์ไปปฏิบัติ
    3. การเรียนรู้ด้วยตนเองจากประสบการณ์


3. ความพร้อมที่จะเรียน  (Readiness) ประกอบด้วย
            1. เวลาในการเรียนรู้
                  2. การจัดกลุ่มผู้เรียน
             4. แนวทางการเรียนรู้ (Orientation to learning) 
                 1. แนวทางการเรียนรู้ของผู้ใหญ่
                 2. แนวทางการเรียนรู้ของหลักสูตร
                 3. การออกแบบประสบการณ์การเรียนรู้
                             
  ทฤษฎี แอนดราโกจี(Andragogy) ของ มัลคัล โนลส์  เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ วิธีการหนึ่งที่ช่วยในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับธรรมชาติของผู้ใหญ่   ซึ่งเราผู้ใหญ่น่าจะนำมาปรับประยุกตืใช้ให้เกิดประโยชนืต่อการเรียนรู้ของตนเอง

                                     ----------------------------------

อ้างอิง อรทัย ศักดิ์สูง.  การวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างทฤษฎี แอนดราโกจี (Andragogy) ของ มัลคัล  โนลส์ กับวิธีการสอนในหลักสูตรผู้บริหารสถานศึกษาระดับสูง ของสถาบัน              
           พัฒนาผู้บริหารการศึกษา วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการศึกษานอก   โรงเรียน บัณฑิตวิทยาลัย  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
อาชัญญา รัตนอุบล. เงื่อนไขการเรียนรู้ของผู้ใหญ่และแนวทางการสอนผู้ใหญ่. ภาควิชาการศึกษา    นอกโรงเรียน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 (อัดสำเนา)
Knowles, Malcolm S. The Modern Practice of Adult Education : From Pedagogy to     Andragogy. New York: Cambridge, The Adult Education Company, 1980.

หมายเลขบันทึก: 198872เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2008 14:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 08:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท