แนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน


ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ตัวอย่างการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน  

ชื่อ  Best Practices คลินิกให้การปรึกษา(รายบุคคลและรายกลุ่ม)

             ระบบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้รับการออกแบบให้ครอบคลุมภาระกิจหลัก  5 ประการ ดังนี้

1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล

2. การคัดกรองนักเรียน

3. การจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนานักเรียน

4. การจัดกิจกรรมช่วยเหลือนักเรียน

5. การส่งต่อนักเรียน

งานแนะแนวและสมาคมผู้ปกครองและครู     โรงเรียนต้องดำเนินการจัดการประชุมและวางแผนการทำงานเชิงรุกเพื่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำหรับครู ผู้ปกครอง และนักเรียนในการให้การปรึกษา ซึ่งพบว่าคลินิกให้การปรึกษาเป็นงานที่สอดคล้องกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นอย่างดี ดังนี้

                1. สอดคล้องกับขั้นตอนการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนานักเรียน พบว่าการที่ผู้ปกครอง ครู และนักเรียน มาใช้บริการคลินิกให้การปรึกษา เมื่อมาปรึกษาแรกเริ่มอาจรู้สึกว่าตนเองมีปัญหาต้องการความช่วยเหลือ แต่หลังจากกระบวนการให้การปรึกษาสิ้นสุดลงบางครั้งพบว่า สิ่งที่เป็นปัญหานั้นอาจไม่ใช่สิ่งที่เป็นปัญหาอย่างแท้จริง อาจเป็นเพียงการวิตกกังวลเท่านั้น ดังนั้นจะทำให้ผู้ใช้บริการคลายความวิตกกังวลลงและหันมาพูดคุยเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาตนเองต่อไป จึงถือได้ว่าคลินิกให้การปรึกษามีส่วนในการพัฒนาศักยภาพของบุคคลได้ทางหนึ่ง

                2.  สอดคล้องกับขั้นตอนการจัดกิจกรรมช่วยเหลือนักเรียน เป็นที่ทราบดีว่าหนึ่งในวิธีการช่วยเหลือนักเรียนคือวิธีการให้การปรึกษา  ดังนั้นคลินิกให้การปรึกษาซึ่งให้การปรึกษาทั้งนักเรียน  ครูและ

ผู้ปกครอง จึงเป็นวิธีช่วยเหลือให้เกิดการเข้าใจในปัญหาของตนเอง นำไปสู่การหาทางออกให้กับตนเองอย่างชาญฉลาด ส่งผลให้ปัญหาต่างๆได้รับการคลี่คลายไปในทางทีดี พบทางออกใหม่ๆ ทำให้มีกำลังใจในการจัดการกับปัญหาของตนเองต่อไป

                3.  สอดคล้องกับขั้นตอนการส่งต่อนักเรียน  ในการช่วยเหลือนักเรียนหากค้นพบว่าเกินกำลังของครูและผู้ปกครองที่จะให้การช่วยเหลือ การส่งต่อนักเรียนไปสู่ผู้ที่เชี่ยวชาญกว่าจะช่วยได้ดียิ่งขึ้นคลินิกให้การปรึกษาประกอบด้วยนักจิตวิทยา พยาบาล แพทย์  และจิตแพทย์ ซึ่งล้วนเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้การปรึกษา บุคคลเหล่านี้ส่วนหนึ่งเป็นผู้ปกครอง บางส่วนเป็นผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่างๆภายนอกโรงเรียน  การส่งต่อนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ให้เข้าพบกับผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะช่วยให้การช่วยเหลือเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

กล่าวโดยสรุป คลินิกให้การปรึกษาสอดคล้องกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทั้งในส่วนของการเป็นกิจกรรมช่วยเหลือ กิจกรรมส่งเสริมพัฒนา และการส่งต่อ ตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน  ดังแผนภูมิการดำเนินงานของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (Flow Chart) ซึ่งครอบคลุมตามขั้นตอน การจัดกิจกรรมช่วยเหลือ แก้ไข ป้องกัน  การส่งเสริมพัฒนา  และการส่งต่อ ดังนี้

 

บทบาทของครู ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประกอบด้วย 5ภารกิจ ดังนี้

1.  การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล    SDQ     การสังเกต   ระเบียนสะสม      สมุดผลการเรียน   -ฯลฯ

- จากการจัดกิจกรรมโฮมรูมด้วยเครื่องมือต่างๆ

- จากการเรียนการสอนในห้องเรียน

- สัมภาษณ์นักเรียน เพื่อน ผู้ปกครอง ฯลฯ 

 

2.  การคัดกรองนักเรียนรายบุคคล  - การให้การปรึกษา (คลินิกให้การปรึกษา)  - กิจกรรมซ่อมเสริม - การติดต่อผู้ปกครอง

- เพื่อนช่วยเพื่อน  ฯลฯ

3.  การจัดกิจกรรมช่วยเหลือ แก้ไข ป้องกัน- กิจกรรมโฮมรูม   - class room metting- คลินิกให้การปรึกษา - ฯลฯ

4.  การจัดกิจกรรมส่งเสริม พัฒนา  - การส่งต่อภายใน   (คลินิกให้การปรึกษา)  - การส่งต่อภายนอก (คลินิกให้การปรึกษา) - ฯลฯ  

5.   การส่งต่อ

      กระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียนดังกล่าว สอดคล้องกับความคาดหวังของผู้ปกครอง และ   ชุมชน ที่ต้องการให้โรงเรียนดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นกับนักเรียน ช่วยในการพัฒนานักเรียน  มีที่รองรับในการส่งต่อนักเรียน  นอกจากนี้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ยังช่วยให้ครูมีแนวทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนเพื่อดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิดและทั่วถึง ซึ่งคลินิกให้การปรึกษาเป็นวิธีการหนึ่งของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่ช่วยเหลือนักเรียน ครูและผู้ปกครองได้เป็นอย่างดี

 ขั้นตอนการดำเนินงานของคลินิกให้การปรึกษา ได้ดำเนินการตามขั้นตอน PDCA  ดังนี้

P  (Plan)              

1.       ประชุมวางแผนร่วมกันระหว่างงานแนะแนวและกรรมการสมาคมผู้ปกครองและครู

2.       จัดทำโครงการและงบประมาณเพื่อขออนุมัติ

3.    สำรวจปัญหาและผู้ที่สนใจใช้บริการคลินิก

4.    จัดทำตารางให้บริการร่วมกับทีมวิทยากร  และทำการประชาสัมพันธ์การให้บริการคลินิกให้การปรึกษา

5. การเตรียมความพร้อมด้านสถานที่  รถรับส่งวิทยากร  เอกสาร  อาหาร  เครื่องดื่ม

D (Do)

1. การนัดหมายนักเรียน  ครู  ผู้ปกครองที่ตอบรับการใช้บริการตามความเร่งด่วนของปัญหา

2. งานแนะแนวจะประสานให้ผู้ใช้บริการพบวิทยากรผู้ให้การปรึกษาทั้งเป็นรายบุคคล  และรายกลุ่ม

C (Check)

1. เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการให้คำปรึกษาแต่ละครั้ง ผู้ใช้บริการกรอกแบบประเมินผลและทีมงานแนะแนวสรุปผลแบบประเมินเมื่อสิ้นสุดในแต่ละภาคเรียน  

2. ทีมงานแนะแนวและกรรมการสมาคมผู้ปกครองและครู ประชุมร่วมกันเมื่อสิ้นปีการศึกษา  เพื่อหาข้อที่ควรปรับปรุงในปีการศึกษาต่อไป

A (Action)

นำผลจากขั้น C  มาพัฒนาการให้บริการในปีการศึกษาต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 198858เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2008 14:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:30 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ขอส่งมาให้ทางเมลได้ไม๊คะ ขอทั้งหมด จะได้นำมาใช้ในโรงเรียนเทศบาล๕ บ้างขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ขอส่งมาให้ทางเมลได้ไม๊คะ ขอทั้งหมด จะได้นำมาใช้ในโรงเรียนเทศบาล๕ บ้างขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ขอส่งมาให้ทางเมลได้ไม๊คะ ขอทั้งหมด จะได้นำมาใช้ในโรงเรียนเทศบาล๕ บ้างขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

น่าสนใจมาก คิดว่าสังคมไทยควรมีการดูแล เพื่อแก้ไขสังคมในอนาคต

ตอบมาบ้างนะคะ จะขอตัวอย่างเครื่องมือค่ะ

ยังสนใจอยู่นะคะ และรอคอยอ่านฉบับเต็ม หาอ่านได้ที่ไหนคะ

รบกวนขอข้อมูลเพื่อมาศึกษา ส่งให้ทางเมลด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ ได้อ่านระบบดูแลนักเรียนแล้วค่ะ

 

จะดูเหนื่อยหน่อย ผมว่าก็คุ้มนะครับกับผลลัพธ์ที่ได้ ของระบการช่วยเหลือนักเรียนดังกล่าว และในภายหน้า ทุกภาคส่วนคงจะต้องร่วมมือกันอย่างมากในเรื่องนี้ เพราะปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ยิ่งจะมีแนวโน้นเพิ่มมากขึ้น ตามความสลับซับซ้อนของสังคม

ขอตัวอย่างเครื่องมือเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงาน ตอนนี้ที่โรงเรียนมีบุคคลากรน้อยย้ายเข้าเมืองกันหมด นักเรียนมีพฤติกรรมที่จำเป็นต้องแก้ไขด่วน ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท