วันดีๆ ที่บ้านครูอ้อย


         ผมกับภรรยาเพิ่งกลับมาจากบ้านครูอ้อย (ฐิตินาถ ณ พัทลุง) ที่ศรีราชา เป็นการใช้เวลาวันอาทิตย์ที่สุดคุ้มค่าวันหนึ่งครับ ครูอ้อยได้เชิญเพื่อนๆ นักพูด นักคิด นักเขียน มาร่วมเรียนรู้จากกันและกัน ถือว่าเป็น Session ที่ทำให้ได้ ชาร์ตไฟ ให้พร้อมรับกับการเริ่มงานในสัปดาห์ใหม่ได้เป็นอย่างดี ผู้ที่มาร่วมเวทีนี้หลายท่าน เมื่อเห็นหน้าแล้วก็คงจะจำได้ ผมคงไม่ต้องบอกนะครับว่าเป็นใคร ปล่อยให้ทายกันเล่นๆ ก็แล้วกัน

 

       1   2 

       3   4 

       5   6 

         สำหรับท่านอื่นๆ เท่าที่ผมจำชื่อได้ แต่ไม่ปรากฏอยู่ในรูปถ่ายก็ได้แก่ คุณเพชรยุพา บูรณ์สิริจรุงรัฐ, คุณชลิดา เถาว์ชาลี ตันติพิภพ, น.พ. โกสินทร์ แจ่มเพ็ชรรัตน์, คุณอลีน เฉลิมชัยกิจ คุณวิทยาและภรรยา (พัดลมฮาตาริ) คุณดวงกมล (ยุวพุทธฯ) พี่สมบูรณ์ คุณสมลักษณ์ และที่ทราบแต่ชื่อเล่นก็ได้แก่ คุณแอ๋ว และน้องผักบุ้ง (ลูกสาว) คุณฌาน คุณจิ๋ว คุณตุ้ม (วิศวะจุฬา) หมอเก๋ คุณติ๋มและสามี (ที่เป็นวิศวกร) และอาจารย์แป้ว

         คุณอุ้ม (สิริยากร) เริ่มต้นด้วยการอ่านบทความจากในหนังสือที่มีชื่อว่า “The Invitation” ของ Oriah ให้ฟัง เป็นที่ซาบซึ้งใจของคนหลายๆ คน มีการเปิดประเด็นเรื่อง การรักผู้อื่นอย่างท่วมท้น ว่าเป็นอย่างไร? คุณหนูดี (วนิษา เรซ) เสนอให้ใช้กระบวนการที่เรียกว่า “Unpacking” เพื่อให้การแชร์ Idea เลื่อนไหลมากขึ้น ผมมองว่าเป็นเทคนิคคล้ายๆ กับการทำ Dialogue เพียงแต่ว่า Dialogue นั้นไม่ต้องมีการตั้งประเด็นที่จะคุย

         มีการพูดถึงสังคมในภาพใหญ่ว่า . . . จะไปรอดไหม? มีคนพูดถึงหนังสือชื่อ “Collapse” และมีการดึงกลับให้มาคิดเรื่องที่ใกล้ๆ ตัว โดยเห็นว่าน่าจะเริ่มการเปลี่ยนแปลงในระดับตัวเองให้ได้ก่อนที่จะคิดไปช่วยใคร . . . พี่เอ้ (กรรณิกา ธรรมเกสร) เสนอว่าน่าจะแบ่งกลุ่มย่อยตามความสนใจ จะได้เกิดพลังอันนำไปสู่การทำอะไรบางอย่าง ดีกว่าที่จะเป็นแบบ ไฟไหม้ฟาง . . .

         คุณทวีศักดิ์พูดถึงหนังสือเล่มใหม่ของท่าน ติช นัท ฮันท์ ที่ชื่อว่า “The Art of Power” ภรรยาคุณทวีศักดิ์เสนอโครงสร้าง (ขั้นตอน) ว่าน่าจะเดินตาม 3 ส่วน ดังต่อไปนี้:

1.    หาโจทย์ร่วมกัน คือจะต้องเริ่มจาก “Asking the right question” คือต้องตั้งคำถามให้ถูกก่อนเป็นขั้นตอนแรก

2.    สร้างจินตภาพที่งดงามร่วมกัน (ผมคิดเองว่าน่าจะเหมือนกับการสร้าง  Shared Vision)

3.    สร้างกิจวัตร หรือการปฏิบัติ (Action) ที่งดงาม สิ่งที่ทำนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องใหญ่เสมอไป เรื่องเล็กๆ ก็ได้ แต่ขอให้ทำอย่างสม่ำเสมอ (เสมอต้นเสมอปลาย) ก็แล้วกัน

         ผมว่าเป็นขั้นตอนที่ชัดเจนดีมาก มีหลายครั้งเหมือนกันที่มีผู้เสนออะไรบางอย่างในลักษณะของการคิดในทำนองว่าเราเป็น Super(wo)man ที่ต้องการจะ “Save the world” . . . มีบางคน เตือนสติ ว่าการคิดในทำนองนั้น ต้องระวังให้ดี เพราะบางทีจะออกมาในเชิงที่ค่อนข้าง  Aggressive . . . มีคนเตือนว่าต้องอย่า ติดดี คือต้องก้าวข้ามความดี ความเลวให้ได้ (ประเด็นนี้ผมว่าสำคัญมาก และเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ)

         วันนี้ผมไม่ได้พูดมากนัก พูดเพียงสั้นๆ แต่เป็นการโยน ตัวป่วน เข้าไปในวงตามสไตล์ที่ผมถนัด ผมบอกว่าผม เห็นด้วย กับประเด็นที่พูดกันค่อนข้างเยอะว่า คำถามนั้นสำคัญกว่าคำตอบ แต่ที่ผมยังคาใจอยู่ก็ตรงที่ว่า . . . ทำไมต้องตั้งคำถามด้วย? . . . ไม่ตั้งคำถามจะได้ไหม? เพราะคำถามนั้นจะนำมาซึ่งการคิด ชีวิตในวันอาทิตย์ (อย่างวันนี้) จะไม่คิดบ้าง . . . จะได้ไหม? ว่าแล้วก็ร่ำลาออกจากวงกลับกรุงเทพไป โดยที่ไม่ได้ร่วมรับประทานอาหารเย็น

         ผมขอขอบคุณทุกๆ ท่านสำหรับการแบ่งปันที่ดีๆ ในวันนี้ คิดเหมือนกันว่าถ้าได้ฟังครบทุกท่านก็จะเยี่ยมมากทีเดียว รู้สึกขอบคุณครูอ้อยมากที่ได้เชิญให้ผมมาร่วมวง และขอบคุณคุณเอ๋ (น้องสาวครูอ้อย) กับการต้อนรับอันอบอุ่น อีกทั้งขอบคุณ เหตุปัจจัย ที่ทำให้ผมได้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการในวันนี้

หมายเลขบันทึก: 198475เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2008 20:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อาจารย์ได้พบกับคนดังและคนสวย คนเก่ง ได้แนวคิดดีดีมาเล่าต่อ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์

  • มีแต่ระดับปรมาจารย์ทั้งน้านเลยนะคะ
  • บรรยากาศการพูดคงเยี่ยมยุทธแน่ๆเลย

โห...ดีจังเลยค่ะอาจารย์  แต่ละท่านเยี่ยมยุทธทั้งนั้น 

สวัสดีค่อาจารย์ ประเด็นน่าสนใจนะคะอาจารย์ รักคนอื่นอย่างท่วมท้น และเป็นการพบปะสังสรรค์ที่ได้ทั้งความสุข + งาน + พบกับคนสวยๆ +คนเก่งด้วย เห็นคุณป๊อปด้วยนะคะ

ขอนักเรียนข้าง blog เรียนด้วยนะคะ..ดีจังเห็นเป็นภาพๆ เลย ดังๆทั้งนั้น.ทั้ง word และคน คนคิดดัง..ไปไกล

มาชื่นชมทีมคนเก่ง และคิดดีต่อสังคมค่ะ

ขอบคุณค่ะที่อ.ช่วยบอกเล่าสิ่งดีงามในสังคม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท