นุชรัตน์
ดร. นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย

การนิเทศตามแนวคอนสตรัคติวิสต์


การนิเทศตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ได้มีเป้าหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ตามแนวคคอนสตรัคติวิสต์ ดังนี้

การนิเทศตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ได้ไปพบข้อเขียนของ Sally J.Zepeda เขียนไว้ในหนังสือ Paradigm debates in curriculum and supervision , 2000 ซึ่งน่าสนใจมาก เป็นที่ทราบกันดีว่า การจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เน้นให้ความสำคัญกับผู้เรียน การเรียนรู้เกิดจากผู้เรียนสร้างขึ้นเองอย่างมีความหมาย และที่ถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ก็คือ การเรียนรู้ผ่านกระบวนการทางสังคมนั่นเอง ในลักษณะเดียวกัน การนิเทศการศึกษา ก็มีนัยคล้ายกันกล่าวคือ ถ้าเปรียบครูเป็นนักเรียน ผู้นิเทศก็เปรียบเสมือนครู แต่มีความแตกต่างกันที่ว่าต้องคำนึงถึงการจัดการเรียนรู้ ว่าเป็นการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็ก หรือ ผู้ใหญ่   อ่านไปก็สนุกดี. ..ขอโฟกัสบางข้อความที่น่าสนใจดังนี้ค่ะ
"กระบวนทัศน์ที่เปลี่ยนไป วิธีปฏิบัติการนิเทศ ของผู้นิเทศก็ต้องเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน ไม่ใช่เพียงแค่มาบอกกล่าวให้ครูปฏิบัติ เท่านั้น "

" คอนสตรัคติวิซึมและการนิเทศ (Constructivism and Supervision) .... การปฏิบัติการนิเทศ เป็นการช่วยเหลือครูให้ได้รับการพัฒนา จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับให้มีความเหมาะสมกับความซับซ้อนตามสภาพของการสอนและบริบทนั้น ๆ   การนิเทศควรใช้รูปแบบที่หลากหลาย เช่น

                 -  มีรูปแบบของการนิเทศที่หลายหลาย (เช่น peer coaching , mentoring and portfolio development)

                - เต็มไปด้วยสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีการสนทนา (an environment with dialogue)

                - มีการ negotiate เกี่ยวกับการเรียนรู้  
                - มีกิจกรรมและการสะท้อนผล
                - วิเคราะห์การปฏิบัติตนเอง

           การนิเทศตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ของ Honebein (1996) ได้มีเป้าหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ตามแนวคคอนสตรัคติวิสต์ ดังนี้ 

1.       จัดเตรียมประสบการณ์ด้วยกระบวนการสร้างความรู้

2.       จัดเตรียมประสบการณ์เพื่อให้เกิดการชื่นชม (appreciation) ด้วยมุมมองที่หลากหลาย

3.       การเรียนรู้ ต้องอยู่ในบริบท และมีความสมจริง

4.       กระตุ้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้

5.       การเรียนรู้ต้องเป็นประสบการณ์ทางสังคม

6.       กระตุ้นให้มีการแสดงออกด้วยมุมมองที่หลากหลาย

7.       กระตุ้นให้เกิดการตระหนักรู้ของตนเองในกระบวนการสร้างความรู้

 อ่านไปแล้วก็น่าสนใจ..โดยสรุป..เขาเสนอแนะให้ผู้นิเทศมุ่งสร้างชุมชนการเรียนรู้ ให้เกิดการร่วมมือ

แลกเปลี่ยนระหว่างกัน เป็นชุมชนที่ทุกคนมีสิทธิเสมอภาค มีการใช้เทคนิคการนิเทศอย่างหลากหลาย สะท้อนผลหลังการทำงาน เกิดการถ่ายโยงความรู้ใหม่ที่ได้รับสู่การปฏิบัติการสอนในชั้นเรียน การเรียนรู้ในวัยผู้ใหญ่ หรือ ครู ต้องเป็นเรื่องราวที่เขาจะนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการสอนได้.. เหมาะกับบริบทที่เป็นอยู่และอยู่ในสภาพที่แท้จริง ค่ะ

 

เป็นข้อคิดสำหรับผู้นิเทศ ..เช่นตัวเอง.. เมื่อตรวจสอบการทำงานแล้วก็พบว่าชอบในแนวคิดดังกล่าวข้างต้น แต่ในการปฏิบัตินั้น... ต้องทุ่มเท กำลังกาย และสติปัญญามากกว่านี้ค่ะ...

 

หมายเลขบันทึก: 198446เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2008 15:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2012 16:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท