การศึกษากับการพัฒนาประเทศ


ในแต่ละปีของช่วงเปลี่ยนปีการศึกษานั้น จะเห็นความเดือดร้อนเรื่องการหาที่เรียนในทุกระดับตั้งแต่อนุบาลถึงอุดมศึกษา การหาที่เรียนที่กลายมาเป็นความเดือดร้อนนั้น เป็นเพราะต่างมุ่งไปยังสถานศึกษาที่อยู่ในความนิยมของสังคม ทำอย่างไรได้ล่ะเมื่อการศึกษาได้ถูกกระแสสังคมปั่นราคาให้สูงขึ้น
             ในความเป็นจริงชีวิตในสถาบันอุดมศึกษาคือศูนย์กลางทางปัญญาของสังคม เป็นสถานที่ที่สร้างคนรุ่นใหม่เพื่อออกไปเป็นผู้นำของสังคม เมื่อเป็นเช่นนี้มหาวิทยาลัยก็ยิ่งทวีคุณค่า และมีความสำคัญเด่นชัดขึ้นท่ามกลางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง อย่างสลับซับซ้อนมากขึ้น การศึกษาจะต้องอิงความเป็นจริงทางสังคม ที่จะต้องปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้ตรงตามความต้องการของสังคมเพื่อเป็นเครื่องมือพัฒนาประเทศได้
              จากระยะเวลาที่ผ่านมามีกระบวนการที่ธำรงรักษาไว้ซึ่ง ศูนย์กลางทางปัญญา ด้วยการปฏิรูปมหาวิทยาลัยในกรอบในหรือนอกระบบ มีการโยกย้ายทบวงมหาวิทยาลัยไปรวมตัวกับกระทรวงศึกษาธิการ ดูเหมือนว่าการเปลี่ยนการเปลี่ยนแปลงในแวดวงการศึกษา เป็นไปในด้านปริมาณมากกว่าคุณภาพ การปฏิรูปการศึกษาไม่ว่าจะอยู่ในลักษณะใด มีผลกระทบต่อ ศูนย์กลางทางปัญญา กับอนาคตของประเทศชาติสังคมและเผ่าพันธุ์ไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้                  
           ประเทศไทยหากดูจากนโยบายการพัฒนาแล้วมักจะตั้งอยู่บนแนวคิดกระแสหลัก 2 กระแส คือ มุ่งเน้นการขยายตัวของภาคส่วนเศรษฐกิจและบริการ (ECONOMICS GROWTH) และความทันสมัยของสังคม (MODERN SOCIETY) จากแนวคิดดังกล่าวส่งผลต่อการพัฒนาของไทยซึ่งมักเอียงไปยังการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมในเขตเมืองเป็นหลัก ส่วนภาคเกษตรกรรมมักออกไปในทางเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์ อันเป็นกระบวนการผลิตที่ทันสมัยตามแบบสังคมตะวันตก เพื่อการผลิตจำนวนมาก (MASS PRODUCTION) แทนที่จะเป็นเกษตรกรรมเพื่อการยังชีพ ที่มีความพอเพียงทำมาหากินตามรูปแบบสังคมชนบททั่วไป 
              ท้ายนี้ขอทิ้งโจทย์ว่าทำอย่างไร การศึกษาที่ได้สัมพันธ์กันระหว่างต้นทางและปลายทางเพื่อเป็นหลักประกันให้นักเรียนนักศึกษาส่วนหนึ่งหลุดออกจากวงจรการศึกษาในระหว่างทาง จะได้มีโอกาสทางสังคมในระดับหนึ่ง และจะแก้มาตรฐานการศึกษาในความห่างชั้นที่เป็นจริง หรือมาตรฐานเพราะค่านิยมสร้างกระแสได้อย่างไร

หมายเลขบันทึก: 198439เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2008 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ผู้บริหารสถานศึกษาไม่กล้าตรงไป ตรงมานัก เกรงว่า เมื่อถึงเวลาเลือกตั้งเขาจะไม่ได้เป็นผู้บริหาร แบบที่กล่าวเป็นแนวหนึ่งที่ทำให้แวดวงการศึกษา อ่อนแอด้านวิชาการ เนื่องจากผู้บริหารต้องเอาใจฐานเสียงสนับสนุน

แวะมาทักทายค่ะ

        คงสอบเสร็จแล้วนะคะ

                 ผลออกมา  คง  Happy Ending  นะคะ

                              มีแต่สิ่งดีๆ

           ภาพจาก หนึ่งใจเดียวกัน ชอบมากเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท