beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

พบเพื่อนเก่าที่ TK Park (เต่าทะเล)


เพื่อนผม "สมชาย" ตอนปี 2 เรียนที่ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล พอจบ ก็ได้มาทำงานที่เกาะมันใน

   วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม 2549 ขณะที่มีคิวต้องไปออก Mobile Unit แต่ก็ต้องมีเหตุที่จะต้องมาทำภาระกิจที่กรุงเทพฯ และได้มีโอกาสมาที่ TK Park อุทยานแห่งการเรียนรู้ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านบริการไปบ้างแต่ก็ได้รับความสะดวกดี

   คือแต่เดิมที่นี่เขาทำบัตรใช้บริการให้ฟรี แต่เดี๋ยวนี้คิดค่าทำบัตรสมาชิก เด็ก 50 บาท/ปี, ผู้ใหญ่ 100 บาทต่อปี และผู้สูงอายุ 50 บาทต่อปี และคิดค่าบริการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ (หากใช้เนต) 30 นาทีต่อ 10 บาท (ผมจึงใช้โอกาสมาเขียนบันทึกที่นี่ครับ)

   ตอนบ่าย 2 โมงครึ่ง ได้มีโอกาสไปฟังวิทยากรท่านหนึ่งพูดเรื่อง เต่าทะเล (ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมสนใจอยู่แล้ว) พอไปนั่งฟังก็จำได้ว่าเป็นเพื่อนเก่าสมัยเรียนอยู่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ  เราอยู่ Group 4 ด้วยกันสมัยอยู่ปี 1 แต่พอขึ้นปี 2 เราก็แยกไปตามเอก

   เพื่อนผมชื่อ นายสมชาย มั่นอนันต์ทรัพย์ ตอนปี 2 เลือกเรียนที่ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล, ส่วนผมเรียนชีววิทยา (เน้นเรื่องสัตว์) พอเขาเรียนจบก็ได้มาทำงานที่ เกาะมันใน  อยู่ในส่วนของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในโครงการสมเด็จฯ อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล (11 สิงหาคม 2522)

   วันนี้เขาได้รับเชิญให้มาเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องเต่าทะเล ซึ่งน่าสนใจมาก เต่าทะเลในน่านน้ำไทยมี 5 ชนิด คือ (จากที่ทั่วโลกมีทั้งหมด 7 ชนิด)

ชื่อไทย

 ชื่ออังกฤษ

ชื่อวิทยาศาสตร์

 ภาพชนิดของเต่าทะเล

 

 1. เต่าตนุ

Green turtle 

Chelonia mydas

 

 2. เต่ากระ

Hawksbill turtle

Eretmochelys imbricata

 

 3. เต่าหญ้า

Olive Ridley's turtle

Lepidochelys olivacea

 

 4. เต่ามะเฟือง

Leatherback turtle

Dermochelys coriacea

 

 5. เต่าหัวฆ้อน

Loggerhead turtle

Caretta caretta

 
       
ภาพอ้างอิงจาก   http://www.pdn.ac.lk/socs/zaup/reptiles/chelonians.html
     

   ตอนอยู่ที่ TK Park ยังเขียนไม่จบก็หมดเวลา (30 นาที 10 บาท) ต้องกลับมาแก้ไขที่มน. มาว่ากันต่อนะครับ... ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ผมดูจากแผ่นพับแนะนำโครงการ และค้นจาก search engine คือ google.co.th หากท่านที่สนใจอยากได้ภาพสวยๆ ของเต่าทะเล ก็ค้นได้จากชื่อวิทยาศาสตร์นะครับ ภาพที่ผมนำมาลงนี้ ใช้วิธี Copy และ Paste ไม่ได้ใช้วิธีแบบของ gotoknow เพราะว่าคงจะใช้ภาษาเขียน (ภาษาคอมพิวเตอร์) คล้ายๆ กัน

   การจำแนกชนิดของเต่าทะเล เขาก็ดูจากส่วนหัวและนับแผ่นกระดองนะครับ ผมก็จำรายละเอียดไม่ได้ ถ้าท่านสนใจก็สามารถค้นได้ใน google อีกนั่นแหละ

   ส่วนที่ผมจำได้ก็มีการดูเพศของเต่าฯ ดูได้ตอนที่เต่าฯโตมากแล้ว คือ ตัวผู้จะเห็นส่วนหางยาวมองได้ชัดเจน ส่วนตัวเมียเราจะมองไม่เห็นหางครับ

   ตอนเต่าฯยังตัวเล็กเราแยกแพศไม่ออก แต่พอโตก็แยกได้ มีเรื่องที่น่าสนใจคือเพศของเต่าฯ นี้มันเกี่ยวข้องกับอุณหภูมิในหลุมฟัก คือ ถ้าอุณหภูมิสูงก็เป็นตัวเมีย อุณหภูมิต่ำก็เป็นตัวผู้ (น่าสังเกตว่าพวกสัตว์เลี้อยคลาน (Reptile) อุณหภูมิในการฟักไข่เป็นตัวกำหนดเพศ อย่างจรเข้ เราอยากได้ตัวผู้หรือตัวเมียก็ทำแบบเดียวกับเต่าฯ ครับ)

   วิทยากรเล่าว่า ที่มาเลเซีย มีการศึกษาอันหนึ่ง คือ เขาเอาไข่เต่าฯ มาฟักด้วยตู้วิทยาศาสตร์ ผลก็คือ เต่าฟักออกมาเป็นตัวเมียหมด ทีนี้พอโตเขาก็ปล่อยลงทะเล พอเต่าโตได้ขนาดที่จะผสมพันธุ์แล้ว เขาก็กลับมาวางไข่ ปรากฏว่าแทบไม่มีไข่ใบใดฟักเป็นตัวเลย เหตุผลก็เพราะว่าไม่มีน้ำเชื้อผสม อุทาหรณ์ ก็คือว่า ทุกอย่างในโลกนี้ต้องทำให้อยู่ในสภาวะสมดุลย์ ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป (ก็คือทางสายกลางนั่นแหละ)

  หลังจากจบการบรรยายและได้ตั้งคำถาม ตอบคำถามชิงรางวัลแล้ว ผมก็ได้มาคุยเรื่องส่วนตัว คือเพื่อนเป็นคนกรุงเทพฯ ไปแต่งงานกับคนระยองก็เลยไป-กลับ บ้านแฟนกับที่ทำงาน (เกาะมันใน) แต่งมาหลายปีไม่มีบุตรครับ

   เรื่องพบเพื่อนที่ TK park ก็จบลงเท่านี้นะครับ ความจริงยังมีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเต่าอีก 2-3 ประเด็น และมีโครงการสำหรับเยาวชนภาคฤดูร้อนด้วยครับ แต่ลองดูความสนใจก่อนค่อยกลับมาเล่าหรือไม่เล่าต่อนะครับ.....

หมายเลขบันทึก: 19744เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2006 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

แวะมาอ่านเรื่องเต่าทะเลค่ะ

ประทับใจตั้งแต่ตอนที่ไปเที่ยวศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล

(ขออภัยถ้าชื่อไม่ถูกต้อง) ที่ อ.สัตหีบ ชลบุรี

เห็นลูกเต่าตัวเล็กๆ ว่ายน้ำเล่นอยู่ในบ่อเพาะเลี้ยง

น่ารักมากๆ ค่ะ

*เอ่อ ไม่เห็น comment เลย แต่คงไม่ได้ห้าม comment นะคะ

 

  • ขอขอบคุณ คุณฝนพรำที่มาเยี่ยมและลปรร.ในบันทึกนี้นะครับ
  • สถานที่ที่คุณฝนพรำไปมากับสถานที่ ที่เพื่อนผมทำงานอยู่ อยู่คนละที่ครับ
  • สถานที่ตั้ง-โครงการสมเด็จฯ อนุรักษ์เต่าทะเล อยู่บนเกาะมันใน ต.กร่ำ อ.แกลง จ.ระยอง มีเนื้อที่ประมาณ 137 ไร่ ห่างจากแหลมแม่พิมพ์ประมาณ 6 กิโลเมตร ครับ

ทราบมาว่า พวกเต่า มันไม่มีโครโมโซมเพศ แบบคนหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ครับ

เช่นเพศผู้เป็น XY เพศเมีย XX โดยกำเนิด

แต่ในเต่า ทั้งสองเพศ มีโครโมโซมเพศเหมือนกันเป๊ะ ต่างกันแค่อวัยวะสืบพันธุ์เท่านั้น

แต่เต่าจะอาศัยความแปรผันของอุณหภูมิในช่วงพัฒนาการของตัวอ่อน เป็นเครื่องกำหนดเพศ

ถ้าอุณหภูมิขณะฟักต่ำ อวัยวะสืบพันธุ์ของลูกเต่าจะมีโอกาสพัฒนาไปเป็นอัณทะมากกว่า

แต่ถ้าอุณหภูมิขณะฟักสูง ก็จะพัฒนาไปเป็นรังไข่มากกว่าครับ

แต่กรณีของผึ้ง ไม่มีโครโมโซมเพศโดยตรง แต่จะใช้โครโมโซมร่างกายเป็นตัวกำหนดแทน

ตัวผู้เป็น n ชุดเดียว...แต่ตัวเมีย 2n

  • อ่านแล้วได้ความรู้ดีครับ
  • เข้าใจว่าสัตว์เลือดคลานหลายชนิด กำหนดเพศแบบเต่า เช่น จรเข้เป็นต้น
  • อุณหภูมิขณะฟักมีผล..น่าจะเอาไปเล่าให้นักเรียนสอวน.ฟัง

เท่าที่เคยได้ยินมา พวกงูกับกิ้งก่า มีโครโมโซมเพศติดตัวแต่กำเนิดครับ

ดังนั้นอุณหภูมิจะไม่มีผลต่อการพัฒนาเพศของตัวอ่อนที่อยู่ในไข่

ต่างกับกรณีของเต่าและจระเข้

  • เป็นความรู้ใหม่ครับ
  • น่าจะเป็นเรื่องของการคัดเลือกพันธุ์ตามธรรมชาติ
  • พวกงูและจรเข้ เป็นพวกไข่แล้วทิ้ง แต่ความจริงก็ยังแวะเวียนมาคอยดูอยู่บ้าง
  • งูไข่แล้วยังคอยดูแลไข่อยู่บ้าง แต่กิ้งก่าน่าจะเหมือนจิ้งจก ไข่ซ่อนไว้แล้วทิ้ง แต่ไข่ไมได้ฝังดินเหมือนเต่าและจรเข้
  • การคัดเลือกพันธุ์ตามธรรมชาติ จึงทำให้สัตว์เลื้อยคลานมีพฤติกรรมในการวางไข่แตกต่างกัน..อิอิ

ข้อมูลจากลิงค์นี้ครับ

http://www.siamensis.org/board/11157.html

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท