การยกระดับความสามารถของโรงเรียนขนาดเล็กสู่ความเป็นเลิศ


สิ่งที่จะทำให้โรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ในสภาวะข้อจำกัดด้านต่าง ๆ ให้สามารถยกระดับความสามารถของโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยกรอบแนวคิด/ทฤษฎีในหลายด้านมาปรับและประยุกต์ใช้

ผลการศึกษาข้อมูลรายบุคคลในฐานข้อมูลรายบุคคลหมวดความรู้จากการปฏิบัติ

“Story  Telling   สัปดาห์ที่ 3”

 

            จากความสนใจในฐานะบทบาทของศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบโรงเรียนขนาดเล็ก  และแรงผลักดันจากการสนทนาในสมาชิกกลุ่ม 4  ได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงเรื่องของสภาพและปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็ก  ที่ไม่สามารถยุบหรือเลิกล้มโรงเรียนได้   เป็นโรงเรียนที่ส่วนใหญ่มีปัญหาการบริหารจัดการทั้งระบบ  ทั้งปัจจัยนำเข้า  กระบวนการและผลผลิตไม่ได้ตามเป้าหมาย  เนื่องจากภาวะข้อจำกัดของทรัพยากรทางการบริหาร  ขาดกระบวนการบริหารจัดการที่เหมาะสม   ซึ่งจากภาวะวิกฤติดังกล่าว  จึงอยากที่จะแก้ปัญหาการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนนักเรียนระหว่าง  50 – 120  คน   ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีความพร้อมสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในระดับหนึ่ง  น่าจะมีการแสวงหาแนวทางสู่การพัฒนารูปแบบของการบริหารจัดการที่ดีกว่าเดิม  จนสามารถยกระดับความสามารถของโรงเรียนขนาดเล็กให้สามารถแข่งขันกับองค์การอื่น  สามารถดำรงอยู่ได้ตามสภาพแวดล้อม หรือปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่อง  

            สิ่งที่จะทำได้ในโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ในสภาวะข้อจำกัดด้านต่าง ๆ  ให้สามารถยกระดับความสามารถของโรงเรียนขนาดเล็กสู่ความเป็นเลิศได้นั้น ก่อนอื่นจำเป็นต้องอาศัยแนวคิด/ทฤษฎีในหลาย ๆ ด้านมาปรับและประยุกต์ใช้  ทั้งแนวคิดของผู้บริหารในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจในขอบข่าย/ภารกิจการบริหารสถานศึกษาตามแนวทางการกระจายอำนาจ  ใน 4  ด้าน คือ  ด้านวิชาการ   ด้านงบประมาณ  ด้านการบริหารงานบุคคล  และด้านการบริหารทั่วไป   แนวคิดในด้านความเป็นเลิศของสถานศึกษา ที่มองว่า เป็นสภาพที่ดีเยี่ยมในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาทั้งด้านผลผลิต การจัดการทรัพยากร  การบริหารงบประมาณ  รูปแบบการบริหาร  ความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  โดยใช้กระบวนการผสมผสาน และการเรียนรู้ร่วมกัน   แนวคิดของ Sammons(1999) ที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ  ซึ่งขึ้นอยู่กับตัวแปรอย่างน้อย 11  ตัว คือ ความเป็นผู้นำทางวิชาชีพ  การมีวิสัยทัศน์และเป้าหมายร่วมกัน  การจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้   การมีจุดเน้นที่คุณภาพการเรียนการสอน   การมีจุดเน้นให้การสอนมีจุดประสงค์ชัดเจน  การมีความคาดหวังของนักเรียนสูง  การเน้นการเสริมแรงในทางบวก  การติดตามความก้าวหน้าของนักเรียน  การส่งเสริมความรับผิดชอบ  สิทธิของนักเรียน   การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษา   บ้านและชุมชน    และการแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา   และแนวคิดการบริหารจัดการโรงเรียนในรูปแบบการแก้ปัญหาการขาดครู  เช่น  การบริหารจัดการชั้นเรียนแบบคละชั้น  การรวมชั้นเรียน  เป็นต้น

            ซึ่งอ่านดูแล้วดูจะยุ่งยาก และสลับซับซ้อนอยู่เหมือนกัน  คงต้องอาศัยผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญได้โปรดกรุณาช่วยเติมเต็ม ว่าแนวคิด/ทฤษฎีเหล่านี้จะนำไปสู่การบริหารจัดการช่วยยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กสู่ความเลิศได้จริงหรือไม่......

            ก่อนอื่นนั้น  การที่จะได้แนวทางสู่การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศได้นั้น  จำเป็นที่จะต้องศึกษาหาองค์ประกอบของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศก่อน  จึงมีความคิดที่อยากจะทำ  โครงการการศึกษาองค์ประกอบของการบริหารสู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนขนาดเล็ก  ซึ่งในขณะนี้คงจำเป็นต้องเร่งศึกษา หาข้อมูลเพิ่มเติม  เพื่อออกแบบกรอบแนวคิดของโครงการการศึกษาองค์ประกอบของการบริหารสู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนขนาดเล็ก  ในกิจกรรมการศึกษาเป็นรายบุคคลในโอกาสต่อไป 

                                                                                        เจตนา   เมืองมูล         ผู้บันทึก

หมายเลขบันทึก: 197222เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2008 06:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 14:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

มีแนวคิด ทฤษฏีที่ดี ไม่อาจนำมาใช้กับสภาวะที่ขาดแคลนครูและงบประมาณของโรงเรียนขนาดเล็กได้ นักเรียน 3 ห้อง ครู 1 คน จะให้เด็กเก่งได้หรือ โโรงเรียนบ้านตอเรือ ซึ่งข้าพเจ้าให้ครูสอนคละชั้น ป.1- 3 อาจเป็นการนำร่องก่อน นโยบายของสพฐ. ซึ่งก็ได้ผลดีเกินคาดครูเอาใจใส่ ใช้นวัตกรรมสมัยคุณปู่ ทำให้นักเรียนชั้น ป.2 ของโรงเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางเรียน ในการสอยวัดทอสอบ ของ สพฐ ปีที่ผ่านมา ได้ลำดับที่ 1 ของเขต ทั้ง 2วิชา คือคณิต กับภาษาไทย แต่พอ เขตคัดเลือกโรงเรียนขนาดเล็กนำร่อง กลับไม่ได้รับการเหลียวแล เอาใจใส่ เอาโรงเรียนที่เป็นเส้นสาย เข้าอบรม.. ครับโรงเรียนเเล็ก ถ้าไม่มีเส้น ก็คงไม่เจริญ.. ถึงจะผูบริหารจะมีภาวะผู้นำ..แต่ระบบราชการเมืองไทย ทุกคนคงต้องยอมรับ นะว่าเป็นอย่างไร..งง

ลองคิดเล่น ๆ นะพี่ว่า วิธีการ / แนวทาง นี้พอจะเป็นองค์ประกอบในการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กได้หรือเปล่า

• สร้างความพร้อม และความเข็มแข็ง

- จัดสภาพแวดล้อมภายในภายนอกห้องเรียนสะอาดร่มรื่นสวยงาม ประโยชน์ใช้ สอยคุ้มค่า

- จัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีประสิทธิภาพ

- การประชาสัมพันธ์โรงเรียนสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนรักและศรัทธา โรงเรียนอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง

- ระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาให้เพียงพอ และคุ้มค่า

• พัฒนาระบบวางแผน และการบริหารจัดการ

- จัดทำข้อมูลสารสนเทศถูกต้อง เป็นปัจจุบัน

- จัดทำเครื่องมือการบริหารจัด ที่สามารถปฏิบัติได้จริง

- พัฒนาบุคลากรและสร้างความตระหนัก ทุ่มเท จริงจัง มุ่งมั่นในการปฏิบัติงาน

• พัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอน และการเรียนรู้

- พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น

- จัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมแก้ปัญหาครูไม่ครบชั้นและไม่ ถนัดในบางสาระการเรียนรู้

- ส่งเสริมการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนและนอกโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

• เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน

- สร้างศักยภาพการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

- สร้างความเข้มแข็งในการมีส่วนร่วมของชุมชนให้มีความตระหนักถึงความจำเป็นในการมีส่วนร่วม

- สร้างเครือข่ายของชุมชน/ผู้ปกครอง/ศิษย์เก่าในรูปคณะกรรมการ

นอกเหนือจากกระบวนการบริหารการจัดการด้านต่าง ๆ แล้ว ความพัมพันธ์กับชุมชนเป็นเรื่องที่ค่อนข้างสำคัญ เพราะโรงเรียนขนาดเล็กทรัพยากรการบริหารค่อนข้างจำกัด ถ้าทำโรงเรียนให้เขา (ชุมชน)เข้าใจว่า เป็นของเขาแล้ว เรื่องอื่น ๆ ที่ดี ๆ ก็จะตามมาเอง

อย่างไรก็ตามขอชื่นชมท่านผอ.มานะ ที่พัฒนาโรงเรียนบ้านตอเรือ ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็กมาก  มีครูคนเดียวสอนเด็กคละชั้นให้อยู่ในระดับแนวหน้า มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เด่นมาก ๆ ถึงแม้ระดับเขตฯจะมองไม่เห็นผลงาน แต่ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นคือผลงานเชิงประจักษ์จริง ๆ   จึงขอเป็นกำลังใจให้นะครับ ผมคิดว่าท่านต้องมีกระบวนการบริหารของท่านที่ไม่ธรรมดา ถ้ามีโอกาสจะขอท่านได้ถอดรหัสว่าได้ทำอย่างไร   เผยแพร่ให้ผมทราบด้วยนะครับ ขอบคุณท่านรองฯ มยุรฉัตร และท่านผอ.วิชัย ที่ให้แนวคิดดี ๆ ที่น่าจะเป็นองค์ประกอบสำคัญนำไปสู่การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กสู่ความเป็นเลิศ ได้ดีที่เดียว  ถ้ามีอย่างอื่นอีกช่วยเสนอเพิ่มเติมมาได้นะครับ

ไม่น่าแปลกใจเท่าใดนัก เพราะโรงเรียนมีผู้บริหารที่มีคุณภาพ ให้กำลังใจท่านมานะ ในโลกนี้มีอะไรมากมายที่ผิดฝาผิดฝั่ง ประเภทที่เรียกว่า ถูกแต่ไม่ใช่ ที่ใช่แต่มันไม่ถูก แต่ของจริงก็คือของจริง เราทำงานเพื่อชาติ เราทำงานเพื่อถวายในหลวง เพราะเราเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เชื่อผมเถอะ คิดอย่างนี้แล้วจะมีกำลังใจ ทำงานอย่างมีความสุข คนที่รับเต็ม ๆคือ เด็กของเรา และนั่นแหละคือเป้าหมายของเรา จริงไหมท่าน

ฒ.ผู้เฒ่า

เอ้าว่าจะบอกว่าสถาบันฯเขามีโครงการ “พัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบ Montessori” เกี่ยวข้องโดยตรงกับโรงเรียนขนาดเล็ก ออกนอกกรอบจนได้

เป็นกำลังใจให้ ผอ. มานะค่ะ

ตอนนี้ท่านได้เป็นเเรงบันดาลใจให้ครูอีกมากมาย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท