ภูมิปัญญาท้องถิ่น


ภูมิปัญญาท้องถิ่น "การทำน้ำตาลมะพร้าว"

ภูมิปัญญาการทำน้ำตาลมะพร้าว

 

ความสำเร็จของภูมิปัญญาการทำน้ำตาลมะพร้าว

                        การทำน้ำตาลมะพร้าวมีขั้นตอนการผลิตที่ใช้เวลานาน และทุกขั้นตอนจะต้องสะอาด ไม่ใส่สารกันบูด โดยจะใช้ไม้พะยอมใส่ในกระบอกรับน้ำตาลกันบูดแบบธรรมชาติ ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และทุกขั้นตอนล้วนเกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งสิ้น น้ำตาลมะพร้าว ถ้าจะให้สีสวย ไม่เหลืองเข้ม รสชาติหวานหอม ต้องดูแลน้ำตาลให้ดี ตั้งแต่จั่นมะพร้าว กระบอกรองน้ำตาลใส ไปจนถึงการเคี่ยวน้ำตาล ซึ่งจะต้องใช้ความพิถีพิถันเป็นพิเศษ และจำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำทุกขั้นตอนที่ถูกต้อง อันเป็นความรู้ที่สั่งสมกันมาแต่บรรพบุรุษ สืบทอดให้แก่รุ่นลูกหลาน ซึ่งหากลูกหลานทำได้ ก็ถือว่าสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ดีเอาไว้ไม่ให้สูญหายไป

ปัญหาอุปสรรค ความยากลำบาก

                        1. ขั้นตอนการทำน้ำตาลมะพร้าวยุ่งยาก ต้องใช้ความชำนาญ และใช้เวลาในการทำมาก

                        2. ต้นมะพร้าวมีลำต้นสูง ยากและเสี่ยงต่อการขึ้นไปปาดและเก็บน้ำตาลใส

                        3. ลูกหลานส่วนใหญ่ไม่มีความอดทน ไม่ให้ความสนใจในอาชีพการทำน้ำตาลมะพร้าว เนื่องจากเหนื่อยและยุ่งยาก

                        4. ต้นทุนการผลิตสูง เช่น ไม้ฟืนราคาแพง

                        5. ในพื้นที่ส่วนใหญ่จะมีเฉพาะคนสูงอายุ คนรุ่นใหม่ออกไปศึกษาและทำงานนอกพื้นที่

                        6. ไม่มีคนขึ้นตาล คนเคี่ยวตาลมีน้อย ค่าแรงต่ำ

                        7. ชาวสวนมะพร้าวส่วนใหญ่จะขายน้ำตาลใส เพื่อทำน้ำตาลมะพร้าวพร้อมดื่ม เพราะขั้นตอนการทำไม่ยุ่งยากเหมือนกับการทำน้ำตาลมะพร้าว ทำให้ไม่มีวัตถุดิบในการทำน้ำตาลมะพร้าว

                         8. ความทันสมัยของเทคโนโลยี

                          9. ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ มีโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง

                        10. คนวัยแรงงานนิยมทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม

                        11. คนรุ่นใหม่ออกไปศึกษาและทำงานนอกพื้นที่

                        12. โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำลำคลอง ทำให้ผลผลิตตกต่ำ

                        13. มีกระรอกทำลายผลผลิต เช่น กัดกินจั่นมะพร้าว กระบอกรองน้ำตาล

ประโยชน์ของภูมิปัญญาการทำน้ำตาลมะพร้าวที่ได้รับ

       1. น้ำตาลมะพร้าว เป็นผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสมุทรสงคราม เนื่องจากมี  

สีสวย รสชาติหวาน มัน หอม

        2. ความหวานหอมของน้ำตาลมะพร้าว เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการนำไป

ประกอบอาหารคาว หวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำขนมไทย

                        3. น้ำตาลมะพร้าวเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยจากสารพิษ เนื่องจากภูมิปัญญาที่ใช้ในการทำน้ำตาลมะพร้าวทุกขั้นตอนจะต้องสะอาด ไม่ใส่สารกันบูด จึงไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

                        4. การทำน้ำตาลมะพร้าว เป็นอาชีพดั้งเดิมของบรรพบุรุษ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำรายได้ให้กับครอบครัว เป็นผลิตภัณฑ์ที่ขายดีเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างจังหวัด

สรุปผลข้อเสนอแนะ

                        น้ำตาลมะพร้าวของตำบลคลองเขิน จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อของจังหวัด เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ถ่ายทอดกันมายาวนาน เป็นอาชีพดั้งเดิมของบรรพบุรุษ   เป็นสุดยอดในความหวาน มัน หอม การทำน้ำตาลมะพร้าวให้อร่อย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับวิธีการ    เคี่ยวตาลเท่านั้น หากต้องเริ่มตั้งแต่การคัดสรรพันธุ์มะพร้าว ดูแลระบบน้ำ เตรียมดิน ปลูกมะพร้าว ขึ้นตาล ปาดตาล เก็บตาล เคี่ยวตาล ฯลฯ ซึ่งต้องใช้ความชำนาญตลอดในทุกขั้นตอน และทุกขั้นตอนในการทำจะต้องสะอาด ไม่ใส่สารกันบูด จึงไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

ข้อเสนอแนะ               

            ความทันสมัยของเทคโนโลยี การคมนาคมที่สะดวก ความเจริญทางเศรษฐกิจ การอยู่ใกล้เมืองเศรษฐกิจ เช่น กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร ซึ่งมีโรงงานอุตสาหกรรมมากมาย คนรุ่นใหม่หรือคนวัยแรงงาน มีการเดินทางออกไปศึกษาและทำงานนอกพื้นที่ ทำให้การสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำน้ำตาลมะพร้าวของคนรุ่นใหม่ลดน้อยลง ควรจะมีการรณรงค์ปลูกฝังจิตสำนึกคนรุ่นใหม่ ให้มีความรักในถิ่นฐานบ้านเกิดและอาชีพของบรรพบุรุษ ส่งเสริมให้รู้คุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำน้ำตาลมะพร้าวเพื่อจะได้สืบสานภูมิปัญญาที่ดีไม่ให้สูญหายไปในอนาคต หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ควรให้ความสนใจ ช่วยเหลือและให้การสนับสนุน ทั้งทางด้านวิชาการ งบประมาณ วัสดุ ครุภัณฑ์ และด้านการส่งเสริมการตลาด การให้การสนับสนุนการปลูกมะพร้าวพันธุ์เตี้ย  การส่งเสริมการทำประกันชีวิตให้กับคนขึ้นตาลและการส่งเสริมการเรียนรู้ในโรงเรียน โดยให้นักเรียน และเยาวชนในโรงเรียน ไปศึกษาเรียนรู้กระบวนการผลิตน้ำตาลมะพร้าวของกลุ่ม ดูการสาธิตกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนจากสมาชิกกลุ่ม โดยให้ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นผู้แนะนำให้ความรู้

 

 

 

ที่มา :  "ความทันสมัยของเทคโนโลยี.".  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก:

                  http://cddweb.cdd.go.th/samutsongkhram/KMsuker.htm  2550.

หมายเลขบันทึก: 197086เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2008 13:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท