Monitoring for Drug Safety


ความปลอดภัยด้านยา

 สรุป จากคำบรรยาย ของภก.ปรีชา มนทกานติกุลในการประชุมวิชาการ IC ครั้งที่ 5  ที่รร.จอมเทียน ปาล์มบีช พัทยา

 

Scope : อธิบายอุบัติการณ์ของปัญหาที่เกี่ยวข้องกับยาและตัวอย่างที่น่าสนใจ จากการทำศึกษาวิจัยในประเทศไทย

Medication error: ความคลาดเคลื่อนของการใช้ยาที่ผิดไปจากความตั้งใจหรือวัตถุประสงค์ของการรักษา หรือที่อยากจะให้เกิด เช่น อยากให้ยา A แต่ได้ ยา B หรือ การได้รับยาผิดอัตราเร็ว (rate)

สามารถแบ่งความคลาดเคลื่อนออกเป็น ความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ (Prescribing error) การคัดลอก (Transcribing error) การจัด-จ่ายยา (Dispensing error) และ การบริหารยา (Administration error) วิถีทางให้ยาผิด อัตราเร็วผิดละจะมีเพิ่มในขั้นตอนย่อยๆอีก 3 อย่าง ได้แก่ 1) เตรียมยาผิด 2) label ผิดหรือไม่ได้ label 3) การไม่ได้ monitor (ติดตาม/เฝ้าระวังอาการจากการใช้ยา)โดยเฉพาะยาที่มีพิษสูง เช่น amphotericin B, aminoglycoside ที่ต้องติดตามระดับของการทำงานของไตจากค่า BUN, Creatinin

ME ความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นอาจไม่ทำให้เกิดอันตราย (No harm) หรือ เกิดผลเสียได้ (Harm) ขึ้นอยู่กับความชนิดคลาดเคลื่อน โดยดูผลที่ผู้ป่วยเป็นสำคัญ มิใช่ดูเฉพาะ ADR ทว่าผลเสียไม่ได้หมายถึง ADR อย่างเดียวต้องรวมถึง Therapeutic failure (ทำให้เกิดการรักษาที่ล้มเหลว) ด้วย เช่น ผู้ป่วยควรได้รับยาลดความดันโลหิต แต่ได้รับยาลดไข้แทน ทำให้ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ ความดันโลหิตสูงขึ้นและไตอาจเสียตามมาได้

 

Drug related problem (DRPs) มองถึงปัญหาภาพรวมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา กล่าวคือ ME อยู่ใน DRPs นั่นเองซึ่งรวมถึงการตัดสินใจสั่งใช้ยา การจัดยาคัดลอกยาผิด(Prescribing Transcribing Dispensing Administration) และการที่ผู้ป่วยซื้อยากินเอง (Self medication)

ตัวอย่าง ผู้ป่วยได้ยา A ตามคำสั่งแพทย์ถูกทุกอย่าง แต่ผู้ป่วยเกิด ADR เสียชีวิตจากยา  มีการฟ้องร้องว่ายา A ทำให้เกิดความเป็นพิษเยอะ ทำไมแพทย์ไม่ทราบ ปรากฏว่าจากข้อมูล  journal เป็นภาษาจีน บอกว่าอาจเกิด toxic ได้เนื่องจากในสมัยนั้น ไม่มีภาษาอังกฤษ เมื่อญาติฟ้องก็เลยชนะ เพราะถือว่าแพทย์ต้องรู้ paper ที่เกี่ยวข้อง และทันสมัยเมื่อต้องใช้ยานั้นๆ

ดังนั้นกระบวนการใช้ยาต้องอยู่ใน Evidencae Base เสมอ

สรุปว่า DRPs ความหมายกว้างกว่า หมายถึง การสั่งยา การให้ยาที่ถูกต้องตามหลักวิชาการทันสมัยที่สุด (การตัดสินใจเลือกยา) การที่ผู้ป่วยซื้อยาทานเอง แล้วเกิดอันตราย อะไรที่เป็นความผิดพลาดไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ถือเป็นความคลาดเคลื่อน ซึ่งอาจเกิดอันตรายหรือไม่อันตรายก็ได้

 

DRPs แบ่งเป็น 4 categories

-          Indication: need additional drug therapy, unnecessary drug therapy จำเป็นต้องได้ยาแต่ไม่ได้ยา, หรือได้ยาเกินจำเป็น

-          Efficacy: wrong drug, dosage to low
ได้แก่ ยาผิด, ได้ยาขนาดน้อยเกินไปทำให้ควบคุมโรคไม่ได้

-          Safety: ADR, Dose to high เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

-          Adherence: Appropriate adherence ไม่ใช้ยาตามสั่ง การใช้ยาผิดประเภท การใช้ยาที่ไม่จำเป็น

จากการทบทวนข้อมูลของประเทศไทย (จากการงานวิจัยของนักศึกษาปริญญาโทเภสัชศาสตร์หลายมหาวิทยาลัย) ในด้าน

-          Incidence of DRPs: พบว่า ในผู้ป่วย 100 คน มากกว่าร้อยละ 50 (50-80%) มีอย่างน้อย 1 DRP โดยเฉลี่ยพบ 2-3 DRP ส่วนใหญ่ปัญหาอยู่ในเรื่อง Safety (มากกว่า ร้อยละ 50) ส่วนใหญ่พบกับยา Anti retroviral, anti microbial, anti asthmatic, anti diabetic

-          Category of DRPs with the highest incidence ตัวอย่างที่พบ เช่น ผู้ป่วยได้ยา Cloxacillin IV แล้วเกิด urticaria(ผื่นแพ้),ผู้ป่วยเด็กเล็ก (1-5 months) ได้ขนาดยาเยอะเกินไป เช่น Vancomycin, cisapride ผู้ป่วยไตวายได้ยาVancomycin บ่อยมากเกินไป

-          Pharmacological group related to DRPs

-          Interesting DRPs:

o   Inappropriate drug (ได้รับ cloxacillin ในผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ cloxa แบบ urticaria ซึ่งสัมพันธ์กับการเกิด analphylactic)

o   Inappropriate dosage regimens(ได้รับขนาดยาไม่เหมาะสม) เช่น(ได้รับ vancomcin 90.5mg/kg/day in 5 month boy, 60 mg/kg/day in 19 year boy with MRSA skin infection, 10mg/kg/day in pt with clcr < 10 ml/min, cisapride 1mg/kg/dose in 1m boy, Colistin q 6 hr

o   Inappropriate route of administration(วิธีการให้ยาไม่เหมาะสม) ที่พบได้แก่การให้ cotrimoxazole IV for PCP prophylaxis ในผู้ป่วยที่กินยาได้

o   Inappropriate drug concentration (ความเข้มข้นไม่เหมาะสม)เช่น Co-trimoxazole concentration was >1:10 ที่พบว่าละลายยากมาก (มี Maximum concentration) เพราะกินยังมีโอกาสเกิดนิ่วในไตสูง, Amphotericin B concentration was 0.4 mg/ml via peripheral line and was 0.8mg/ml via central line Amphotericin B conc. ที่จำกัด ต้องให้ช้าๆ ในความเข้มข้นที่ถูกต้องเพราะจะทำให้เกิดเส้นอุดตัน phlebitis ตามมา

o   Inappropriate rate of administration (amphotericin B to be infused in 30 min, Co-trimoxazole IV ใน PCP prophylaxis)

o   Inappropriate monitoring เช่น colistin + vancomycin + netilmicin มีผลต่อไตมากๆ ต้อง monitor Serum creatinin, Cefoperazone ให้ร่วมในผู้ป่วยที่ได้รับ warfarin ร่วมด้วยต้องดู INR, Amphotericin B in pt with  3.08mgEq/L ต้อง monitor Potassium (K), Dapsone ซึ่งมี cross reaction กับ cotrimoxazole  in pt with rash, increased LFT from cotrimoxazole ต้อง monitor rash

o   Drug interaction ที่พบได้แก่ (Amiodarone and warfarin, Cisapride and fluconazole)

o   Order ของเด็กควรคำนวน mg/kg/day ทุกราย

สรุปทางออก resolution of Medication Error and DRPs

        เหตุการณ์ที่นำไปสู่ความไม่ปลอดภัย ต้องมีการวิเคราะห์ระบบ (เช่นปัญหาขาดความรู้ด้านยา) และนำมาปรับปรุงแก้ไข ต้องดำเนินการแบบทีมสหสาขาวิชาชีพ ยาตัวใดที่อันตรายสูงต้องวิเคราะห์เพื่อให้ได้สาเหตุ ความไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้น ในกรณีเกิดขึ้นแล้ว จะวางระบบตอบสนองอย่างไร กำหนดระบบในการบริหารจัดการ และดำเนินการแบบทีมสหสาขาวิชาชีพ

  เห็นไหมคะ เรื่องยาที่ปลอดภัย ไม่ใช่เรื่องของเภสัชกรอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่ใช้ยาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ พยาบาล และผู้ป่วยค่ะ

                                                        

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #drug safety
หมายเลขบันทึก: 196994เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2008 21:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
  • เกี่ยวข้องกับครูภาษาด้วย
  • แปลไม่ค่อยออก
  • อิอิๆ
  • เขียนละเอียดดี
  • สมเป็นมือน้าชีพ อิอิๆๆ
  • สบายดีไหมครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ แหม มีมุข น้าอาชีพด้วยนะคะ นึกว่าจะป้าอาชีพ อิอิ สบายดีค่ะ ขี้เกียจแปลเพราะเป็นชื่อเฉพาะ เช่นชื่อยาค่ะ แวะไปอ่าน"ครูโย่งคุยกับอาจารย์ขจิต"หรือยังคะ ขำๆ ไม่อยู่โดนแอบแซว เลยค่ะ

* เป็นศัพท์เฉพาะมากๆ ค่ะ

* ถ้าขนาดคุณท่านขจิต แปลไม่ออกแล้ว

* ... ก็เอวังค่ะ ...

* ส่วนเรื่อง Monitoring ... สำคัญมากค่ะ

* ไม่ว่างานเชิงธุรกิจ หรือ สังคมสงเคราะห์

* อย่างตอนนี้ ที่องค์กรพี่ต้องมีฝ่าย M&E

ก็คือ Monitoring & Evaluation ค่ะ

...  แต่พี่ไม่แน่ใจว่า M&E น่าจะเป็นส่วนหนึ่ง

ในกระบวนการ และขั้นตอนเบื้องต้น เพื่อไปสู่

TQM, QA  ความมีคุณภาพโดยรวม หรือไม่ อย่างไร

....

สบายดีนะคะ ... นอนหลับฝันดีค่ะ เตรียมพร้อมรับมือพรุ่งนี้

 

  • ไปอ่านแล้ว
  • ว่าจะไปซื้อทีวีสีเขียว
  • ฮ่าๆๆๆ

สวัสดีค่ะ พี่ปู ใช่ค่ะ เป็นศัพท์เฉพาะทางค่ะ ท่านอาจารย์ขจิตแกล้งแปลไม่ออกค่ะ เห็นด้วยค่ะว่า การ Monitoring สำคัญมากค่ะ ส่วนใหญ่รพ.มักจะไม่ได้มีการติดตามอาการหลังที่ผู้ป่วยได้รับยาค่ะ ส่วนหนึ่งคือการรู้เท่าไม่ถึงการ ขาดความรู้ การสื่อสารระหว่างทีมไม่ทั่วถึง จนอาจเกิดอุบัติการณ์ขึ้นก่อนแล้วถึงจะมาหาวิธีการจัดการซึ่งบางครั้งอาจมีผลเสียหายระดับสูงมากๆ ค่ะ ขอบคุณพี่ปูมากค่ะ สบายดีไหมคะ คิดถึงมากค่ะ งั้นเดี๋ยวขอไปนอนเอาแรงก่อนนะคะ ฝันดีนะคะ

อ่าว หลับซะตกเตียง เลย ค่ะ

 

เป็นสิ่งที่ควรระลึกไว้เสมอเมื่อต้องสั่งยาให้คนไข้ สัก หนึ่งคน

ขอบคุณค่ะที่นำมาเล่าสู่กันฟัง

สวัสดีค่ะ พี่พอลล่า

มาทักทายๆๆๆ

ยิ้ม ยิ้ม....

คิดถึงจังเลย

สบายดีนะค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ sarah นอนดึกจังเลย อยู่เวรหรือคะ รักษาสุขภาพด้วยค่ะ เป็นห่วงค่ะ อิอิ

สวัสดีค่ะ น้องKittyjump พี่พอลล่าสบทยดีค่ะ อ่านธรรมะของน้องรู้สึกดีมากๆค่ะ ขอบคุณมากนะคะ คิดถึงเหมือนกันจ้า ....หวานๆๆๆ ซะ...รักษาสุขภาพด้วยนะคะ

  • สวัสดีครับ
  • ตามมาขอบคุณครับ
  • เรื่องยาเป็นเรื่องสำคัญนะครับ
  • ทุกวันนี้ยังมีหลายคนยังไม่มีความรู้เรื่องการใช้ยา
  • ซื้อหรือใช้ยาแบบผิดๆ น่ากลัวครับ

สวัสดีค่ะ คุณWaTan แวะมาบ่อยๆนะคะ ขอบคุณมากค่ะ สนใจเรืองการพัฒนาคนค่ะ คิดว่าการพัฒนาคนท่สำเร็จควรพัฒนาด้านจิตใจไปด้วยกันค่ะ

แวะมาเยี่ยมน้องสาวจ๊ะ

  • สบายดีไหมครับ
  • ว่าง ๆ เดี่ยวจะมาเยี่ยมใหม่ครับ
  • งานเข้าหรือเปล่า
  • อิอิ

หวัดดีค่ะพี่โย่ง อุตส่าห์แวะมาเยี่ยม งานของพอลล่า คือความสุขจ้า มีงานเข้าประจำค่ะ ไม่มีวันไหนไม่เข้าหรอกจ้า ว่าแต่พี่อ่ะ เดี๋ยวเข้าเดี๋ยวไม่เข้า..เน๊อะ หุหุ ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท