วันที่ 17 มีนาคม 2549 ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น. ณ. วัดอรัญญาวาส อ.เมืองน่าน จ.น่าน
เกิดอะไรในเวที.........พระอธิการสมคิด จารณธัมโม เจ้าอาวาสวัดโป่งคำ อ.สันติสุข จ.น่าน ชี้แจงวัตถุประสงค์ ความเป็นมาของเวทีประชุมสถานการณ์ และเจริญพรขอบคุณ ดร.สมคิด แก้วทิพย์ ผู้ประสานงานสกว.ภาคเหนือ และคณะทำงาน รวมทั้งภาคีชาวน่าน ที่ร่วมเดินทางมาร่วมเวทีเสวนาแลกเปลี่ยน ร่วมกันใช้ความคิดแสวงหาปัญญา นำวัฒนธรรมมาแก้ปัญหา เรื่อง เหล้าเบียร์บุหรี่ของน่านจากการสำรวจของสาธารณาสุข ที่พบว่า มีสัดส่วนของผู้ดื่มสุราเบียร์สูงสุดในประเทศ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนเมืองน่าน จึงได้เชิญมานั่งพูดคุยและทบทวนตนเอง เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา
พระครูพิทักษ์นันทคุณ เจ้าอาวาสวัดอรัญญาวาส/เจ้าคณะอำเภอสันติสุข จ.น่าน เปิดเวทีการเสวนาและปาฐถกาพิเศษ
“น่านเป็นชุมชนที่เข้มแข็งและมีชื่อเสียงในด้านการพัฒนาของภาคประชาชนและภาครัฐ เป็นแหล่งเรียนรู้ และศึกษาดูงานของชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังลูกหลานคนเมืองน่านที่ได้รับรางวัลในการทำงานในพื้นที่อื่นๆ ด้วย แม้ว่าจะมีชื่อเสียง แต่ก็มีคำถามว่า ทำไมคนเมืองน่านมีปัญหาทางด้านสุขภาพ เช่น ชุมชนรอบๆ วัดอรัญญาวาส มีคนเป็นโรคปวดเข่า โรคกล้ามเนื้อ โรคมะเร็ง โรคไต เสียเชีวิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งล้วมีสาเหตุจากการดื่มเหล้า ปี 49 ที่พระไปเทศนา พบว่า มีคนเสียชีวิตติดๆ กัน ทั้งๆ ที่อายุไม่มาก โดยจากการสอบถามพบว่า อันดับหนึ่ง เกิดจากโรคมะเร็ง ในส่วนพระสงฆ์ที่อาพาธ มีถึง 20 รูป มีสาเหตุว่าเป็น โรคไต เบาหวาน จากข้อมูลที่บอกว่า คนเมืองน่าน กินเหล้าอันดับ 1 มีโรงเหล้าชุมชน 500 โรงแต่เหล้าไม่พอกิน ต้องๆไปซื้อจากแพร่ พะเยา หรือคำถามที่ว่า เด็กเมืองน่านหันมากินเหล้ามากขึ้น โดยเฉพาะเด็กช่าง ที่ฝึกงาน เพราะเย็นมารุ่นพี่เลี้ยง แต่เด็กพาณิชย์ไม่ใช่ เพราะฝึกงานจะเจอกับผู้หญิง เคยถามเด็กๆ ว่าทำไมกินเหล้าเยอะ ไม่สงสารพ่อแม่? เด็กบอกว่า พ่อแม่ยังชวนกิน ? ชาวบ้านบอกว่าทำการเกษตรใช้สารเคมีเยอะต้องกินเหล้าล้างสารพิษจากการเกษตร มีคำถามว่า ลูกหลานที่ทำงานต่างถิ่นกลับมาแล้วพ่อแม่เศร้าใจ เพราะมาเชื่อเหล้ากิน พ่อแม่ต้องจ่ายหนี้แทน จริงหรือว่า เพราะไปคลุกคลีกับคนอีสาน (ซึ่งมีเสียงร่ำลือว่าเป็นคนที่กินเหล้ามาก) แล้วติดนิสัยมา สิ่งเหล่านี้ต้องช่วยกันหาคำตอบ
โรคมะเร็ง เกิดจากเหล้าบุหรี่ แต่ยังมีสาเหตุอื่นๆ คือ พฤติกรรมการกิน การอยู่ ด้วย โดยพระมีประสบการณ์จากที่เห็นพระสงฆ์ที่มีพฤติกรรมกินกาแฟ ปาท่องโก๋ ปลากระป๋อง ทุกวัน ไม่ได้ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ แต่เป็นมะเร็ง เป็นได้ไหมว่า กาแฟที่กินมีความชื้นที่ทำให้เกิดเชื้อรา ปาท่องโก๋ทอดน้ำมันซ้ำๆ ปลากะป๋องมีสารตกค้าง ฯลฯ นี่เพราะมีพฤติกรรมการบริโภคที่เราจะต้องหาคำตอบ
เดิมเราเคยได้ยินกันว่า สุรินทร์เป็นจังหวัดที่มีคนกินเหล้าเยอะที่สุด แต่ทุกวันนี้ลดลง ที่โคราชก็เช่นกัน เพราะพระนำให้ลด รับนิมนต์แล้วพบว่ากินเหล้าก็กลับ เพราะนิมนต์พระมาเทศน์ ให้พร แต่ทำตัวผิดศีล พระไม่สนับสนุน ทำแบบนี้ 3 ครั้ง ชาวบ้านก็กลัวแล้ว ที่ทำแบบนี้เพราะช่วยลดภาระเจ้าภาพ ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย เช่น งานศพ ไม่ต้องเฝ้าศพ (กลัวคนขโมยศพ) วัดปิดศาลา ไม่ต้องเฝ้า วัดบริการทุกอย่าง ขอไม่ให้มีเหล้ายา เพราะวัดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เราต้องให้เกียรติ ถ้าปล่อยให้คนมาย่ำยีความศักดิ์สิทธิ์ต้องสูญสิ้น มีบางวัดที่ชาวบ้านยอมแต่เจ้าอาวาสไม่ยอม บอกว่า ช่างชาวบ้าน ชาวบ้านเป็นคนสร้างวัด จะทำอะไรก็ปล่อยชาวบ้าน เป็นอย่างนั้นไป ดังนั้นการทำงานของเราต้องเอาพระมาร่วมก่อน เพราะชาวบ้านเชื่อพระ อีกส่วนคือ อาจารย์วัดที่ชอบเอาอะไรมาใส่ให้ให้ยืดเยื้อ
กรณีงานศพ ที่วัดอรัญญาวาสก็ทำที่วัดให้เสร็จ รวบรัดพิธีกรรมให้สั้นเข้า เพราะคนปัจจุบันเวลาน้อย งานบวชก็เช่นกัน ทำให้รวบรัด เอาแต่พีธิการสำคัญๆ ตามพระวินัย บวชท่ามกลางพระสงฆ์ วัดชนบท 5 รูป หรือวัดที่มีพระเยอะอาจเพิ่มเป็น 9 หรือ 11 รูป เดิม 25 รูป ชาวบ้านที่จนก็ต้องใส่ซองทุกรูป ลดจำนวนพระลงช่วยชาวบ้านลดค่าใช้จ่าย ซึ่งต้องอธิบายให้พระอุปชาณย์เข้าใจกัน
พิธีกรรมเหล่านี้ต้องช่วยกัน ตัดพิธีรีตรองไม่จำเป็นออก เหลือแต่พิธีสำคัญ ย่อเวลาให้ลดลง จะได้เหลือเวลาไปทำอย่างอื่น โดยเฉพาะงานสลาก อยากให้ช่วยกันวิจัย เพราะเป็นประเพณีที่กินฉิบ กินหาย เก็บข้อมูลว่า ใช้ค่าใช้จ่ายเท่าไรแต่ละหลังค่าเรือน เสร็จแล้ววัดได้เท่าไร ทั้งหมู่บ้านหมดเงินเท่าไร เคยมีวัดช่วยทำเก็บข้อมูลว่า หมู่บ้านหนึ่ง หมดเงินไป 1.6 ล้านบาท วัดได้เงินทำบุญ 1.6 แสนบาท วัวควายล้ม 20 ตัว หมู่ เห็ดเป็ดไก่อีก เดิมการกินสลากเป็นการกินอาหารตามสิ่งที่มีอยู่ในครัวเรือน แต่ปัจจุบันทุกอย่างต้องซื้อ สิ้นเปลือง เป็นเรื่องที่ทำให้มีคนมองเว่าพิธีทางพุทธ เป็นพิธีที่ยุ่งยาก สิ้นเปลือง เป็นเหตุให้สนใจศาสนาอื่นๆ
พิธีฉลองต่างๆ ในวัด บางทีฆ่าวัว ฆ่าควายเป็น 100 ตัว กลายเป็นโรงฆ่าสัตว์ไปเสีย เราอาจต้องทบทวนให้พีกรรมเหล่านี้ ประโยชน์สูง ประหยัดสุด เป็นพิธีที่สำคัญๆ ที่แท้จริง ค่านิยมบางอย่างต้องปรับลด เช่น บางชุมชนในงานศพไม่เลี้ยงน้ำอัดลม เลี้ยงน้ำสมุนไพร งานศพบางที่ไม่จุดธูป เข้าใจว่าเริ่มจากนาหมื่น ชาวบ้านอาจไม่ชิน แรกๆ ก็เป็นอย่างนี้ ต่อไปก็จะชิน (ธูปเดิมทำจากเกสรดอกไม้ จุดแล้ว ได้สูดสมุนไพรไปด้วย ตู่ปปัจจุบันทำจากขี้เลื่อย ผสมสีย้อมผ้า จุดแล้วเราสุดเข้าไปโลหะหนักทั้งสิ้น พระที่สวดก็สูดเข้าไป คนที่ไหว้พระก็สูดเข้าไปเป็นมะเร็งปอดได้) คนเมืองน่านคุยกันได้ เราก็ต้องอธิบายเหตุผลกันไป หักล้างกันไป เพราะ คนสมัยนี้ต้องการเหตุผล ประเด็นเหล่านี้ฝากให้เวทีหารือกันต่อไปเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันต่อไป”
ฯลฯ..............."
ข้อมูล ความคิดเห็นของท่านอื่น ๆ นอกจากข้างบนที่นำเสนอมาจะนำเสนอที่นี่ตามลำดับต่อไป
ขอขอบพระคุณ คุณพรทวี ยอดมงคล ที่ช่วยบันทึกการเสวนา
ไม่มีความเห็น