ทฤษฎีการเรียนรู้


การสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้วยปัญญานิยม

      

การสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้วยปัญญานิยม (Constructivism)

การสร้างสรรค์ความรู้ด้วยปัญญานิยม (Constructivism) อยู่บนฐานของการอ้างอิงหลักฐานในสิ่งที่พวกเราสร้างขึ้นแสดงให้ปรากฏแก่สายตาของเราด้วยตัวของเราเอง และอยู่บนฐานประสบการณ์  ของแต่ละบุคคล และโครงสร้างองค์ความรู้ภายในแต่ละบุคคลอีกด้วย การเรียนรู้ในลักษณะนี้อยู่บนฐานของการแปลความหมายและการให้ความหมายประสบการณ์ต่างๆ  ของผู้เรียนเขา/ เธอในแต่ละบุคคลว่าเป็นอย่างไร การที่ผู้เรียนลงมือกระทำการอย่างว่องไว  ในกระบวนการสร้างสรรค์ความหมายจากประสบการณ์ต่าง ๆ ของเขาหรือเธอ  องค์ความรู้จะถูกสร้างขึ้นโดยผู้เรียน และโดยเหตุผลที่ทุกคนต่างมีชุดของประสบการณ์ต่างๆ ของการเรียนรู้จึงมีลักษณะเฉพาะตน  และมีความแตกต่างกันไปในแต่ละคน        การเรียนรู้จะเกิดปรากฏขึ้นในห่วงแห่งความคิดเมื่อได้มีการกระทำการภายในบุคคลนั้น ๆ  ทฤษฎีในแนวนี้ถูกใช้เพื่อเน้นการเตรียมการผู้เรียนในการตัดสินใจ แบบจำลองทางจิตใจของเขา  ในการจัดรวบรวมประสบการณ์ใหม่ต่างๆ และการแก้ปัญหา  สถานการณ์ปัญหาต่างๆ ที่กำกวมน่าสงสัย 

1.    กฎเกณฑ์ของผู้ที่จะจัดการเรียนการสอนด้วยแนวคิด Constructivism

ผู้ที่จะจัดการเรียนการสอนควรออกแบบการเรียนการสอนเพื่อที่ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสในการแก้ปัญหาที่มีความหมายจริง ๆ  และเป็นปัญหาในชีวิตจริงของผู้เรียน  ซึ่งผู้เรียนแต่ละคนต่างก็มีความต้องการและมีประสบการณ์   ซึ่งสามารถประยุกต์นำไปใช้ในโลกแห่งความเป็นจริง และต้องการสร้างองค์ความรู้เหล่านั้น ผู้จัดการเรียนการสอนควรจัดเตรียมหากลุ่มหรือชุดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ  ที่เปิดโอกาสให้     ผู้เรียนได้มีปฏิกริยาต่อกันและได้คิด  แก้ปัญหาต่างๆ ผู้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนควรช่วยเหลือโดยการแนะแนวทางและสั่งสอนหรือฝึก (coaching) 

วิธีการจัดการเรียนการสอนเมื่อใช้แนวคิดของ Consturctivism จะเป็นการเรียน
การสอน ดังนี้   
:

                        1)  กรณีศึกษา (case studies) หรือการแก้ปัญหาเพื่อการเรียนรู้ 

2)  การนำเสนอผลงาน/ชิ้นงานให้ปรากฎแก่สายตาหลายด้าน หลายมิติหรือการจัดทำสื่อแนะแนวทาง   คำแนะนำ

3)  การกำกับดูแลหรือการฝึกงาน 

4)  การเรียนรู้ร่วมกัน (collaborative learning)         

5)  การเรียนรู้โดยการสืบค้น (Discovery learning) 

6)  การเรียนรู้โดยการกำหนสถานการณ์                                                                             2.  เมื่อใดควรใช้ Constructivism

ภายใต้เงื่อนไขที่ Constructivism มีส่วนสนับสนุนทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ 

1)      การเรียนการสอนจะเกิดขึ้นในกระบวนการที่ได้มีการปฏิสัมพันธ์ต่อกัน

ระหว่างผู้เรียนต่อผู้เรียน

2)      ผู้เรียนจะรวบรวมจัดองค์ความรู้ปัจจุบันที่มีอยู่แล้ว จากความเข้าใจอย่าง

ลึกซึ้งกับความเข้าใจในสถานการณ์ใหม่ ๆ ต่าง ๆ ที่ได้มา

3)      แหล่งการเรียนรู้  หรือทรัพยากรที่หลากหลายมีลักษณะที่แตกต่างกัน

จำนวนมากเท่าที่สามารถจัดหามาได้ เพื่อช่วยเหลือต่อการสืบค้น 

4)      มีเวลาเพียงพอ  พอจะสามารถทำผลงาน/ชิ้นงาน/การปฏิบัติการได้ สำหรับ

ผู้เรียนในการสืบค้นและประมวลผลองค์ความรู้ 

3.  ทักษะต่างๆ  อะไรที่ควรได้รับการเรียนรู้ด้วย Constructivisim 

1)      การประดิษฐ์คิดค้นผลงาน ด้วยความรวดเร็วจากการใช้กระบวนการของ

คอมพิวเตอร์ 

2)      การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำที่กว้างและมีน้ำไหลผ่าน 

3)      การวิจัยหาวิธีบำบัด  รักษาตัวเองจากโรค 

4.    จุดด้อยของ Constructivism

ผู้เรียนมีความต้องการความรู้ที่มีความหมายและมีนัยสำคัญต่อผลการเรียนรู้ของการเรียนการสอน มิใช่ว่าจะมาทำนายว่าพวกเขามีความรู้ความสามารถมากน้อยเพียงใด  เพราะว่า  ผู้เรียน ทั้งหลายต่างกำลังสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง    Constructivism  มิใช่เป็นการทำงาน  แต่เมื่อผลของการทำงาน,การสร้างผลงานต่างๆ  ต่างก็ต้องการผลงานเหมือนกันทุกครั้งไป ตัวอย่างเช่น การรวบรวมเส้นทางของรถยนต์  การมุ่งที่จะตรวจสอบผลงานหรือการทำงาน (ดูผลผลิต ซึ่งไม่ตรงกับแนวคิดของ Constructivism)

 

หมายเลขบันทึก: 196380เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2008 05:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 10:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Student Center เพื่อนเกลอ ผู้สร้างสรรค์ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท