การเลือกตั้งกำลังจะเกิดขึ้นในหมู่บ้านเล็กๆแห่งหนึ่ง ที่นี่ไม่มีการซื้อเสียง แต่ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งต้องชี้แจง “นโยบายเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน”
ครั้งหนึ่ง ชุมชนแห่งนี้เคยเข้มแข็งเพราะทุกคนมุ่งมั่นช่วยกันสร้างหมู่บ้าน แต่บัดนี้ เมื่อหมู่บ้านขยายตัว ผู้คนเริ่มแบ่งเป็นกลุ่มเป็นพวก
นนท์...ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งกล่าวชี้แจงนโยบาย นอกจากแผนงานต่างๆที่เขาจะทำแล้ว นัยที่เขาเสนอและคิดว่าสำคัญที่สุด คือ การอาสามาหน้าที่ประสานความร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อช่วยกันทำให้หมู่บ้านแห่งนั้นดีขึ้น
แต่สิ่งที่เสนอนั้น...ผู้ฟัง..ฟังแล้วผ่าน
ต่างคนต่างรอคอยว่า เมื่อไรผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งจะบอกว่า จะทำอะไรให้กลุ่มของตนบ้าง
นนท์เคยเป็นผู้เลือก แต่บัดนี้ เขาเป็นคนที่จะต้องถูกเลือกหรือไม่ถูกเลือก ... นนท์เพิ่งเข้าใจว่า แท้จริงแล้วการเลือกตั้งแบบตะวันตกที่ถือว่าเป็น “ประชาธิปไตย” นั้น มีความหมายเพียงแค่ตัวชี้วัด “ความพอใจ” ของบุคคลหลายๆคนรวมกัน และความพอใจนั้นมักมาจากการมีโอกาสที่จะ “ได้รับ” สิ่งที่ตัวเองต้องการมากกว่าที่จะการันตีเรื่องของเป้าหมายส่วนรวม ตรงกันข้าม การมีอำนาจในฐานะ “ผู้เลือก” ทำให้ผู้คนมุ่ง “เรียกร้อง” ให้ความสำคัญกับตนเอง ยิ่งในสังคมที่ผู้คนเป็นปัจเจกสูง สิ่งที่เรียกร้อง ยิ่งจะเป็นเพื่อประโยชน์ตนมากกว่าประโยชน์สังคม
ผลการเลือกตั้งจึงสะท้อนตัวตนของผู้คนในสังคมโดยแท้..นนท์เพิ่งเข้าใจลึกซึ้งด้วยตัวเอง
ด้วยเหตุนี้ การเลือกตั้งจึงไม่ใช่เครื่องมือของกระบวนการพัฒนาแต่อย่างใด แม้แต่การพัฒนาประชาธิปไตย (ซึ่งต้องการการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง)
นนท์อยากจะพูดประโยคของลินคอร์นที่บอกว่า “อย่าถามว่าประเทศจะให้อะไรกับท่าน แต่จงถามว่า ท่านให้อะไรกับประเทศบ้าง”...
ไม่ว่าผลของการเลือกตั้งจะเป็นอย่างไร .... นนท์เพิ่งเข้าใจว่า การเขียน “นโยบายเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน” กับการเขียน “นโยบายเพื่อหาเสียง” นั้น มันเป็นคนละเรื่องกัน
แต่ข้อดีที่สุดของกระบวนการนี้ คือ การมีโอกาสได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้คนถึงสารทุกข์สุขดิบและปัญหาในชีวิตของพวกเขา...ตรงนี้มีความหมายมากกว่าการลงคะแนนเสียงหลายเท่า
ผู้แทนคือผู้อาสาเข้าไปทำงานการเมืองเพื่อสังคมประเทศชาติประชาชน
คือผู้รับใช้ ผู้เสียสละ ไม่ใช่ผู้ที่ทำงานการเมืองเพื่อลาภยศ..
สรรเสริญ โลกียสุข นักการใดมีพฤติกรรมที่แสวงหาลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข ด้วยโลภะโทสะโมหะมากขึ้นๆเท่าใดๆ ผู้นั้นก็คือผู้ที่ทำลายความเป็นนักการเมืองและย่อมทำลายการเมืองมากขึ้นเท่านั้น..การเมืองใหม่ที่กลุ่มพันธมิตรประชาชน
พาทำอยู่และกำลังจะยกระดับไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
เป็นเรื่องที่ควรศึกษาและนำมาขบคิดอย่างยิ่ง อาตมาได้เห็นความเจริญอย่างอาริยชนของคนไทยฝ่ายหนึ่งและเห็นความเถื่อนอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมันก็เป็นธรรมดาของสังคมมนุษย์ที่ต้องเห็นต่างกันแต่อีกฝ่ายแม้จะถูกคุกคามยั่วยุก็พยายามอดทนอดกลั้นนำพาความรู้ความจริงสู่ประชาชนได้..อีกไม่นานเมืองไทยหมดยุคประชาธิปไตยจอมปลอมที่ประชาชนถูกหลอกใช้โดยนักการเมืองที่เห็นแก่ตัว..อนุโมทนาสาธุกับเรื่องดีที่โยมนำมาแบ่งปัน ให้เจริญในหน้าที่ สาธุ
นมัสการพระคุณเจ้า
ความถูกผิดที่ตัดสินด้วยมิจฉาทิฏฐิและใช้ผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นเครื่องตัดสิน กำลังทำให้สังคมเป็นปัญหา
ทำอย่างไรสังคมไทยจึงจะอยู่กันด้วยสติ
ผู้นำ ย่อมต้องมีขันติธรรมและความเสียสละสูงกว่าคนทั่วไป จึงจะปกครองสังคมให้สงบสุขได้
ขอให้ธรรมะคุ้มครองผู้ประพฤติธรรม
นนท์ได้เข้าใจและสัมผัสธรรมชาติของมนุษย์ที่ถ่องแท้ดีแล้ว...
การเมืองก็คือการเมือง สิ่งนี้คือข้อเท็จจริงในชีวิตที่ปฏิเสธไม่ได้
นนท์ก็คงต้องเข้มแข็งและเดินหน้าด้วยความมุ่งมั่นในอุดมการณ์ต่อไปหากเขายังมีไฟความมุ่งมั่นอยู่ในจิตใจ...
อย่างไรก็ตาม นนท์ควรทราบด้วยว่า ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ไม่ได้ตั้งหน้าตั้งตาเรียกร้อง "เพื่อประโยชน์ตนมากกว่าประโยชน์สังคม" อย่างที่นนท์เข้าใจหรอกค่ะ พวกเขามีความรู้สึก "พอ" ในชีวิตดีอยู่แล้ว แต่พวกเขายื่นมือให้นนท์ด้วยเจตนารมน์เพื่อสังคมในหมู่บ้านที่ดีขึ้นเช่นกัน เขาจะอยู่เมื่อนนท์ต้องการ และเขาก็จะไปหากนนท์ปริปากคำเดียวว่าไม่ต้องการ เพราะเขามีศักดิศรีพอและไม่มีความจำเป็นต้องมาเสียตัวเสียเวลาในที่ที่เขาไม่มีคุณค่าและรู้สึกว่าเป็นผู้ที่ "เหลือๆ" ให้เลือก
คนเหล่านี้ตั้งใจจะทำงานจริง เขาเลือกผู้นำที่มีความมั่นใจ มั่นคง หนักแน่น และเป็นตัวของตัวเอง ไม่โซเซไปตามทิศทางลมที่ผ่านเข้ามาในแต่ละวัน
ก็ขอเป็นกำลังใจให้นนท์ผู้นี้ในการทำงานด้วยความจริงใจค่ะ...
ปล. ฝากบอกนนท์ด้วยนะคะว่า J.F.K. เป็นคนกล่าวว่า "Ask not what your country can do for you, ask what you can do for your country" ไม่ใช่ A.L. :)
วิถีธรรมชาติที่น่าจะเป็นตามความเห็นของผมนะครับ
เรามีกลุ่มมีคน เราทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อกลุ่มของเราอย่างมีความสุข
ทำไปทำไปจน สมาชิกกลุ่มเห็นว่า ใครคนหนึ่งน่าจะเป็นตัวแทนไปสื่อสารกับบุคคลภายนอกถ้าจำเป็น กลุ่มก็จะเลือกใครคนนั้นที่เหมาะสมที่เขารู้ไส้รู้พุงอย่างดี ไปสื่อสารกับบุคคลภายนอก
ทีนี้ลองมาดูว่าการเลือกตั้งที่เราเห็นมันเป็นอย่างที่กล่าวถึงไหม
กิจกรรมร่วม ที่มา ที่ไป การยอมรับของกลุ่มต่อตัวแทน ความตั้งใจของตัวแทน ความตั้งใจของสมาชิกกลุ่ม
ผมว่าหายาก นอกจากในระดับล่างสุดของสังคมเช่นระดับหมู่บ้าน
แล้วระดับล่างสุดมันพัฒนามาสู่บนสุดได้ไหมและอย่างไร มีตัวอย่างไหม
ผมว่ายากและยังไม่มี
การเลือกตั้งของเราจึงยังเป็นอย่างนี้อยู่ในระดับประเทศ
ความเห็นส่วนตัวผมคือ เราดัดจริตใช้ระบบการเลือกตั้งตามประเทศอารยะ
โดยลืมดูรากเหง้าตัวเอง ว่าเราเป็นใครเป็นอย่างไรเป็นอะไร
จนทำอะไรสร้างอะไรที่ไม่เหมาะสมกับตัวเราเลย
และก็เกิดปัญหาไม่สิ้นสุด