15.ลักษณะของกล้วยไม้สกุลแกรมมาโตฟิลลั่ม (Grammatophyllum)


ตำรา กล้วยไม้ ออนไลน์

ลักษณะของกล้วยไม้สกุลแกรมมาโตฟิลลั่ม (Grammatophyllum)
ผู้เขียน ได้ทำการสรุป ลักษณะของกล้วยไม้สกุลแกรมมาโตฟิลลั่ม (Grammatophyllum) ไว้ดังนี้คือ
1.มีการเจริญแบบแตกกอ
2.มีระบบรากแบบรากอากาศ รากจะมีจำนวนมากมายเกาะกันแน่นและแตกแขนงที่ปลาย ปลายรากจะชี้ขึ้นข้างบน หรือชี้ออกไปข้างๆ แทนที่จะหยั่งลงข้างล่าง
3.ลำลูกกล้วยอยู่เบียดชิดกัน บางชนิดมีลำลูกกล้วยสั้น บางชนิดมีลำลูกกล้วยยาวมาก
4.บางชนิดมีใบติดอยู่ที่ปลายลำลูกกล้วยเพียง 2-3 ใบ แต่บางชนิดมีใบหลายใบ
5.ออกดอกเป็นช่อ มีทั้งชนิดช่อตั้ง และช่อห้อย กลีบดอกหนา พื้นกลีบสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว และมีแต้มสีน้ำตาล หรือม่วงแดง
6.ที่พบมี 8 ชนิด แต่ที่พบในประเทศไทยมีเพียงชนิดเดียว และเป็นชนิดที่มีต้นใหญ่โต จนถือว่าเป็นราชินีกล้วยไม้ คือ แกรมมาโตฟิลลั่ม สปีซิโอซัม เป็นภาษาไทยเรียกกันหลายชื่อ
เช่น เอื้องเพชรหึง ว่านเพชรหึง และว่านหางช้าง สำหรับชื่อว่านหางช้างนั้นเรียกตามลักษณะลำลูกกล้วยซึ่งยาวและมีใบติดอยู่ที่ปลายหลายใบ คล้ายกับหางของช้างที่ชี้ปลายหางขึ้น

ชยพร แอคะรัจน์
(ภาพจากหนังสือ กล้วยไม้เมืองไทย ของ รศ.ดร.อบฉันท์ ไทยทอง)

...

คำสำคัญ (Tags): #กล้วยไม้
หมายเลขบันทึก: 195649เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2008 09:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2015 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท