คิดเสียก่อน..ก่อนจ่ายเงินหมื่นติดก๊าซ(รถยนต์)


คุณล่ะ...ตัดสินใจว่ายังไง...เสียเงินหมื่นไปหรือยัง..?

หยุดคิดสักนิด..

 

ก่อนเสียรู้..

 

จ่ายเงินหมื่นติดก๊าซ..!!



ก๊าซ



          ท่ามกลางกระแสน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นลิตรละกว่า 40 บาท ขณะรถใช้ก๊าซแอลพีจี (LPG) จ่ายลิตรละแค่ 11 บาท หรือก๊าซเอ็นจีวี (NGV) กิโลกรัมละ 8.50 บาท ราคาเชื้อเพลิงที่ถูกกว่ากันมากถึงลิตรละ 3-4 เท่าตัวดังกล่าว เมื่อรวมกับค่าเปลี่ยนอุปกรณ์มาใช้ก๊าซ ลงทุนครั้งเดียว 3-8 หมื่นบาท ผู้ใช้รถที่วิ่งระยะทางวันละ 100 กิโลกรัม มากหรือน้อยกว่านี้เล็กน้อย คิดอย่างไรก็คุ้มที่จะลงทุนเปลี่ยนมาใช้ก๊าซ

          ทว่าหากพิจารณาลงลึกถึงปัญหาที่จะตามมาหลังเปลี่ยนไปใช้ก๊าซ อาจมีสิ่งที่ต้องฉุกคิดเพื่อไม่ให้ต้องมาบ่นเสียดายที่หลัง แต่เนื่องจากผู้บริโภคดูไม่ค่อยจะสนใจปัญหาด้านลบสักเท่าใดนัก เพราะว่าเมื่อคำนวณกับผลกระทบเรื่องราคาน้ำมันที่ถีบตัวสูงขึ้นแล้ว ไม่มีทางออกไหนที่สามารถทดแทนในเรื่องนี้ได้ดีเท่านี้ ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วยังมีข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ หลายประการ ที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายจากการติดตั้งระบบดังกล่าวได้มากมาย ที่มักไม่ค่อยมีใครออกมาให้ความรู้แก่ผู้บริโภค โดยเฉพาะเรื่องของผลกระทบจากการดัดแปลงรถยนต์เพื่อให้ใช้ได้กับอุปกรณ์ดังกล่าว วันนี้เราจึงหยิบยกปัญหาต่างๆ ในการติดตั้งก๊าซมาบอกกัน...

          1. สภาพของรถหลังจากการติดตั้งระบบอุปกรณ์ก๊าซธรรมชาติเข้าไปแล้ว ต้องยอมรับว่ารถยนต์ที่ออกแบบมาเพื่อจำหน่ายในประเทศไทย ออกแบบมาเพื่อให้ใช้กับเชื้อเพลิงเป็นหลัก โครงสร้างจึงรองรับในส่วนของการป้องกันถังน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างเดียว การนำถังก๊าซเข้าไปติดตั้งในที่เก็บของด้านหลังตัวรถ แม้จะมีกำหนดรายละเอียดว่าต้องห่างจากด้านท้ายรถ 35 เซ็นติเมตร แต่หากมองตามความเป็นจริงถือว่ายังไม่ปลอดภัย เพราะหากมีเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรง อาจก่ออันตรายกับถังก๊าซได้ค่อนข้างมาก นอกจากนี้ น้ำหนักของถังที่เพิ่มขึ้น 100 กิโลกรัม ทำให้โครงสร้างของช่วงล่างมีปัญหา เพราะส่วนใหญ่น้อยครั้งที่ผู้ติดตั้งจะมีการดัดแปลงช่วงล่างเพื่อรองรับในเรื่องนี้ 

          2. ผลกระทบกับตัวเครื่องยนต์ของรถ ที่มีการยืนยันมาอย่างหนักแน่นจากผู้ประกอบการหลายรายว่า ก๊าซธรรมชาติจะส่งผลกระทบต่อเรื่องของการสึกหรอของชิ้นส่วนเครื่องยนต์ รวมไปถึงอาจจะทำให้ชิ้นส่วนต่างๆ เสียหายได้ง่ายขึ้น หลายคนอาจจะรู้และทำใจได้กับอายุการใช้งานเครื่องยนต์ที่จะลดน้อยลง และหากนำรถใหม่ที่ยังอยู่ในระยะประกันไปติดตั้งก๊าซธรรมชาติ ค่ายรถทุกค่ายก็พร้อมใจกันที่จะตัดการรับประกันคุณภาพของรถทิ้งทันที ยกเว้นแต่ในกรณีที่ค่ายรถเป็นผู้ติดตั้งระบบซีเอ็นจีออกมาจากโรงงาน อันนั้นจะมีการติดตั้งระบบที่เหมาะสมเพื่อให้เครื่องยนต์ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด 

ติดก๊าซ


          3. ปัญหาเรื่องของศูนย์บริการติดตั้งที่ในปัจจุบันยังไม่มีการให้มาตรฐาน สำหรับศูนย์บริการติดตั้งระบบแอลพีจี และมีการรองรับเพียงแค่ 100 แห่งนิดๆ สำหรับระบบเอ็นจีวี แต่ในขณะที่ความต้องการของผู้บริโภคมีมากกว่านั้น ทำให้เกิดสถานีบริการที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายขึ้นมากมาย มองไปทางไหนก็เห็นแต่ป้ายที่ทำขึ้นง่ายๆ ว่า "รับติดตั้ง LPG/NGV" แถมยังทำการติดตั้งกันในสภาพของอู่ซ่อมรถยนต์ยุคเก่าที่ผันธุรกิจมารองรับ และเชื่อว่าครึ่งของรถที่วิ่งอยู่บนท้องถนน ล้วนมาจากศูนย์บริการที่ไม่มีมาตรฐานรองรับจาก ปตท. และกรมการขนส่งทางบกทั้งสิ้น เนื่องจากสถานีบริการเหล่านี้คิดค่าบริการถูกกว่า และมีระยะเวลาในการรอคิวน้อยกว่า

          แต่หลายๆ ต่อหลายครั้งที่รถยนต์เข้าไปทำการติดตั้งอุปกรณ์ก๊าซธรรมชาติแล้ว แล้วไม่สามารถหาใบรับรองจากวิศวกรได้ ทำให้ไม่สามารถไปตรวจสภาพเพื่อแจ้งเปลี่ยนชนิดเครื่องยนต์กับกรมการขนส่งทางบกได้  อันนี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ เพราะมีประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่า หลังจากวันที่ 15 สิงหาคม 2551 ถ้าติดตั้งก๊าซแล้วไม่ไปแจ้งจะโดนปรับถึง 1,000 บาท

          4. ปัญหาเรื่องการติดตั้ง เพราะหลายๆ คนได้รับผลกระทบจากการติดตั้งที่ไม่ดีพอ จนอาจก่อให้เกิดการรั่วไหลของก๊าซเข้าตัวรถ หรืออาจจะก่อให้เกิดอันตรายที่มากกว่านั้น แต่บรรดาชาวรถติดก๊าซมักจะปลอบใจตัวเองว่าหนึ่งในล้าน ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องสนุกหากหนึ่งในล้านดันมาเป็นรถของเราเอง 

          5. ราคาขายต่อของรถยนต์ เพราะเมื่อนำรถไปติดตั้งก๊าซแบบใดก็ตาม สิ่งที่ต้องทำใจเลยคือค่าใช้จ่ายในการดูแลรถจะเพิ่มขึ้น รวมไปถึงราคาขายต่อเมื่อตัดสินใจจะแยกทางกับรถคันนั้นจะหายไปพอสมควร ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการประเมินว่าจะส่งผลกระทบสักเท่าไหร่  


       

   ไม่มีใครบอกได้ว่าระบบพลังงานแบบไหนจะเหมาะสมกับการใช้รถใช้ถนนในปัจจุบันมากที่สุด แต่หากจำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้พลังงานรูปแบบอื่นๆ ก็จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดต่างๆ ให้รอบด้านที่สุด และไม่ต้องรีบร้อน หาข้อมูลมากๆ ถามใจตัวเองดีๆ ถ้าคิดแล้วยังคุ้ม ก้อน่าสนใจ แต่ก้ออย่าลืมพิจารณาทั้งข้อดีข้อเสียทั้ง 5 ข้อ..คุณก็เดินหน้าต่อไปได้เลย!!!


 

แล้วพบกันใหม่จ้า...

 


ข้อมูลจาก


หมายเลขบันทึก: 195502เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2008 17:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เคยเห็นรถบางยี่ห้อ ติดมาจากโรงงานเลยเป็น NGV  อยากให้ช่วยคิดหน่อยเป็นอย่างไรบ้าง

เข้ามาอ่านสาระความรู้ที่คนใช้รถยนต์ควรรู้ครับพี่

ผมอ่านพบว่า เอ็นจีวี ไม่เป็นอันตรายมากเท่า แอลพีจี

แต่เสี่ยงอย่างที่พี่บอกมาล่ะครับ

ขอบคุณมากครับพี่

อ่ะนะ ..

เมื่อเช้าดูคลิปรายการคุณสุรยุทธ ช่อง 3 เขาเอาเซียนรถมาวิจารณ์เรื่องติดก๊าซ NGV และ LPG แล้ว มีข้อบกพร่องอีกเยอะเลย และปัญหาที่จะตามมาอีกเพียบ ศึกษาข้อมูลอีกนิด ค่อยตัดสินใจดีกว่า โดยเฉาะรถที่วิ่งไม่กี่สิบกิโล/วัน พอติดไปแล้ว ถ้ามองให้เห็นอนาคตจะรู้เลยว่า ได้ไม่คุ้มเสีย

thank a lot ครับ คุณกัสจัง ที่สรรหาข้อมูลดีๆ มาให้รู้ ^__^

เห็นด้วยๆๆ

นายประจักษ์ คะ...รถที่เค้ามีระบบที่รองรับไว้ดีแล้วก็ไม่น่ามีปัญหาค่ะ

คุณ..สัก  กะ  คุณ..บุรุษนิรนาม จ๊ะ...ดีค่ะที่ติดตามข่าวสารรวมทั้งหาข้อมูลดีๆเกี่ยวกับ ก๊าซ NGV และ LPG ก่อนที่จะตัดสินใจ  กัสจังมีข้อมูลเพิ่มเติมอีกจ้า..ได้มาจากดูรายการจับเข่าคุยกันเมื่อคืนวันจันทร์ที่ 21ก.ค.นี่เองค่ะ เค้าคุยเกี่ยวกับข้อเปรียบเทียบทั้งสองอย่างเลยค่ะ 

      ข้อเปรียบเทียบระหว่าง NGV กับน้ำมัน

  • ถังหนักใช้น้ำหนักมากสำหรับรถเบนซิน
  • ใช้ระยะเวลาเติมนาน (อีกเท่าตัวของการเติมน้ำมันปกติ)
  • รถต้องรับน้ำหนักมากและถูกกดรับน้ำหนักนาน ๆ เหมือนเข็นข้าวสารเป็นกระสอบไปด้วย
  • ระยะทาง 160 กม. ต้องเติม 1 ครั้ง เทียบกับการเติมน้ำมัน 1ต่อ 3   เช่น  น้ำมันเติม 500 บาท แต่ NGV ต้องเติมถึง 3 ครั้ง
  • แรงดันของ  NGV เยอะกว่า  LPG
  • ก๊าซ  NGV จะลอยตัว แต่ LPG จะตกพื้น

จากที่ดูรายการก็พอจะสรุปคร่าว ๆได้เท่านี้..อ่ะนะคะ  ถ้าจะให้ดีก็ศึกษาข้อมูลเยอะๆ นะคะ..หากสนใจจะเปลี่ยนระบบพลังงานที่ใช้กับรถยนต์...!!

สวัสดีค่ะกัสจัง

ข้อมูลนี้สงสัยต้องให้เพื่อนพี่ลิ้มศรีมาอ่านบ้างซะแล้ว

(จะได้หายข้องใจซะที)    ขอบคุณค่ะ........

จ๋าจ๊ะ..พี่ลิ้มศรี..อย่าลืมนำไปกระจายข่าวเด้อ...อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท