รักษ์ภาษาไทย


ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ไม่เห็นความสำคัญในการใช้ภาษาไทย

          

                                                                                                

                                             เรารักษ์ภาษาไทย

                                                เป็นคนไทยพูดภาษาไทยต้องให้ชัด
                                         คุณสมบัติไทยแท้แน่นอนยิ่ง
                                         ไม่พูดตัว  ร  เรือ เป็น ล  ลิง
                                         น่าขันยิ่งฟังไม่เพราะเหมาะเหมือนใจ                                  
                                                ออกเสียงผิดความหมายผิดย่อมแปรเปลี่ยน
                                           เพราะพูดเรียนเป็นเลียนน่าสงสัย
                                          เรียนหนังสือใช้  ร เรือ เสมอไป
                                          ใช้ ล ลิง ไม่ได้ผิดทันที  ฯ
                                                พูดชัดดีเป็นคนมีการศึกษา
                                           พูดไม่ชัดนั้นน่าละอายยิ่ง
                                           ควรฝึกฝนตั้งใจอย่างแท้จริง
                                           คำควบกล้ำนั้นยิ่งต้องฝึกปรือ ฯ
                                                                  ศาสตราจารย์  ดร. สุจริต  เพียรชอบ


                     ในปัจจุบันนี้ภาษาไทยได้เปลี่ยนแปลงไปด้วยอิทธิพลของการสื่อสารในโลกที่เป็นสากล  คนรุ่นใหม่พูดภาษาไทยน้อยลง  พูดภาษาไทยไม่ชัด  พูดเพี้ยนไป    มีการเลียนเสียงภาษาต่างประเทศทำให้เสียงวรรณยุกต์เคลื่อนหรือเลื่อนไป
                    จากบทประพันธ์ข้างต้นนี้ จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันการออกเสียงภาษาไทย
ไม่ถูกต้องและชัดเจน  หลายคนไม่เห็นความสำคัญของภาษาไทย  ไม่ว่าจะเป็น ภาษาพูดหรือภาษาเขียน จึงทำให้พูดผิด  เขียนผิด  เช่น  การใช้ภาษาของดารา  นักร้องบางคนก็ควรจะเป็นตัวอย่างที่ถูกต้อง  เพราะวัยรุ่นมักจะชอบเลียนแบบดาราที่ชื่นชอบ
                  ครั้งหนึ่งได้ฟังนักร้องดังคนหนึ่งพูดทักทายแฟนเพลงขณะที่ร้องเพลงว่า  “ สวัสดีคะ ”ซึ่งควรใช้ “ สวัสดีค่ะ ”  จึงจะถูกต้อง  เพราะ  คำ  คะ  ค่ะ  นี้ใช้ต่างกัน  คะ จะใช้เป็นคำถาม  เช่น “ สบายดีไหมคะ ”  ส่วน  ค่ะ  ใช้เป็นคำขานรับ  เช่น  “ สบายดีค่ะ ”        เป็นต้น
                        การออกเสียงไม่ถูกต้องก็เป็นปัญหาในการสื่อสาร เช่น  แม่บ้านคนหนึ่งตะโกนบอกสามีว่า “ พ่อลาขึ้นบ้าน ” สามีตอบว่า “ ก็ไล่มันไปสิ ”  เพราะเข้าใจว่า ลา
คือ สัตว์สี่เท้า  แต่จริงๆ แล้ว คือ เชื้อรา  เพราะออกเสียงผิด  ทำให้ความหมายผิดไป  นักวิชาการหลายท่านได้ออกมารณรงค์ให้ออกเสียง ร เรือ  และคำควบกล้ำให้ถูกต้อง
                      มีการจัดสัมมนาหลายหน่วยงาน  ซึ่งผู้เขียนก็เคยเข้าร่วมสัมมนาด้วย              นักวิชาการ กลัวว่าต่อไปในอนาคตจะต้องเลิกใช้  ร  เรือ เป็นแน่  เพราะคนส่วนใหญ่ไม่เห็นความสำคัญและไม่ออกเสียง  ร  เรือ เวลาพูด  เช่น  โรงเรียน เป็น โลงเลียน เรียบร้อย เป็น เลียบล้อย  เกรงกลัว เป็น เกงกัว ฯลฯ  หรือคำควบกล้ำก็ไม่ออกเสียง  ภาคกลาง เป็น ภาคกาง  ครอบครัว เป็น คอบคัว เป็นต้น  บางครั้งผู้เขียนเคยสอบถามนักเรียนที่มาใช้บริการร้านหมอภาษา  นักเรียนบอกว่า ออกเสียง ร เรือ ไม่ได้  เพราะไม่เคยฝึกรัวลิ้น หรือบางคนออกเสียงได้แต่ลืมออกเสียง เพราะการออกเสียงเป็น ล ลิง จะง่ายกว่าตามความเคยชินบางคนบอกว่าอายเพื่อน  เพราะส่วนใหญ่ไม่ออกเสียง ร เรือ  เมื่อได้ฟังแล้วน่าเป็นห่วงเราคงไม่อยากให้ ร เรือ เป็นภาษาที่ตายไปหรือต้องเลิกใช้
                      บางคนออกเสียง ล ลิง เป็น ร เรือ ก็มี  เช่น “ ไม่ไปแร้ว ”  ออกเสียง แล้ว เป็น แร้ว  ปัญหาการออกเสียง ร เรือ ล ลิง  มีมาก จนผู้เขียนกำลังทำวิจัย   เรื่อง การออกเสียง ร เรือ  ล ลิง  นักเรียนส่วนใหญ่ที่ไม่ออกเสียง ร เรือ  เพราะกระดกลิ้นไม่ได้ หรือบางคนออกเสีย ร เรือ ได้ แต่อายที่จะพูด  บางคนลืมออกเสียงด้วยความ   เคยชินกับการออกเสียงเป็นเสียง ล ลิง มากกว่า  เพราะไม่ต้องกระดกลิ้น  บางคนตั้งใจออกเสียง ร เรือมากเกินไปก็ทำให้ไม่เป็นธรรมชาติ  นักเรียนหมอภาษาทุกคน ถูกปลูกฝังให้ออกเสียง ร เรือ  ล ลิง  คำควบกล้ำให้ชัดเจนเพื่อจะได้เป็นสื่อ    ในการออกเสียงภาษาไทยให้กับบุคคลใกล้เคียง  เช่น  พ่อ แม่ พี่ น้อง หรือเพื่อน  หากทุกคนระวังและตระหนักในการออกเสียงอยู่เสมอๆ จะทำให้ออกเสียงได้ถูกต้อง  บางครั้งเรานั่งชมโทรทัศน์  ฟังพิธีกรหรือผู้ใหญ่บางคนออกเสียงไม่ชัดเจนยังรู้สึกไม่สบายใจ  เพราะกลัวว่าเด็กๆ จะเอาเป็นตัวอย่างเวลาที่เราพูดคุยกับผู้อื่น ลองสังเกตดูว่า เมื่อเราออกเสียงถูกต้องเขาก็จะพยายามออกเสียงให้ถูกต้องตามเช่นกัน
                      การฝึกออกเสียง ร เรือ  ขั้นแรกต้องฝึกรัวลิ้นก่อน  ฝึกพูด ฝึกอ่านออกเสียงจากแบบฝึกหัดทั้งคำ ร เรือ  ล ลิง และคำควบกล้ำ การร้องเพลงก็เป็นการออกเสียงที่ดีเหมือนกัน เพราะทำให้ผ่อนคลายได้  เด็กๆ จะชอบร้องเพลงหรือ อ่านหนังสือการ์ตูน เราก็ฝึกให้เขาออกเสียงให้ถูกต้อง และให้เขาเล่าเรื่องที่อ่านด้วย  ทำให้ได้ประโยชน์หลายอย่าง จากการสังเกตนักเรียนที่ชอบอ่านหนังสือที่นอกเหนือจากหนังสือเรียนแล้วนักเรียนจะเป็นผู้ที่ใช้ภาษาค่อนข้างดี  มีเหตุผล  เรียนดีเป็นส่วนใหญ่  เขาจะอ่านหนังสือคล่องมาก ส่วนนักเรียนที่เรียนอ่อนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยอ่านหนังสือจะใช้เวลาว่างในการวิ่งเล่น  ชมโทรทัศน์  เล่นเกม  ฉะนั้นการสนับสนุนให้เด็กๆ อ่านหนังสือเป็นเรื่องดี  ให้อ่านหนังสือทุกชนิด ไม่ใช่อ่านการ์ตูนอย่างเดียวค่ะ  ลองให้อ่านหนังสือพิมพ์บ้าง  ผู้ใหญ่ต้องกระตุ้นให้อยากอ่านก่อน โดยเล่าเรื่องเหตุการณ์ต่างๆ ให้ฟังเพื่อเร้าใจ      ให้ติดตามตอนต่อไป ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์  เรื่องสั้น  นวนิยาย  ฯลฯ
                      มีอยู่ครั้งหนึ่งผู้เขียนไปห้องสมุดพบนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/6  ชื่อเด็กชาย ศักดิโชติ  เพชรสม  กำลังนั่งอ่านหนังสืออยู่  คุณแม่มารับกลับบ้าน เขาบอกคุณแม่ว่ายังอ่านไม่จบ ให้คุณแม่อ่านหนังสือรอก่อน  แทนที่จะบอกว่าให้ คุณแม่นั่งรอก่อน คุณครูฟังแล้วรู้สึกภูมิใจแทนคุณแม่มาก เมื่อสอบถามบรรณารักษ์ ได้ความว่าเด็กคนนี้ชอบอ่านหนังสือเป็นประจำ หนังสือที่อ่านเป็นวรรณกรรมหรือ นวนิยายที่ค่อนข้างยาวมาก
                      หากเด็กไทยทุกคนรักการอ่านจะทำให้ประเทศชาติมีเยาวชนที่มีความรู้กว้างขวางสามารถนำความรู้มาพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาอารยะประเทศได้  โรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทราได้เล็งเห็นความสำคัญของการใช้ภาษาไทย ไม่ว่าจะเป็น      การฟัง  การพูด  การอ่าน  การเขียน  ได้จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการจรรโลงค่าและอนุรักษ์  ภาษาไทยให้เป็นมรดกแก่ลูกหลานสืบไป
                                                                                   
                                                             ครูลักษณา   สังฆมาศ
                                                    หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 19485เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2006 14:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (34)

ดีมากเลยนะคะที่มีเวบไซต์ดีๆๆอย่างนี้ เพื่อให้ผู้คนหรือเด็กๆได้ อ่านบทความดีๆ อย่างนี้ค่ะ  

การที่มีเวบไซต์อย่างนี้นะครับเป็นสิ่งที่ดีเพราะเด็กส่วนมากจะมีเวลาอยู่กับคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ การที่มีเวบไซต์อย่างนี้ เด็กๆจะสามารถ มีความรู้และได้อ่านบทความที่น่าสนใจอย่างนี้เรื่อยๆครับ

 เป็นบทความที่ดีมากๆเลยนะครับได้รับความรู้มากเลทีเดียว  ขอให้นำความรู้มาเผยแพร่ต่อไปนะครับ

วัชรินทร์ รุ่งเรือง
แบงค์ดีใจมากนะครับ ที่มีเวบไซต์ดีๆอย่างนี้เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไปครับ

หนูว่าเป็นบทความที่ดีมากเลยนะคะ  เพราะหนูก็พูดภาษาไทย

ไม่ค่อยจะชัดเหมือนกัน ถ้าทุกคนได้อ่านบทความนี้  ก็คงจะพูด

ภาษาไทยชัดเจนขึ้น

คืออาลิศเป็นชาวต่างชาติที่ชื่นชอบภาษาไทยมาก พอดีมาเจอweb  นี้ก็เลยปลาบปลื้มมากก็ต้องขอขอบคุณ คุณลักษณาที่จัดทำ  web  นี้ขึ้น

 

   เว็บนี้เป็นเว็บที่ดีมาก ให้ความรู้ในด้านภาษาไทยมากเลยค่ะ

ดีมากมากค่ะหนูกันย์จะคอยติดตามต่อไป
หนูชอบมากมากเเละจะสัญญาว่าจะรักภาษาไทยต่อไปขอบคุณสำหรับเว็บนี้
ดีมากมากชอบภาษาไทยมาตั้งเเต่  32  เดือนเเง้วค่า
ผมรักภาษาไทยอยากให้คนไทยรักภาษาไทยทุกคนครับ
เป็นบทความที่ผมอยากรู้จักภาษาไทยให้มากขึ้นจริงๆครับ
กวีพู่ม่ายชัก(นักแต่งกลอน)

คิดว่าดีมากเลยค่ะ หากเด็กคนไหนจำได้ก็จะเป็นประโยชน์มากสำหรับยุค IT ค่ะ หากว่างช่วยเมลมาหน่อยนะคะเพราะตอนนี้คุณครูให้แต่งกลอนเกี่ยวกับ "รักษ์ภาษาไทย"อยู่คะ...กรูณาให้คำแนนำด้วยนะคะ

                                                         ขอบคุณค่ะ

                                                       

ดีครับสั่งสอนเลยจะได้จำ

ก็ดีเอาไว้ทำรายงาน

แต่งได้สมเหตุสมผลมากคะ มีประโยชน์ด้วย

ดีมากเลยครับผมหางานส่งอาจารย์พอดีแต่ยังขาดตัวอย่างอะคับถ้าจะให้ดีขอตัวอย่าง การออกเสียง ล-ร ด้วยนะครับบายคัรบ

เป็นการให้ข้อมูลดีมากเลยค่ะ

ฉันได้นำไปสอนและทำโครงงานส่งครูด้วยต้องขอบคุณมากๆนะค่ะ

อืม ดีแต่อ่านม่ายรู้เรื่องเพราะพิมผิดเปงบางครั้งนะ

ก้อดีอืม

...เด็กเบบี้...

ผมไม่เคยเห็นโทรทัศน์เวลาออกข่าวพูด ร เรีอ ล ลิง ถูกต้องเลยสักครั้ง คนกรุงเทพฯจะพูดสลับกันด้วยซ้ำ รู้เพราะเกิดกรุงเทพฯ

บางคำก็ไม่มี ร และ ล เช่น "ครอบครัว" หรือ "จริงๆ" คำว่า"หรือ"พูดแบบกรุงเทพฯก็ออกเสียงเป็น"เหลอ" คงให้"ปฎิวัติ"การออกเสียงให้พูดแบบที่เขียนคงเป็นไปไม่ได้ ให้เขียนแบบที่ออกเสียงสิจะเป็นทางแก้ปัญหา ดูอย่างภาษาลาว ที่โน่นเขาเขียนว่า"พาสาลาว" เขียนง่ายอ่านง่าย ไม่เพี้้ยน...ขอจบละนะ( อ่านว่า ขอ จบ หล่ะ น้า )

"สวัสดี"(อ่านว่า สะ หวัด สะ ดี หรือเปส่าเนี่ย )

ชอบมากเลยเว็บนี้

คุณครูเหมาะสมมากที่เป็นหัวหน้ากลุ่มสาระภาษาไทย

D D D D D D D D มากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆเลยค่ะ....

เพราะว่าหนูต้องนำไปใช้................

ในวิชาภาษาไทยค่ะ.....

ดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีอย่างเเรงเลยค่ะ....อิอิ

บะบาย.......

ขอบคุณมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆเลยค่ะเพราะว่าคุณครูให้มาเขียนเรียงความและข้อความนี้มี

ประโยชน์

สุดยอดค่ะ

เรารักษ์ภาษาไทย

เป็นคนไทยพูดภาษาไทยต้องให้ชัด

คุณสมบัติไทยแท้แน่นอนยิ่ง

ไม่พูดตัว ร เรือ เป็น ล ลิง

น่าขันยิ่งฟังไม่เพราะเหมาะเหมือนใจ

ออกเสียงผิดความหมายผิดย่อมแปรเปลี่ยน

เพราะพูดเรียนเป็นเลียนน่าสงสัย

เรียนหนังสือใช้ ร เรือ เสมอไป

ใช้ ล ลิง ไม่ได้ผิดทันที ฯ

พูดชัดดีเป็นคนมีการศึกษา

พูดไม่ชัดนั้นน่าละอายยิ่ง

ควรฝึกฝนตั้งใจอย่างแท้จริง

คำควบกล้ำนั้นยิ่งต้องฝึกปรือ ฯ

ศาสตราจารย์ ดร. สุจริต เพียรชอบ

ในปัจจุบันนี้ภาษาไทยได้เปลี่ยนแปลงไปด้วยอิทธิพลของการสื่อสารในโลกที่เป็นสากล คนรุ่นใหม่พูดภาษาไทยน้อยลง พูดภาษาไทยไม่ชัด พูดเพี้ยนไป มีการเลียนเสียงภาษาต่างประเทศทำให้เสียงวรรณยุกต์เคลื่อนหรือเลื่อนไป

จากบทประพันธ์ข้างต้นนี้ จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันการออกเสียงภาษาไทย

ไม่ถูกต้องและชัดเจน หลายคนไม่เห็นความสำคัญของภาษาไทย ไม่ว่าจะเป็น ภาษาพูดหรือภาษาเขียน จึงทำให้พูดผิด เขียนผิด เช่น การใช้ภาษาของดารา นักร้องบางคนก็ควรจะเป็นตัวอย่างที่ถูกต้อง เพราะวัยรุ่นมักจะชอบเลียนแบบดาราที่ชื่นชอบ

ครั้งหนึ่งได้ฟังนักร้องดังคนหนึ่งพูดทักทายแฟนเพลงขณะที่ร้องเพลงว่า “ สวัสดีคะ ”ซึ่งควรใช้ “ สวัสดีค่ะ ” จึงจะถูกต้อง เพราะ คำ คะ ค่ะ นี้ใช้ต่างกัน คะ จะใช้เป็นคำถาม เช่น “ สบายดีไหมคะ ” ส่วน ค่ะ ใช้เป็นคำขานรับ เช่น “ สบายดีค่ะ ” เป็นต้น

การออกเสียงไม่ถูกต้องก็เป็นปัญหาในการสื่อสาร เช่น แม่บ้านคนหนึ่งตะโกนบอกสามีว่า “ พ่อลาขึ้นบ้าน ” สามีตอบว่า “ ก็ไล่มันไปสิ ” เพราะเข้าใจว่า ลา

คือ สัตว์สี่เท้า แต่จริงๆ แล้ว คือ เชื้อรา เพราะออกเสียงผิด ทำให้ความหมายผิดไป นักวิชาการหลายท่านได้ออกมารณรงค์ให้ออกเสียง ร เรือ และคำควบกล้ำให้ถูกต้อง

มีการจัดสัมมนาหลายหน่วยงาน ซึ่งผู้เขียนก็เคยเข้าร่วมสัมมนาด้วย นักวิชาการ กลัวว่าต่อไปในอนาคตจะต้องเลิกใช้ ร เรือ เป็นแน่ เพราะคนส่วนใหญ่ไม่เห็นความสำคัญและไม่ออกเสียง ร เรือ เวลาพูด เช่น โรงเรียน เป็น โลงเลียน เรียบร้อย เป็น เลียบล้อย เกรงกลัว เป็น เกงกัว ฯลฯ หรือคำควบกล้ำก็ไม่ออกเสียง ภาคกลาง เป็น ภาคกาง ครอบครัว เป็น คอบคัว เป็นต้น บางครั้งผู้เขียนเคยสอบถามนักเรียนที่มาใช้บริการร้านหมอภาษา นักเรียนบอกว่า ออกเสียง ร เรือ ไม่ได้ เพราะไม่เคยฝึกรัวลิ้น หรือบางคนออกเสียงได้แต่ลืมออกเสียง เพราะการออกเสียงเป็น ล ลิง จะง่ายกว่าตามความเคยชินบางคนบอกว่าอายเพื่อน เพราะส่วนใหญ่ไม่ออกเสียง ร เรือ เมื่อได้ฟังแล้วน่าเป็นห่วงเราคงไม่อยากให้ ร เรือ เป็นภาษาที่ตายไปหรือต้องเลิกใช้

บางคนออกเสียง ล ลิง เป็น ร เรือ ก็มี เช่น “ ไม่ไปแร้ว ” ออกเสียง แล้ว เป็น แร้ว ปัญหาการออกเสียง ร เรือ ล ลิง มีมาก จนผู้เขียนกำลังทำวิจัย เรื่อง การออกเสียง ร เรือ ล ลิง นักเรียนส่วนใหญ่ที่ไม่ออกเสียง ร เรือ เพราะกระดกลิ้นไม่ได้ หรือบางคนออกเสีย ร เรือ ได้ แต่อายที่จะพูด บางคนลืมออกเสียงด้วยความ เคยชินกับการออกเสียงเป็นเสียง ล ลิง มากกว่า เพราะไม่ต้องกระดกลิ้น บางคนตั้งใจออกเสียง ร เรือมากเกินไปก็ทำให้ไม่เป็นธรรมชาติ นักเรียนหมอภาษาทุกคน ถูกปลูกฝังให้ออกเสียง ร เรือ ล ลิง คำควบกล้ำให้ชัดเจนเพื่อจะได้เป็นสื่อ ในการออกเสียงภาษาไทยให้กับบุคคลใกล้เคียง เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง หรือเพื่อน หากทุกคนระวังและตระหนักในการออกเสียงอยู่เสมอๆ จะทำให้ออกเสียงได้ถูกต้อง บางครั้งเรานั่งชมโทรทัศน์ ฟังพิธีกรหรือผู้ใหญ่บางคนออกเสียงไม่ชัดเจนยังรู้สึกไม่สบายใจ เพราะกลัวว่าเด็กๆ จะเอาเป็นตัวอย่างเวลาที่เราพูดคุยกับผู้อื่น ลองสังเกตดูว่า เมื่อเราออกเสียงถูกต้องเขาก็จะพยายามออกเสียงให้ถูกต้องตามเช่นกัน

การฝึกออกเสียง ร เรือ ขั้นแรกต้องฝึกรัวลิ้นก่อน ฝึกพูด ฝึกอ่านออกเสียงจากแบบฝึกหัดทั้งคำ ร เรือ ล ลิง และคำควบกล้ำ การร้องเพลงก็เป็นการออกเสียงที่ดีเหมือนกัน เพราะทำให้ผ่อนคลายได้ เด็กๆ จะชอบร้องเพลงหรือ อ่านหนังสือการ์ตูน เราก็ฝึกให้เขาออกเสียงให้ถูกต้อง และให้เขาเล่าเรื่องที่อ่านด้วย ทำให้ได้ประโยชน์หลายอย่าง จากการสังเกตนักเรียนที่ชอบอ่านหนังสือที่นอกเหนือจากหนังสือเรียนแล้วนักเรียนจะเป็นผู้ที่ใช้ภาษาค่อนข้างดี มีเหตุผล เรียนดีเป็นส่วนใหญ่ เขาจะอ่านหนังสือคล่องมาก ส่วนนักเรียนที่เรียนอ่อนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยอ่านหนังสือจะใช้เวลาว่างในการวิ่งเล่น ชมโทรทัศน์ เล่นเกม ฉะนั้นการสนับสนุนให้เด็กๆ อ่านหนังสือเป็นเรื่องดี ให้อ่านหนังสือทุกชนิด ไม่ใช่อ่านการ์ตูนอย่างเดียวค่ะ ลองให้อ่านหนังสือพิมพ์บ้าง ผู้ใหญ่ต้องกระตุ้นให้อยากอ่านก่อน โดยเล่าเรื่องเหตุการณ์ต่างๆ ให้ฟังเพื่อเร้าใจ ให้ติดตามตอนต่อไป ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ เรื่องสั้น นวนิยาย ฯลฯ

มีอยู่ครั้งหนึ่งผู้เขียนไปห้องสมุดพบนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/6 ชื่อเด็กชาย ศักดิโชติ เพชรสม กำลังนั่งอ่านหนังสืออยู่ คุณแม่มารับกลับบ้าน เขาบอกคุณแม่ว่ายังอ่านไม่จบ ให้คุณแม่อ่านหนังสือรอก่อน แทนที่จะบอกว่าให้ คุณแม่นั่งรอก่อน คุณครูฟังแล้วรู้สึกภูมิใจแทนคุณแม่มาก เมื่อสอบถามบรรณารักษ์ ได้ความว่าเด็กคนนี้ชอบอ่านหนังสือเป็นประจำ หนังสือที่อ่านเป็นวรรณกรรมหรือ นวนิยายที่ค่อนข้างยาวมาก

หากเด็กไทยทุกคนรักการอ่านจะทำให้ประเทศชาติมีเยาวชน ที่มีความรู้กว้างขวางสามารถนำความรู้มาพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าทัด เทียมกับนานาอารยะประเทศได้ โรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทราได้เล็งเห็นความสำคัญของการใช้ภาษาไทย ไม่ว่าจะเป็น การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน ได้จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการจรรโลงค่าและอนุรักษ์ ภาษาไทยให้เป็นมรดกแก่ลูกหลานสืบไป

ครูลักษณา สังฆมาศ

หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ขอยืมไปใช้ในวิชาภาษาไทยได้ไหมค่ะ เพราะ ต้องเขียนเรียงความค่ะ

ของแถม

29 ก.ค. วันภาษาไทย

ในโลกนี้ มีอะไร เป็นไทยแท้

ของไทยแน่ นั้นหรือ คือภาษา

ทั้งคนมี คนจน แต่ต้นมา

ใช้ภาษา ไทยทั่ว ทุกตัวคน

เด็กตะโกน กึกก้อง ร้องเรียกแม่

เริ่มใช้คำ ไทยแท้ มาแต่ต้น

ไม่มีต่าง ภาษา มาปะปน

ทุกทุกคน ก็สุข สบายดี

แม่อยากให้ ลูกรัก ได้พักผ่อน

ก็ไกวเปล ให้นอน จนหลับไหล

สำเนียงกล่อม ร่ายร้อง ทำนองไทย

ติดหูแต่ สมัย โบราณมา

พอโตขึ้น ส่งเจ้า เข้าโรงเรียน

ได้เริ่มอ่าน เริ่มเขียน เรียนภาษา

ภาษาไทย นั้นได้ พัฒนา

เป็นภาษา ขีดเขียน ได้เรียนกัน

บ้างชอบอ่าน ถ้อยคำ ทำนองเสนาะ

ภาษาไทย ไพเราะ ไม่แปรผัน

มีเสียงวรร ณยุกต์ ทุกทุกชั้น

ขับร้องกัน ได้ง่าย คล้ายดนตรี

ฉะนั้นหรือ จะไม่ ให้รักเจ้า

ภาษาไทย ของเรา มีศักดิ์ศรี

เกิดเป็นไทย คนหนึ่ง เราจึงมี

ของดีดี ชื่อว่า ภาษาไทย

ผม ทำ การ บ้าน ต้อง พึง หน้า นี้

ผมอยากรักฝน

ต้นรักฝนมากกะและจะรักตลอดไป จาก3/4 โรงเรียนรมย์บุรีพิทยาคมรัชมังคลาภิเษก

ขอบคุณค่ะ ช่วยหนูได้เยอะเลยคร้า ขอบคุณจริงจริงค่ะ

เจอเเล้ว เอาอันนี้ไปทำการบ้าน

ดีมากเลยค่ะ หนูชอบมาก เพราะมีสาระน่ารู้มากค่ะ และได้ใช้วิชาภาษาไทยด้วย

แต่ภาษาไทยก็มีบางคนพูดยังไม่ชัดเลยนี่นา

 

ก็ผมนี่แหละที่ยังพูดไม่ค่อยชัดเลย   ทำอย่างไรดีล่ะ

 

เรารักษ์ภาษาไทย

เป็นคนไทยพูดภาษาไทยต้องให้ชัด
คุณสมบัติไทยแท้แน่นอนยิ่ง
ไม่พูดตัว ร เรือ เป็น ล ลิง
น่าขันยิ่งฟังไม่เพราะเหมาะเหมือนใจ
ออกเสียงผิดความหมายผิดย่อมแปรเปลี่ยน
เพราะพูดเรียนเป็นเลียนน่าสงสัย
เรียนหนังสือใช้ ร เรือ เสมอไป
ใช้ ล ลิง ไม่ได้ผิดทันที ฯ
พูดชัดดีเป็นคนมีการศึกษา
พูดไม่ชัดนั้นน่าละอายยิ่ง
ควรฝึกฝนตั้งใจอย่างแท้จริง
คำควบกล้ำนั้นยิ่งต้องฝึกปรือ ฯ
ศาสตราจารย์ ดร. สุจริต เพียรชอบ


ในปัจจุบันนี้ภาษาไทยได้เปลี่ยนแปลงไปด้วยอิทธิพลของการสื่อสารในโลกที่เป็นสากล คนรุ่นใหม่พูดภาษาไทยน้อยลง พูดภาษาไทยไม่ชัด พูดเพี้ยนไป มีการเลียนเสียงภาษาต่างประเทศทำให้เสียงวรรณยุกต์เคลื่อนหรือเลื่อนไป
จากบทประพันธ์ข้างต้นนี้ จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันการออกเสียงภาษาไทย
ไม่ถูกต้องและชัดเจน หลายคนไม่เห็นความสำคัญของภาษาไทย ไม่ว่าจะเป็น ภาษาพูดหรือภาษาเขียน จึงทำให้พูดผิด เขียนผิด เช่น การใช้ภาษาของดารา นักร้องบางคนก็ควรจะเป็นตัวอย่างที่ถูกต้อง เพราะวัยรุ่นมักจะชอบเลียนแบบดาราที่ชื่นชอบ
ครั้งหนึ่งได้ฟังนักร้องดังคนหนึ่งพูดทักทายแฟนเพลงขณะที่ร้องเพลงว่า “ สวัสดีคะ ”ซึ่งควรใช้ “ สวัสดีค่ะ ” จึงจะถูกต้อง เพราะ คำ คะ ค่ะ นี้ใช้ต่างกัน คะ จะใช้เป็นคำถาม เช่น “ สบายดีไหมคะ ” ส่วน ค่ะ ใช้เป็นคำขานรับ เช่น “ สบายดีค่ะ ” เป็นต้น
การออกเสียงไม่ถูกต้องก็เป็นปัญหาในการสื่อสาร เช่น แม่บ้านคนหนึ่งตะโกนบอกสามีว่า “ พ่อลาขึ้นบ้าน ” สามีตอบว่า “ ก็ไล่มันไปสิ ” เพราะเข้าใจว่า ลา
คือ สัตว์สี่เท้า แต่จริงๆ แล้ว คือ เชื้อรา เพราะออกเสียงผิด ทำให้ความหมายผิดไป นักวิชาการหลายท่านได้ออกมารณรงค์ให้ออกเสียง ร เรือ และคำควบกล้ำให้ถูกต้อง
มีการจัดสัมมนาหลายหน่วยงาน ซึ่งผู้เขียนก็เคยเข้าร่วมสัมมนาด้วย นักวิชาการ กลัวว่าต่อไปในอนาคตจะต้องเลิกใช้ ร เรือ เป็นแน่ เพราะคนส่วนใหญ่ไม่เห็นความสำคัญและไม่ออกเสียง ร เรือ เวลาพูด เช่น โรงเรียน เป็น โลงเลียน เรียบร้อย เป็น เลียบล้อย เกรงกลัว เป็น เกงกัว ฯลฯ หรือคำควบกล้ำก็ไม่ออกเสียง ภาคกลาง เป็น ภาคกาง ครอบครัว เป็น คอบคัว เป็นต้น บางครั้งผู้เขียนเคยสอบถามนักเรียนที่มาใช้บริการร้านหมอภาษา นักเรียนบอกว่า ออกเสียง ร เรือ ไม่ได้ เพราะไม่เคยฝึกรัวลิ้น หรือบางคนออกเสียงได้แต่ลืมออกเสียง เพราะการออกเสียงเป็น ล ลิง จะง่ายกว่าตามความเคยชินบางคนบอกว่าอายเพื่อน เพราะส่วนใหญ่ไม่ออกเสียง ร เรือ เมื่อได้ฟังแล้วน่าเป็นห่วงเราคงไม่อยากให้ ร เรือ เป็นภาษาที่ตายไปหรือต้องเลิกใช้
บางคนออกเสียง ล ลิง เป็น ร เรือ ก็มี เช่น “ ไม่ไปแร้ว ” ออกเสียง แล้ว เป็น แร้ว ปัญหาการออกเสียง ร เรือ ล ลิง มีมาก จนผู้เขียนกำลังทำวิจัย เรื่อง การออกเสียง ร เรือ ล ลิง นักเรียนส่วนใหญ่ที่ไม่ออกเสียง ร เรือ เพราะกระดกลิ้นไม่ได้ หรือบางคนออกเสีย ร เรือ ได้ แต่อายที่จะพูด บางคนลืมออกเสียงด้วยความ เคยชินกับการออกเสียงเป็นเสียง ล ลิง มากกว่า เพราะไม่ต้องกระดกลิ้น บางคนตั้งใจออกเสียง ร เรือมากเกินไปก็ทำให้ไม่เป็นธรรมชาติ นักเรียนหมอภาษาทุกคน ถูกปลูกฝังให้ออกเสียง ร เรือ ล ลิง คำควบกล้ำให้ชัดเจนเพื่อจะได้เป็นสื่อ ในการออกเสียงภาษาไทยให้กับบุคคลใกล้เคียง เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง หรือเพื่อน หากทุกคนระวังและตระหนักในการออกเสียงอยู่เสมอๆ จะทำให้ออกเสียงได้ถูกต้อง บางครั้งเรานั่งชมโทรทัศน์ ฟังพิธีกรหรือผู้ใหญ่บางคนออกเสียงไม่ชัดเจนยังรู้สึกไม่สบายใจ เพราะกลัวว่าเด็กๆ จะเอาเป็นตัวอย่างเวลาที่เราพูดคุยกับผู้อื่น ลองสังเกตดูว่า เมื่อเราออกเสียงถูกต้องเขาก็จะพยายามออกเสียงให้ถูกต้องตามเช่นกัน
การฝึกออกเสียง ร เรือ ขั้นแรกต้องฝึกรัวลิ้นก่อน ฝึกพูด ฝึกอ่านออกเสียงจากแบบฝึกหัดทั้งคำ ร เรือ ล ลิง และคำควบกล้ำ การร้องเพลงก็เป็นการออกเสียงที่ดีเหมือนกัน เพราะทำให้ผ่อนคลายได้ เด็กๆ จะชอบร้องเพลงหรือ อ่านหนังสือการ์ตูน เราก็ฝึกให้เขาออกเสียงให้ถูกต้อง และให้เขาเล่าเรื่องที่อ่านด้วย ทำให้ได้ประโยชน์หลายอย่าง จากการสังเกตนักเรียนที่ชอบอ่านหนังสือที่นอกเหนือจากหนังสือเรียนแล้วนักเรียนจะเป็นผู้ที่ใช้ภาษาค่อนข้างดี มีเหตุผล เรียนดีเป็นส่วนใหญ่ เขาจะอ่านหนังสือคล่องมาก ส่วนนักเรียนที่เรียนอ่อนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยอ่านหนังสือจะใช้เวลาว่างในการวิ่งเล่น ชมโทรทัศน์ เล่นเกม ฉะนั้นการสนับสนุนให้เด็กๆ อ่านหนังสือเป็นเรื่องดี ให้อ่านหนังสือทุกชนิด ไม่ใช่อ่านการ์ตูนอย่างเดียวค่ะ ลองให้อ่านหนังสือพิมพ์บ้าง ผู้ใหญ่ต้องกระตุ้นให้อยากอ่านก่อน โดยเล่าเรื่องเหตุการณ์ต่างๆ ให้ฟังเพื่อเร้าใจ ให้ติดตามตอนต่อไป ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ เรื่องสั้น นวนิยาย ฯลฯ
มีอยู่ครั้งหนึ่งผู้เขียนไปห้องสมุดพบนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/6 ชื่อเด็กชาย ศักดิโชติ เพชรสม กำลังนั่งอ่านหนังสืออยู่ คุณแม่มารับกลับบ้าน เขาบอกคุณแม่ว่ายังอ่านไม่จบ ให้คุณแม่อ่านหนังสือรอก่อน แทนที่จะบอกว่าให้ คุณแม่นั่งรอก่อน คุณครูฟังแล้วรู้สึกภูมิใจแทนคุณแม่มาก เมื่อสอบถามบรรณารักษ์ ได้ความว่าเด็กคนนี้ชอบอ่านหนังสือเป็นประจำ หนังสือที่อ่านเป็นวรรณกรรมหรือ นวนิยายที่ค่อนข้างยาวมาก
หากเด็กไทยทุกคนรักการอ่านจะทำให้ประเทศชาติมีเยาวชนที่มีความรู้กว้างขวางสามารถนำความรู้มาพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาอารยะประเทศได้ โรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทราได้เล็งเห็นความสำคัญของการใช้ภาษาไทย ไม่ว่าจะเป็น การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน ได้จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการจรรโลงค่าและอนุรักษ์ ภาษาไทยให้เป็นมรดกแก่ลูกหลานสืบไป

ครูลักษณา สังฆมาศ
หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท