หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับ การตรวจขั้นที่ 5 ขั้นปฏิบัติการและประเมินผล


หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับ การตรวจขั้นที่ 5 วัตถุประสงค์"""บุคคลที่ต้องผ่านการตรวจขั้นที่ 5.....หลักฐานการพิจารณา""""ขั้นตอนวิธีปฏิบัติ

หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับ

การตรวจขั้นที่ 5 ขั้นปฏิบัติการและประเมินผล

APPLICATION  AND  EVALUATION

 

                                               

หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับ   การตรวจขั้นที่ 5  ขั้นปฏิบัติการและประเมินผล

APPLICATION  AND  EVALUATION

………………………………………………………………………………………………

                        ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ     ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจขั้นที่ 3 ขั้นฝึกหัดงาน และการตรวจขั้นที่ 5 ขั้นปฏิบัติการและประเมินผล เพื่อรับเครื่องหมายวูดแบดจ์ ประกาศ ณ วันที่ 21 ธันวาคม 2521 กำหนดดังนี้

วัตถุประสงค์

      1.  เพื่อนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมตั้งแต่ขั้นที่1-4ไปใช้ในการฝึกอบรมลูกเสือ

      2.  เพื่อสร้างเสริมการฝึกอบรมตนเองให้ดียิ่งขึ้น

      3.  เพื่อประเมินผลขั้นสุดท้ายว่า สมควรได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์หรือไม่

                        บุคคลที่ต้องผ่านการตรวจขั้นที่ 5 ขั้นปฏิบัติการและประเมินผล ได้แก่

1.      ผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน ,วิทยาลัย

2.      รองผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน , วิทยาลัย

3.      ผู้กำกับกลุ่มลูกเสือโรงเรียน , วิทยาลัย

4.      รองผู้กำกับกลุ่มลูกเสือโรงเรียน , วิทยาลัย

5.      กรรมการกลุ่มลูกเสือโรงเรียน , วิทยาลัย

6.      ผู้กำกับลูกเสือโรงเรียน , วิทยาลัย

7.      รองผู้กำกับลูกเสือโรงเรียน , วิทยาลัย

หลักฐานการพิจารณา

1.      สำเนาใบแต่งตั้ง ( เฉพาะผู้กำกับลูกเสือและรองผู้กำกับลูกเสือ ต้องดำรงตำแหน่ง

ตามประเภทที่ผ่านการอบรมและตรงกับประเภทกองลูกเสือที่ตนสังกัดอยู่ ได้แก่ ใบ ลส. 12 และ ลส.13 ระบุรายละเอียดไว้ภายในเอกสารนี้)

2.      สำเนาวุฒิบัตร ที่ผ่านการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ ขั้นความรู้ชั้นสูง (ไม่เกิน

กำหนด 2 ปี นับแต่วันสิ้นสุดการอบรม )

3.      แบบรายงานผลการตรวจขั้นที่ 5  ขั้นปฏิบัติการและประเมินผล

            ผู้เขียนขอเสนอแนะ การพัฒนาตนเองตามแผนภูมิกำหนดขั้นตอนวิธีปฏิบัติดังนี้

                                        

ข้อสังเกต  

                   ระยะเวลาในการพัฒนาตนเองของ  ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ให้ได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์   2   ท่อน   ต้องใช้เวลาพัฒนาการเรียนการสอนจริง  กับกองลูกเสือที่รับผิดชอบไม่น้อยกว่า  2  ปี  4  เดือน  12  วัน    และต้องรอจนกว่าจะได้รับวุฒิบัตร อีกไม่เกิน  3  เดือน  สรุปแล้ว ผู้บังคับบัญชาลูกเสือคนหนึ่ง  ต้องใช้เวลาพัฒนาตนเอง ประมาณ 3 ปี

 

 

คุณสมบัติของผู้รับตรวจ

 1.   บุคคลนั้นต้องผ่านการฝึกอบรมตั้งแต่ ขั้นที่ 4 มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 เดือน

และไม่เกิน 2 ปี นับจากวันสิ้นสุดการฝึกอบรมขั้นความรู้ชั้นสูง

2.    เป็นบุคคลที่มีกองลูกเสือเป็นของตน   หรือไปช่วยฝึกสอนลูกเสือในกอง

ลูกเสือใกล้เคียงเป็นประจำหรือผู้มีหน้าที่ควบคุมกองลูกเสือตามสังกัดเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางลูกเสืออยู่ในปัจจุบัน โดยมีใบแต่งตั้งให้มีตำแหน่งทางลูกเสือตาม  แบบ ลส. 13 เป็นหลักฐาน

3.    สมัครเป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสือ  ในตำแหน่ง  ผู้กำกับ หรือรองผู้กำกับ

แล้วแต่กรณี (กรอก ลส. 2 )เมื่อได้รับอนุญาตจากคณะลูกเสือจังหวัดแล้ว ( ใบแต่งตั้ง ลส.13 ) ทำเรื่องเสนอขอตรวจขั้นที่ 5 โดยแนบสำเนาวุฒิบัตรที่ผ่านการอบรม พร้อมสำเนา ลส.13. ผ่านผู้อำนวยการลูกเสืออำเภอ

  4.   ร่วมกับคณะครูภายในโรงเรียนดำเนินการเรียนการสอนตามที่หลักสูตร

กำหนด

   5.   เตรียมความพร้อมของกองลูกเสือโรงเรียนเพื่อขอรับการตรวจดังนี้

5.1  ทำพิธีเปิด-ปิดประชุมกอง และเรียนตามฐาน โดยต้องมี แผน

การสอนประกอบอย่างต่อเนื่องตามหลักสูตร เป็นปัจจุบัน

5.2  พิธีสวนสนาม

5.3  ฝึกระเบียบแถว

5.4  การประชุมนายหมู่

5.5  การใช้ไม้ถือ และไม้พลอง

6.   เตรียมเอกสารงานด้านธุรการ  ทำให้เป็นปัจจุบันและถูกต้อง

6.1   ลส.7 (ทะเบียนกองลูกเสือแต่ละประเภท)    

6.2   ลส.2 (ใบสมัครขอเป็นผู้กำกับ)

6.3   ลส.3 (ใบสมัครเข้าเป็นลูกเสือ)        

6.4   ลส.4 (ใบโอนกอง)

6.5   ลส.11 (ใบตั้งกลุ่ม) ลส. 12(ใบตั้งกอง  )

6.6   ลส.13 (ใบแต่งตั้งผู้บังคับบัญชา)

6.7   ลส.19(ใบเสร็จรับเงิน)

 6.8  บันทึกการประชุมผู้กำกับ 

 6.9  บันทึกการประชุมนายหมู่

6.10 บันทึกการสอน(แผนการจัดประชุมกอง อย่างน้อย  4 เดือน)  

6.11  สื่อการสอน หีบอุปกรณ์  อุปกรณ์ฝึกภาคสนาม

6.12  หนังสือ คู่มือต่าง ๆ

6.13  ธงประจำกองลูกเสือ

6.14  ธงประจำหมู่

6.15  เสาธงลอย

6.16  พระบรมรูป ร.6    .9   และรูปลอร์ดเบเดนโพเอลล์

                                    6.17  ห้องประชุมนายหมู่

                                    6.18  สถานที่ฝึกภาคสนาม

7.    มีห้องลูกเสือ เพื่อใช้จัดกิจกรรมการประชุมนายหมู่ เก็บวัสดุ อุปกรณ์

และเอกสารงานธุรการในกองลูกเสือ

                        เมื่อจะให้มีการตรวจขั้นปฏิบัติการและประเมินผลเมื่อใด ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ  ที่เกี่ยวข้องทำหนังสือถึงผู้บังคับบัญชาที่ตนสังกัดขอเชิญให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ    ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน  ก่อนถึงวันที่ให้ไปทำการตรวจ  ในหนังสือนั้นให้ระบุไปด้วยว่าจะให้ไปตรวจในวันใด

                        กรณีที่  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  พิจารณาผลการปฏิบัติงานของผู้รับตรวจยังไม่ผ่านเกณฑ์ที่น่าพอใจ  จะนัดหมายเพื่อทำการตรวจใหม่อีกครั้งก็ทำได้  เมื่อการตรวจขั้นที่ 5 ขั้นปฏิบัติการและประเมินผลเสร็จสิ้นลง       ผลการปฏิบัติทุกกิจกรรมต้องผ่านเกณฑ์   80  %   ขึ้นไป  ผู้ทรงคุณวุฒิเสนอรายชื่อผู้ผ่านการประเมินเพื่อขอรับประกาศนียบัตรไปตามลำดับขั้นถึงผู้ตรวจการลูกเสือฝ่ายฝึกอบรมแห่งชาติเพื่อพิจารณาเสนอเลขาธิการคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ อนุมัติต่อไป  ( ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจขั้นที่ 3 ขั้นฝึกหัดงาน และการตรวจขั้นที่ 5 ขั้นปฏิบัติการและประเมินผล เพื่อรับเครื่องหมายวูดแบดจ์ )

คำสำคัญ (Tags): #scouting for boys
หมายเลขบันทึก: 194811เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2008 00:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สาธุ อนุโมทนาบุญ ท่านพี่

การขอติดวุ๊ดแบดส์ ในขณะนี้ผมว่ามันง่ายเกินไปนะครับ เมื่อมีการอบรมแล้วการขอทำใบเพื่อคล้องสายบีด เพียงแค่เสนอผลงานและทำการสัมภาษณ์ก็ใช้ได้แล้ว ในสมัยผมต้องรับการตรวจจริงๆจึงจะได้ถือเป็นมาตรฐานการอบรม แต่ปัจจุบันผมว่าได้มาง่ายเกินไป

ขอบคุณ ครับ การได้มาซึ่ง บีด ๒ ท่อน ขึ้นอยู่กับ ๒ เงื่อนไขดังนี้ ๑. ผบ.ลส.ที่มีกองลูกเสือ คือ ครูและผู้บริหาร ที่อยู่ในสถานศึกษา ต้องผ่านการตรวจขั้นที่ ๕ เท่านั้น ๒. ผบ.ลส.ที่เป็นบุคลากรประจำสำนักงานหรือบุคลากรอื่นๆ(ผู้ให้การสนับสนุน บุคลากรอื่นที่ไม่ได้อยู่ในสถานศึกษา สมัครไปอบรมATC ด้วยความศรั ทธา) ต้องรายงานเสนอขอผลงานตามแบบที่กำหนด ปัจจุบัน มีการอบรมหลักสูตรผู้นำ ขั้นความรู้ชั้นสูง ATC เดิมเป็นหลักสูตรพิเศษสำหรับ รร.นายอำเภอ แต่มีการแพร่หลายในกลุ่มผู้บริหารในอบต.(มีบางคนแอบอ้างไปอบรมร่วม) อบรมเสร็จแล้วได้ บีด ทันที่ ผู้ที่ผ่านหลักสูตรนี้ ไม่มีสิทธิ์ไปอบรม ๓ ท่อน ถ้าจะไป ๓ ท่อนให้ได้ ท่านต้องย้อนไปอบรม BTC และ ATC เต็มหลักสูตรใหม่

อย่าเอาอะไรมากกับการประเมินเลย (ผมไม่ได้ดูถูกนะ) บางที่อบรมโรงแรมนั่งกินกาแฟสบายใจ อบรมเสร็จได้วู้ดแบดจ์เลยก็มี

โดยเฉพาะพวก 3 ท่อนน่ะ 2 ท่อนยังไม่เท่าไหร่แตาก็มีเหมือนกัน อย่าให้บอกเลยว่าเป็นจังหวัดอะไร ไม่อยากบอกว่าแถวอีสานกับแถว

ภาคใต้น่ะครับ ภาคอื่นไม่รู้มีมั้ย สืบดูเอาเองก็แล้วกัน

โถ .... ดุเหมือนน้อยใจในวาสนา

จงยินดี เมื่อเห็นคนอื่นเขาได้ดี นั่นคือวาสนาของเขา

ผมก็รู้เหมือนที่ท่านรู้ แต่คุณค่าของคนไม่ได้อยู่ตรงนั้น  

อะไรที่รู้ว่าเหม็น  ก็อย่าเอานิ้วไปแตะ  เดี๋ยวจะเหม็นติดนิ้ว  แล้วอยู่ไปทำเหม็นเสียเอง   นี่เรากำลังหลงในลาภ ยศ สรรเสริญ ผมชอบตอนหนึ่งของพระราชดำรัช ร.๙ ที่ตรัสว่า

" ลูกเสือสำรอง  ย้อมทำตามลูกเสือรุ่นพี่  ครูย่อมเป็นแบบอย่างที่เด็ก จะทำตาม ครูทำอย่างไร เด็กก็ทำอย่างนั้น ...... คนที่เขาเกลียดลูกเสือ ก็เพราะเห็นความไม่ดีของครู "... ท่านเป็นครูแบบไหน ภูมิใจกับคำว่าครู หรือ คู หรือ อาจารย์ หรือ ด๊อกเตอร์ หรือ.....?????....

ขอบคุณครับ  ท่านที่   เล่าสู่กันฟัง

  

ถึงเราจะเป็น  เต่าล้านปีที่ดูเหมือนช้า ล้าหลัง  แต่ก็มั่นคง  ยืนนาน  และรู้จริง


ดีกว่าพวกมาไว  เคลมไว  ไปไว.....๕๕๕๕๕๕๕

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท