เรียนรู้จากกีฬากับ "ดร.จีระ" : สยามกีฬา


ผมอยากให้คอลัมภ์นี้มีประโยชน์ โดยผมจะเน้นมุมมองและบทเรียนของผมเกี่ยวกับกีฬา

สวัสดีครับชาว Blog,

           ขอต้อนรับสู่ Blog เรียนรู้จากกีฬากับ "ดร.จีระ" ซึ่งผมจะเขียนเป็นประจำทุกวันพุธทางหนังสือพิมพ์สยามกีฬาครับ ท่านผู้ใดสนใจมุมมองด้านกีฬาผ่านการวิเคราะห์ ผมขอเชิญอ่าน และร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองผ่าน Blog นี้นะครับ สำหรับวันที่ 16 กรกฎาคม 2551 ถือเป็นวันแรกสำหรับคอลัมภ์ที่ผมเขียนให้สยามกีฬาครับ  ผมจึงขอนำมาฝากชาว Blog ได้อ่าน และร่วมแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมครับ ผมหวังว่าคอลัมภ์นี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการสร้างสังคมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นต่อไปครับ

สวัสดีกับท่านผู้อ่านครั้งแรก

 

ผมภูมิใจมากที่คุณ ระวิ  โหลทอง  กรุณาให้ผมมาทำงานเป็นแนวร่วม เรื่องกีฬา , หลายคนอาจจะไม่รู้จักผมเรื่องกีฬา แต่บรรดาเพื่อนรุ่นน้อง รุ่นพี่ ทั้งเทพศิรินทร์  และสมัยที่เรียนที่ New Zealand หรือสมัยที่เป็นอาจารย์ธรรมศาสตร์ ทราบว่าผมเป็นบุคคลที่ชอบกีฬาเป็นชีวิตจิตใจ และติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด รายการวิทยุของผม (รายการ Human Talk 96.5 MHz) และ TV TNN  2 ก็มีโอกาสพูดถึงกีฬาบ่อย ผมอ่านสยามกีฬาทุกวันมาโดยตลอด พร้อมกับอ่าน Bangkok Post , Nation  , และ Herald Tribune การอ่าน Web ของผมก็เน้นอ่านเรื่องกีฬาเสมอ พอ Happy ความรู้ต่างๆ ก็เพิ่มขึ้น

อยากให้คอลัมภ์ในวันนี้ มีประโยชน์ โดยจะเน้นมุมมองและบทเรียนของผมเกี่ยวกับกีฬา ในแต่ละอาทิตย์ก็จะแบ่งปันกัน และจะสร้าง Blog เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กัน แต่เป้าหมายผมสูง อยากให้กีฬาช่วยชาติไทยในหลาย ๆ เรื่อง

ให้คนไทยภูมิใจในประเทศของเรา มีศักดิ์ศรี เพราะคนในโลกสนใจกีฬา เช่น รู้จักเปเล่ มากกว่าประธานาธิบดีของบราซิล หรือเมื่อพูดถึงอาเจนตินา ก็คงยังพูดถึง มาราโดนา

อยากจะทำวิจัยเสนอแนะว่า กีฬา ช่วยการจ้างงานสักกี่คน หลักสูตรมหาวิทยาลัยจะสร้างบุคลากรทางด้านกีฬาได้แค่ไหน

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกีฬา ซึ่งวันนี้เป็นธุรกิจทางด้านสาขาบริการ อนาคตเมืองไทย อาจจะมี GDP จากสาขากีฬามากขึ้นเป็น 2% 3% หรือ 5% เพราะโอกาสสูง ดูมูลค่าของสโมสร Real Madrid หรือ แมนยู ซึ่งมีสูงมาก อยากให้คนนอกวงการที่ไม่เน้นการพนันมาร่วมหารือด้วย

อยากให้เยาวชน มองกีฬาเป็นอาชีพ มีรายได้ดี  มีชีวิตที่มีเกียรติมีศักดิ์ศรี  อย่างยั่งยืน

อยากให้กีฬาเป็นการทูตภาคประชาชนเชื่อมโยงกับต่างประเทศได้อย่างดี อยากให้เราบริโภคกีฬาต่างประเทศให้พอดี แต่ คุ้มทุน ไม่ใช่ มีแต่โปรแกรมต่างประเทศ คือเสียมากกว่าได้  เช่น บ้าคลั่งฟุตบอลอังกฤษ จนไม่ดูฟุตบอลไทย เช่นนี้ ผมไม่เห็นด้วย  ผมไปดูฟุตบอลไทยเสมอ

ก่อนอื่นนอกจากBlog (www.chiraacademy.com, www.gotoknow.org/blog/chiraacademy) แล้ว ผมจะฝากเบอร์             E-mail :[email protected] และเบอร์ที่ Office  โทร.  0-2884-8814, 0-2884-9420-1 หากจะติดต่อผมที่ Office จะให้คุณเอราวรรณ รับเรื่องไว้  

ผมเริ่มเขียนต้นฉบับก็มีข่าวดีมาก คือ Scottish Open เหลืออีกแค่ 1 วัน คุณธงชัย ใจดี คะแนนอยู่ที่ - 7  ห่างผู้นำอยู่ 3 แต้ม คืนนี้ ผมก็จะดูว่าคุณธงชัย จะยืนระยะได้หรือไม่ ถึงไม่ได้ที่ 1 แต่ 1 ใน 5 ก็ดีแล้ว ภูมิใจในตัวคุณธงชัยมาก  ขอพูดถึงความสำเร็จของ Tiger Woods ที่ชอบ Tiger เพราะ

-          เป็นลูกครึ่งไทย

-          เก่งมาก ๆ

ที่ไม่ชอบก็มี ในเรื่องที่เขาไม่มีความรักชาติไทยเลย  ดูแล้ว Tiger Wood จะขาดความเข้าใจวัฒนธรรมไทยมาก ๆ

ถ้าผมเป็นคนมีอำนาจทางกีฬา ผมจะใช้ Tiger เพื่อสร้าง Brand ของประเทศไทย (ได้ข่าวว่าจะใช้แต่แพง)  แพงแค่ไหนก็ต้องทำ เพราะเขามีภาพลักษณ์ที่ดี และเป็นลูกครึ่งไทย

วันนี้ บทเรียนที่จะพูดถึงเขามาจากหนังสือ ชื่อ “How Tiger does it” เขียนโดย Brad Kearns ขอขอบคุณ McGraw Hills ที่รู้ว่าผมชอบและสนใจหนังสือเล่มนี้ ส่งมาให้ผมได้อ่าน หนังสือเล่มนี้เห็นว่า Tiger ประสบความสำเร็จเพราะอะไร ผู้เขียนเป็นนักกีฬาอาชีพที่ติดอันดับ 1 ใน 3 ของโลก ทางด้านปัญจะกรีฑา  และชอบเขียน ชอบถ่ายทอดให้แก่ผู้สนใจ เขาได้ติดตามบทบาทของ Tiger มาตลอด ตั้งแต่ Tiger เริ่มเล่นที่ California ตอนใต้  เขาได้วิเคราะห์ความสามารถของ Tiger ในหลายประเด็น

ประเด็นแรกคือ Focus การทำอะไรที่มุ่งมั่นไปสู่เป้าหมาย ในประเด็นนี้ผมเลือกจุดสำคัญ 2-3 เรื่อง ของ Focus :

จะ Focus สำเร็จต้องสร้างบรรยากาศให้เกิดการแข่งขันที่เป็นเลิศ  เช่น Tiger จะชอบเล่นระดับ Grand Slam  เพราะแรงบันดาลใจสูง

และประเด็นสำคัญ ก็คือ เมื่อมีบรรยากาศของการแข่งขันที่เป็นเลิศแล้ว Tiger มักจะเตรียมพร้อมเสมอ เช่น ฝึกหัดอย่างมีวินัย คือ ไม่ประมาท ไม่ใช่เก่งแล้ว จะเล่นอย่างไรก็ชนะ Tiger บ้าคลั่งการซ้อม และฟิตร่างกายตลอดเวลา

ทำงานอย่างมุ่งมั่น ที่สำคัญคือ ต้องพร้อมที่จะแก้ปัญหาและตัดสินใจที่ยาก และต้องควบคุมวินัยของตัวเองอยู่ตลอดเวลา ผมว่า Tiger เก่งเรื่องควบคุมวินัย ซึ่งถ้าจะเปรียบกับนักกีฬาที่เก่ง แต่ไม่ถึงจุดสูงสุด ที่ผมติดตามก็คือ Roddick กับ Phil Mickelson ทั้งสองคน เจอเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ก็จะไม่มีวินัยในการควบคุมตัวเอง

ประเด็นที่ 2 ที่ผู้เขียนได้เน้น ก็คือ เรื่องการมีค่านิยมที่เน้นความสมดุลระหว่าง Work / play คือ Tiger  ไม่ใช่ คนที่มุ่งมั่นในมิติเดียว เราจะสร้างความสมดุลให้แก่ชีวิตของเรา แบบเล่นเก่งและมีความสุขในการเล่น นอกเวลาการเล่น ก็มีสังคม มีเพื่อน มีครอบครัว ที่อบอุ่น ซึ่งในประเทศไทยจะเห็นคนบางคน เน้นงานจนไม่มีเพื่อน  บางคนเน้นเพื่อนแต่ไม่เก่งเรื่องงาน

การเล่น  golf ต้องสร้างความสุขให้เขาด้วย เรื่องนี้ ผมกับคุณหญิงทิพาวดี พูดไว้บ่อยก็คือ การทำงานอย่างมีความสุข

อย่ามีเป้าหมายที่จำกัด  ผู้เขียนใช้คำว่า  Horizon (ขอบฟ้า) คือแปลว่า จุดสูงสุด คืออะไรก็ได้ที่ดีกว่า ที่เคยทำมาแล้ว ตัวอย่างที่เห็นก็คือ ภราดร ขึ้นระดับที่ 9 ของโลกแล้ว แต่ไม่ไปสูงกว่านั้น เพราะไม่มีจุดที่กระตุ้นที่ดี  ความจริง จุดที่ภราดรผิดพลาดก็คือ โลกทัศน์ของภราดรและพ่อของเขาแค่เก่งระดับโลกแต่ระดับโลกมีแบบ Federer, Samprasและ Agassie   ซึ่งต้องไปให้ถึงแบบอันดับ 1 หรือชนะ Grand Slam  ครอบครัวมองว่าการจ้าง Coach แพงไม่คุ้ม แต่บางคนบอกว่าคุ้ม ควรดูที่มูลค่าเพิ่มที่จะได้ เช่นชนะ Wimbledon ได้เงินเป็นพันล้าน Coach แค่ 50 ล้านถึงจะแพงแต่ก็คุ้ม

สุดท้าย เรื่องความสมดุลระหว่างงานกับชีวิต ก็คือ ความสมดุลไม่ใช่แค่ขยันฝึกซ้อม แต่พอเจอปัญหาต่าง ๆ ต้อง Work Smart มากกว่า Work Hard จะเห็นได้ว่า Tiger มักจะใช้ Judgement (การตัดสินใจ) ที่ดีในการแก้วิกฤติของการเล่น golf เพราะฉะนั้นจึงเป็นจุดสำคัญว่า Work hard / Play hard ไม่ใช่แค่ Hard แต่ต้อง  Smart  ด้วย

 

                                                      จีระ  หงส์ลดารมภ์

                                                    [email protected]

 

อ่านบทความย้อนหลัง โปรดคลิกลิ้งค์นี้

 

สวัสดีกับท่านผู้อ่านครั้งแรก (16 ก.ค. 51)

http://www.siamsport.co.th/Columntalk506.html

 

ควันหลงจากบทความครั้งแรก (23 ก.ค. 51) 

http://www.siamsport.co.th/Columntalk528.html

 

ฟุตบอลอังกฤษ/โอลิมปิกที่จีน (30 ก.ค.51) 

http://www.siamsport.co.th/Columntalk529.html

 

ผมไม่เข้าใจ Michelle Wei (6 ส.ค. 51)

http://www.siamsport.co.th/Columntalk547.html

 

เหรียญทองถวายสมเด็จฯ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา  (13 ส.ค. 51)

http://www.siamsport.co.th/Columntalk569.html

คำสำคัญ (Tags): #สยามกีฬา
หมายเลขบันทึก: 194667เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2008 00:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 09:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (53)

เรียน อาจารย์ ดร.จีระ

คอลัมน์ใหม่"เรียนรู้จากกีฬากับดร.จีระ" ในสยามกีฬา นับเป้นมิติใหม่สำหรีบวงการกีฬาที่ทำให้นึกถึงข้อความในเพลงกราวกีฬาที่ว่า"กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ..ทำคนให้เป็นคน" อาจารย์จับคู่ได้ยอดเยี่ยมมากระหว่าง กีฬาและคน อาจจะมองได้ว่า กีฬาสามารถสร้างคนให้เป็นคน หรือกลับกัน คนที่เป็นคนสามารถสร้างให้เป็นนักกีฬาได้

จึงอยากให้ผู้ใหญ่เห็นความสำคัญของกีฬาว่าสามารถสร้างเด็กและเยาวชนให้เป็นคนที่ดีได้ และสำหรับผู้ใหญ่ที่ต้องการให้เด็กและเยาวชนเป็นนักกีฬาที่ประสบความสำเร็จก็จะต้องสร้างเด็กและเยาวชนนั้นให้เป็นคนที่ดีก่อน สุดท้ายที่เป็นห่วงคือกระแสสังคมผิดทางที่พยายามสร้างเด็กและเยาวชนให้เป็นนักกีฬาด้วยมุ่งหวังว่าถ้าประสบความสำเร็จแล้วจะสามารถทำรายได้มหาศาล ขอให้อาจารย์ถ่ายทอดความรู้เพื่อสร้างคนและกีฬาต่อไปค่ะ น่าสนใจมาก

สุดา นันทวิทยา

ถึงคุณสุดา,

ขอบคุณครับที่ติดตามคอลัมภ์นี้ และร่วมแสดงความคิดเห็นเข้ามา ผมชอบคำว่าทำคนให้เป็นคนเพราะเป็นข้อความที่มึความหมายดีมาก ขอให้คุณสุดาติดตามงานของผมต่อไปเรื่อย ๆ นะครับ

ขอบคุณครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

ถึง ชาว Blog ทุกท่าน

ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่ผมเขียนบทความในสยามกีฬา ฉบับ วันพุธที่ 23 กรกฎาคม 2551 จึง ขอนำมาให้ท่านผู้อ่าน ติดตามคอลัมภ์ใน Blog ด้วยนะครับ

ควันหลงจากบทความครั้งแรก (ตีพิมพ์ในสยามกีฬา ฉบับ วันพุธที่ 23 กรกฎาคม 2551)

ขอบคุณสยามกีฬาที่กรุณาให้เกียรติผมลงบทความ เรียนรู้จากกีฬา กับ ดร.จีระตีพิมพ์เป็นครั้งแรก เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ขอให้ท่านผู้อ่านติดตามว่าจะไปรอดได้กี่น้ำ ดีหรือไม่ดีอยู่ที่ผู้อ่านเท่านั้น เราก็จะเช็ค Rating ตลอด คราวที่แล้ว ผมเปิด Blog ใน http://gotoknow.org/blog/chiraacademy มีคุณสุดา นันทวิทยา เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2551 เวลา 01.34 ว่า

คอลัมน์ใหม่ "เรียนรู้จากกีฬากับดร.จีระ" ในสยามกีฬา นับเป็นมิติใหม่สำหรับวงการกีฬาที่ทำให้นึกถึงข้อความในเพลงกราวกีฬาที่ว่า"กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ..ทำคนให้เป็นคน" อาจารย์จับคู่ได้ยอดเยี่ยมมากระหว่าง กีฬาและคน อาจจะมองได้ว่า กีฬาสามารถสร้างคนให้เป็นคน หรือกลับกัน คนที่เป็นคนสามารถสร้างให้เป็นนักกีฬาได้ จึงอยากให้ผู้ใหญ่เห็นความสำคัญของกีฬาว่าสามารถสร้างเด็กและเยาวชนให้เป็นคนที่ดีได้ และสำหรับผู้ใหญ่ที่ต้องการให้เด็กและเยาวชนเป็นนักกีฬาที่ประสบความสำเร็จก็จะต้องสร้างเด็กและเยาวชนนั้นให้เป็นคนที่ดีก่อน สุดท้ายที่เป็นห่วงคือกระแสสังคมผิดทางที่พยายามสร้างเด็กและเยาวชนให้เป็นนักกีฬาด้วยมุ่งหวังว่าถ้าประสบความสำเร็จแล้วจะสามารถทำรายได้มหาศาล ขอให้อาจารย์ถ่ายทอดความรู้เพื่อสร้างคนและกีฬาต่อไป น่าสนใจมาก

ท่านผู้อ่านคงเห็นแล้วว่า กีฬา กับการพัฒนา คน เป็นเรื่องใหญ่ ผมจะต้องให้กีฬา สร้างทรัพยากรมนุษย์ที่ดีของประเทศไทยให้ได้ โดยเฉพาะคุณสุดา จะเน้นสร้างให้เยาวชนเป็นคนดีวิธีการของผม “outreach”คือสื่อไปถึงคนจำนวนมาก ขอบคุณ คุณระวิ ที่ส่งต่อไป (outreach) ยังผู้อ่านอีกจำนวนมาก ทั้งอยู่นอกวงการแคบ ๆ ของผม ผมเห็นด้วยกับคุณสุดาว่า สื่อก็ต้องเน้นกีฬาสร้าง สุขภาพจิต , สุขภาพกาย สร้างเยาวชนที่เป็นคนดี อย่าเน้นเฉพาะเรื่องรายได้มหาศาลเท่านั้น ควรจะให้เกิดความสมดุลในชีวิต มีชีวิตที่มีความสุขและยั่งยืน

การเรียนหนังสือในต่างประเทศ เขาจะเน้นมากเรื่องการออกกำลังกายคู่กับการเรียน อย่างในโรงเรียนประจำอังกฤษ บ่าย 2 โมง เลิกเรียนแล้ว นักเรียนส่วนมากจะเล่นกีฬา โรงเรียนวชิราวุธของไทย ก็ลักษณะเดียวกัน จะเห็นว่านักเรียนเก่าออกมาก็จะรักสามัคคีกัน เทพศิรินทร์ สวนกุหลาบ ก็เช่นกัน นักเรียนส่วนมากจะมีชีวิตที่สมดุล กีฬาจะเป็นปัจจัยสำคัญของการใช้ชีวิตในโรงเรียนพอ ๆ กับการเรียน นอกจากนี้ ผมเห็นว่าเรื่องการสวดมนต์ และการเรียนศีลธรรม ก็มีความสำคัญ

ปัจจุบันการเล่นกีฬาของเด็กเทพศิรินทร์ และสวนกุหลาบ ก็ค่อย ๆ หายไป เด็กรุ่นใหม่จะบ้าสอบเข้า บ้าเรียนพิเศษมากเกินไป นักกีฬาก็เล่นแต่กีฬาอย่างเดียว

ผมเขียนจริง ๆ เช้าวันอาทิตย์ กว่าจะจัดทุกอย่างสำเร็จ ก็ส่งโรงพิมพ์ช่วงบ่าย ๆ วันจันทร์ ดังนั้น ความสดครั้งแรกของข้อมูลก็แค่วันอาทิตย์เช้าเท่านั้น ต้องขออภัยด้วย ผมชอบการวิเคราะห์ข้อมูลสดกว่านี้ แต่ยังทำไม่ได้

จากการเปิดตัวบทความ ผมพูดผิดไปถึงตัวผมว่าสนใจกีฬา ควรจะพูดว่าเป็นนักกีฬาด้วย และสนใจกีฬาทีหลัง จริงแล้ว ผมประสบความสำเร็จในกีฬาประเภทเดียวก็คือ ฟุตบอล อาจจะได้เลือดมาจากพ่อ คือ นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ แต่เล่นกีฬาทุกชนิด และสำคัญที่สุดก็คือ ได้มาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ ผมเล่นฟุตบอลตัวจริงทุกรุ่น ผมเรียน 8 ปี เล่นตัวจริงทุกรุ่น แต่จบ 8 ปีแล้ว ไม่ได้อยู่เมืองไทยเลยไปเล่นให้ทีมตัวจริงที่มหาวิทยาลัย Victoria University 3 ปีซ้อน และระหว่างนั้นก็ได้รับเลือกเป็นตัวจริงของทีมระดับภาคคล้าย ๆ ภาคเหนือ ภาคใต้ ของนิวซีแลนด์ กีฬาอื่น ๆ เล่นได้แต่ไม่เข้าท่าเท่าฟุตบอล เช่น กอล์ฟ และเทนนิส แต่ชอบดูและชอบวิเคราะห์ ปัจจุบันที่ทำมาก ๆ ก็คือ Jogging เป็นประจำทุก ๆ วัน ออกกำลังกายประจำก็สุขภาพค่อย ๆ ดีขึ้นเป็นลำดับ

บทเรียนเรื่องที่อยากจะเล่าให้ฟังวันนี้ คือ เรื่องคนที่ตัดสินใจออกกำลังกาย ได้สำเร็จ คือ มีวินัยพอ และหาเวลาให้พอ แต่มีคนรุ่นใหม่ ๆ ที่ไม่ออกกำลังกายอีกเป็นจำนวนมาก มักจะพูดว่าไม่มีเวลา ผมอยากเรียนให้ทราบว่าในหมู่บ้านที่ผมอยู่ปัจจุบัน ผมมีอิทธิพลต่อลูกบ้านกว่า 10 คน ที่หันมาออกกำลังกายคล้ายผม โดยผมเป็นตัวอย่าง เห็นผมทำอยู่ทุก ๆ วัน ผมเป็นมนุษย์ที่ไม่ชอบวิ่งบนเครื่องวิ่งในบ้าน และไม่ชอบขับรถไปออกกำลังกายแบบเพื่อนผมแถว โปโลคลับ ตอนเช้า ๆ ซึ่งมีก๊วนที่ผมรู้จัก เช่น พี่โกร่ง (วีระพงษ์ รามางกูล) พี่ JJ (จุลจิต บุณยเกตุ) หรือ คุณมนู อรดีดลเชษฐ์ ซึ่งออกกำลังทุก ๆ เช้าที่โปโลคลับ พี่ JJ เป็นรุ่นพี่ผมที่เทพศิรินทร์ เขาเดิน และ Jogging ทุก ๆ เช้าที่โปโลคลับ เขาถึงทำงานสำเร็จ เพราะเขามีพลังร่างกายแข็งแรง ทำงานได้อย่างไม่เหน็ดเหนื่อย

อาทิตย์ที่สองผมขอต่อจากอาทิตย์แรก ก็คือ เรื่อง Tiger ผมสรุปเมื่ออาทิตย์ที่แล้วว่า เขาเก่งเพราะ

- Focus ได้ดี

- Work hard / Play hard

แต่ในหนังสือที่ผมพูดถึง ปัจจัยที่สามที่ทำให้ Tiger ประสบความสำเร็จ ก็คือ การมีชีวิตที่สมดุล ซึ่งเรียกว่า Balance Life ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้คนไทยเดินสายกลาง คือ อย่าทำอะไรที่มากเกินหรือ น้อยเกินความพอดี เช่น เก่งเรื่องมุ่งมั่นความเป็นเลิศไม่พอ ต้องมีชีวิตที่พอดีและมีสุขที่ดำรงชีวิตอยู่ได้ เรื่องความสุขในการทำงาน ก็จำเป็นเหลือเกิน เพราะเมื่อวันใดเริ่มล้า แปลว่าผมทำงานไม่สำเร็จ ก็ต้องพักผ่อนให้พอ อย่าทำเพราะจำเป็นต้องทำ ชีวิตของคนเรา ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพื่อให้เห็นภาพว่า Tiger เน้นชีวิตที่สมดุล4 เรื่อง

สมดุลทางด้านร่างกาย (Physical Balance) ผู้เขียนเน้นว่า Tiger จะมีทั้ง Stress + Rest = Adaptation แปลว่าการปรับตัวที่เหมาะสม คือ เล่น Goft ต้องหนัก อาจจะเครียดบ้าง แต่ต้องพักผ่อนให้พอเพียง ถึงจะเกิดพลังในการเล่นให้สำเร็จ

ที่สำคัญ คือ Tiger มี Spiritual balance แปลเป็นไทยยากมาก แต่อาจจะหมายถึง จิตใจ และจิตวิญญาณ ที่พอดี และสมดุล ซึ่งฝรั่งอาจจะมีน้อยกว่าคนเอเชีย Spiritual เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น แต่มีความสำคัญสูง

อันที่สามคือ Competitive Balance คือการแข่งขัน ก็คือ ความสมดุลของชีวิต มีคู่แข่งที่เก่ง ทำให้เรามีความสามารถเป็นเลิศ ไม่กลัวการแข่งขัน ชอบการแข่งขัน

สุดท้ายก็คือ Emotional Balance แปลว่าการควบคุมอารมณ์ เป็นสิ่งจำเป็น สำหรับนักกีฬาที่เป็นอัจฉริยะอย่าง Tiger

ผมแอบดูผลงานย้อนหลังของผม พบว่ามีที่ผมเขียนถึง Tiger ในบทความอื่นหรือไม่ ปรากฏว่าในวันที่ 21 มิถุนายน 2548 ผมได้เขียนถึง Tiger ในบทความของผมในหนังสือพิมพ์แนวหน้า ช่วงที่ Tiger ชนะ US Open Grand Slam ผมอดชื่นชมเขาไม่ได้ เพราะขนาดหัวเข่าเจ็บ คุณ Tiger ก็ยังชนะ โดยช่วงนั้น ยังไม่เคยอ่านหนังสือของคุณ Kearns ที่ผมนำมาวิเคราะห์ในบทความนั้น ผมวิเคราะห์ Tiger ในแนวของผมเอง 4 เรื่อง

head ใช้สติปัญญาในการแก้วิกฤติ

Heart จิตใจนิ่ง

Guts สำคัญมากในการแก้ปัญหาและอดทนอดกลั้น

Execution คือทำให้สำเร็จ

พอมาเขียนบทความเรื่อง Tiger ในสยามกีฬา จะเห็นได้ว่าการวิเคราะห์ของผมกับคุณ Kearns มีอะไรน่าสนใจคล้าย ๆ กัน

บทเรียนของ Tiger ก็คือ กีฬา ไม่ใช่ดูเฉยๆ เท่านั้น ควรจะวิเคราะห์ด้วย เพราะชีวิตประจำวันของคนไทยก็เหมือนเล่นกีฬาทุกวัน ต้องเอาตัวให้รอดในสถานการณ์ที่อันตราย และมีความเสี่ยงตลอดเวลา จำเป็นอย่างมาก เพราะปัจจุบันเรามีคู่แข่ง เช่น เงินเฟ้อ ราคาน้ำมันขึ้น ความไม่แน่นอนทางการเมือง การแข่งขันกับจีนและอินเดีย การไม่ใฝ่รู้จะนำสู่ความไม่ทันโลก ต้องนำเอาศักยภาพของ Tiger บางอย่างมาใช้บ้าง คนไทยก็อาจจะอยู่รอดปลอดภัยในการดำรงชีวิตและการทำงาน กีฬาจะเป็นบทเรียนทีดีสำหรับชีวิต

จีระ หงส์ลดารมภ์

[email protected]

สวัสดีครับดร.จิระ และสวัสดีชาว blog นี้ทุกท่าน

ผมเป็นคนหนึ่งครับที่ชอบเล่นกีฬา และเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าเราสามารถเรียนรู้หลักในการดำเนินชีวิต ส่วนตัวและการงานได้จากการเล่นกีฬาครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสุขภาพ เรื่องของความอดทน ฝึกฝนมุ่งมั่น เรื่องของกลยุทธในการเอาชนะในการแข่งขัน เรื่องของการทำงานเขาขากันเป็นทีม เรื่องของการให้อภัยกันหากเกิดความผิดพลาดในการแข่งขัน แม้นในเรื่องการทำใจให้ยอมรับกับความอ่อนด้อยพ่ายแพ้ และกลับไปฝึกฝนใหม่เพื่อการแข่งขันในคราวต่อไป อย่างที่เขาว่า รู้แพ้ รู้ขนะ รู้อภัย ผมเล่นกีฬา ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เก่งจนเป็นนักกีฬาทีมโรงเรียน หรือ มหาวิทยาลัยก็ตาม ตอนอยู่โรงเรียนมัธยมสาธิตจุฬาฯ ผมมักจะเล่นบาสเก็ตบอล ถึงแม้ว่ารูปร่างจะไม่อำนวยให้เพราะเป็นคนขาดแคลนความสูง มักจะชอบซ้อมชูทห่วงระยะไกลๆ แข่งกับพี่ชาย และแข่งกับเพื่อนตอนพักเที่ยง หรือตอนเลิกเรียนแล้ว และยังชอบเล่นวอลเล่ย์บอลมาก อันนี้เล่นมาตลอดจนกระทั่งทำงานแล้วก็ยังเล่นกับพี่ๆน้องๆที่ที่ทำงานอยู่หากมีเวลา กีฬาแต่ละชนิด มีลักณะกฏเกณฑ์ที่ต่างกัน และเราสามารถเรียนรู้ปรัชญาต่างๆกันจากกีฬาต่างชนิดกันได้ ผมเองในปัจจุบันได้ค้นพบตัวเองว่ากำลังอินกับการเล่นกีฬาเรือใบอย่างมากครับ ใครที่ไม่เคยสัมผัสกับกีฬาประเภทนี้อาจจะเห็นว่าเป็นกีฬาไฮโซ เล่นยาก หรืออะไรทำนองนั้น ผมเองก็คิดอย่างนั้นก่อนหน้านี้ แต่ก็มีความสนใจใคร่จะลองกีฬาประเภทนี้มานานแล้วจนวันหนึ่งโอกาสที่ให้ได้เข้ามาสู่วงการกีฬานี้เมื่อราว 3 - 4 ปีที่แล้ว ผมจะไม่เล่าในรายละเอียดว่าผมมาเข้าสู่วงการกีฬาเรือใบนี้ได้อย่างไร แต่อยากจะเล่าในเรื่องที่ว่าผมได้เรียนรู้อะไรจากกีฬานี้บ้าง และอยากจะได้เชิญชวนผู้อ่านให้ลองเล่นกีฬาต่างๆที่ยังไม่เคยลอง อย่างเช่นกีฬาเรือใบถือว่าเป็นการค้นหาตัวเอง ผมได้อะไรจากกีฬาเรือใบบ้าง กีฬาเรือใบเป็นกีฬาที่นอกจากจะต้องเข้าใจหลักการ และต้องฝึกฝนการใช้เครื่องมือ คือเรือใบแล้ว เนื่องจากว่าเรือใบไปด้วยกรแสลม และกระแสน้ำซึ่งเป็นสิ่งที่เราควบคุมมันไม่ได้ แต่ต้องเขาใจว่าจะใช้ประโยชน์จากมันอย่างไร กีฬาเรือใบเป็นกีฬาที่ต้องใช้การวางแผนล่วงหน้า ต้องมีการวางกลยุทธ ให้อยู่ในตำแหน่งที่ได้เปรียบกว่าเรือลำอื่น ต้องแม่นในกฏกติกา เพราะเวลาแข่งขันจะมีเรือรวมแข่งอยู่หลายสิบลำ ซึ่งมีโอกาสกระทบกระทั่งกันมาก นอกจากนี้เรือใบประเภท keel boat อาจจะใช้คนทำงานเป็นทีม อย่างเช่นเรือใบประเภท Platu ใช้ผู้เล่น 5 คนต่อลำ แต่ละคนมีตำแหน่งหน้าที่ต่างๆกันซึ่งต้องทำงานสัมพันธ์กันอย่างดีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไม่ให้เกิดการผิดพลาดได้ เพราะหากพลาดในจังหวะและโอกาสที่เราได้เปรียบ สถานการก็จะกลายเป็นเสียเปรียบทันที นั่นหมายถึงการฝึกฝนทำงานเข้าขากันอย่างดีในทีม และการวางแผนวางกลยุทธที่ดี โดยต้องดูทางลม ทางกระแสน้ำ และการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของลม และกระแสน้ำ ใครรู้และคาดการได้ดีกว่า ก็จะวางแผนการแข่งขันได้ดีกว่า และนำไปสู่โอกาสความได้เปรียบคู่แข่ง แต่แน่นอนว่ามันก็มีความไม่แน่นอนในเรื่องของการเปลี่ยนแปล

ของทิศทางลม และน้ำ กีฬาเรือใบจึงเป็นกีฬาที่ใช้ความสามารถของนักกีฬาส่วนหนคึ่ง และความเสี่ยงหรือความไม่แน่นอนที่นักกีฬาควบคุมไม่ได้อีกส่วนหนึ่ง ด้วย อยู่ที่ว่าเมื่อเราประสบกับความไม่แน่นอนหรือความเสี่ยงที่ทำให้เราเสียเปรียบแล้วนั้น เราจะแก้ไขสถานการณ์ประคับประคองกันไปอย่างไรให้ดีที่สุดได้อย่างไร กำลังใจของทีมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ใช้สติ และสมาธิของทุกคนในทีม ผมชอบที่เรือใบมันไปโดยแรงของธรรมชาติ แสดงถึงความฉลาดของคนที่ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ ได้ใกล้ชิดกับน้ำ กับทะเล ผมชอบเวลาสิ้นสุดการแข่งขันของวัน นักกีฬาจะมาร่วมวงสนทนา กินเลี้ยงกัน วิภาควิจารณ์ถึงการแข่งขัน ให้คำแนะนำซึ่งกันและกันในทีม และระหว่างทีม เพื่อจะได้ปรับปรุงให้ดีขึ้นในการแข่งขันครั้งต่อไป กินเลี้ยงกันกับกลุ่มคนที่ชอบสิ่งเดียวกัน รสชาติอาหารทะเลที่อร่อย และบรรยากาศยามเย็นที่มีลมเย็นๆ และดูพระอาทิตย์น้ำ รอวันต่อไปที่จะมีโอกาสได้ปรับปรุงตัวเองในการแข่งขันครั้งต่อไป

ผมว่ากีฬาเรือใบก็เป็นกีฬาหนึ่งเช่นกันที่ต้องใช้ head heart guts และ execution อย่างที่ท่านดร.จิระได้เขียนไว้ในบทความข้างต้น ผมเขียนมายืดยาวก็อยากให้ผู้อ่านได้มีโอกาส ลองสัมผัสกับกีฬาเรือใบดูนะครับ แล้วจะเข้าใจครับว่าได้เรียนรู้อะไรต่างๆมากมายจากกีฬานี้มากครับ

กรธรรม สถิรกุล

เรียนอาจารย์ ดร.จีระ และชาว blogหัวใจนักกีฬาทุกท่าน

ต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ดร.จีระอย่างยิ่งที่ให้เกียรติคัดข้อคิดเห็นของดิฉันลงในคอลัมน์ "เรียนรู้จากกีฬากับดร.จีระ" ในสยามกีฬาฉบับ วันพุธที่ 23 กรกฎาคม 2551 และต้องขอบคุณ คุณระวิ โหลทอง ที่มีวิสัยทัศน์ สร้างสิ่งดีๆ ให้กับสังคมกีฬาบ้านเรา เปิดคอลัมน์ที่เป็นประโยชน์ ดิฉันพบว่าโดยส่วนใหญ่แล้วผู้ที่มีหัวใจนักกีฬามักมีพิ้นฐานจิตใจที่ดีงาม มีความยุติธรรมและมีภูมิต้านทานต่อการเปลี่ยงแปลงในสังคมได้ดี เพราะยอมรับกติกาการรู้แพ้รู้ชนะจากกีฬานั่นเอง อยากเห็นสังคมบ้านเราเป็นสังคมที่มีหัวใจนักกีฬา

ดิฉันได้บอกต่อเพื่อนๆ ที่สนใจการกีฬาและอ่านสยามกีฬาอยู่แล้ว ให้เข้ามาร่วมใน blog นี้ พบว่าหลายท่านไม่ได้โดดเด่นในการเล่นกีฬาแต่ชอบดูกีฬาเป็นชิวิตจิตใจก็มี ได้อ่านคอลัมน์ของอาจารย์ ดร.จีระ ฉบับวันพุธที่ 23และอ่าน blog ของ คุณกรธรรม เรื่องกีฬาเรือใบแล้ว เห็นจริงด้วยที่วิเคราะห์ว่าการเล่นกีฬาให้ได้ดีต้องประกอบด้วย head heart guts และ execution ซึ่งต้องฝึกฝน เหมือนคุณแทมมารีน ที่มีexecution จนกลับมามีผลงานดี ได้รับเชิญเข้าร่วมกีฬาโอลิมปิกใน ปักกิ่งเกมส์ เป็นข่าวหน้า1วันนี้ให้คนไทยดีใจไปด้วย ในยามที่ข่าวอื่นๆ ไม่อยากอ่านเลย

สำหรับตัวดิฉันเองต้องขอร่วมรายงานประวัตินักกีฬาเล็กๆ ด้วย โดยเริ่มเป็นนักกีฬา บาสเก็ตบอลสมัครเล่นในกีฬาสีของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และอีกครั้งเป็นนักกีฬาบาสเก็ตบอลของคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อเป็นน้องใหม่ จำได้ว่านอกจากจะตระเวณไปแข่งที่สนามของคณะบัญชี รัฐศาสตร์ ครุศาสตร์ ในจุฬาฯ แล้ว ยังไปแข่งที่สนาม ธรรมศาสตร์ และ มหิดล ด้วย มีแพ้มีชนะ แต่แปลกที่ประทับใจทุกครั้ง ถึงแพ้ก็ไม่โกรธ

จึงอยากให้บ้านเราเป็นสังคมหัวใจนักกีฬาค่ะ

สุดา นันทวิทยา

สวัสดีครับชาว Blog และแฟน ๆ คอลัมน์เรียนรู้จากกีฬา

ผมขอรายงานความคืบหน้าจากบทความคอลัมน์ เรียนรู้จากกีฬา ครั้งที่ 1 เมื่อวันพุธที่ 16 กรกฎาคม 2551 ที่ผ่านมา ซึ่งได้พูดถึงเรื่องบทบาทของกีฬาต่อบัญชีรายได้ประชาชาติของประเทศ และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานี้เผอิญว่าโชคดีผมมีโอกาสได้พูดคุยกับผู้อำนวยการกองบัญชีประชาชาติด้านบริการ ชื่อ คุณอภิชัย ซึ่งพอทราบว่าผม คือ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ก็บอกว่ารู้จักและเคยเป็นลูกศิษย์ที่ธรรมศาสตร์ พอคุยกันสักพักก็ทราบด้วยว่าเป็นรุ่นน้องผมที่เทพศิรินทร์ (19/21) ด้วย

ผมถามเรื่องบัญชีประชาชาติว่าจัดเรื่องกีฬาไว้อย่างไร?  ก็ได้คำตอบว่าบัญชีประชาชาติของเรานั้นยังไม่ได้แยกกีฬาออกมาจากประเภทของนันทนาการ ผมจึงได้แสดงความคิดเห็นไปว่าควรจะมีการแยกให้เห็นว่ากีฬานั้นมีบทบาทอย่างไรต่อบัญชีประชาชาติของเรา บางครั้งการจัดประเภท หมวดหมู่ของเรายังไม่มีความชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น สิ่งพิมพ์ด้านกีฬาก็ยังไม่ได้รวมอยู่ในภาคบริการกับไปรวมอยู่กับภาคอุตสาหกรรม

เมื่อได้พูดคุยกันถึงเรื่องนี้ เราก็เลยมีความคิดที่จะจัดสัมมนาโดยเชิญตัวแทนจากสภาพัฒน์ฯ ตัวแทนจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และตัวแทนจากหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชีประชาติมาร่วมกันระดมความคิดกันต่อไป ผมก็ขอถือโอกาสนี้ฝากข้อมูลนี้กับท่านและหนังสือพิมพ์สยามกีฬาด้วยครับ

                                 จีระ หงส์ลดารมภ์

 

กราบเรียน อาจารย์จีระ และชาว Blog ทุกท่านครับ

            เผอิญผมเป็นคนชอบดูกีฬาคนหนึ่ง แต่ไม่สามารถดูได้ทุกประเภทหรือทุกแมทซ์การแข่งขัน แต่หากมีเวลาก็ดูทุกอย่างที่ขวางหน้า เมื่อหลายปีที่ผ่านมาตอนที่ภราดรขึ้นถึงอันดับ 9 ของโลก ผมจำได้ในวันนั้นผู้ประกาศข่าวกีฬาท่านหนึ่งของช่อง 7 ให้ความคิดเห็นว่าภราดรควรจะจ้างผู้ฝึกสอนชาวต่างชาติเพื่อจะได้พัฒนาฝีมือมากยิ่งขึ้น วันนั้นหลาย ๆ ท่านโจมตีอย่างหนักว่าทำไมต้องจ้างผู้ฝึกสอนชาวต่างชาติ ทั้ง ๆ ที่คนไทยก็สามารถทำได้ โดยเฉพาะคุณพ่อของภราดร ผมเองชอบดูกีฬาแต่ไม่สันทัดเรื่องนี้ก็เห็นด้วยกับผู้ที่โจมตีผู้ประกาศข่าวของช่องนั้นเหมือนกันว่าทำไมต้องเสียสตางค์จ้างชาวต่างชาติ และต้องขอชมผู้ประกาศข่าวกีฬาช่องนั้นที่มี spirit ดีมากที่ไม่ออกมาตอบโต้เลยแม้แต่น้อย และตอนนี้พวกเราคงได้เห็นวิสัยทัศน์ของผู้ประกาศข่าวช่องนั้นแล้วว่ายาวไกลแค่ไหน ผมเองก็ถึงบางอ้อเหมือนกันว่า แม้คนไทยเราจะเก่งสักเพียงใด   ก็ตาม กีฬาบางประเภทเราไม่ได้เป็นหนึ่ง หากวันนั้นภราดรจ้างผู้ฝึกสอนมาช่วยป่านนี้อันดับคงดีขึ้นมากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้

            น่าเสียดายที่นักกีฬาไทยหลายคนติดอันดับโลกเพียงไม่นานหลังจากนั้นก็จะหายไปเลย เช่น ต๋อง เป็นต้น หากนักกีฬาคนไทยมีระเบียบวินัยในการฝึกซ้อมและรับผิดชอบ ตลอดจนมีความมุ่งมั่นต่ออาชีพให้มากกว่านี้ ผมว่า คนไทยไม่แพ้ชาติใด ในโลก

 

วัชรพล  มณีโชติ

ฟุตบอลอังกฤษ/โอลิมปิกที่จีน

(ตีพิมพ์ ฉบับวันพุธที่ 30 กรกฎาคม 2551)

การเขียนครั้งที่ 3 ของผมเริ่มมีแนวทางมากขึ้นแล้ว Blog: เรียนรู้จากกีฬากับ "ดร.จีระ": สยามกีฬา (www.gotoknow.org/blog/chiraacademy) ที่สร้างขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ก็มีคนสนใจและคลิ๊กเข้าไปดูแล้วกว่า 100 คน ผมตั้งใจว่าจะทำให้ Blog มีประโยชน์ เพื่อให้เกิดคุณค่า เพื่อให้แฟนคลับได้รู้จักผมมากขึ้นในฐานะคนวิจารณ์กีฬา ล่าสุดขอขอบคุณ ดร.กรรธรรม จบปริญญาเอกทางด้านวิศวกรรม ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นใน Blog เมื่อวันพุธที่ 23 กรกฎาคม 2551 เวลา 22.39 น. มีแนวคิดเกี่ยวกับกีฬาที่เป็นประโยชน์ ผมขอสรุปมาเป็นบางส่วน

ผมเป็นคนหนึ่งครับที่ชอบเล่นกีฬา และเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าเราสามารถเรียนรู้หลักในการดำเนินชีวิต ส่วนตัวและการงานได้จากการเล่นกีฬาครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสุขภาพ เรื่องของความอดทน ฝึกฝนมุ่งมั่น เรื่องของกลยุทธ์ในการเอาชนะในการแข่งขัน เรื่องของการทำงานเข้าขากันเป็นทีม เรื่องของการให้อภัยกันหากเกิดความผิดพลาดในการแข่งขัน แม้นในเรื่องการทำใจให้ยอมรับกับความอ่อนด้อยพ่ายแพ้ และกลับไปฝึกฝนใหม่เพื่อการแข่งขันในคราวต่อไป อย่างที่เขาว่า รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ............อยากจะได้เชิญชวนผู้อ่านให้ลองเล่นกีฬาต่างๆที่ยังไม่เคยลอง อย่างเช่นกีฬาเรือใบถือว่าเป็นการค้นหาตัวเอง ผมได้อะไรจากกีฬาเรือใบบ้าง กีฬาเรือใบเป็นกีฬาที่นอกจากจะต้องเข้าใจหลักการ และต้องฝึกฝนการใช้เครื่องมือ คือเรือใบแล้ว เนื่องจากว่าเรือใบไปด้วยกระแสลม และกระแสน้ำซึ่งเป็นสิ่งที่เราควบคุมมันไม่ได้ แต่ต้องเข้าใจว่าจะใช้ประโยชน์จากมันอย่างไร กีฬาเรือใบเป็นกีฬาที่ต้องใช้การวางแผนล่วงหน้า ต้องมีการวางกลยุทธ์ ให้อยู่ในตำแหน่งที่ได้เปรียบกว่าเรือลำอื่น ต้องแม่นในกฏกติกา เพราะเวลาแข่งขันจะมีเรือรวมแข่งอยู่หลายสิบลำ ซึ่งมีโอกาสกระทบกระทั่งกันมาก นอกจากนี้เรือใบประเภท keel boat อาจจะใช้คนทำงานเป็นทีม อย่างเช่นเรือใบประเภท Platu ใช้ผู้เล่น 5 คนต่อลำ แต่ละคนมีตำแหน่งหน้าที่ต่างๆกันซึ่งต้องทำงานสัมพันธ์กันอย่างดีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไม่ให้เกิดการผิดพลาดได้ เพราะหากพลาดในจังหวะและโอกาสที่เราได้เปรียบ สถานการก็จะกลายเป็นเสียเปรียบทันที นั่นหมายถึงการฝึกฝนทำงานเข้าขากันอย่างดีในทีม และการวางแผนวางกลยุทธ์ที่ดี.........(ติดตามอ่านความคิดเห็นแบบเต็มได้ที่ Blog ครับ)

คอลัมน์ของผมน่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับคนที่อยู่นอกวงการกีฬา แต่สนใจกีฬา เป็นเวทีที่จะแบ่งปันความรู้ และสรุปว่ามีส่วนร่วมเพราะอะไร? และมีประโยชน์อย่างไร? คุณสุดาก็ส่งมาเป็นครั้งที่ 2 และเพิ่งรู้ว่าคุณสุดาเองก็ชอบเล่นกีฬาสมัยอยู่เตรียมอุดมและจุฬาฯ ไม่ได้สนใจแค่วิทยาศาสตร์อย่างเดียว ลูกศิษย์ของผมที่เรียนปริญญาโทและปริญญาเอกก็สนใจบทความนี้ด้วย เพราะกีฬาจะช่วยพัฒนาประเทศได้แน่นอน และจะปรับพฤติกรรมของตัวเอง เพื่อนร่วมงาน ครอบครัว และการดูแลสุขภาพตัวเองให้มีความสุขและสมดุล สังคมเรามีแต่บ้างาน ตื่นเช้าก็รีบไปทำงาน บางคนต้องนั่งรถเมล์ 3 ต่อ การต่อสู่เพื่อความอยู่รอดของครอบครัว เพราะปัญหาเศรษฐกิจรุมเร้าทำให้สุขภาพของพวกเรามีปัญหา และในที่สุดชีวิตก็มีแค่วัตถุ ทำงานไปเรื่อย ๆ ขาดจิตวิญญาณ ขาดการมีเวลาได้ฟังเพลง (ลูกทุ่ง) หรือดูแลศิลปวัฒนธรรมของชุมชนเหล่านั้น ผมก็จะขอเป็นกำลังใจและเป็นแนวร่วมซึ่งกันและกัน

งานที่ผมทำอยู่ทุก ๆ งาน ผมจะต้องมี พลัง ทางด้านสุขภาพกายและใจ ถ้าทำงานหนักไม่มีเวลาพักผ่อน ไม่ออกกำลังกาย ความคิดใหม่ ๆ ก็ไม่เกิดขึ้น ทำงานไม่สร้างสรรค์ ผมพร้อมที่จะสู้กับงานที่สนุก ท้าทายเสมอ แต่จะต้องออกกำลังกายให้เพียงพอ อย่างบทความของผมที่ สยามกีฬา ผมวางแผนในช่วงวันจันทร์ถึงศุกร์คิดว่าจะเน้นอะไร แต่ช่วงที่เขียนเป็นเช้าวันอาทิตย์หลังจากออกกำลังกายแล้วอย่างน้อย 1 – 2 ชั่วโมง

อาทิตย์นี้ ผมเริ่มมองไปถึงกิจกรรมกีฬา 2 เรื่องใหญ่ที่อาจจะทำให้คนไทยได้เรียนรู้มากขึ้น และอาจจะดึงเอาบรรดาคอบอลอังกฤษมาร่วมการคิด วิเคราะห์ และสร้างการเรียนรู้ไปด้วย สำหรับบรรดาคอบอลทั้งหลายไม่ต้องวิตกหรอก ฤดูฟุตบอลอังกฤษและยุโรปกำลังจะมาถึง ยิ่งเขียนวันอาทิตย์ด้วยยิ่งได้รสชาติเพราะจะมีผลฟุตบอลวันเสาร์เรียบร้อยให้ผมได้วิเคราะห์อยู่แล้ว วันนี้ก็เลยเป็นวันแรกที่ผมจะเริ่มวิเคราะห์และขอให้ท่านผู้อ่านเรียนรู้ไปด้วย

ก่อนอื่น ผมเป็นคนที่จงรักภักดีกับทีมฟุตบอลอังกฤษมาก ผมเป็นนักบอลเทพฯ ในช่วงที่ผมเล่นบอล 2 – 3 ปีสุดท้าย ประมาณปี 1960 – 1961 ช่วงนี้บรรดาคอบอลทั้งหลายส่วนมากยังไม่เกิด ทอตแนม ฮอตสเปอร์ที่บรรดาผู้สื่อข่าวที่สยามกีฬานี่แหละที่เป็นผู้ให้กำเนิดชื่อเล่น ๆ ของสเปอร์สได้แชมป์ดับเบิ้ล คือ ชนะ FA และชนะ League ไม่ว่าจะเป็น Danny Blonflower หรือ Jimmy Greaves หรือ Tony White ซึ่งผู้สื่อข่าวกีฬาปัจจุบันไม่รู้จัก ถ้านับเวลาเกือบ 48 -49 ปีแล้ว ผมก็จงรักภักดีสเปอร์สไม่เสื่อมคลาย

ความจริงเรื่องความรักหรือจงรักภักดีของแฟนบอลต่อทีมที่เขารักก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ผมไม่มีวันเปลี่ยนใจเด็ดขาด เลยทำให้ผมวิเคราะห์เรื่องความจงรักภักดีในอาชีพอื่น ๆ ได้ดี เช่น วันนี้เด็กรุ่นใหม่ทำงานจะถามว่าได้เงินเท่าไหร่? อยู่ไปสักพักก็ออกไปหางานอื่น ๆ เพราะได้เงิน แต่สำหรับผม ผมมีอาชีพเดียวก็คือทำงานอยู่ที่ธรรมศาสตร์ครบ 30 ปี อายุ 55 ปีแล้วก็ลาออกไม่ทำให้ใครแต่ทำเพื่อแผ่นดินคือให้ความรู้กับประชาชน

ผมไปอังกฤษผมก็จะไปดูฟุตบอลที่สนามไวท์ ฮาร์ท เลน ซึ่งไปยากเพราะอยู่ไกลมากจากสถานีรถไฟ Seven Sistersทางตอนเหนือของกรุงลอนดอน ช่วงแรกที่ผมไปดูฟุตบอลที่สนามนี้ยังต้องยืนดู และบางครั้งก็ดูเหมือนว่าไม่ค่อยจะปลอดภัย ตอนหลัง ๆ สนามปรับปรุงให้มีที่นั่งสำหรับทุกคน เมื่อไปที่ไหนผมมักจะประกาศว่าผมเป็นแฟนพันธุ์แท้ของสเปอร์ส แต่แฟนพันธุ์แท้ของสเปอร์สมีน้อยมาก ส่วนมากจะเป็นแฟนแมนยูหรือลิเวอร์พูล แต่ผมก็ไม่เสียใจเพราะผมติดตามของผมอย่างเงียบ ๆ ชนะก็ดีใจ แพ้ก็เศร้าแต่ทำใจได้

วิธีการหาความรู้ของผมในอดีตเกี่ยวกับฟุตบอลอังกฤษก็คืออ่าน ผมอ่านหนังสือ The Times ของลอนดอนมากว่า 45 ปี แล้ว สมัยก่อนไม่มีเงินก็ไปอ่านตามห้องสมุด ช่วงแรก ๆ ผมได้ไปเรียนเมืองนอกก็ไปอ่านตามห้องสมุด ช่วงนั้นไม่มีโทรทัศน์ นักข่าวอังกฤษก็จะเขียนวิเคราะห์ วิจารณ์คู่ใหญ่ เช่น สเปอร์ส-อาร์เซนนอล เกือบ ¼ หน้าของ The Times ทำให้ได้ความรู้มาก ตอนหลัง ๆ มามีการวิเคราะห์ทางรายการทีวีมากการวิเคราะห์จากข้อเขียนก็น้อยลง และกีฬาฟุตบอลกลายเป็นแหล่งการเล่นการพนันมากเกินไป

ประเด็นที่ผมจะพูดก็คือ วันนี้เราบ้าคลั่งกีฬาฟุตบอลอังกฤษมากเกินไปหรือเปล่าจึงทำให้ไม่สนใจฟุตบอลไทยไปแล้ว คนดูฟุตบอลไทยโดยเฉพาะระดับไทยลีกน้อยมาก แม้แต่ฟุตบอลจตุรมิตรระดับนักเรียนทุก ๆ 2 ปี คนดูยังเป็นหมื่น สมัยที่ผมเคยเล่นที่สนามหลวงหรือสนามศุภฯ ขนาดเป็นฟุตบอลระดับนักเรียนคนดูยังเป็นหลักหมื่น แต่เดี๋ยวนี้แม้กระทั่งฟุตบอลทีมชาติไทยต้องเป็นนัดที่สำคัญจริง ๆ คนดูจึงจะเต็มสนาม คำถามก็คือ เหตุผลคืออะไร?

ผมเขียนคอลัมน์กีฬาเพราะหวังที่จะให้คนไทยรักฟุตบอลไทย เด็กไทยมีความสามารถและมีจำนวนนักฟุตบอลมากกว่าสมัยที่ผมเล่น อย่าลืมว่าเรามีประชากรกว่า 64 ล้านคน ตัวเลือกมาก แต่อะไรคือปัญหาที่ทำให้ฟุตบอลไทยยังไม่ไปสู่อาชีพสักที เหมือนอย่างประเทศ Ivory Coast เกาหลี และญี่ปุ่น

เมื่อ 40 ปีที่แล้วผมดูฟุตบอลเยาวชนทีมชาติ ยุคนั้นมีรุ่นพี่ที่เทพศิรินทร์ ชื่อ วิชัย ชุ่มจินดาเป็นศูนย์หน้ายิงวอลเล่ย์สวยสุด คือ ชนะญี่ปุ่น 3: 1 แต่วันนี้เรากับญี่ปุ่นห่างกันกี่ปี?  อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 15 ปี ไทยสามารถปรับตัวได้ถ้าเราเอาจริง และคนทำกีฬา รักอาชีพจริง ๆ ไม่ใช่ทำเพราะไม่มีอะไรจะทำ เล่นการเมืองไปวันๆ เพื่อความอยู่รอด ผมจะไม่พูดมากว่านี้ เพราะอะไรเป็นอะไรก็รู้กัน

ความบ้าคลั่งฟุตบอลอังกฤษมีทั้งข้อดีและข้อเสีย  ข้อดีก็คือ ได้รู้จักทีมดัง ๆ ของอังกฤษ ได้ความสนุก ดีกว่ายาเสพติด แต่อังกฤษก็เล่นฟุตบอลเหมือนธุรกิจที่ไม่พัฒนา คือ เคยเริ่มต้นมาก่อนคนอื่น แต่การปรับตัวให้ทันกับโลกที่แข่งขันสูงน้อย เช่น แข่งกับบราซิล หรือ โปรตุเกส หรือแม้กระทั่งสเปนหรืออิตาลีก็สู้ไม่ได้ อังกฤษในระดับฟุตบอลโลก ชนะแค่หนเดียว คือ ปี 1966

อยากแนะนำให้สยามกีฬาเจาะลึกเรื่องฟุตบอลอย่างเกาหลี หรือญี่ปุ่น  ทวีปแอฟริกา ที่ส่งนักเตะดี ๆ มาแข่งพรีเมียร์ลีก และสำคัญที่สุดก็คือ ประเทศในอเมริกาใต้ เช่น อาเจนตินา หรือ บราซิล ปัญหาก็คือเรื่องภาษา และรายการโทรทัศน์ส่วนใหญ่ก็เน้นฟุตบอลลีกอังกฤษ ซึ่งทำให้เราขาดทฤษฎี “Diversity” คือ เราจำเจมาก ขาดความคิดที่แตกต่างและหลากหลาย

ผมอยากให้ท่านผู้อ่านมาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้กันใน Blog เยอะ เพื่อเป็นบทเรียนให้เราได้ประโยชน์สูงสุดจากกีฬา

เรื่องที่น่าสนใจขณะนี้ คือ โอลิมปิกที่จีนซึ่งผมคงจะได้พูดถึงเป็นระยะ ๆ แต่เนื่องจากวันนี้เป็นวันแรกที่วิเคราะห์เรื่องโอลิมปิกก็คงเบาๆ ไปก่อน เมื่อเช้าวันอาทิตย์ผมพูดในรายการวิทยุ Human Talk ทาง F.M. 96.5 MHz    ผมวิเคราะห์ร่วมกับคุณจีรวัฒน์ ตั้งบวรพิเชษฐ์ผู้ดำเนินรายการร่วมของผม ใช้เวลากว่าครึ่งชั่วโมงวิเคราะห์เรืองกีฬาโอลิมปิก ท่านผู้อ่านสามารถติดตามได้ทางอินเตอร์เน็ตที่ http://radio.mcot.net/fm965

บทเรียนแรกที่เราสองคนเห็นตรงกันก็คือโอลิมปิกครั้งนี้ที่ปักกิ่งเป็นเวทีที่จีนจะเปิดตัวไปสู่โลกอย่างสมบูรณ์แบบ คือจีนประสบความสำเร็จมากเรื่องเศรษฐกิจมากกว่า 20 ปี กลายเป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจช่วง 10 ปีที่แล้ว เฉลี่ยกว่า 10 % บางคนถึงกับพูดว่าภายในระยะเวลาไม่ถึง 20 ปี  จีนก็จะเป็นเบอร์ 1 ของโลกทางเศรษฐกิจ ชนะแม้กระทั่งอเมริกา และสหภาพยุโรป  คนจีนก็เริ่มภูมิใจมากขึ้น รัฐบาลจีนก็เตรียมตัวอย่างดีที่จะจัดให้สมศักดิ์ศรี

ถ้าทำสำเร็จคงไม่ใช่แค่จีนได้เหรียญทองกี่เหรียญ แต่จะเป็นการแสดงให้เห็นว่า ตะวันออก หรือ East  ซึ่งไทยของเราอยู่ด้วย  หรืออาจจะเรียกว่า Asia ซึ่งท่านผู้อ่านคงทราบดีว่าในอดีต Asia หรือ East เคย ร่ำรวย รุ่งเรืองกว่าตะวันตก ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม และอารยธรรม แต่ 200 ปีที่ผ่านมา ก่อนปี 1945 ตะวันตกมาปกครองประเทศเหล่านี้ เราเป็นเมืองขึ้น เรียกว่า จักรวรรดินิยม แต่บัดนี้ไม่มีระบบนี้อีกต่อไป   ถือได้ว่าตะวันออกจะสามารถกลับมาเป็นผู้นำของโลกได้อย่างสง่างามและตะวันตกต้องเรียนรู้จากตะวันออก

ถ้าการจัดโอลิมปิกครั้งนี้ถือว่าประสบความสำเร็จไม่มีเหตุการณ์อะไรที่ทำให้ประเทศจีนสะดุด   ผู้นำอย่างจีนต้องระวังไม่ให้การจัดโอลิมปิกครั้งนี้ สะดุด ปัจจุบันเวลาเราวิเคราะห์ต้องฟังทั้งสื่อตะวันตกและตะวันออก  จะฟังหรือวิเคราะห์จากสื่อตะวันตก เช่น CNN หรือ BBC เท่านั้นไม่ได้

สื่อตะวันตกเน้นว่าปัญหาโอลิมปิกในจีนจะพบอุปสรรคมากมาย เช่น

§       เรื่องสิทธิมนุษย์ชน ที่จีนยังมีปัญหาอยู่ โดยเฉพาะเรื่องทิเบต

§       เรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชนชาวจีนจะมีประชาธิปไตยแบบตะวันตกจริงหรือ

§       เรื่องความปลอดภัยของนักกีฬากว่า 20,000  คน และ

§       เรื่องภาวะอากาศเป็นพิษในปักกิ่ง

ทั้งนี้ทั้งนั้นเราก็จะต้องดูติดตามต่อไปครับ

 

                            จีระ หงส์ลดารมภ์

เรียนท่านอาจารย์จิระที่เคารพ ผมอยากให้อาจารย์กรุณาวิเคราะห์ว่าเหตูใดการกีฬาในประเทศไทยตอนที่เป็นเยาวชนทำไมถึงเก่งมากได้รางวัลมากมายแต่พออายุมากขึ้นจึงไม่ค่อยจะได้เรื่องได้ราวมันเกี่ยวกับเรื่องทุนต่างๆ(8K)หรือเปล่าเพราะเรามีความสามารถในตอนอายุน้อยๆแต่พออายุมากเรากลับแย่เราจะต้องปรับอะไรตรงไหนเพราะท่านอาจารย์เป็นบุคคลที่มีต้นทุนทางสังคมสูงมากน่าจะสะกิดให้ผู้ที่มีหน้าที่ในการรับผิดชอบหันมามองให้ตรงจุดโดยการใช้แนวคิดพัฒนาวงการก๊ฬาไทยเพื่อความฝันอย่างน้อยก็เพื่อให้เราอยู่ในความฝันที่น่าที่จะเป็นความจริงบ้าง                    ด้วยความเคารพอย่างสูง เด็กเทพศิรินทร์และผู้ที่ท่านอาจารย์อนุเคราะห์ให้ร่วมเข้าฟังการบรรยายป.เอกสวนสุนันทา

สวัสดีครับชาว Blog และแฟน ๆ คอลัมน์ เรียนรู้จากกีฬา

            มีความคิดเห็นดี ๆ อีกหนึ่งความคิดเห็นซึ่งลูกศิษย์ปริญญาเอกของผมเสนอไว้ใน Blog ของปริญญาเอกผมจึงขอนำมาขึ้นที่ Blog นี้ด้วย เพราะน่าจะเป็นประโยชน์ครับ

...............................................................................

สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช
เมื่อ อ. 29 ก.ค. 2551 @ 16:07
763934 [ลบ]

กราบเรียนท่านอาจารย์จีระ  และเพื่อนนักอ่านทุกท่าน

 A Sporting Mind

            อะไรที่ทำให้นักกีฬาเหรียญทองแตกต่างจากพวกเรา?  อุปกรณ์การฝึกฝน?  ผู้ฝึกสอนดีกว่า?   ผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกสมองกล่าวว่าเคล็ดลับของยอดนักหวดระดับโลกอย่างโรเจอร์ เฟดเดอเรอร์ และ ไทเกอร์ วูดส์ ก็คือ Sports Psychology (จิตวิทยาการกีฬา)     Dan Roberts พบว่าทำไมการฝึกจิตจึงเป็นหัวใจสำคัญ

ปัจจุบันนักกีฬาชั้นยอดในทุกๆ ประเภทกีฬา ได้ประโยชน์จากการมีอุปกรณ์การฝึกฝน มีผู้ฝึกสอนเก่งๆ จำนวนมาก และมีเทคนิคที่ซับซ้อนในการวิเคราะห์สรีระ อาหารการกิน และการเล่น    นักฟุตบอล นักเทนนิส นักวิ่ง นักกอล์ฟ ที่ดีที่สุดของโลก ล้วนแต่มีร่างกายที่ฟิตมากขึ้น แข็งแรงมากขึ้นและมีเทคนิคการเล่นที่ดีกว่าสมัยก่อนมาก    แล้วอะไรที่ทำให้ไทเกอร์ วูดส์ หรือ คริสเตียนโน โรนัลโด แตกต่างจากคนอื่นๆ?   คุณสมบัติอะไรที่ทำให้มนุษย์พิเศษแตกต่างจากมนุษย์ธรรมดา?    คำตอบก็คือ Sports Psychology

ปัจจุบันนักกีฬาอาชีพใช้เทคนิคการปรับสภาพจิต เช่น การจินตนาการ หรือการสร้างภาพในสมอง การคิดในเชิงบวก การหายใจลึกๆ และการทำจิตให้สงบ    ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการปรับสภาพจิตสามารถทำให้ความเชื่อในตัวเองดีขึ้นและสุดท้ายก็จะส่งผลถึงผลการแข่งขันให้ดีขึ้นด้วย

ฝึกสมองของคุณ

วิธีการที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากที่สุดวิธีหนึ่งใน Sports Psychology ก็คือ Neurolinguistic programming (NLP) ซึ่งเป็นการผสมผสานทฤษฎีต่างๆ ในด้านการคิดเชิงบวก    แนวคิดที่สำคัญประการหนึ่งของ NLP ก็คือว่าจิตสามารถถูกฝึกให้เปลี่ยนความคิดเชิงลบเป็นความคิดเชิงบวกได้   อีกเทคนิคหนึ่งของ NLP ซึ่งเป็นวิธีที่คุณไม่จำเป็นต้องมีนักจิตวิทยาการกีฬามาสอนเลย ก็คือวิธี Goal-setting (การกำหนดเป้าหมาย)    การมีความคิดที่ต้องการที่จะทำอะไรให้ดีขึ้นซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ชัดเจนและไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง มันก็จะไร้ผล    การกำหนดเป้าหมายเป็นสิ่งที่มือสมัครเล่นก็สามารถทำได้ แต่จะต้องเป็นเป้าหมายในเชิงบวก มีความเฉพาะเจาะจง และสามารถบรรลุผลได้

หายใจแบบผ่อนคลาย

แน่นอนว่าเราทุกคนล้วนรู้จักวิธีการหายใจ แต่เมื่อเวลาที่เราอยู่ในสถานการณ์ที่ตึงเครียด การหายใจของเราจะเร็ว ตื้น และไม่เป็นจังหวะ    นั่นนำไปสู่ความหวาดวิตก และทำให้ออกซิเจน    ไหลเวียนไปสู่กล้ามเนื้อและสมองน้อยลง    นักจิตวิทยา Sarah Fenwick สอนนักกีฬาให้รู้จักการบริหารสถานการณ์ที่ตึงเครียดด้วยเทคนิคการหายใจแบบลึกๆ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสงบภายในเมื่ออุณหภูมิกำลังพุ่งพล่าน   ภาราดอน ศรีชาพันธ์ กล่าวว่าเขาควบคุมการหายใจด้วยการนั่งสมาธิในช่วงสั้นๆ ก่อนลงแข่งขัน    Fenwick ย้ำว่าการหายใจให้ลึกนั้นต้องลงไปถึงท้องเพื่อให้ได้รับออกซิเจนมากที่สุด    ในขณะที่คุณกำลังหายใจ การมุ่งไปที่จุดใดจุดหนึ่ง (focus) เป็นสิ่งสำคัญมาก

ทำจิตให้สงบ

ในกีฬาเทนนิส zone หมายถึงสภาพที่เหมือนกับนิพพานซึ่งเป็นสิ่งที่นักเทนนิสล้วนต้องการ    in the zone จึงหมายถึงสภาพจิตที่สงบอย่างแท้จริงในชั่วขณะหนึ่ง    สิ่งสำคัญก็คือว่าคุณไม่คิดถึงสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่เลย ปล่อยให้จิตใต้สำนึกของคุณเป็นผู้ทำ    ผู้เชี่ยวชาญบอกว่ามันไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่ายๆ เหมือนกับการเปิดปิดสวิทช์   คุณจะต้องกำหนดพื้นฐานและเงื่อนไขที่จะทำให้มันเกิดขึ้น    การทำจิตให้สงบนั้นมีพลังอย่างเหลือเชื่อ   เมื่อจิตสงบ นั่นหมายถึงคุณกำลังใช้จิตใต้สำนึกของคุณ

เรียนรู้ mental key

เมื่อคุณดูเดวิด เบ็คแฮม เตะลูกบอลไซด์โค้งข้ามกำแพงกองหลัง หรือไทเกอร์ วูดส์ ตีลูกกอล์ฟลงหลุมในระยะไกล มันดูเหมือนเป็นเรื่องง่าย   แต่สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจากการฝึกฝนอย่างหนักเป็นเวลายาวนาน    ความสามารถของนักกีฬาชั้นยอดในการทำใจให้สงบในระหว่างการแข่งขันนั้น เกิดจากความเข้มแข็งของจิต    ความสงบของจิตภายใต้แรงกดดันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเตรียมใจให้พร้อม    คุณจำเป็นต้องใช้ mental key ซึ่งเป็นข้อมูลชุดหนึ่งที่คุณมุ่งสมาธิไปที่เรื่องนั้น เพื่อไม่ให้จิตของคุณบ่ายเบนไปสนใจเรื่องอื่น และไม่ให้จิตว้าวุ่น    mental key นี้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน บางคนอาจใช้ข้อมูลลักษณะกระบวนการ เช่น ลำดับขั้นตอนของกระบวนการเตะบอล  หรือบางคนอาจใช้ข้อมูลลักษณะจินตนาการซึ่งเป็นการมุ่งไปที่รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เช่น ตะเข็บของลูกบอล หรือหมายเลขเสื้อของผู้เล่นที่เขาจะจู่โจม

(แปลสรุปจาก Bangkok Post , the magazine 24 july 2008  โดยคุณสรยุทธ  สมประสงค์)

ความเห็น

            นักกีฬาระดับโลกมีลักษณะภาวะความเป็นผู้นำประเภทหนึ่งซึ่งจะต้องมีวินัยและพัฒนาตนเองเสมอภายใต้ทฤษฎี 3 วงกลม  สภาพแวดล้อม การฝึกฝน และแรงจูงใจของชัยชนะในเกมส์กีฬาเป็น Key Success Factor ที่มีรางวัลเป็นทั้งเกียรติและเงิน Knowledge Capital และ  Intelligence
Capital  ในตัวนักกีฬา เป็นแรงบันดาลความสำเร็จที่มุ่งมั่นและบากบั่นให้ถึงหลักชัย

            David Beckham หรือ Tiger Wood เตะลูกบอลและตีลูกลูกกอล์ฟดูเหมือนง่าย นิ่ง ซึ่งต้องผ่านการฝึกหัดอย่างหนักที่ไม่สามารถนับชั่วโมงได้

            Dave Aldred อธิบายว่า ความสงบภายใต้ความเครียดถูกสมองให้มุ่งไปสู่การขจัดความเครียด

            เรื่องข้างต้นเป็นขบวนการจัดการกับความเครียดอย่างหนึ่ง เทคนิคการกีฬาของเรื่องนี้น่าสนใจ การเล่นที่ดีอยู่ที่ใจเป็นสำคัญ ซึ่งสามารถฝึกหัดได้ เพื่อเสริมสร้างพลังไปสู่ความสำเร็จพลังในสมองและจิตที่สั่งให้ร่างกายค้นพบ Zone และมุ่งมั่นไปที่ Focus  จุด ๆ เดียวที่ลูกบอล
ลูกกอล์ฟ คิดถึงความสงบบนจุดเล็กที่สุดของลูกบอล ลูกกอล์ฟ ผลงานที่ได้กลับเป็นเป้าหมายที่คาดหวังไว้  เมื่อเรามองลูกบอลทุกอย่างจะชัดเจน การมุ่งมั่นบนความเป็นไปได้ที่เล็กที่สุด ความตั้งใจที่เด่นชัดจะทำให้เกมกีฬาเป็นความ
Wonder  ส่วนตัวชอบเล่นกีฬาหลายประเภท ขณะนี้เล่นเทนนิสและกอล์ฟ ไม่เคยเล่นพนันในกีฬาใด ๆ กีฬาช่วยฝึกจิตใจได้ดี รู้แพ้รู้ชนะ เคารพกฎกติกา การเล่นพนันบอลขยายตัวไปสู่เยาวชนซึ่งเป็นทุนมนุษย์ของชาติในอนาคต เป็นเรื่องน่ากลัวของสังคม บิดามารดา ครอบครัว และหน่วยราชการผู้เกี่ยวข้องมีภาระหน้าที่ป้องปราบ ปราบปรามให้ทันก่อนความเสียหายจะลุกลามจนยากเกินแก้ไข ภาพข่าวนักศึกษาแก้ไขปัญหาแพ้พนันบอล
จนต้องกลายเป็นขโมยปล้นทรัพย์สิ้นอนาคตเยาวชนคนหนึ่ง

            จากหนังสือชีวจิต พ.ค.2551  หน้า 67  เขียนไว้ว่า โรคติดการพนัน การติดการพนันถือเป็นโรคในกลุ่มจิตเวชอย่างหนึ่ง จากรายงานวิจัยจำนวนมากจากต่างประเทศระบุว่าผู้เล่นการพนันมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าและมีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตายได้มากถึงร้อยละ 20 ที่สำคัญ อาการเหล่านี้
พบในผู้ชายได้มากกว่าผู้หญิง

 

สร้อยสุคนธ์  นิยมวานิช

นักศึกษาปริญญาเอก Ph.D. รุ่น 2 (นวัตกรรมการจัดการ)

ดำรงค์ วงษ์โชติปิ่นทอง

เรียนท่านอาจารย์จีระที่เคารพ

                ในอดีตผมเป็นนักวิ่งทีมโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ได้มีโอกาสไปแข่งขันกรีฑาเครือโรงเรียนเซนต์คาเบรียล และ อัสสัมชัญ รวม 14 โรงเรียน และได้เป็นกัปตันทีมฟุตบอลสมัยมัธยม  ผมคิดว่ากีฬาช่วยให้ร่างกายเราแข็งแรง ช่วยให้เรามีงานอดิเรกที่ดีทำ แต่สมัยนี้ ใช้กีฬาเป็นเครื่อง Entertain ในทางที่ไม่ถูกต้องสักเท่าไรนัก เราใช้กีฬาในความสนุกสนานเชิงพาณิชย์มากเกินไป ไม่เน้นที่ร่างกายแข็งแรง และงานอดิเรกที่ดี

                เรื่องความคิดของคน หรือพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม เราต้องปลูกฝังจากสังคมครอบครัวก่อน ซึ่งเป็นสังคมเล็กๆไปสู่สังคมใหญ่ จากสังคมครอบครัวไปสู่สังคมโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย แล้วก็ไปสู่สังคมระดับเขต ระดับจังหวัด จนถึงระดับประเทศ

มีสิ่งแวดล้อมมากมายที่คอยบั่นทอนความดี และคุณค่าของสังคมลง ก็น่าจะมีส่วนช่วยรับผิดชอบสังคมด้วยจรรยาบรรณที่ดี ไม่ใช่หวังในการขายผลิตภัณฑ์ของตัวเองได้ โดยไม่คำนึงถึงเยาวชนของประเทศ

                เพราะสังคมในประเทศนั้นมีเราเป็นส่วนหนึ่งด้วย ดังนั้น ทุกคนจึงจะเป็นจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน

ขอแสดงความนับถือ

ดำรงค์ วงษ์โชติปิ่นทอง

นิชธิมา ระย้าแก้ว

กราบเรียนอาจาย์จีระที่เคารพ

กีฬากระโดดน้ำ (diving) เป็นกีฬาที่มีวิธีการกระโดดลงไปในน้ำจากกระดานสปริง หรือที่นิยมเรียกตามภาษาอังกฤษว่า สปริงบอร์ด (springboard) จากชานหรือหอกระโดด ซึ่งเรียกกันว่า แพล็ตฟอร์ม (platform) ด้วยการเอาศีรษะหรือเท้าลงไปก่อนและมีท่าทางที่มีความยากง่ายแตกต่างกันมากมาย

อังกฤษถือเป็นชาติแรกที่จัดการแข่งขันกระโดดน้ำขึ้นอย่างจริงจัง ในปี ค.ศ. 1880 ในระยะแรก การกระโดดน้ำยังไม่มีท่าที่พลิกแพลงไปมากกว่าการกระโดดพุ่งเข้าไปข้างหน้าให้ลำตัวตั้งตรงและเอาศีรษะลงน้ำก่อน แต่ต่อมานักยิมนาสติกชาวสวีเดนและเยอรมนีเริ่มนำท่าแปลกๆใหม่ๆเข้ามาใช้ เช่น การตีลังกา (Somersault) หรือการทำเกลียว(Twist) ก่อนที่ลำตัวจะถึงผิวน้ำ ซึ่งท่าเหล่านั้นก็เป็นที่ฮือฮาเรียกความสนใจจากผู้ชมได้เป็นอย่างมาก ทำให้กีฬากระโดดน้ำกลายเป็นกีฬายอดฮิตและเรียกกันติดปาก ตั้งแต่นั้นมาจนถึงต้นศตวรรษที่ 20 ว่ากีฬากระโดดน้ำลีลา (Fancy Diving)

ในปี ค.ศ. 2008 นี้ เด็กชายอายุ 14 ปี ทอม เดลีย์ นักกระโดดน้ำจะกลายเป็นนักกีฬาจากสหราชอาณาจักรที่มีอายุน้อยที่สุดเป็นอันดับสอง ที่ได้ร่วมแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก และอายุน้อยที่สุดในกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้

ข้าพเจ้ากระโดดน้ำไม่เป็นแต่ชอบดูลีลาการกระโดดน้ำของผู้เข้าแข่งขันแต่ละคน ซึ่งมีลีลาท่าทางสวยงาม การที่เราจะเลือกเล่นกีฬาใด เราก็ต้องดูบริบทของตัวเองว่าเหมาะที่จะเล่นกีฬาประเภทนั้นหรือไม่ เราชอบมั้ย เล่นเเล้วสร้างความสุจให้กับตัวเองมั้ย (Happiness จาก 8H’s) (วงกลมที่ 1 ในทฤษฎี 3 วงกลม) นักกีฬาแต่ละคนก็มีแรงบันดาลใจของตัวเองคือ การได้ทำชื่อเสียงให้แก่วงศ์ตระกูลหรือประเทศชาติ ทำให้ตัวเองเป็นที่ยอมรับและเป็นคนที่มีคุณค่า (วงกลมที่ 3) แรงบันดาลใจเป็นตัวกระตุ้นและผลักดันให้เราทำสิ่งต่างๆ ที่เราต้องการให้สำเร็จ ในการกีฬาก็คือการได้เหรียญ แต่ทั้งนี้การที่เราสมหวังตามเเรงบันดาลใจที่เรามีเราต้องมีความขยันขันแข็งฝึกซ้อมอย่างเสมอต้นเสมอปลาย มีความอดทน นำความรู้ที่มีมาพลิกเเพลงกระบวนท่าทำให้มีลีลาใหม่ๆเกิดขึ้น (Creativity and Innovation capital) ซึ่งก็จะเป็นการพัฒนาความสามารถของเราในการกระโดดน้ำ (วงกลมที่ 3)

                                                                                                       ขอบคุณค่ะ

                                                                                           นางสาวนิชธิมา  ระย้าแก้ว

                                      นักศึกษาปริญญาเอก Ph.D. รุ่น 2 (นวัตกรรมการจัดการ)

 

เรียน ศ.ดร.จีระที่เคารพ

        ในอีกไม่กี่วันข้างหน้าก็จะมีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค เชื่อว่าหลายคนคงรอคอย แต่จุดประสงค์ในการรอคอยและรอชมการแข่งขันกีฬาของแต่ละคนคงต่างกัน บางคนชมเพื่อชื่นชอบในความสามารถของนักกีฬา แต่บางคนรอคอยเพื่อการพนัน น่าเสียใจที่เห็นคุณค่าของกีฬาที่นักกีฬาทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ ฝึกซ้อมอย่างหนักเพื่อการแข่งขันที่แสดงถึงความสามารถของตน แต่กลับถูกตีค่าเพื่อการพนัน

       

        

กราบเรียน อาจารย์จีระ และผู้อ่านทุกท่าน

อีกไม่กี่วันก็จะถึงพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2008 ที่ประเทศจีนแล้ว เราคงมีอะไรดี ๆ ให้ดูกันอีกหลายวัน ซึ่งแต่ละวันจะมีการถ่ายทอดทางทีวีช่องต่าง ๆ ถึง 16 ชั่วโมงทีเดียว

น่าติดตามว่ากีฬาประเภทใดบ้างที่จะมีการสร้างสถิติใหม่ขึ้นมาอีก ทั้งสถิติโลก และสถิติโอลิมปิก โดยเฉพาะกีฬาที่ต้องใช้ความเร็ว และพละกำลัง เช่น ว่ายน้ำ, วิ่ง, ยกน้ำหนัก เป็นต้น กีฬาในแต่ละประเภทมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยบางครั้งคิดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ที่จะมีใครทำลายสถิติเก่าได้ แต่ปรากฏว่า “สถิติมีไว้เพื่อทำลาย” นักว่ายน้ำอย่าง เอียน โทรป ของออสเตรเลีย ทำลายสถิติเองเป็นว่าเล่นจนกระทั่งเลิกว่ายน้ำไป ต่อมาก็มีดาวรุ่งจากสหรัฐขึ้นมาแทนที่ และน่าจะเป็นผู้ครองเหรียญว่ายน้ำสูงสุดในการแข่งขันครั้งนี้

แต่กีฬาประเภทหนึ่งที่น่าหนักใจที่สุดในทุกครั้งที่มีการแข่งขันคือ “มวยสากล” ไม่ว่าชาติใดในโลกเป็นเจ้าภาพไม่เคยเลยสักครั้งเดียวที่จะใสสะอาด จนกระทั่งน่าจะกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรไปแล้วที่เจ้าภาพถ้าไม่โดนน็อคส่วนใหญ่จะชนะ ทำไมกีฬาประเภทนี้ถึงไม่พัฒนาทั้งที่กีฬาชนิดอื่น ๆ เขาไปกันไกลมากแล้ว อยากเห็นประเทศไทยเป็นประเทศแรกในโลก วันใดที่เราได้จัดกีฬาประเภทนี้ในบ้านเรา เราต้องทำให้นานาอารยะประเทศเห็นว่ากีฬาทุกชนิดต้องมี “Spirit” ด้วย ใช้กีฬาสร้างมิตร อย่าใช้กีฬาสร้าง “ศัตรู” หรือรอยมลทินให้กับประเทศ อย่างที่ผ่านมาในกีฬาซีเกมส์ที่ฟิลิปปินส์ประท้วงไม่ยอมแข่ง “ชนะเพียงแค่ทำให้นักกีฬาคนเดียวได้เหรียญเพิ่มขึ้นหนึ่งเหรียญ แต่เราต้องแลกกับชื่อเสียงของคนทั้งประเทศ” ต้องถูกตราหน้าว่า “โกง” ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นกับการกระทำด้วยเลย อยากเห็นประเทศไทยเป็นผู้นำทางด้าน “Spirit” ในเรื่องมวยสากล แสดงให้ชาวโลกประจักษ์ว่าประเทศไทย “คนไทยเก่ง” และ “ประเทศไทยเป็นชาติที่จัดมวยสากลได้ใสสะอาดที่สุดในประวัติศาสตร์โลก” ต่อไปประเทศอื่น ๆ หากเขาได้เป็นเจ้าภาพจัดมวยสากลอีก หากเขาจะโกงก็เรื่องของเขา จิตใจคนไทยพัฒนาแล้ว เราไม่ทำ อย่าคิดว่าเขาทำได้ ทำไมเราจะทำบ้างไม่ได้ คิดอย่างนั้นวงการกีฬาก็จะตกต่ำ ลงไปเรื่อย สถิติพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง แต่จิตใจกลับพัฒนาตรงกันข้าม ต้องใช้กีฬาสร้างมิตรภาพไร้พรมแดน แล้วสิ่งต่าง ๆ จะตามมาอย่างประเมินค่าไม่ได้

ขอบพระคุณอย่างสูงครับ

วัชรพล มณีโชติ

นายพงศธร โฆสิตธรรม

เรียนท่านอาจารย์จีระ

     ผมอยากให้ประเทศไทยมองเรื่องพลศึกษาและกีฬามากขึ้น เพราะพลศึกษาและกีฬาเป็นเรื่องที่สำคัญเรื่องนึงในการพัฒนาประเทศชาติ เพราะพลศึกษาและกีฬาสอนคนหลายๆ อย่างในเรื่องกฎ "กติกา" ฝึกเรื่องการออกกำลังกาย สอนเรื่องการทำงานเป็นทีม การรู้แพ้รู้ชนะ การมีน้ำใจนักกีฬา รวมถึงการมีระเบียบวินัย

     นอกจากกีฬาจะเป็นเกมชนิดหนึ่งแล้ว ยังเป็นการออกกำลังกายที่ดีอีกด้วย เนื่องจากคนที่เล่นกีฬาบางคน เล่นกีฬาเพื่อการออกกำลังกาย ซึ่งก็จะทำให้ผู้เล่นมีสุขภาพร่างกายที่ดี ผู้ที่ร่างกายแข็งแรง ก็จะเจ็บป่วยน้อย ถ้าประชาชนในชาติแข็งแรง ประเทศชาติก็จะพัฒนาได้เนื่องจากประชาชนมี "ทุนทางสุขภาพ" ที่ดี เมื่อร่างกายดี สมองก็ทำงานได้เต็มที่ ภาระของทางรัฐบาลในเรื่องการรักษาพยาบาลประชาชนก็น้อยลง

     การใช้งบประมาณของประเทศในการสนับสนุนเรื่องพลศึกษาและกีฬา จะทำให้คนในชาติแข็งแรง และใช้งบประมาณน้อยกว่าการนำงบประมาณไปรักษาสุขภาพของประชาชนที่เจ็บป่วย การสนับสนุนให้คนเล่นกีฬา โดยการสร้างลานกีฬา และสุขภาพ ตามแหล่งชุมชนต่างๆ รวมถึงการจัดการแข่งขันกีฬาในระดับต่างๆ ให้กับประชาชน จะเป็นการส่งเสริมเยาวชนให้ห่างไกลยาเสพติด มีสุขภาพแข็งแรง มีวินัย เนื่องจากเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคตต่อไป

พลศึกษาและกีฬาสร้างคน คนสร้างชาติ

นายพงศธร โฆสิตธรรม

phd. innovation management2

บทความครั้งที่ 4: 6 สิงหาคม 2551

ผมไม่เข้าใจ  Michelle Wei

 

ขอขอบคุณท่านผู้อ่านรวมทั้งผู้ที่สนใจ Blog: เรียนรู้จากกีฬา กับ ดร.จีระที่ http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy ดังที่คาดไว้สัปดาห์ที่แล้วมีคนเข้ามาอ่านและเรียนรู้ไม่น้อยกว่า 175 คน ผมหวังว่าผู้สื่อข่าว สยามกีฬา ก็คงจะเป็นสมาชิกและเป็นสังคมการเรียนรู้ด้วย เพราะการกีฬากระทบต่อมนุษยชาติทุกมิติ ทั้ง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม วิถีชีวิต และครอบครัว

เมื่อวันพุธที่ผ่านมาในคอลัมภ์ VIP ของสยามกีฬาได้สัมภาษณ์ คุณศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประโยชน์มาก เพราะท่านเน้นกีฬาในมุมกว้างต่อประเทศ และมีมุมมองที่น่าสนใจ ผมรู้จักท่าน ดี และคงจะมีโอกาสได้ร่วมมือกับท่านทำโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อกีฬาต่อไป

เป้าหมายในการเขียนบทความของผม คือ ต้องการจะให้มีผลกลับมาในลักษณะเป็น ชุมชนกีฬาแห่งการเรียนรู้ ซึ่งผมก็จะตอบกลับไปใน Blog หรือในบทความแต่ละอาทิตย์ ผมอยากให้คนที่อยู่นอกวงการกีฬาเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดและนำไปปฏิบัติด้วย และจะดียิ่งขึ้นถ้าขยายวงไปสู่คนกลุ่มใหม่

ขอขอบคุณคุณระวิ โหลทอง ที่ให้การสนับสนุนอย่างดียิ่ง ผมประชาสัมพันธ์ผ่านรายการวิทยุ ชื่อ  Human Talk ทาง F.M. 96.5 MHz. ทุก ๆ วันอาทิตย์ 6 โมงเช้า ให้แฟนรายการวิทยุติดตามอ่านบทความใน สยามกีฬา ด้วย

และขอขอบคุณที่สยามกีฬาได้นำเสนอบทความนี้ทางอินเตอร์เน็ต (www.siamsport.co.th) ซึ่งก็สามารถติดตามอ่านบทความย้อนหลังได้ด้วย ต้องขอความกรุณาให้ทีมงานสยามกีฬาอัพเดทบทความให้ทันเหตุการณ์ด้วย จะได้ทราบว่ามีคนเข้ามาอ่านบทความใน Web กี่คน อย่างบทความของผม บทเรียนจากความจริง ทางหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์  Web ของแนวหน้า (www.naewna.com) อ่านง่าย และ ผู้อ่านติดตามได้ใน Web  ซึ่งแฟนพันธุ์แท้ทาง Web อยู่มากพอสมควร ขอบคุณพี่วารินทร์ พูนศิริวงศ์ และกองบก. แนวหน้าด้วย ผมชื่นชมในความกล้าหาญ มีจุดยืน มีแนวร่วมทำเพื่อส่วนรวม 

ผมอยากจะเป็นครอบครัวข่าว กีฬา ของคุณระวิ  เพราะดูน้อง ๆ ก็เก่งกันมาก แต่ต้องฝึกการมองกีฬาให้กว้าง เป็นวิทยาศาสตร์ เน้นยุทธศาสตร์มากขึ้น สนใจภาษาต่างประเทศหลาย ๆ ภาษา อย่างแนวคิดที่คุณระวิจะเอาแมกกาซีนฝรั่งด้านกีฬามาแปลให้คนไทยได้เรียนรู้ก็น่าสนใจ

บทความที่ผ่านมาผมเน้นฟุตบอลและพูดถึงทีมที่ผมชอบมาเกือบ 50 ปี คือ ทอตแนม ฮอตสเปอร์ และตลอด 7 วันของ สยามกีฬา ก็มีน้อง ๆ นักข่าวเขียนถึงทอตแนมฮอตสเปอร์มากมาย แสดงว่าแม้ว่าน้อง ๆ จะเกิดไม่ทันผม แต่ก็มีความเข้าใจและสนใจทีมอย่างสเปอร์มาก  ถือว่ามีแฟนคลับของสเปอร์อยู่บ้างแล้ว และในอนาคตปีใดเกิดชนะ League สำเร็จ ก็คงจะสร้างแฟนพันธุ์แท้สเปอร์ได้มากขึ้น

เมื่อเช้าวันจันทร์ที่ผ่านมาได้มีการวิเคราะห์ทีมสเปอร์โดยหนังสือ  Sunday Time ของ London ว่า

§       ปีนี้ ทำไมมีการซื้อขายมากเหลือเกิน

§       ขายก็เยอะ ซื้อก็เยอะ

§       ปีที่แล้วกองหลังก็ยังไม่ดี ซื้อแต่กองหน้าเพราะอะไร

§       ซันเดอร์แลนด์เป็นสเปอร์ 2 หรือไม่? เพราะซื้อตัวสเปอร์ไปกว่า 40 คน

สเปอร์มีมีนักเตะดีแต่มักจะเก็บไว้ไม่ได้ แต่ขายแล้วดูได้กำไรดี เช่น ไมเคิล คาริค หรือคีน ที่เพิ่งขายให้ลิเวอร์พูลไป

§       ถ้าวันใดทำสำเร็จ  คือ ไปอยู่แชมเปี้ยนลีกได้สำเร็จ ก็จะได้เงินปีละ 450 ล้านปอนด์

ดังนั้น คุณรามอส  กุนซือของสเปอร์ ก็ต้องทำให้สำเร็จ ก็คือ อยู่ใน Top 4 และเล่นในแชมเปี้ยนลีกให้ได้

ผมคิดว่า ครอบครัวนักข่าวสยามกีฬามีความรู้เรื่องสเปอร์มากและรู้จริงด้วย พวกเราก็จะช่วยกันสร้างกลุ่มสเปอร์ต่อไป

อาทิตย์นี้ ผมขอขอบคุณลูกศิษย์ปริญญาเอกหลาย ๆ คนที่เข้ามาใน Blog แล้ว หลาย ๆ คนก็แสดงจุดที่น่าสนใจอย่างน้อย ผมเลือกมา 2 - 3 เรื่อง อย่างเรื่องแรกเป็นแนวคิดขอคุณสร้อยสุคนธ์ ซึ่งเขียนถึงผมเมื่อวันที่ เขียนว่า

“A Sporting Mind

                อะไรที่ทำให้นักกีฬาเหรียญทองแตกต่างจากพวกเรา?  อุปกรณ์การฝึกฝน?  ผู้ฝึกสอนดีกว่า?   ผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกสมองกล่าวว่าเคล็ดลับของยอดนักหวดระดับโลกอย่างโรเจอร์ เฟดเดอเรอร์ และ ไทเกอร์ วูดส์ ก็คือ Sports Psychology (จิตวิทยาการกีฬา)     Dan Roberts พบว่าทำไมการฝึกจิตจึงเป็นหัวใจสำคัญ...

....นักกีฬาระดับโลกมีลักษณะภาวะความเป็นผู้นำประเภทหนึ่งซึ่งจะต้องมีวินัยและพัฒนาตนเองเสมอภายใต้ทฤษฎี 3 วงกลม  สภาพแวดล้อม การฝึกฝน และแรงจูงใจของชัยชนะในเกมส์กีฬาเป็น Key Success Factor ที่มีรางวัลเป็นทั้งเกียรติและเงิน...(ติดตามอ่านแบบเต็มได้ทาง Blog: เรียนรู้จากกีฬา กับ ดร.จีระที่ www.gotoknow.org/blog/chiracademy)

 

ผมชอบวิธีการมองของคุณสร้อยสุคนธ์ เพราะการจะเก่งเรื่องกีฬาได้จะต้องมีทั้ง Head และ Heart ดังนั้น การศึกษาความสามารถของคนต้องเป็นมิติต่าง ๆ ของมนุษย์ เช่น มีทุกอย่าง มีฝีมือแต่จิตใจต้องนิ่ง

พูดถึงเรื่อง Sport Psychology ก็ถือโอกาสพูดถึงมิเชล วี (Michelle Wei) ผมติดตามความสามารถของมิเชลมาตลอด แต่ก็ยังไม่เข้าใจว่าทำไมเธอจึงมีพฤติกรรมที่แปลกและสร้างความสงสัยให้วงการกีฬากอล์ฟ ทั้งผู้หญิงและผู้ชายอย่างมาก

มิเชลเป็นนักกอล์ฟที่ถูกมองว่า

§       แข็งนอก อ่อนใน คือสังคมภายนอกยกย่องแต่สังคมกอล์ฟอาชีพผู้หญิงไม่ประทับใจ

§       มีค่านิยมและพฤติกรรมเกี่ยวกับการมีชื่อเสียงที่แปลก

§       ถูกมองว่าไม่ชนะมืออาชีพเลยสักเรื่อง แต่อยากดังแบบไร้เหตุผล

ล่าสุด มิเชล ก็ยังไม่เคยชนะ LPGA ผู้หญิง แต่แทนที่จะทุ่มเท เป็นที่ยอมรับของนักกอล์ฟด้วยกัน และลงแข่งระดับ  Major ของผู้หญิง หล่อนก็ตัดสินใจไปแข่ง PGA ของผู้ชาย ซึ่งที่ผ่านมาก็ยังไม่ประกาศความสำเร็จสักครั้งเดียว คือ นอกจากไม่เคยชนะแล้ว ยังไม่ผ่านการคัดตัวด้วย ล่าสุดการแข่งขัน PGA ที่ Reno วันที่ 2 ก็เกินมา +9 ซึ่งยังเป็นคะแนนที่ระดับมืออาชีพเขารับไม่ได้จริง ๆ

ผมลองคิดเล่น ๆ โดยศึกษามิเชลว่ามีบทเรียนอะไรให้เยาวชนเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นกีฬาหรือบันเทิงหรือเรื่องอื่น ๆ อย่างน้อย 23 เรื่อง

§       เวลามีโอกาส อย่าให้หลุดลอยไปต้องทำให้สำเร็จ

§       หากมิเชลยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ คือเดินสายกลางก็คงจะรอดได้

§       หรือถ้ามิเชลใช้แนวคิดการพัฒนาทุนมนุษย์ ( 8 K’s ) ของผม K คือ ทุน 8 ชนิดของมนุษย์ซึ่ง

ผมเน้น ทุนแห่งความยั่งยืน เน้นว่าทำอะไรต้องมองการอยู่รอดระยะยาวมากกว่าระยะสั้น ๆ

§       บริหารชื่อเสียงที่สังคมยกให้ให้เกิดมูลค่าจริง ๆ ในระยะยาว ไม่ใช่มูลค่าจอมปลอมระยะสั้น

ผมก็จะเฝ้าดูมิเชลต่อไปว่าความสำเร็จของเขาจะไปจบที่จุดไหน และอะไรคือสาหตุที่ทำให้เขามีพฤติกรรมที่ประหลาด ในมุมมองของผมคิดว่าสาเหตุน่าจะมาจากเหตุผลดังต่อไปนี้

มิเชลเก่งเกินไป และประสบความสำเร็จในวัยเด็ก

§             คำว่าเก่งสำหรับมิเชลก็คือ เก่งเมื่อเทียบกับเด็กผู้หญิงรุ่นเดียวกัน แต่ไม่ได้เก่งเมื่อเทียบกับมาตรฐานของกอล์ฟผู้หญิงอย่างที่ควรจะเป็น

§             ทุนนิยมทำให้เขามีค่านิยมที่ไม่ยั่งยืน เพราะมีธุรกิจมาจ้างเขาเป็นตัวแทน และได้เงินมากเกินกว่าที่เขาจะเห็นคุณค่า ผมเข้าใจว่า Nike ให้เขาเป็นพรีเซนเตอร์ได้เงินหลายร้อยล้าน แต่เงินก็คงไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุดถ้ามิเชลรู้จักตัวเอง

§             พ่อแม่เป็นที่ปรึกษาที่ดีหรือไม่ พ่อแม่ปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องหรือเปล่า

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คุณนาวิน เจริญพร ก็ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นใน Blog ด้วย บอกว่า

อยากให้วิเคราะห์ว่าเหตูใดการกีฬาในประเทศไทยตอนที่เป็นเยาวชนทำไมถึงเก่งมากได้รางวัลมากมายแต่พออายุมากขึ้นจึงไม่ค่อยจะได้เรื่องได้ราวมันเกี่ยวกับเรื่องทุนต่างๆ(8K)หรือเปล่าเพราะเรามีความสามารถในตอนอายุน้อยๆแต่พออายุมากเรากลับแย่เราจะต้องปรับอะไรตรงไหนเพราะท่านอาจารย์เป็นบุคคลที่มีต้นทุนทางสังคมสูงมากน่าจะสะกิดให้ผู้ที่มีหน้าที่ในการรับผิดชอบหันมามองให้ตรงจุดโดยการใช้แนวคิดพัฒนาวงการกีฬาไทยเพื่อความฝันอย่างน้อยก็เพื่อให้เราอยู่ในความฝันที่น่าที่จะเป็นความจริงบ้าง ด้วยความเคารพอย่างสูง เด็กเทพศิรินทร์และผู้ที่ท่านอาจารย์อนุเคราะห์ให้ร่วมเข้าฟังการบรรยายป.เอกสวนสุนันทา

คำถามที่ถามก็น่าสนใจ คือ ตอนเด็กไทยเก่งแต่ตอนอายุมากขึ้นแล้วไม่สำเร็จ คำตอบก็คือ ขาดวินัย ขาดการวางแผนชีวิต ขาดทักษะในการดำรงชีวิต

คล้ายกับพ่อแม่ให้ลูกเรียนพิเศษแต่ไม่เคยให้ลูกรู้จักการดำรงชีวิต พอสอบเข้ามหาวิทยาลัยดี ๆ ได้ แต่เรียนไม่ดี ปรับตัวไม่ได้ก็ฆ่าตัวตาย

ชีวิตของคนเราต้องมองให้ครบว่าอายุ 30, 40, 50 จะประสบความสำเร็จยั่งยืนหรือไม่?            คุณนาวินครับ อย่าว่าแต่เด็กเลยแม้แต่ผู้ใหญ่เองบางครั้งก็มองอะไรผิด ๆ เช่น คุณสมรักษ์ คำสิงห์ ชนะเหรียญทองโอลิมปิกแต่หลังจากนั้นชีวิตล้มเหลว ชีวิตจริงเป็นแบบอย่างให้คนรุ่นหลังได้หรือไม่?

นักกีฬาอีกคนที่ผมชอบวิเคราะห์ คือ Mike Tyson ตอนหนุ่มเก่งมากแต่การดำเนินชีวิตในระยะยาวผิดพลาดหมด แต่จอร์ช โฟร์แมนซึ่งอาจจะไม่เก่งเท่าไมค์ แต่คิดเป็น วิเคราะห์เป็น การดำเนินชีวิตของเขาในระยะยาวก็อยู่รอด บทเรียนครั้งนี้ก็ไม่ใช่ดีสำหรับนักกีฬา เท่านั้น แต่ดีสำหรับทุกอาชีพ แม้แต่อาชีพนักการเมืองซึ่งบางครั้งแม้จะมาจากครอบครัวที่มีอำนาจ มีเงิน แต่ถ้าไม่รู้จักพอ โลภ แล้วจะเหลืออะไรไว้เป็นมรดกความดีต่อสังคมไทย

ชฎารัตน์ เฮงษฎีกุล

Dear Prof.Dr.A.Chira,

            This is my first time to join this blog. Thanks to A.Chira who creates this blog and gives us a good learning through sports and all the well-known athletes; and makes the lessons so interesting. Highly appreciate your efforts. Honestly, I am really not keen on and not good at sports. It cannot interest me, in fact. Once having a skim reading through this blog, it is, something behind the lesson to consider. Do not hesitate to share and discuss in the blog if you think so.

Below is to share my opinion on the

1.            Olympic Games in China, and

2.            How to enhance human capital for the global economy through sports.

Olympic Games – What is the message China wants to convey???

In China, Mao Zedong saw sports victories as a way to prove the superiority of the socialist way. Then, China started to cultivate national teams. Sports also played an eminently political role in China. When Mao decided the time had come to make friends in the West, he found sports a handy tool for that purpose, too.

Chinese nationalists in this century saw athletics as a way to create vigorous men who could wage war and change the country's reputation as the "sick man of East Asia.” On the other hand, in these three decades, China has entered into normal relations with most countries, becoming a diplomatic as well as an economic player in Asia and beyond. By hosting the Games, China is going to celebrate this status. Perhaps more important, it is going to receive international recognition of its achievements and the acceptance of the Communist Party toward political change.

Is the 2008 Beijing Olympics, where China hopes to win more medals than any other nations, intended to have a political message to the world???

How to enhance human capital for the global economy through sports

(From the report by the Economic Review Subcommittee)

Some interesting and practical guidelines are made in the report. For example:

1.            To nurture a creative mindset for future generations by promoting successful sports education in schools and widening the scope of sports education.

            The situation cannot change overnight. But Ministry of Education can play a vital role by commencing long term planning now to effectively deliver sports education as an integral part of the formal curriculum, of equal importance to other areas of study ie: English.

2.            Government needs to send strong signals endorsing the importance of sports to a creative workforce and for successful economic development.

            Speeches by nation leader should emphasize the importance of sports, policy decisions should reflect the support by fostering a more accommodating society and through greater funding for sports, ie: China leader, Mao Zedong strongly supported sport activities and used for political purpose.

3.            To increase opportunities and awareness of people to participate in sport activity

            Presently there is a low level of awareness and appreciation of the importance of sports. To date, the key message delivered to the public on the benefits of sports is health and fitness (keeping fit is the reason for sports participation) There is a need to promote sports from a new angle, ie sports add value to a person’s work performance, sports leading to reputation and prosperity of yourself, the family, and the nation.

Quote: “But winning medals should not be the be all and end all of sport. Simple participation, in the spirit of fair play and sportsmanship, is equally important. Health, vitality, competitiveness and teamwork are other qualities that we can develop. We do not need to be a medal-winning athlete to benefit from sport. “

PM Goh Chok Tong, July 2001

Quote: “Sports make such a good laboratory for exploring learning and change. It is because performance in sports is so directly observable, and the goals are so clear, that differences in performance are more visible”.

Timothy Gallwey

Author, Inner Game book

Best regards,

Chadarat Hengsadeekul

เจนวิทย์ เลิศอารยกุล

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และสวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน

                 แรงจูงใจคือพลังที่ยิ่งใหญ่: สร้างได้ในการกีฬา

          วันนี้อยากแสดงความคิดเห็นเรื่องกีฬาในบ้านเมืองเรา ผมเองก็ชอบเล่นกีฬาตั้งแต่เด็กตั้งแต่ ป. 1 เป็นต้นมา จนถึง ป.7 แต่โรงเรียนที่ผมเรียนอยู่สมัยประถมปีที่1 – 7 เป็นโรงเรียนในชนบทมาก ๆ (ปี 2511 – 2517 ) สมัยนั้น ไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึง ถนนเป็นถนนดินโคลนตามธรรมชาติที่เข้าถึงเมืองได้ ทุกครั้งเมือถึงชั่วโมงวิชาพละศึกษา ผมจะคึกคัก มีความกระตือรือร้น อยากจะเรียน อยากจะลงสนาม แต่สมัยนั้น อาจารย์ที่เก่งๆ เรื่องการกีฬา ที่สอนเฉพาวิชาพละยังไม่มี ก็อาศัยอาจารย์คนเดียวกับที่สอนวิชาคณิตศาสตร์ มาทำหน้าที่สอนวิชาพละเราอีกด้วย ไม่ได้มีการสอน Basic อะไร ถึงชั่วโมงก็ลงสนาม มีลูกฟุตบอลลูกเดียว ก็ลงเตะกันชุลมุน มั่วกันไปหมด เตะแบบไร้ทิศทาง บอลมาถึงเท้าก็เตะให้แรงเข้าไว้ จะไปทิศทางไหนก็ไม่สนใจ ลูกไปทางไหนก็วิ่งเฮโลไปทางนั้น นานๆ ถึงจะได้แข่งแบบเป็นทีม แต่ผมก็ถูกคัดเลือกให้ลงเตะเป็นทีม

           ในการแข่งขันระหว่างกลุ่มโรงเรียนต่างๆ จำได้ว่าสมัยเรียนอยู่ ป.4 ผมเล่นเป็นปีกขวา การเป็นปีกต้องวิ่งเร็ว ผมก็สามารถเตะลูกโด่งแรงข้ามหัวลอยเข้าประตูไปอย่างง่ายดาย ทำให้ทีมผมชนะไปในการแข่งขันนั้น

          ใครจะเชื่อว่า ความสำเร็จในคราวนั้น ยังอยู่ในความทรงจำที่ดีสำหรับผมตลอดมา จนย้ายมาเข้าเรียน ม.ศ.1 – 3 ที่โรงเรียน บุญวัฒนา นครราชสีมา ที่เป็นโรงเรียนในตัวเมืองโคราช แต่มาพักอาศัยอยู่กับญาติ

          ตอนอยู่ ม.ศ.1 ผมฝึกซ้อมวิ่งรอบๆ สนาม ฝึก Basic ต่างๆ (มีอาจารย์สอนวิชาพละศึกษาทางฟุตบอลโดยตรง) ฝึกฝนตอนเลิกเรียนทุกวัน เพื่อเตรียมคัดตัวเป็นนักฟุตบอลของโรงเรียน อาศัยที่เป็นคนฝึกซ้อมเป็นประจำ ฝีเท้าพอไปได้ (ตัวยังเล็กกว่าเพื่อน) ก็เลยติดเป็นตัวสำรอง ดีใจที่จะได้เป็นนักฟุตบอลของโรงเรียน แต่มีปัญหาเรื่องเวลา เพราะต้องช่วยญาติทำงานตอนเย็นหลังเลิกเรียนด้วย พ่อผมก็เลยไม่อนุญาต ให้ผมเล่นกีฬา เพราะต้องช่วยญาติทำงานหลังเลิกเรียน ดังนั้น ความหวังผมก็หมดลงไป ด้วยความจำเป็น

 

 

            ที่ยกตัวอย่างของตัวเองมาในเรื่องแรงจูงใจ ว่า ถ้าเราสามารถสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นได้ในตอนเป็นเด็กได้ จะทำให้เรารักที่จะเป็นนักกีฬา อยากจะซ้อม อยากจะแข่ง เมื่อได้ลงสนามก็จะเกิดความภาคภูมิใจเพราะมีสายตาคนดู เป็นแรงจูงใจ ตอนยังแตกเนื้อหนุ่ม ก็เป็นธรรมดาที่อยากจะแสดงความสามารถอวดสาวๆ ให้มาชอบเราได้ ด้วยการกีฬา เช่นกัน

เจนวิทย์ เลิศอารยกุล

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และสวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน

         แรงจูงใจคือพลังที่ยิ่งใหญ่ : สร้างได้ในการกีฬา

        วันนี้อยากแสดงความคิดเห็นเรื่องกีฬาในบ้านเมืองเรา ผมเองก็ชอบเล่นกีฬาตั้งแต่เด็กตั้งแต่ ป. 1 เป็นต้นมา จนถึง ป.7 แต่โรงเรียนที่ผมเรียนอยู่สมัยประถมปีที่1 – 7 เป็นโรงเรียนในชนบทมาก ๆ (ปี 2511 – 2517 ) สมัยนั้น ไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึง ถนนเป็นถนนดินโคลนตามธรรมชาติที่เข้าถึงเมืองได้ ทุกครั้งเมือถึงชั่วโมงวิชาพละศึกษา ผมจะคึกคัก มีความกระตือรือร้น อยากจะเรียน อยากจะลงสนาม แต่สมัยนั้น อาจารย์ที่เก่งๆ เรื่องการกีฬา ที่สอนเฉพาวิชาพละยังไม่มี ก็อาศัยอาจารย์คนเดียวกับที่สอนวิชาคณิตศาสตร์ มาทำหน้าที่สอนวิชาพละเราอีกด้วย ไม่ได้มีการสอน Basic อะไร ถึงชั่วโมงก็ลงสนาม มีลูกฟุตบอลลูกเดียว ก็ลงเตะกันชุลมุน มั่วกันไปหมด เตะแบบไร้ทิศทาง บอลมาถึงเท้าก็เตะให้แรงเข้าไว้ จะไปทิศทางไหนก็ไม่สนใจ ลูกไปทางไหนก็วิ่งเฮโลไปทางนั้น นานๆ ถึงจะได้แข่งแบบเป็นทีม แต่ผมก็ถูกคัดเลือกให้ลงเตะเป็นทีม ในการแข่งขันระหว่างกลุ่มโรงเรียนต่างๆ

           จำได้ว่าสมัยเรียนอยู่ ป.4 ผมเล่นเป็นปีกขวา การเป็นปีกต้องวิ่งเร็ว ผมก็สามารถเตะลูกโด่งแรงข้ามหัวลอยเข้าประตูไปอย่างง่ายดาย ทำให้ทีมผมชนะไปในการแข่งขันนั้น ใครจะเชื่อว่า ความสำเร็จในคราวนั้น ยังอยู่ในความทรงจำที่ดีสำหรับผมตลอด มา จนย้ายมาเข้าเรียน ม.ศ.1 – 3 ที่โรงเรียน บุญวัฒนา นครราชสีมา ที่เป็นโรงเรียนในตัวเมืองโคราช แต่มาพักอาศัยอยู่กับญาติ ตอนอยู่ ม.ศ.1 ผมฝึกซ้อมวิ่งรอบๆ สนาม ฝึก Basic ต่างๆ (มีอาจารย์สอนวิชาพละศึกษาทางฟุตบอลโดยตรง) ฝึกฝนตอนเลิกเรียนทุกวัน เพื่อเตรียมคัดตัวเป็นนักฟุตบอลของโรงเรียน อาศัยที่เป็นคนฝึกซ้อมเป็นประจำ ฝีเท้าพอไปได้ (ตัวยังเล็กกว่าเพื่อน) ก็เลยติดเป็นตัวสำรอง ดีใจที่จะได้เป็นนักฟุตบอลของโรงเรียน แต่มีปัญหาเรื่องเวลา เพราะต้องช่วยญาติทำงานตอนเย็นหลังเลิกเรียนด้วย พ่อผมก็เลยไม่อนุญาต ให้ผมเล่นกีฬา เพราะต้องช่วยญาติทำงานหลังเลิกเรียน ดังนั้น ความหวังผมก็หมดลงไป ด้วยความจำเป็น

           ที่ยกตัวอย่างของตัวเองมาในเรื่องแรงจูงใจ ว่า ถ้าเราสามารถสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นได้ในตอนเป็นเด็กได้ จะทำให้เรารักที่จะเป็นนักกีฬา อยากจะซ้อม อยากจะแข่ง เมื่อได้ลงสนามก็จะเกิดความภาคภูมิใจเพราะมีสายตาคนดู เป็นแรงจูงใจ ตอนยังแตกเนื้อหนุ่ม ก็เป็นธรรมดาที่อยากจะแสดงความสามารถอวดสาวๆ ให้มาชอบเราได้ ด้วยการกีฬา เช่นกัน คนเราได้สร้างให้เกิดแรงจูงใจที่ดี ที่สำเร็จได้ ภาพนั้นก็จะถูกบันทึกไว้ในสมอง และมีแนวโน้มว่าจะต้องทำให้ดีขึ้น จะต้องทำให้สำเร็จ

            เพียงประเด็นเดียวนี้ก็อาจจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการกีฬาของประเทศไทยได้ ซึ่งใครๆ ก็สามารถพูดได้ บอกได้ เรื่องนี้เป็นที่รู้ๆ กันอยู่แล้ว แต่ถ้าเรียนรู้จากประการณ์ความรู้สึกที่ดีของคนอื่นในเรื่องนี้จริงๆแล้วก็ จะทำให้เข้าใจความรู้สึกของคนๆ หนึ่งที่ผ่านความเป็นเด็กมาและได้รับแรงจูงใจที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเสียมากกว่า จะเกิดจากการถูกสร้างอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง ซึ่งสมัยนั้น แรงจูงใจแต่ละคนต่างคนต่างเสาะหา ได้รับมาในเรื่องกีฬาอย่างไม่เป็นระบบ ดังนั้นถ้าอยากจะให้เด็กไทยรักการกีฬาและพัฒนาควบคู่กับการศึกษาก็จะเป็นประโยชน์อย่างมากมายมหาศาล เพราะกีฬา สร้างทุกอย่าง คือสร้างให้เป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณค่าก่อน แล้วจะสร้างอย่างอื่นได้ดี

            ผมจึงอยากจะเห็นการพัฒนาทุนมนุษย์โดย อยากให้ ได้หันมาให้ความสนใจในด้าน การสร้างทุนทางกีฬา (Physical And Spirit Capital )ในด้านนี้ขึ้นด้วย เช่นกัน \

                   ด้วยความเคารพอย่างสูง

          เจนวิทย์ เลิศอารยกุล, ป.เอก PhD 2 , SSRU

นายอานนท์ จิตอุทัย

กราบเรียนท่านศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และสวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านครับ

                                                          

                                                          แวะมาเยี่ยม เวียนมาชม

 

                              ผมมีโอกาสแวะเข้ามาเยี่ยมชม Blog เรียนรู้จากกีฬากับ "ดร.จีระ" : สยามกีฬาเป็นครั้งแรก ผมขอส่งกำลังใจให้ท่านอาจารย์ดร.จีระ ในการสร้างสรรค์ข้อมูลความรู้ใหม่ๆ ให้เป็นแหล่งชุมชนเรียนรู้ออนไลน์ ที่มีการแชร์ความรู้ ความคิด ความเห็นซึ่งกันและกันครับ วันนี้ผมคงยังไม่มีอะไรมาแลกเปลี่ยนผ่านทาง Blog แห่งนี้ ผมเพียงแวะมาเยี่ยม ผมได้แหล่งเรียนรู้ใหม่เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งแหล่งที่ผมจะได้เข้ามาร่วมเรียนรู้ในเรื่องของกีฬากับท่านอาจารย์ ดร.จีระ และผู้สนใจท่านอื่นๆ ผ่านทาง Blog แห่งนี้ ผมจะหมั่นเวียนมาชมบ่อยๆ และโอกาสหน้าผมจะขอแชร์ความรู้ด้วยคนครับ...

 

 

                                                                                                                    ขอบคุณครับ

                                                                                                             นายอานนท์  จิตอุทัย

                                                                                  

นางสาวสุนันท์ โยธานันท์

กราบเรียน ท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมย์ และเพื่อนๆ ป.เอกทุกคน

ดิฉันก็เป็นคนหนึ่งที่สนใจทางด้านกีฬา แต่เป็นเรื่องของหมัดมวย ด้วยความที่บ้านอยู่บ้านนอกและคุณพ่อและน้องชายจะชอบดูทุกบ่าย วันอาทิตย์ เป็นประจำ จนดูเหมือนเป็นวัฒนธรรมในบ้านแล้วว่า ทุกบ่ายวันอาทิตย์ ทุกคนจะไม่ไปไหน จะดูมวยด้วยกัน เสียงเชียร์ที่ดังมาเป็นช่วงๆ เย้ว เย้ว ล้วนยังเป็นภาพที่ยังติดตาติดใจทุกวันนี้แม้เวลาจะผ่านมาเกือบ 40ปีแล้วก็ตาม แต่อดีตนั้นก็ยังสดใหม่เหมือนเพิ่งเกิดเมื่อวาน คิดว่ากีฬาก็ดีเนอะครอบครัวอยู่พร้อมหน้าพร้อมตา อบอุ่นไปอีกแบบ

และทุกครั้งที่ดูมวยดิฉันก็อดที่จะถามคุณพ่อไม่ได้ว่่าทำใม กว่าจะชกกันบางทีต้องแจกสร้อยคอทองคำจากสปอนเซอร์ จากห้างโน้น ห้างนี้ 10 บาท บ้าง 2บาท 5 บาท หรือไม่ก็ 2 สลึง เป็นอย่างต่ำ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้นักมวยก่อนชก กว่าจะชกก็รอนานมาก แล้วนักกีฬาก็สร้อยทองเต็มคอยังกับตู้ทองเคลื่อนที่ ซึ่งดิฉันคิดว่าเยิ่นเย้อเสียเวลามากๆ และดิฉันเห็นว่า นักมวยเมืองนอกไม่เห็นจะมีอะไรแบบนี้เหมือนบ้านเราเลย

เนอะ เป็นการสร้างค่านิยมในการเล่นกีฬาแบบหวังเงินรางวัลของตอบแทนมากๆ ไว้ก่อน โดยอาจละเลยเรื่องของการรู้แพ้รู้อภัย

และโดยการสร้างระบบอัดฉีดนี้เองที่ทำให้นักกีฬาในบ้านเรา อยากจะชนะคู่แข่งเพื่อหารายได้มากกว่ารักในอาชีพจริงๆ คิดว่าชนะแล้วผลหลังจากนั้น จะรวย มีรถ มีบ้าน หรือแม้กระทั่งมียศ เช่น นักมวยบางคนที่ได้รับการเลื่อนยศทางทหาร หลังจากเป็นฮีโร่

โอลิมปิค แต่ถ้าใครหลงระเริงกับเงิน และขาดวินัยในการฝึกฝน คิดว่าตัวเองถึงจุดสูงสุดแล้ว ก็ตกอยู่ในความประมาท ก็จะต้องพบกับชะตากรรมได้ เช่นสมรักษ์ คำสิงห์ ที่วันนึงถึงจุดเงินหมด แถมยังเป็นหนี้เป็นสินอีก ภาพแห่งวีระบุรุษนักชกก็มลายหายไปสิ้น น่าเสียดายจรืงๆ

เรื่องกีฬานั้นควรรักจากจิตใต้สำนึกของตัวเอง มิใช่เห็นแก่กอบโกยเงินอัดฉีดอย่างเดียว เมื่อเก่งแล้วควรจะรักษาความเก่งให้ตลอดไปให้ยั่งยืน เหลือคุณค่าให้อนุชนรุ่นหลังได้พูดถึงเราได้อย่างภาคภูมิใจ

นางสาวสุนันท์ โยธานันท์

PHD 2# SSRU

บทความครั้งที่ 5 ตีพิมพ์ในสยามกีฬา วันที่ 13 สิงหาคม 2551

เหรียญทองถวายสมเด็จฯ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา

ข่าวดี คนไทยพากันดีใจที่  ประภาวดี เจริญรัตนธารากูล   ชนะเลิศเหรียญทองยกน้ำหนัก เหรียญแรก ถวายในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 76 พรรษา  12  สิงหาคม แด่ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ

การแสดงความคิดเห็นกับบทความของผมเริ่มมีคนสนใจมากขึ้นเป็นลำดับ ผมก็คงจะต้องดูสักระยะว่า คอลัมน์ ผมจะมีแนวทางอย่างไร      ถ้ามีความสนใจก็จะเขียนต่อ เพราะ การเขียนแต่ละครั้งใช้เวลามาก และน่าจะสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้อ่านได้จริงๆ ในมุมอื่นๆ

มีคนโทรศัพท์ถึงผม (02-8848814) ว่าอ่านสยามกีฬา แจ้งว่า ความที่ไม่เคยชินจึงหาบทความของผมยากหน่อย เลยจะขอให้ทางสยามกีฬา ช่วยเน้นชัด ๆ ว่า อยู่หน้าใด และท่านยังบอกต่อไปว่า ชอบอ่านสยามกีฬาสนใจฟุตบอลไทย และลงข่าวอย่างละเอียดโดยเฉพาะระดับนักเรียน มหาวิทยาลัย และระดับไทยลีค    เห็นว่า แต่ละแมตช์ลงด้วยว่า มีคนดูกี่คน (ถึงจำนวนไม่มาก เขาก็อยากรู้) ผมคิดว่า นี่เป็นมาตรฐานสากล ผู้สื่อข่าวกีฬา ควรจะลงรูปการแข่งเพิ่มเติม  และลงจำนวนคนดูด้วย ผมคิดว่า การจะดูว่า กีฬาฟุตบอล ถึงอาชีพของเขาจะดีขึ้นหรือไม่ ก็คงจะดูที่จำนวนคนดู ผมหวังว่า คุณระวิ คงจะกระตุ้นให้มีข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนคนดูด้วย

ส่วนอีกเรื่องหนึ่ง ผมขอออกความเห็นเอง เป็นข่าวหน้าหนึ่งสยามกีฬาอาทิตย์นี้ ว่าจ้าง ปีเตอร์ รีด 4 ปี ปีละ 1 ล้านปอนด์   รวม 4 ปี 25 ล้านบาท  ผมขอฟันธงเลยว่าถ้าจริงคงจะไม่เหมาะสมเพราะต่อไปจะไปเปรียบเทียบกับค่าตัวของปีเตอร์ รีด กับโค้ช ในอังกฤษไม่ได้ เพราะรายได้ของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดหรือลิเวอร์พูลมหาศาล ของเรายังไม่ใช่ระดับอาชีพ และถ้าจะวิเคราะห์ให้ครบ 360  ประเด็นเหล่านี้ มาดูประกอบ

-โค้ชในกลุ่มคู่แข่งอย่างประเทศมาเลเซีย หรือสิงคโปร์ จะจ้างโค้ช เท่าไร

-นักเตะไทยอาชีพ รายได้เดือนละเทาไร

-โดยทางเศรษฐศาสตร์ ลงทุนไป 252 ล้าน 4 ปีคุ้ม หรือเปล่า อาจจะนำไปพัฒนาฟุตบอลเยาวชนไม่ดีกว่าหรือ

ถ้าสมาคมฟุตบอลจะเอาจริง พัฒนาระบบถ้วย ก, ข, ค ให้บริหารเป็นมืออาชีพ กว่าเดิมจะดีมาก ผมเคยเป็นผู้จัดการถ้วย ค ของสโมสรเทพศิรินทร์ การจัดการแข่งขันของสมาคมยังไม่เป็นมืออาชีพเลย และเราจะสร้างเยาวชนให้มาแทนที่ทีมชาติได้อย่างไร  หากระบบถ้วยเล็ก ๆ ไม่ได้รับการดูแล

มีข่าวดีคือ ประหยัด มากแสง อยู่ที่ +3 ของ US PGA ซึ่งเป็นกอล์ฟระดับใหญ่ 1 ใน 4 ของ Grand Slam คราวที่แล้ว ก็ได้เขียนเกี่ยวกับคุณธงชัย ใจดีไว้แล้วครั้งหนึ่ง ไม่รู้ว่าคุณประหยัด มากแสง จะยืนระยะได้หรือเปล่า เพราะการแข่งขันครั้งนี้  ถึงไม่มีไทเกอร์ วู้ด และระดับ 10 คนแรก ก็มหากาฬทั้งสิ้น  ผมมั่นใจว่า กอล์ฟของเราวันหนึ่งคงไปถึงจุดสูงกว่านี้ คือต้องไปถึงชนะระดับ PGA ก่อนอื่น ไม่ต้องถึง Grand Slam หรอก ผมจะดูและติดตามวันอาทิตย์ เอาใจช่วยครับ

ผู้อ่านที่ส่ง Blog มามีส่วนร่วมโดย คุณพงศธร โฆสิตธรรมเขียนถึงผมว่า

 

ผมอยากให้ประเทศไทยมองเรื่องพลศึกษาและกีฬามากขึ้น เพราะพลศึกษาและกีฬาเป็นเรื่องที่สำคัญเรื่องนึงในการพัฒนาประเทศชาติ เพราะสอนคนหลายๆ อย่างในเรื่องกฎ "กติกา" ฝึกเรื่องการออกกำลังกาย สอนเรื่องการทำงานเป็นทีม การรู้แพ้รู้ชนะ การมีน้ำใจนักกีฬา รวมถึงการมีระเบียบวินัย

          นอกจากกีฬาจะเป็นเกมชนิดหนึ่งแล้ว ยังเป็นการออกกำลังกายที่ดีอีกด้วย เนื่องจากคนที่เล่นกีฬาบางคน เล่นเพื่อการออกกำลังกาย ทำให้ผู้เล่นมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ก็จะเจ็บป่วยน้อย ถ้าประชาชนในชาติแข็งแรง ประเทศชาติก็จะพัฒนาได้เนื่องจากประชาชนมี "ทุนทางสุขภาพ" ที่ดี เมื่อร่างกายดี สมองก็ทำงานได้เต็มที่ ภาระของทางรัฐบาลในเรื่องการรักษาพยาบาลประชาชนก็น้อยลง

การใช้งบประมาณของประเทศในการสนับสนุนเรื่องพลศึกษาและกีฬา จะทำให้คนในชาติแข็งแรง ใช้งบประมาณน้อยกว่าการนำงบประมาณไปรักษาสุขภาพของประชาชนที่เจ็บป่วย การสนับสนุนให้คนเล่นกีฬา โดยการสร้างลานกีฬา และสุขภาพ ตามแหล่งชุมชนต่างๆ รวมถึงการจัดการแข่งขันกีฬาในระดับต่างๆ ให้กับประชาชน จะเป็นการส่งเสริมเยาวชนให้ห่างไกลยาเสพติด มีสุขภาพแข็งแรง มีวินัย เป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคตต่อไป

พลศึกษาและกีฬาสร้างคน คนสร้างชาติ

            เป็นข้อเขียนที่น่าสนใจมาก    ข้อดีของการมองกีฬาเป็นบทเรียนก็คือ ระดับผู้นำประเทศ  ต้องมีวิสัยทัศน์กีฬาของชาติ   ต้องลงทุนเรื่องสนามฝึกพละ สนามกีฬามากขึ้น ปัญหาของเราก็คือ กระทรวงมหาดไทยที่เคยดูแลจังหวัดต่างๆไม่ได้ลงทุนในเรื่องกีฬา ในทางเศรษฐศาสตร์ ถ้าลงตั้งแต่ 30 ปีที่แล้วในเรื่องสนามกีฬา ก็จะไม่เสียเงินเท่าวันนี้ เพราะค่าก่อสร้างในอดีตถูกกว่าปัจจุบันมาก และระดับอบจ. เทศบาล อบต.ต้องมีส่วนด้วย องค์การกีฬาคงจะต้อง มองในระยะยาว บทความของผมก็คงจะกระตุ้น ให้เกิดความสนใจ และในปัจจุบัน โรงเรียนและพ่อแม่ ก็ต้องเอาจริงในการปลูกฝัง   สนับสนุนกีฬา ไม่เฉพาะระยะสั้น แต่ต้องพัฒนาทุนมนุษย์ซึ่งมีคุณเจนวิทย์ เลิศอารยกุลเขียนถึงผมว่า  นักกีฬาต้องมี Physical Capital และ Spiritual Capital ก็คือ สุขภาพร่างงกายต้องแข็งแรง จิตวิญญาณต้องดีด้วย

            ถ้าเราทำการวิจัยกันก็คงจะพบว่า คนไทยที่ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา มักจะมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ต้องหาหมอบ่อยๆ ซึ่งก็จะประหยัดเงินไปได้มากมายเป็นแสนๆล้าน

            ฟุตบอลอังกฤษ คืนนี้เริ่มแล้ว คงจะสนุกสนานกันอีก 7-8 เดือน น้องที่เป็นเยาวชน ละเว้นเรื่องการพนันลงบ้าง หันมาสนใจและดูกีฬาอย่างจริงจัง เช่นมีการตั้งคำถามต่างๆ ที่น่าสนใจเช่น

            ฟุตบอลอังกฤษครั้งนี้ 4 ทีมที่เข้าวินแบบเคย คือ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด อาร์เซนอล ลิเวอร์พูล และเชลซี จะมีทีมไหนหลุดไปและหลุดแล้ว จะเป็นใครอย่างเช่น สเปอร์หรือเอเวอร์ตันหรือวิลล่า

            -ทีมน้องใหม่ 3 ทีมมี สโต๊ก, เวสบรอม และ ฮัล จะมีโอกาส ตกชั้นกี่เปอร์เซ็นต์ และช่องว่างระหว่างลีคห่างกันจัง

            -ระดับโคคาโคล่าลีค ใครจะมีโอกาสมาที่หนึ่ง ผมอ่านดูจาก ลอนดอนไทม์ บอกว่า เบอร์ 1 น่าจะเป็นเบอร์มิงแฮม เบอร์ 2 น่าจะเป็น ดาร์บี้ ทายถูกจริงหรือเปล่า

            ผมเองถึงแม้จะสนใจพรีเมียร์ลีค ติดตามฟุตบอลอังกฤษมานาน สมัยเป็น นักเรียนนิวซีแลนด์ ทีมอย่างเชฟฟิลด์ยูไนเต็ด กับแบล็คพูล ดังกว่านี้มาก     เงินไม่พอหรือบริหารจัดการไม่ดี เมืองใหญ่อย่างเชฟฟิลด์ทำไมจึงมีฟุตบอลไม่เก่งอย่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดหรือลิเวอร์พูล น่าสนใจมาก

            แต่ที่น่าสนใจกว่านั้น ก็คือ คนไทยน่าจะศึกษาความจงรักภักดีของแฟนบอลของเขา เพราะใน 1 ลีค โคคาโคล่า บางครั้งคนดูก็มีถึง 30,000 คน แต่ทีมอย่าง  แทมตัน ไม่ได้อยู่พรีเมียร์ลีค แต่คนดู 30,000 คน เมืองไทยคนดู 5,000 ก็เก่ง ผมฝันว่า คอลัมน์ผมจะกระตุ้นให้คนไทยหันมาสนับสนุนทีม ของตัวเขามากขึ้น ผมจะไปเยี่ยมฟุตบอลที่มีสโมสรต่างจังหวัดและไปให้กำลังใจในต่างจังหวัดมากขึ้น

มีคนถามผมว่า โอลิมปิคครั้งนี้ อาจารย์สนใจอะไร ประเทศจีนต้องการจะบอกโลกในความยิ่งใหญ่และในคอลัมน์ของผมในแนวหน้า ก็เน้นทุนทางวัฒนธรรมที่จีนนำเสนอ คือ ให้เห็นว่ากีฬาสร้างชาติได้ สร้างรายได้ สร้างทุนมนุษย์ สร้างความยิ่งใหญ่จากอดีตมาสู่ปัจจุบัน แต่บางครั้งในวงการ กีฬา ไม่ได้สนใจว่าเป็นทุนทางวัฒนธรรม  เรามองอะไรไม่เด่นชัด   เช่นไทยเคยเก่งมวยไทยซึ่งเคยเป็นเบอร์ 1 ของโลกก็ไม่รักษาไว้ไม่เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมมวยไทย แต่ปรากฏว่า ท่านองคมนตรีพลเอกพิจิตร กุลวณิชย์ เห็นด้วยและต้องการรักษาวัฒนธรรมนี้ไว้  ขนมไทย และอาหารไทยก็จะค่อย ๆ หายไปเพราะไม่มีใครอนุรักษ์  พูดกันว่าแค่กระทรวงเกรด C ผมจึงขอฝากให้รัฐมนตรี ขุนค้อนคนใหม่เอาจริงเรื่องเพลง หนังไทย ศิลปะ บุกไปสู่ตลาดโลกด้วย

ในระดับโอลิมปิค ผมจะติดตามบาสเก็ตบอลชายว่า ใครได้เหรียญทอง ผมจะเป็นคนไทยที่อยู่ตรงกลางระหว่างกีฬาของอเมริกันกับกีฬาของยุโรปโดยเฉพาะอังกฤษ ซึ่ง TNN ช่อง sport มีการเอาบาสเก็ตบอลดีๆ NBA หรือฟุตบอลอเมริกามาเปิดให้ดู     จะดูว่า Dream Team ของอเมริกาจะชนะไหม เพราะคนอเมริกันชอบคุยโตว่า ชิงแชมป์ NBA บาส คือเป็นแชมป์โลก ในระดับโลกจริง  แต่โอลิมปิกยังไม่เคยได้เหรียญทองสักครั้ง ผมจะดูว่าครั้งนี้ได้เหรียญทองอย่างที่คุยหรือเปล่า

ผมขอให้กำลังใจ  เอาใจช่วยนักกีฬาไทยเต็มที่ เพราะเคยได้เหรียญทองมาแล้ว อย่าให้คนไทยผิดหวัง และข่าวดีๆอย่างนี้ไม่ค่อยจะมี ฝากให้กำลังใจ น้องชายเขียวเหลือง ธนา ไชยประสิทธิ์ หัวหน้านักกีฬาไทยด้วย น้องธนาสู้ๆ ฮุยเล

 

 

 

นายอานนท์ จิตอุทัย

เรียนท่าน ดร.จีระ และสวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านครับ

 

 

                              ผมได้ติดตามอ่านเรียนรู้จากกีฬากับ "ดร.จีระ" : สยามกีฬา บทความครั้งที่ 5 ตีพิมพ์ในสยามกีฬา วันที่ 13 สิงหาคม 2551 ผ่านทาง Blog นี้ ผมขอแสดงความคิดความเห็นเพิ่มเติมจากท่านผู้อ่านท่านอื่นๆ เช่นคุณพงศธร โฆสิตธรรม คุณเจนวิทย์ เลิศอารยกุล ว่ากีฬายังสอนให้เรารู้จักความมีน้ำใจในการเป็นนักกีฬา รู้จักแพ้ รู้จักชนะ รู้จักการให้อภัยซึ่งกันและกัน รู้จักการเคารพกฎ กติกา มารยาท ระบบระเบียบที่กำหนดไว้ ผมเห็นว่าถ้าผู้ใหญ่ในบ้านในเมืองของเรามีน้ำใจนักกีฬา คือ รู้แพ้ รู้ชนะ รู้การให้อภัยซึ่งกันและกัน เคารพกฎกติกา มารยาททางสังคม บ้านเมืองไทยเราน่าจะมีแต่ความสุข อย่างน้อยๆ ก็สุดใจที่ไม่ได้เห็นคนไทยทำลายคนไทยด้วยกันเองอย่างเช่นเกิดขึ้นที่จังหวัดอุดรธานีครับ...

 

                                                                                                                 ขอบคุณครับ

                                                                                                          นายอานนท์  จิตอุทัย

ผมต้องขอขอบคุณอาจารย์จีระที่เสียสละเวลามาให้มุมมอง และแง่คิดที่เป็นประโยชน์ต่อแวดวงกีฬา ผมเองก็สนใจกีฬาแต่ยังมีมุมมองที่ยังไม่กว่างนัก

ผมมีความคิดเห็นเล็กน้อยเกี่ยวกับโอลิมปิกครั้งนี้ ประเด็นคือ ประเทศไทยมักจะให้เงิน ชื่อเสียง และการยอมรับมากเกินไปแก่นักกีฬาผู้ที่ได้ชัยชนะ แต่กลับละเลยที่จะให้กำลังใจแก่ผู้ที่พ่ายแพ้หรือยังไม่ประสบความสำเร็จ ผมจึงอยากให้อาจารย์กระตุ้นให้ผู้ที่มีอำนาจ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้โอกาสแก่ผู้แพ้ด้วย

                                                                   สมบัติ

สวัสดีครับอาจารย์จีระที่เคารพ

ผมอยากให้อาจารย์ช่วยวิเคราะห์ว่าทำไมฟุตบอลไทยสู้ฟุตบอลในแอฟริกาไม่ได้ และอยากทราบว่านายกสมาคมฟุตบอลในแอฟริกาส่วนมากมีอาชีพอะไร

                                                                                                                รัตน์

ขอขอบคุณคุณสมบัติและคุณรัตน์ครับที่ส่งความคิดเห็นเข้ามา เป็นประเด็นที่ดีมาก ผมจะหาข้อมูลมาให้นะครับ

                                                               จีระ หงส์ลดารมภ์

 

วราภรณ์ เผือกคล้าย

สวัสดีค่ะอาจารย์จีระที่เคารพ

ทำอย่างไรจึงจะแยกกีฬาออกจากการพนันได้คะ

การกีฬาดีขึ้นมากในขณะที่การพนันก็งอกงามไม่แพ้กัน ขอให้อาจารย์ช่วยกระตุ้นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ตระหนัก และหาวิธีเยียวยาด้วยค่ะ โดยเฉพาะกลุ่มของเยาวชนน่าห่วงมากค่ะ

ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะและจะขอติดตาม blog ของอาจารย์ต่อไปค่ะ

บทความครั้งที่ 6 ตีพิมพ์ในสยามกีฬา 

วันที่ 20 สิงหาคม 2551

                           โอลิมปิกที่ปักกิ่ง (ตอน 2)

        ระหว่างที่ผมเขียนนี้ไทยยังอยู่ที่ 1 เหรียญทอง มวยเข้ารอบสุดท้ายแล้ว 4 รุ่น คาดหวังว่าไทยคงจะได้เหรียญเพิ่มขึ้น คุณเก๋ ประภาวดี เจริญรัตนธารากูล ก็ทำให้คนไทยภูมิใจและฉลองวันแม่ไปเรียบร้อยแล้ว

        สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ ทรงรับสั่งเกี่ยวกับเมืองไทยไว้ 3 เรื่อง จะนำมาวิเคราะห์และขอให้ผู้ที่สนใจกีฬานำไปพิจารณาต่อไป

        เรื่องแรก คือ เรื่องการศึกษาไทยในปัจจุบันที่ยังไม่เน้นเรื่องประวัติศาสตร์และศีลธรรม พระองค์ท่านจึงทรงให้เห็นความสำคัญที่จะปรับปรุงหลักสูตรเหล่านี้ เป็นประเด็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง และการศึกษาไม่จำเป็นต้องเน้นการศึกษาอย่างเป็นทางการ สื่ออย่าง สยามกีฬาก็เป็นแหล่งการเรียนรู้ได้ พระองค์ท่านสนับสนุนให้คนไทยหวงแหนศิลปวัฒนธรรม โครงการศิลปาชีพเป็นตัวอย่างที่กระทรวงศึกษาโดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับอาชีวศึกษานำไปพิจารณา

        ประเด็นที่สอง คือ เรื่องวิธีการพัฒนาประเทศควรจะดูแลทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะน้ำและป่าไม้ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญและคนไทยควรจะน้อมรับไว้ ธุรกิจหลายแห่งเริ่มสนใจ Green Business หลายแห่ง เช่น ปตท. ก็เอาจริงกับเรื่องการปลูกป่า สำหรับผมเน้นการพัฒนาทุนมนุษย์ที่ช่วยสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นจึงจะเป็นการทำงานที่สมดุล

        สุดท้าย ก็คือ เรื่องของข้าราชการ ไม่ว่าจะเป็นตำรวจหรือทหารหรือข้าราชการทั่วๆ ไป โดยเฉพาะภาคใต้ที่เสียสละ และอุทิศตนน่ายกย่อง พระองค์ท่านทรงยกย่องตำรวจที่เคยอารักขาพระองค์ท่านทางใต้ที่เสียชีวิตไป คือ ร.ต.อ.ธรณิศ ศรีสุข และ ร.ต.ต.กิตติกุล บุญลือ มีความมุ่งมั่น มีจิตวิญญาณ มีอุดมการณ์ที่จะรับใช้ชาติ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่จรรโลงประเทศของเราไว้

 

        กลับมาเรื่องโอลิมปิกมีหลายประเด็นที่น่าจะพูดถึง

        เรื่องแรกก็คือ การแข่งขันผ่านไปแล้วอาทิตย์กว่า ๆ ต้องยอมรับว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เรียบร้อยดี ความเสี่ยงเรื่องการควบคุมไว้ได้ มีหลายกลุ่มเห็นว่า คนจีนในปักกิ่งเองต่างหากที่ดูเหมือนว่าถูกจำกัดเสรีภาพเพื่อให้ภาพต่าง ๆ ที่ออกมาดี ก็ต้องดูกันต่อไป เหลืออีกประมาณ 1 อาทิตย์ก็จะจบเรื่องนี้

        เรื่องที่สองก็คือ บทเรียนจากกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้ต่อไทยก็มีมาก        

       o เรื่องแรกก็คือ เมื่อไหร่ไทยเราจะมีโอกาสได้เป็นเจ้าภาพ ผมยังคิดว่าไทยจัดได้แต่รัฐบาลหรือหากกลุ่มไหนจะริเริ่ม ต้องเป็นการวางแผนระยะยาว อย่างในอังกฤษเขาก็จะเชิญอดีตนักกีฬาเหรียญทองโอลิมปิกมาช่วย อย่าง Sebastian Coe อดีตนักวิ่งระยะทาง 800, 1500 เมตรเหรียญทองโอลิมปิกมาเป็นประธานเตรียมการจัดโอลิมปิกลอนดอน 2012 ซึ่งเขาก็ทำได้ดี มาดูอดีตเหรียญทองของเราวันนี้หายไปจากวงการ บางคนก็กลายเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี เรายังใช้ประโยชน์จากนักกีฬาเหรียญทองของเราน้อยเกินไป

        o จุดสำคัญของประเทศไทยน่าจะเน้นให้คนไทยได้ออกกำลังกายอย่างจริงจัง เพราะคนไทยทุกวันนี้บ้าเงิน กับบ้าอำนาจ มีชีวิตที่ไม่ค่อยสมดุลเท่าไหร่นัก

         o ต่อมาน่าจะมองกีฬาเป็นเรื่องการจ้างงานของคนไทย และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น เพราะ GDP ทางภาคบริการ ก็จะขยายตัวได้ดี

         o จะเห็นว่าผู้บริหารสมาคมกีฬาต่าง ๆ ทำตัวเป็นมืออาชีพมากขึ้น และพร้อมที่จะแข่งขันต่อสู้กันในระดับโลกมากขึ้น

          การจัดโอลิมปิกที่จีนครั้งนี้ หนังสือพิมพ์ Business Week เล่มล่าสุด เขียนว่ากีฬาระดับโอลิมปิกสร้างงานและสร้างธุรกิจต่าง ๆ ในโลกได้ มาก มีการค้า มีธุรกิจใหม่เกี่ยวกับกีฬาและโอลิมปิกซึ่งเน้นคำว่า นวัตกรรมหรือ “Innovation” ซึ่งเป็นแนวคิดที่เหมาะจะนำมาใช้กับสังคมไทยด้วย เพราะสังคมไทย ธุรกิจและราชการไทยยังมองอะไรแบบเดิม ไม่ค่อยจะมีความคิดสร้างสรรค์และนำไปสู่นวัตกรรม ซึ่งกีฬาก็ช่วยกระตุ้นให้เกิด Innovation ใหม่ ๆ ได้ หนังสือ Business week ว่าแค่ค่าใช้จ่ายในเรื่องการดูแลความปลอดภัยอย่างเดียวก็ทำให้เกิดการจ้างงานกันอย่างมาก สำหรับผมชื่นชมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยที่เผยแพร่ผลไม้ไทยให้นักกีฬาโอลิมปิกได้ทดลองชิมดู เป็นการเผยแพร่เพื่อการส่งออกได้ดี

          3- 4 ประเด็นสุดท้ายเกี่ยวกับโอลิมปิก ที่ควรจะนำไปวิเคราะห์ต่อ

          จีนไม่ได้เก่งเรื่องพิธีเปิดเท่านั้น แต่เก่งจริงเรื่องกีฬา ระหว่างที่ผมเขียนต้นฉบับ ก็พูดได้เลยว่า จีนต้องชนะที่หนึ่งเหรียญทองแน่นอน อเมริกาซึ่งเคยชนะเหรียญทองอันดับหนึ่งเสมอ ก็ลงมาอยู่อันดับ 2 คำถาม ก็คือ ผลกระทบต่อกีฬาโลกจะเป็นอย่างไร? คงจะต้องติดตามต่อไป กีฬาของโลกจะเคลื่อนย้ายความสำคัญจากตะวันตกมาตะวันออกอย่างไร? จะเชื่อมโยงกันอย่างไร? จะขยายมาทางจีนและสร้างธุรกิจอย่างมหาศาล

          ที่ผมประทับใจมากก็คือ ความสามารถของ ไมเคิ่ล เฟลป์ส นักว่ายน้ำหนุ่มชาวสหัฐอเมริกา เป็นคนที่มีอัจฉริยะภาพมาก ระหว่างที่เขียนอยู่ก็สามารถได้เหรียญทองแล้วประมาณ 8 เหรียญ ซึ่งรวมกับเหรียญทองคราวที่แล้วอีก 5 เหรียญถือว่ามากที่สุด ผมว่าคนว่ายน้ำเก่งน่าจะเป็นคนประเภทว่ายเหมือนปลาน่าชื่นชมมาก

          ก่อนจบ ผมคงจะต้องฝากเรื่องฟุตบอลอังกฤษไว้ คือ ขอแสดงความเสียใจกับสเปอร์ที่ออก Start ได้ไม่ดีเลย ทั้ง ๆ ที่นักข่าวต่างประเทศส่วนมากวิเคราะห์กันว่าจะมีโอกาสได้ดี ในฐานะที่ผมเป็นแฟนพันธุ์แท้ ก็คงจะพูดว่ารอมาเกือบ 50 ปี รออีกปีก็คงไม่นานเกินไป ก็ต้องดูต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร

          ดูเหมือนว่า ทีมน้องใหม่ที่เพิ่งขึ้นมา ออก 2 แนว คือ ทีม สโตค ก็คงคล้าย ๆ กับ ดาร์บี้ แต่ทีมฮัลก็สามารถทำสถิติชนะได้ ต้องดูในต่อไปว่าทั้ง 3 ทีมจะรอดกลับไปหรือไม่

                                      จีระ  หงส์ลดารมภ์

สวัดดีค่ะมัทค่ะดีใจที่ได้เปิดที่คุณเขียนมาน่ะ                            จาก  ด.ญ  ปาริตรา    เหลาสุพะ ม.1/1 โรงเรียนนาด้วงวิทยา           ชื่อเล่นน้อง มัทค่ะ

ไม่แสดงตน (จากห้องตัดผม polo club)

ผมอ่านบทความ "เรียนรู้กีฬากับ ดร.จีระ" เมื่อพุธที่แล้วมีความรู้สึกว่าบทความของอาจารย์สอนให้ผมได้วิเคราะห์ปัญหาอย่างรอบคอบและมีเหตุมีผล ผมจะติดตามอ่านทุกวันพุธครับ

ไม่แสดงตน (จากห้องตัดผม polo club)

ผมชอบความคิดของอาจารย์ เรื่องเมื่อไหร่ไทยจะได้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิก อาจารย์ช่วยตอบด้วยครับว่าจีนใช้เงินเท่าไหร่ในการจัดครั้งนี้ และผมถือโอกาสถามว่า ทำไมอ้งกฤษจึงไม่ใช้ Euro เป็นเงินสกุลแบบประเทศอื่นครับ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมอยากจะสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ห้องตัดผมของ polo ซึ่งผมไปเป็นลูกค้าประจำ ความคิดของท่านมีประโยชน์มากครับ

บทความครั้งที่ 8 ตีพิมพ์ในสยามกีฬา 

วันที่ 3 กันยายน 2551

เดือนกันยายน สหรัฐฯ มีกีฬาน่าสนใจ

 

ผ่านไปอย่างรวดเร็ว อาทิตย์นี้เป็นครั้งที่ 7 แล้ว Website ของสยามกีฬาก็ทำได้สมบูรณ์   ใน www.siamsport.co.th  ท่านที่สนใจ Blog ของผมก็อ่านได้จาก Blog เรียนรู้จากกีฬา กับ ดร.จีระ : สยามกีฬา ในwww.chiraacademy.com หรือ http://gotoknow.org/blog/chiraacademy  ปัจจุบันมีคนเข้าไปแล้ว เกือบ 900 คน เพียงแต่อยากให้มีส่วนร่วมมากขึ้น

วันหนึ่งผมเดินไปแถวพหลโยธิน มีคนรู้จักบอกว่า อาจารย์ไปเขียนเรื่องกีฬาเหรอครับ คล้าย ๆ ว่าแปลกใจบทบาทของผม เพราะผมคิดว่าสังคมไทย มักมองผมแบบ วิชาการ หารู้ไม่ว่า กีฬาคือยาวิเศษ แค่เป็นแบบอย่างของคนไทยที่สนใจการออกกำลังกาย ก็ช่วยประเทศลดค่าใช้จ่ายทางสุขภาพได้มาก เพราะทำให้ร่างกายและจิตใจแข็งแรง ไม่ต้องหาหมอบ่อย ๆ

ขอยกตัวอย่างคุณพ่อผม นายสุนทร หงส์ลดารมภ์  ซึ่งท่านเสียชีวิตไปแล้ว คุณระวิ รู้จักนับถือท่านอย่างดี สมัยพ่ออยู่เทพศิรินทร์ เล่นฟุตบอลตัวจริงทุกรุ่น  ไปเรียนที่มหาวิทยาลัย Cambridge ก็ไปเป็นคนให้สัญญาณทีมแข่งเรือของ Cambridge พอมาเป็นรัฐมนตรีก็เล่นกอล์ฟเป็นประจำ จนกระทั่งอายุมาก    ผมเคยเรียนอยู่ที่ Madison , Wisconsin   พ่อเป็นทูตประจำสหรัฐฯ ไปเยี่ยมพวกเรา เล่นกอล์ฟแข่งกันระหว่างคุณพ่อกับนักเรียนไทยกว่า 60 คน ชิงถ้วยด้วย  มาช่วงอายุ 90 กว่าปี ก่อนเสียชีวิตไม่นานถึงเลิกเล่น    สังคมไทยที่รู้จักคุณพ่อผม เวลาพูดถึงท่านสุนทร เขามักจะบอกว่านอกจากมีหน้าที่การงานที่ดีแล้ว มีความซื่อสัตย์ ยังมีน้ำใจ บอกว่าเป็นนักกีฬาที่มี spirit (น้ำใจนักกีฬา)

ผมมาดู ๆ แล้ว ยังไม่มีบทความที่ผู้เขียนนอกวงการแบบผมในหนังสือพิมพ์เล่มใดเลย จะมีก็นักข่าวกีฬาที่มีประสบการณ์มา บางคนก็เป็นนักข่าวมานาน วิเคราะห์กีฬาได้ลึกซึ้ง และเชี่ยวชาญ

ผมชอบอ่านบทความเป็นภาษาอังกฤษใน Bangkok Post ของ คุณ Edward Thangarajah เขียนคล้าย ๆ ผมว่า หมดโอลิมปิกแล้วก็อย่านิ่งนอนใจ ต้องเริ่มทำงานอย่างจริงจัง มี 2-3 ประเด็นที่น่าสนใจ

 

 

ประเด็นแรก คือ ฮีโร่กีฬา มีน้อยไป  ต้องสร้างฮีโร่มาก ๆ อย่ามองแค่ London อีก 4 ปี เป้าหมายมี Asian Game ที่ จีนในปี 2010 จะเตรียมตัวอย่างไร จะทดสอบฝีมือนักกีฬาไทยคล้าย ๆ ฝึก Asian Game ให้แกร่ง จะช่วยโอลิมปิกได้มากในปี 2012

สมาคมกีฬาฯ ต้อง ทำให้เกิด Consistency คือ สม่ำเสมอ ไม่ใช่เก่งประเดี๋ยวเดียว คงหมายถึง เทนนิส และแบดมินตัน

ผมจะส่งข้อเขียนของผมไปให้คุณ Edward อ่าน เพราะเข้าใจว่าคุณ Edward น่าจะเป็นคนอินเดีย แต่น่าจะอ่านและพูดไทยได้  ผมยังคิดเล่น ๆ ว่า ถ้าคุณระวิ หรือ บ.ก.โอฬาร วันหนึ่งจะมองธุรกิจกีฬาในระดับนานาชาติ  อาจจะเชื่อมโยงกับ Bangkok Post หรือ เริ่มแปลบทความดี ๆ ของ สยามกีฬาให้ชาวต่างประเทศอ่านก็ได้ เพราะกีฬาในยุคต่อไปจะไร้พรมแดน กีฬากลายเป็นการทูตเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี

ผมยกตัวอย่างกอล์ฟผู้หญิงเก่งชาวเกาหลี เพราะเขามาฝึกซ้อมเล่นกอล์ฟที่ประเทศไทย   อีกหน่อยทีมฟุตบอลดังในยุโรป อาจจะมีสนามฝึกและผักผ่อนในประเทศไทยก็ได้ ถ้าพวกเราทำงานเป็น และดึงดูดความสนใจของกีฬาต่างประเทศ

ผมก็จะขอเรียนฝากคุณระวิไว้ว่า การสร้างนักข่าวสยามกีฬารุ่นใหม่ ต้องรับคนที่ มีความรู้และภาษาดี ๆ  ที่สำคัญต้องชอบการเรียนรู้และวิเคราะห์วิจัยเป็น     และวันนั้นต้องมีผู้สื่อข่าวคนไทยในกีฬาหลายประเภทเข้าไปสู่โลกกีฬาระหว่างประเทศ เช่นอาจเป็นพิธีกรวิเคราะห์ฟุตบอลร่วมกับ  ESPN เป็นต้น

อย่าง IOC (โอลิมปิกสากล)  โชคดีที่ ดร.ณัฐ อินทรปาณ ท่านมีความสามารถภาษาอังกฤษดี ท่านเลยทำหน้าที่ระดับ IOC ได้ดี สร้างชื่อเสียงให้คนไทย  แต่ ดร.ณัฐ ก็ต้องวางแผนทายาททำงานแทนท่านที่จะทำ IOC ต่อไป  

ส่วน Fifa (สมาคมฟุตบอลโลก) ก็มีคุณวรวีร์ มะกูดี  เป็นสมาชิกมานาน   คุณวรวีร์ เป็นสมาชิก Fifa นอกจากตัวเองได้ประโยชน์แล้ว ประเทศไทยได้รับผลประโยชน์เต็มที่หรือไม่ และคุณวรวีร์ ภาษาอังกฤษใช้ได้หรือเปล่า ผมเชื่อว่า คุณวรวีร์ คงจะตระหนักเรื่องนี้เป็นอย่างดี   เพราะถ้าทำเพื่อชาติ คนไทย ฟุตบอลไทย จะได้รับประโยชน์จาก Fifa อย่างเต็มที่

 

อย่างมวยสากลสมัครเล่นระดับโลก ผมว่า เราติดอันดับต้น ๆ ของโลกแล้ว แต่อิทธิพลในสมาคมมวยสากลสมัครเล่น ยังไม่ถึงจุดที่พอใจนัก ขอให้ผู้เกี่ยวข้องช่วยดูแลมวยสากลในระดับสากลให้คนไทยมีบทบาทอย่างแท้จริง

อีกประเด็นที่คุณ Edward ทิ้งไว้ คือ นอกจาก 3 สมาคมที่มีโอกาสได้เหรียญในโลกอย่างมวย ยกน้ำหนัก เทควันโด    สมาคมหลาย ๆ แห่งที่ยังไม่ได้เหรียญโอลิมปิก     เช่น กรีฑา แบดมินตัน ว่ายน้ำ หรือ เทนนิส ก็น่าจะนำมาพิจารณาด้วย

อาทิตย์นี้ขอต้อนรับคุณ ปีเตอร์ รีด โค้ชทีมชาติไทยชาวอังกฤษคนใหม่ ซึ่งยังรับเงินปีละ 64 ล้านอยู่ ผมขอยืนยันไม่เห็นด้วย และแพงเกินไป แต่ถ้าต้องจ่ายจริง ต้องมี KPI (Key Performance Indicator)  คือมีการวัดผลว่า ปีแรก ความสำเร็จอยู่ระดับใด  ถ้าทำไม่สำเร็จ จะพิจารณาให้อยู่ต่ออีก 4 ปีหรือไม่

อย่างคุณวรวีร์  มะกูดี นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ก็เหมือนกัน ถ้าอยู่ต่อต้องไม่ใช่คุมคะแนนเสียงข้างมากเข้าไว้ ต้องมีผลงานที่สังคมยอมรับ ก็อยู่ต่อได้  ผมจะติดตามเรื่องนี้ให้ถึงที่สุด คุณวรวีร์ น่าจะสัญญากับแฟนฟุตบอลไทยและคนไทยว่า อยู่เป็นนายกฯ แล้ว ฟุตบอลไทยอยู่ระดับไหนของโลก ไม่ใช่แค่เก่งใน Asean

การแข่งขันคัดเลือกฟุตบอลโลกของไทย ก่อนแข่งก็กระพือข่าวว่ามีสิทธิ์ไปลีกรอบสองแต่แข่งแล้วทุกนัด แพ้หมด คือไม่ชนะเลย แต่ปลดโค้ชออก แต่นายกฯ ไม่รับผิดชอบ น่าจะเปิดโอกาสให้คนอื่น ๆ ได้ทดลองทำบ้าง

ผมเขียนถึงสมาคมฟุตบอล ไม่ได้มองแง่เดียว ต้องชมเชย เลขาธิการสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ คุณองอาจ  ก่อสินค้า  มีความพยายามที่ได้จัดสัมมนาการกระจายฟุตบอลอาชีพไทยในต่างจังหวัด  ดีมากและทำได้สำเร็จ

ผมได้ทราบจากท่านผู้ว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คุณอดิศร  เกียรติโชควิวัฒน์ ว่า ทีม กฟภ.ที่ติดอันดับ 1 อยู่ปัจจุบัน เริ่มมองหาทางจังหวัดเป็นแนวร่วม เพื่อดึงแฟนคลับต่างจังหวัดให้เกิดพลังและมีธุรกิจ เช่น บริษัทไฟฟ้าฟิลิปส์ เริ่มเข้ามาสนับสนุน

ฝากท่านเลขาฯ องอาจ ว่าการจัดฟุตบอล ถ้วย ค,ง  น่าทำให้เป็นมืออาชีพ ผมยังไม่เคยเห็นสมาคมฟุตบอลฯ สนใจจะสร้างฟุตบอลถ้ายอย่างจริงจัง เพื่อสร้างระบบฟุตบอลเข้มแข็ง และมีตารางการเล่นที่แน่นอน มีสนามที่เหมาะสม เพื่อสร้างแฟนฟุตบอลในต่างจังหวัดและทุก ๆ ถ้วย ไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก

เรื่องต่างประเทศ ผมขอเรียนว่า ตั้งแต่เดือนนี้เป็นต้นไป จะแนะนำกีฬาของสหรัฐฯ ดี ๆ ที่คนไทยที่ไม่เคยเรียนอเมริกาอาจจะไม่สนใจและกระตุ้นสื่อกีฬาไทยให้เริ่มสนใจกีฬาสหรัฐฯมากขึ้น เช่น  กีฬาคล้าย ๆ รักบี้ แต่เรียกว่าอเมริกันฟุตบอลระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งบางครั้งทาง True Visions จะถ่ายทอดสดบ้าง แต่เน้นระดับอาชีพหรือ NFL (ซึ่งจะพูดถึงทีหลัง)

ผมโชคดีที่เป็นนักเรียนมหาวิทยาลัยที่กีฬาฟุตบอลอเมริกันระดับมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงระดับต้น ๆ และคนอเมริการู้จักดี

ช่วงปริญญาโท ผมเรียนที่ University of Wisconsin , Madison ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ อยู่ในภาคกลาง หรือที่เรียกว่า Midwest ช่วงนั้นยังเด็กอยู่ ไม่ค่อยได้ดูมากนัก แต่ประหลาดใจที่กีฬาระดับนี้คนอเมริกาบ้าคลั่งกันมาก สนามกีฬาก็จุได้ถึงกว่า 80,000 คน และทีมของ Wisconsin ชื่อเล่นว่า  Badgers คือ Big Ten ซึ่งปัจจุบัน มี 11 ทีม

- Michigan

- Michigan Stage

- Ohio State

- Northwestern

- Iowa

- Illinois

- Penn State

- Minnesota

- Indiana

- Purdue

- Wisconsin

ในกลุ่มนี้ ปีนี้ ทีม Ohio State  ซึ่งเป็นทีมเต็ง และเคยมีอีกทีมที่มีศิษย์เก่าชื่อ ดร.อำนวย วีรวรรณ ที่ชอบทีมนี้มาก ๆ คือ มิชิแกน  เพราะท่านเป็นศิษย์เก่า ก็เลยอยากให้ผู้อ่านได้สนใจกีฬาฟุตบอลระดับมหาวิทยาลัยมากขึ้น และศึกษามหาวิทยาลัยเหล่านี้ ลูกหลานที่จะไปเรียนก็เลือกที่มหาวิทยาลัยที่มีเก่งทั้งกีฬาและการเรียน และถ้าเก่งจริง มหาวิทยาลัยก็จะให้ทุน

ส่วนผมมาเรียน Ph.D. ที่ University of Washington ที่ Seattle ซึ่งเก่งกีฬาระดับมหาวิทยาลัย เคยเป็นแชมป์ของฟุตบอลมหาวิทยาลัยของสหรัฐ แต่ก็มีขึ้นมีลง ช่วงนี้ฟุตบอลระดับมหาวิทยาลัยกำลังอยู่ช่วงขาลง น่าสนใจว่า University of Washington อยู่ตะวันตก ก็เรียกว่าอยู่กลุ่ม Pac 10

Pac มาจากคำว่า Pacific คือมหาวิทยาลัยอยู่ติดมหาสมุทรแปซิฟิคเป็นส่วนใหญ่ ก็มีทีมดัง ๆ เช่น

- Berkley

- Stanford

- UCLA

- USC

- Washington State

- Arizona

- Arizona State

- Oregon

- Oregon State

แต่ที่จะให้ติดตามก็คือ ถึงแม้ว่าเมืองไทยไม่ค่อยจะถ่ายทอด แต่เราก็สนใจ ดูหรือเปิด Internet ติดตามได้ว่าน่าสนใจแค่ไหน ประเด็นก็คือ มหาวิทยาลัยไทยน่าจะเป็นแหล่งสร้างนักกีฬาสู่ทีมชาติมากขึ้น และรัฐบาลควรจะสนับสนุนกีฬาระดับมหาวิทยาลัยของไทยมาก ๆ  และปลูกฝังทั้งการเรียนและกีฬา และอาจจะสร้างคนดูได้เป็นจำนวนมาก  

 

               จีระ หงส์ลดารมภ์

 

 

 

 

 

ผมเพิ่งมีโอกาสได้อ่านบทความของอาจารย์เป็นครั้งแรก ผมประหลาดใจมากไม่เคยคิดมาก่อนว่าอาจารย์มีมุมมองเรื่องเกี่ยวกับกีฬา ทำให้ผมเห็นว่า กีฬานั้นมีหลายมิติ มีผลต่อสุขภาพอนามัย ทำให้มี สปริต และมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ซึ่งผมอ่านแล้วคิดถึงด้านการเมือง ว่าเรามีแพ้และชนะครับ

สุทธิศักดิ์

 

ทฤษฎี HRDS ของผมประยุกต์ได้กับกีฬา

 

            ขอแสดงความยินดีกับ น้องนก นพวรรณ เลิศชีวกานต์ ที่สร้างชื่อเสียงให้แก่คนไทยในโลกเพราะชนะเลิศคู่ระดับเยาวชนที่ U.S.Open ปีนี้ซึ่งเป็นครั้งแรก และชายคู่ระดับเยาวชนก็เข้ารอบรองชนะเลิศแต่แพ้อย่างหวุดหวิด ผมขอชมเชยและให้กำลังใจ เพราะกีฬาเทนนิสเป็นกีฬาที่ประเทศทั่วโลกรู้จักดี และเล่นกันอย่างแพร่หลาย

            แต่ความสำเร็จครั้งนี้ ผมก็คงจะต้องตั้งคำถามดัง ๆ ว่า ความสำเร็จของ น้องนก ยั่งยืนไปในระดับผู้ใหญ่หรือไม่ เพราะจากการแสดงความคิดเห็นใน Blog วิเคราะห์กันว่า เด็กไทยเก่งแต่โตแล้วแผ่วและไม่สำเร็จ ก็หวังว่าคนไทยจะได้เฝ้าติดตามความสำเร็จของน้องนกตลอดไป

            ผมมีหลายเรื่องที่จะเสนอแนวคิดให้ท่านผู้อ่านนำไปคิดต่อ เติมเต็มก็จะยิ่งได้มาก กีฬา ถ้าลดการพนันไปบ้าง เน้นสุขภาพ การสร้างสังคมที่มีคุณภาพในด้านสุขภาพ อาจจะเป็นการจ้างงานที่ดีและสร้างเครือข่ายในระดับโลกได้ บทความของผมก็คงจะมีคุณค่าไม่มากก็น้อย

             ต่อเนื่องมาหลายสัปดาห์ ผมเขียนว่า ผมไม่เห็นด้วยกับเงินเดือน 1 ล้านปอนด์ต่อปีของ ปีเตอร์ รีด โค้ชทีมชาติพุตบอลไทย ข่าวล่าสุดออกมาแล้วว่าจริง ๆ จ่ายแค่ 700,000 ปอนด์ ก็ยังแพงอยู่ดีเพราะเงินที่จ่ายในประเทศไทยใช้ชีวิตในประเทศไทย ค่าใช้จ่ายถูกกว่ามาก ได้แค่ 400,000 ปอนด์ต่อปี ผมก็ว่าแพงมากแล้ว  

            อย่างไรก็ตาม ก็ช่วยกันติดตามดูแล้วกันว่าคุ้มหรือไม่? และต้องมีผลงานระดับที่คนไทยพอใจด้วย

            ผมฝันว่าการมีโค้ชฝรั่งสำหรับทีมชาติฟุตบอลไทยอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีการปรับโครงสร้างวิธีการทำงานของสมาคมฟุตบอลฯ ให้เป็นระบบ บริหารแบบมืออาชีพ มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ต้องสร้างกีฬาฟุตบอลอาชีพทุก ๆ ระดับของถ้วยต่าง ๆ พรีเมียร์, ถ้วย ก, , , , ...

            ผมจึงขอชมเชยสมาคมฟุตบอลฯ ที่มีนโยบายการกระจายกีฬาฟุตบอลอาชีพไปสู่จังหวัดซึ่งเป็นจุดที่น่าสนใจสำหรับการเริ่มต้นที่จำทำทีมฟุตบอลอาชีพซึ่งขอให้ทำดีต่อไป แต่อย่าให้เป็นแค่จัดสัมมนาเท่านั้นแล้วก็เลิกกันไป ต้องติดตามประเมินผลอย่างใกล้ชิด และสร้างให้เกิดกระแสฟุตบอลต่างจังหวัด และเปิดข้อมูลข่าวสารให้ผู้สนใจทั่ว ๆ ไปได้มีส่วนร่วม

            ผมเคยเขียนไว้ว่าผมจะไปเยี่ยมและดูฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกที่ต่างจังหวัดและอยากให้สยามกีฬารายงานจำนวนผู้ชมการแข่งขันว่าแต่ละครั้งมีคนดูกี่คน ผมขอรายงานได้ทำตามที่พูดแล้ว ที่ทำเพราะอยากรู้ อยากเห็น ทำให้ผมได้เรียนรู้และเขียนบทความ เรียนรู้จากกีฬา ได้ดีใกล้เคียงความจริง

            ผมและคณะไปดูฟุตบอลพรีเมียร์ลีกเล่นที่สมุทรสงคราม ได้พบสิ่งต่าง ๆ ที่น่าสนใจมาก:

§       สนามกีฬาเก่ามาก มีอัศจรรย์ข้างเดียว และสภาพแวดล้อมเป็นชุมชนแออัด มีโรงเรียนล้อมรอบ ในระยะยาวน่าจะคิดหาที่ที่เหมาะสมใหม่ ในช่วง 5 ปีข้างหน้าน่าจะปรับปรุงให้ดูสวยงามโดยเพิ่มอัศจรรย์ได้บ้าง

§       ชาวสมุทรสงครามสนใจฟุตบอลของเขามาก มีคนดู (ทั้งที่เสียเงินและไม่เสียเงิน) ประมาณ 5,000 – 6,000 คน ซึ่งก็เป็นจำนวนที่ใช้ได้เมื่อเทียบกับทีมฟุตบอลระดับเดียวกันหลายสโมสรที่มีคนดูน้อยกว่า คนที่เสียเงินก็จ่ายแค่ 20 บาท เด็กนักเรียนไม่ต้องจ่าย ผมถามว่าค่าผ่านประตูต่อครั้งประมาณเท่าไหร่ มีคำตอบว่าเก็บได้ประมาณ 40,000 บาทต่อครั้ง ซึ่งถือว่าน้อยมาก ผู้อ่านลองคิดดูนะครับว่า ฟุตบอลไทยระดับนี้เก็บเงิน 20 บาทเก็บเงินค่าผ่านประตูได้ครั้งละ 40,000 บาทแล้วการเงินของสโมสรจะเป็นอย่างไร และระยะยาวจะอยู่อย่างไร?

§       ผมมีโอกาสได้คุยกับนายโยธิน ตันประเสริฐ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)สมุทรสงคราม ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรง สนใจกีฬา เหตุผลที่สมุทรสงครามทำได้เพราะผู้นำท้องถิ่นสนใจ และมีนักธุรกิจชาวสมุทรสงครามอย่างนายสมศักดิ์ ศิริธรรม ประธานสโมสรแม่กลอง สมุทรสงคราม 2007 ช่วยลงขันปีละหลายล้านบาท อบจ.จะช่วยสนับสนุนเพิ่มเติมปีละประมาณ 2 ล้านบาท ที่เหลือก็ได้มาจากส่วนกลางประมาณ 6 แสนบาท ค่าใช้จ่ายของสมุทรสงครามใช้จ่ายอย่างประหยัดก็ต้องหามาปีละ 10 ล้านบาทเป็นอย่างน้อย

            ผมสรุปว่ากีฬาในประเทศไทยไม่เจริญเพราะรัฐบาลไม่เอาจริง ส่วนหนึ่งไม่สนใจที่จะทุ่มเทเพื่อเยาวชน และทำงานแบบไม่เป็นมืออาชีพของสมาคมฟุตบอลฯ

            ถ้าจะเริ่มช่วยกันหาทางออกจุดแรกที่น่าสนใจก็คือ สำนักงบประมาณที่มองกีฬาแบบเดิม ๆ ให้งบประมาณแบบขอไปทีไม่จัดงบประมาณให้เพียงพอ

            จุดที่สองก็คือ กระทรวงมหาดไทยในอดีตไม่ว่าผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ไม่สนใจเรื่องกีฬาอย่างแท้จริง และในอนาคตส่วนกลางต้องร่วมกับผู้นำท้องถิ่นมากขึ้น

            ความสำเร็จของสมุทรสงครามนอกจากที่กล่าวมาแล้วก็คือประชาชนในจังหวัดนี้มีความรู้สึกว่าเขาเป็นเจ้าของ ผมเห็นแฟนคลับของเขาน่าสนใจ และไม่ใช่มีแค่กลุ่มเล็ก ๆ ปัจจุบันก็มีกลุ่มขยายไปยังระดับประชาชนที่มีความรู้ซึ่งผมมีความมั่นใจว่าจังหวัดอื่น ๆ ก็คงจะทำได้

            จังหวัดนี้เป็นจังหวัดเล็กมาก และเงินอบจ. ก็มีงบทั้งหมดแค่ 200 ล้านบาท แต่นายก อบจ. ชอบกีฬาจึงยินดีสนับสนุน ผมจึงขอฝากธุรกิจ/ร้านค้า ถ้าจะสร้างภาพลักษณ์ของธุรกิจโดยใช้กีฬาก็น่าจะดี

            อาทิตย์นี้ เรื่องน่าสนใจที่คุณ Edward จาก Bangkok Post ได้เขียนไว้ถึงเรื่องธุรกิจการเงินกับกีฬาฯ

§       คุณ Edward ยกย่อง ดร.สุไลมาน อัล ฟาฮิมซึ่งเป็นมหาเศรษฐีจากอาบูดาบี้ซื้อสโมสรเรือใบจ่ายคุณทักษิณไป 150 ล้านปอนด์ ซึ่งคุณ Edward ว่ามหาเศรษฐีท่านนี้ร่ำรวยมาก แต่มีพฤติกรรมที่จะส่งเสริมกีฬาอย่างแท้จริง เพราะท่านยกตัวอย่างว่าในช่วงอาทิตย์ที่แล้ว มีปรากฏการณ์หลายเรื่องในสโมสรฟุตบอลอังกฤษที่เงินและธุรกิจมีอิทธิพลต่อกีฬามากเกินไป 

เช่นที่ สโมสรนิวคาสเซิล เควิน คีแกน ต้องลาออกไป  ไม่ใช่เพราะผลงานไม่ดี แต่เพราะคิดไม่ตรงกับเจ้าของ           

§       และคุณเคอร์บิชลีย์ โค้ชของสโมสรเวสแฮมก็ลาออกไป เพราะขัดแย้งกับเจ้าของ คุณ Edward ก็เลยย้ำว่าเป็นห่วงว่าอิทธิพลของเงิน ทำให้การบริหารสโมสรขาดคุณธรรม และ     ธรรมาภิบาลไม่เห็นศักดิ์ศรี และนับถือความเป็นของนักเตะ หรือ สตาฟ์ ผู้ฝึกสอน 

            ผมอ่านแล้ว ก็ตรงใจผมมาก เพราะได้พูดและเขียนเรื่องนี้มานาน และมีคนชอบนำข้อคิดนี้ของผมไปปฏิบัติมากมาย แต่เป็นระดับการทำงาน ไม่ใช่ ระดับการบริหารสโมสรกีฬากับเจ้าของที่เน้นธุรกิจเป็นหลัก

            ผมเรียกทฤษฎีนี้ว่า HRDS

            H  =   Happiness คือ ความสุข ทำงานอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

            R  =   Respect  คือ ต้องนับถือ ผู้ร่วมงานทุกคน

            D  =   Dignity คือ ต้องมองมนุษย์ทุก ๆ คนว่ามีศักดิ์ศรี

            S  =   Sustainability คือ ต้องอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน

            ปัญหาการบริหารสโมสรฟุตบอลจะมีปัญหามากขึ้นถ้าธุรกิจใหญ่ขาด HRDS เช่น ช่วงคุณทักษิณเป็นเจ้าของก็ปฏิบัติกับโค้ชอเร็กสันอย่างขาดการนับถือ และไม่ได้มองถึงศักดิ์ศรีของเขาจนในที่สุดโค้ชผู้นั้นอยู่ได้ปีเดียวก็ต้องลาออกไป

            แฟนฟุตบอลของสโมสรเรือใบแสดงความไม่พอใจบทบาทของคุณทักษิณในช่วงนั้น ผมคิดว่าที่เวสแฮมกับนิวคาสเซิลก็คล้าย ๆ กัน   บทเรียนเน้นว่าเงินสำคัญ แต่ต้องไม่ใช่สำคัญที่สุด จิตใจของมนุษย์และความรู้สึกก็สำคัญ นี่แหละถึงเรียกว่า โลกาภิวัตน์ยุคกีฬา 

            ในโลกนี้ ใครมีเงินก็เป็นเจ้าของสโมสรได้ ก็กระทบกีฬาด้วย ใครมีเงินมากต้องเน้นคุณธรรม จริยธรรมด้วย ถ้ามีเงินแต่ไม่มีความเข้าใจถึงแก่นแท้ ๆ ของความรู้สึกของมนุษย์ คงจะทำงานลำบาก ก็เลยฝากประเด็นเหล่านี้ไว้

            ผู้อ่าน ถ้าเป็นผู้บริหารองค์กร ไม่ว่าธุรกิจ ราชการ เอกชน หรือสโมสรฟุตบอล ต้องมองมนุษย์แบบเข้าใจความรู้สึก อย่าให้เงินเป็นพระเจ้าเพราะมนุษย์ต้องอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี และมีความสมดุลในชีวิตครับ เงินไม่ใช่พระเจ้า 

 

                                                    จีระ หงส์ลดารมภ์

บทความครั้งที่ 8 ตีพิมพ์ในสยามกีฬา 

วันที่ 10 กันยายน 2551

พิสุทธิ์ อัสนีวรานนท์

เรียน ดร.จีระฯ ที่นับถือ

ติดตามผลงานจาก website siamsport ครับ ขอแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกีฬาของอเมริกันชนนิดหนึ่งคือ ถ้าเป็น American football ผมจะดูทีมอาชีพ ตัวเองเป็นแฟนของ Redskins ไม่ค่อยได้ดูของมหาวิทยาลัยเท่าไหร่ เรียนตามตรงว่าเบื่อที่ Quarterback มักจะใช้ option วิ่งบ่อยๆ แต่ถ้าเป็น Basketball จะติดตามดูของมหาวิทยาลัยตลอด ข้อแตกต่างก็คือเพราะระดับมหาวิทยาลัยจะมีทั้ง offense and defense ขณะที่ระดับอาชีพมักจะเป็นการรุกเสียเป็นส่วนใหญ่ ค่อนข้างผิดหวังกับ Truevision พอสมควร เคยเอาบาสเก๊ตบอลระดับมหาวิทยาลัยมาถ่ายทอดให้ดู แต่ก็หยุดไป ถ้าเอามาแทนรายการกอล์ฟหรือรายการรถแข่งสักสัปดาห์ละหนก็คงจะดี (ในกรณีที่อ้างว่าเวลาไม่พอ)

ขอแสดงความเห็นแค่นี้ละครับ

ขอบคุณครับ

พิสุทธิ์ อัสนีวรานนท์

บทความ ตีพิมพ์ในสยามกีฬา วันที่ 17 กันยายน 2551

 

กีฬาสร้างผู้นำและจริยธรรม

            สัปดาห์นี้ผ่านไปเร็วมาก วิกฤตการเมืองทำให้เรื่องกีฬาลดความสำคัญไปมาก

            ขอบคุณที่ท่านกรุณาส่งกลับมา ผมต้องการให้ท่านมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น มี 2 – 3 ช่องทาง คือ ทางเว็บไซต์ของสยามกีฬา (www.siamsport.co.th) ติดตามอ่านได้ แต่ผู้อ่านยังไม่ค่อยได้ใช้ช่องทางเหล่านั้นส่งข้อมูลให้ผมทราบว่าท่านคิดอะไรอยู่

      หรือท่านอาจจะเข้าไปใน Blog (www.gotoknow.org/blog/chiraacademy) แสดงความคิดเห็น เช่นมีท่านผู้อ่าน 2 ท่านส่งข้อมูลมาที่ Blog

      คุณสุทธิศักดิ์ แสดงความเห็นว่า ผมเพิ่งมีโอกาสได้อ่านบทความของอาจารย์เป็นครั้งแรก ผมประหลาดใจมากไม่เคยคิดมาก่อนว่าอาจารย์มีมุมมองเรื่องเกี่ยวกับกีฬา ทำให้ผมเห็นว่า กีฬานั้นมีหลายมิติ มีผลต่อสุขภาพอนามัย ทำให้มี สปริต และมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ซึ่งผมอ่านแล้วคิดถึงด้านการเมือง ว่าเรามีแพ้และชนะครับ

      ขอขอบคุณที่คุณสุทธิศักดิ์เริ่มมองเห็นมิติต่าง ๆ ของกีฬา และสนใจกีฬาอย่างผม มองจากมุมมองข้างนอกแต่ให้บทเรียนสำหรับคนไทยทั่ว ๆ ไปได้คิดต่อ สิ่งแรกที่สำคัญ คือ เรื่องการพนันอยากให้น้อยลงเพราะทำให้ชีวิตเครียด และจะเกิดปัญหาได้ เช่น การทวงหนี้ที่โหดร้ายติดตามมา

      มุมมองที่สองคือกีฬาจะช่วยเรื่องสุขภาพทั้งกายและใจ การออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจะทำให้คนในชาติของเราลดการเสียเงินทางด้านการรักษาพยาบาล ผมเคยเรียนที่อเมริกา คนอเมริกาอ้วนจำนวนมากและสุขภาพไม่ดีต้องหาหมอบ่อย แนวโน้มคนไทยก็จะอ้วนมากขึ้น หากไม่สนใจเรื่องออกกำลังกาย

      เรื่องที่สามคือ เรื่องความสามัคคี และสร้างสมดุลในสังคมที่ดี กีฬาจะช่วยให้เกิดทีมเวิร์ค (Teamwork) ทำให้มีน้ำใจนักกีฬา

      หากติดตามข้อเขียนของผมก็จะได้มุมมองที่แตกต่างทุกอาทิตย์ไป คงต้องใช้เวลาอีกสักพักเพื่อให้คนไทยที่ชอบกีฬามองกีฬาในมุมมองที่น่าสนใจในหลาย ๆ มิติแทนที่จะดูเพื่อความสนุกและการพนันเท่านั้น

      คุณพิสุทธิ์ อัสนีวรานนท์ ก็แสดงความคิดเห็นไว้อย่างน่าสนใจ ว่า

เรียน ดร.จีระฯ ที่นับถือ

      ขอแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกีฬาของอเมริกันชนนิดหนึ่งคือ ถ้าเป็น American football ผมจะดูทีมอาชีพ ตัวเองเป็นแฟนของ Redskins ไม่ค่อยได้ดูของมหาวิทยาลัยเท่าไหร่ เรียนตามตรงว่าเบื่อที่ Quarterback มักจะใช้ option วิ่งบ่อยๆ แต่ถ้าเป็น Basketball จะติดตามดูของมหาวิทยาลัยตลอด ข้อแตกต่างก็คือเพราะระดับมหาวิทยาลัยจะมีทั้ง offense and defense ขณะที่ระดับอาชีพมักจะเป็นการรุกเสียเป็นส่วนใหญ่ ค่อนข้างผิดหวังกับ Truevision พอสมควร เคยเอาบาสเก๊ตบอลระดับมหาวิทยาลัยมาถ่ายทอดให้ดู แต่ก็หยุดไป ถ้าเอามาแทนรายการกอล์ฟหรือรายการรถแข่งสักสัปดาห์ละหนก็คงจะดี (ในกรณีที่อ้างว่าเวลาไม่พอ)

      ผมชอบความคิดนี้มาก เพราะแนวคิดตรงกัน ผมขอให้คนไทยสนใจกีฬาฟุตบอลอเมริกันระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งต้องขอโทษที่บอกไปว่า ESPN ของ True Visions ไม่ได้ถ่ายทอด ความจริงถ่ายทอดอยู่บ้างโดยเฉพาะปัจจุบัน มีกลุ่ม Big Ten และ SEC (South East Conference) ถ่ายทอดอยู่ แต่ผมเห็นด้วย กับคุณพิสุทธิ์ ว่าคนไทย น่าจะได้ดูถ่ายทอดเรื่อง Basketball ระดับมหาวิทยาลัย คุณพิสุทธิ์ คงจะเรียนที่อเมริกา  เรื่อง College Basketball เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก ครับ หวังว่า True Visions คงจะถ่ายทอดด้วยในอนาคต และอาจจะเล่าถึงความเป็นมา ตำนานต่าง ๆ ผมก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ชอบบาสเก็ตบอลระดับมหาวิทยาลัยมาก

      ในรัฐแคลิฟอร์เนีย เรารู้จักมหาวิทยาลัยชั้นนำอยู่ 2 แห่งคือ UCLA กับ USC ปรากฏว่า UCLA เคยเก่ง Basketball ระดับมหาวิทยาลัยมาเป็นเวลานาน เคยมี Coach ชื่อ John Wooden นำทีม UCLA ชนะเลิศติดต่อกัน 8-9 ปี  ขณะนี้ John Wooden เลยกลายเป็นตำนาน Basketball  ผมติดตามใกล้ชิดมาก เพราะอยากรู้ว่าเขามีความสามารถพิเศษอะไร      

      ปัจจุบัน Wooden ก็ยังมีชีวิตอยู่ แต่แก่มากแล้ว เขียนหนังสือสอนให้คนอเมริกันและคนทั่วโลกนำไปปฏิบัติ แบบการสร้างผู้นำและการบริหารจัดการมากมาย ผมก็ขอนำเอาหลักการของ Wooden มาให้ท่านได้นำไปคิด และวิเคราะห์บางประเด็น เช่น ปรัชญาของเขาที่ได้จากคุณพ่อตอนจบโรงเรียนมัธยม ซึ่งเขาใช้อยู่ทุกวันเรียกว่า แนวทาง 7 ประการ

1.   รู้จักตัวเอง ก่อนจะรู้จักคนอี่น

2.   ทำให้ทุกวันมีคุณค่าต่อชีวิตสูงสุด

3.   เกิดมาเพื่อช่วยเหลือคนอื่น

4.   เอาใจใส่เรื่องสร้างและรักษามิตรภาพกับทุกคน

5.   อ่านหนังสือดี โดยเฉพาะหนังสือธรรมะ

6.   อย่าประมาท มีอะไรที่รองรับไม่ให้ล้มได้

7.   สวดมนต์และทำสมาธิทุกวัน

      ส่วน USC เก่งเรื่องฟุตบอลและมีนักฟุตบอลที่ยิ่งใหญ่ เป็นข่าวทั่วโลก คือ O.J. Simpson ซึ่งเคยได้รางวัลนักกีฬาฟุตบอลดีเด่น หรือ   Heisman Trophy  เคยเล่นให้ USC ชนะเลิศ 2 ครั้ง ปัจจุบัน USC ก็ยังเป็นทีมฟุตบอลระดับมหาวิทยาลัยที่เด่นอยู่ และปีนี้ก็คาดว่าจะชนะเลิศอีกครั้ง ทั้งสองมหาวิทยาลัยมีนักเรียนเก่ามากมาย ผมรู้จักดีทั้งสองแห่ง และก็เคยมีโอกาสได้เป็นอาจารย์พิเศษที่ UCLA ด้วย

      กีฬาบางประเภทที่อเมริกา ที่คนไทยอาจจะไม่สนใจนัก ถ้าเข้าใจแล้ว   ก็จะได้เรียนรู้ตำนานและประวัติศาสตร์ของอเมริกาได้ดี ก็คือ เบสบอล ซึ่งอีกไม่กี่อาทิตย์ ก็จะหาทีมที่เข้ารอบสุดท้ายเพื่อชิงชนะเลิศ

      เบสบอลเป็นกีฬาที่คนไทยเล่นไม่ค่อยเป็น แต่ก็มีถ่ายทอดทาง True Visions อยู่เสมอ ปัจจุบัน นักเรียนไทยที่เรียนในอเมริกา บางคนก็ชอบเป็นชีวิตจิตใจ บางคงก็ดูไม่รู้เรื่อง

      กีฬาเบสบอล เกิดในอเมริกา คงจะแปลงมากจากกีฬา Cricket ของอังกฤษ แต่เร็วกว่า สนุกได้ใช้ยุทธวิธีอย่างเด่นชัด

      ผมอยากเล่าประสบการณ์ของผม คือ เมื่อผมไปเรียนที่ Madison, Wisconsin ได้มีโอกาสสัมผัสเบสบอลเป็นครั้งแรก และเริ่มบ้าคลั่งทีม Chicago Cup ทีมเบสบอลของชิคาโก

      ปี 1968-1969 ผมอยู่ Madison ห่างจากชิคาโกประมาณ 100 ไมล์ ฟังวิทยุถ่ายทอดสด เบสบอลทีมนี้มีอะไรน่าสนใจ

-     ชนะเลิศครั้งสุดท้ายเกือบ 100 ปี

-     ทำท่าจะชนะ มักจะหาเรื่องแพ้ได้ทุกครั้ง

-     คล้าย ๆ เป็นทีมที่ถูกสาป

-     มีแฟนพันธุ์แท้มากมาย ทั้งในชิคาโกและรัฐอื่น ๆ

      ตั้งแต่ 1968 ถึงปัจจุบันกว่า 35 ปี ผมยังติดตาม ล่าสุดเมื่อประมาณ 2-3 ปีที่ผ่านมา ผมไปดูที่สนามชื่อว่า Wrigley Field มีความสุขมากที่ได้ไปสัมผัสบรรยากาศจริง ๆ

      ความจริงในอนาคต สยามกีฬาก็อาจจะจับมือ กับ True Visions หรือ เคเบิ้ลท้องถิ่น กระตุ้นให้คนไทยสนใจกีฬาเบสบอล และอาจจะจัดให้คนไทยได้ไปดูกีฬาเบสบอลที่สนามจริง ๆ เพราะเป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ของอเมริกา เมื่อพูดถึงทีม New York Yankees หรือ Boston Red Sox คนอเมริกัน ก็จะเข้าใจ แต่คนไทยที่ไม่ได้อยู่ที่อเมริกาจะไม่เข้าใจนัก การเรียนรู้กีฬาในหลากหลายวัฒนธรรม

      คนไทยที่เป็นแฟน Man U หรือ Liverpool นอกจากมีโอกาสไปดูแล้ว จะศึกษาประวัติศาสตร์ของเขาด้วยว่าเขาโตมาในอดีตเพราะอะไร ทำไมฟุตบอลกับกีฬาช่วยสังคมได้อย่างไร อย่าง Man  U เฉพาะภาพลักษณ์ (Brand) ก็ขายเป็นแสน ๆ ล้าน กลายเป็น  Sport tourism

      มีควันหลงจากบทความผมเรื่องไปเยี่ยมสโมสรสมุทรสงคราม ขอขอบคุณ สยามกีฬาที่ให้ผมได้เขียนบทความเรื่องกีฬา ผมจะมีแนวร่วมมากขึ้น ผมคาดว่าจะไปเยี่ยมฟุตบอลทีมต่างจังหวัดให้ได้หลาย ๆ แห่ง และจะรายงานผลให้ทราบ และการเขียนข่าวกีฬาของฟุตบอลไทยอยากจะให้ลงลึกมากขึ้น เรื่องจำนวนคนดู อีกไม่นานก็คงจะมีรายงานทุกสนาม เพราะคนดูสำคัญที่สุด เมื่อวันเสาร์ที่แล้ว คนจากสมุทรสงครามส่งข่าว แมตซ์ ระหว่าง สมุทรสงคราม และนครปฐม กองเชียร์นครปฐมอย่างเดียวก็เกือบ 1,500 คน สนามเล็ก ๆ ของสมุทรสงคราม ก็คงจะแตกแน่นอน

      อยากให้คุณปีเตอร์ รีด ไปเยี่ยมทีมฟุตบอลต่างจังหวัดด้วย ผมก็คงจะกระตุ้นให้ คุณปีเตอร์ ได้รู้จักทีมระบบต่างจังหวัด  อย่างทีมนครปฐม หรือทีมสมุทรสงครามห่างไกลสายตา ผู้ฝึกสอน  ตัวดี ๆ ในอนาคตอาจจะติดทีมชาติก็ได้ แต่ยังขาดโอกาสอยู่ เรื่องการคัดเลือกทีมชาติก็เหมือนกัน อยากให้มีความยุติธรรมและโปร่งใส

      มองการเมืองช่วงปัจจุบันแล้วนึกถึงกีฬา ถ้านักการเมืองส่วนใหญ่ชอบกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ การเมืองไทย ก็น่าจะดีขึ้น เพราะกีฬา

      สร้างผู้นำแน่นอน เพราะนักกีฬาจะต้องสู้กับวิกฤติเสมอ  เหลืออีก 1 นาที ยังตามอยู่ 1 ประตู จะแก้ไขอย่างไร

      กีฬาสร้างผู้นำเพราะเป็นกัปตัน เป็นหัวหน้าทีมในปัจจุบัน ต้องมีความรู้ จิตใจนิ่ง ต้องมีบุคลิกที่ลูกทีมยอมรับ หรือศรัทธาได้

      แต่สมาคมกีฬาของไทยส่วนใหญ่ยังไม่มีผู้นำที่เป็นที่ยอมรับเพียงพอ และถึงเวลาที่ สื่อมวลชน ที่เป็นกลางอย่างสยามกีฬาจะกระตุ้นให้สมาคมฯ เหล่านั้น ทำงาน เน้น

-     โปร่งใส

-     ตรวจสอบได้

-     มีธรรมาภิบาล

-     ให้ทุกคนมีส่วนร่วมมากขึ้น

      และวันหนึ่ง กีฬาก็จะช่วยประเทศได้อย่างแท้จริง

  

จีระ หงส์ลดารมภ์

E-mail : [email protected]

บทความ ตีพิมพ์ในสยามกีฬา วันที่ 24 กันยายน 2551

 

เยาวชน:กีฬากับการเรียนและอนาคตที่ยั่งยืน

 

            มีท่านผู้อ่านเขียนถึงผมในเว็บไซต์สยามกีฬาก็เลยนำมาเผยแพร่ที่นี่ด้วย

 

ในความเป็นจริง นักการเมืองไทยกับนักกีฬาเป็นโลกคนละข้างกันก็ว่าได้ นักกีฬาไม่ว่าแบบทีมหรือเดี่ยวต้องมองหาจุดแข็งของตัวเองแล้วพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นและหาทางลดจุดอ่อนของตัวเองเพื่อทีมหรือเพื่อตัวเอง นักการเมืองกลับมองหาจุดอ่อนของฝ่ายตรงข้ามแล้วโจมตี มองหาจุดอ่อนของฝ่ายตัวเองแล้วกลบเกลื่อนหรือเบี่ยงเบน มองผลประโยชน์ของตัวเองมากกว่าจะมองถึงประโยชน์มวลชน ดังนั้นไม่ว่าจะมองอย่างไรก็ไม่อาจจะเทียบกันได้ เพราะถ้านักการเมืองไทยมีน้ำใจนักกีฬาจริงย่อมจะไม่เข้าสู่วังวนของการเมือง ที่ไม่สามารถทำตามอุดมการณ์ของตัวเองได้ มีแต่จะถูกดูดเข้าสู่วังวนแห่ง ผลประโยชน์ จนสุดท้ายกลายเป็น นักการเมืองที่เหมือนๆกันทั้งหมด

 

            ความคิดแตกต่างกันได้ แต่ที่ดีคือ มีมุมมองที่หลากหลาย น่าสนใจ ถ้าบอกว่าคนเก่งกีฬาจะเป็นนักการเมืองไม่ได้ต้องปรับตัวไปสู่ความล้มเหลวตามวัฒนธรรมการเมืองผมคิดว่าไม่จริงเสมอไป

            ยกตัวอย่างในอดีต นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ ก็เป็นนักกีฬา  เข้าไปการเมือง เขาไม่ได้ถูกอิทธิพลการเมืองครอบงำ ตรงกันข้ามอาจจะมีส่วนทำให้กีฬาดีขึ้น

            อีกท่านหนึ่ง หลายคนอาจจะคิดไม่ถึงว่าท่านจะเล่นและสนใจกีฬามาก ๆ ก็คือ ดร.อำนวย วีรวรรณ ซึ่งก็อยู่ในวงการการเมืองได้ดีพอสมควร

            ในปัจจุบัน น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีที่เน้นกีฬาและการเมืองก็คือลูกแม่รำเพยอีกคนหนึ่ง คุณประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ ซึ่งก็ใช้กีฬาเป็นประโยชน์ต่อการเมือง มีเพื่อนเยอะ มีความเข้าใจกีฬาในมุมกว้างดีและมีน้ำใจเป็นนักกีฬา

            ถ้าจะมองในหลาย ๆ มิติคนที่มีอาชีพอื่นและได้ดีเพราะเคยเป็นกีฬาก็มีมากมาย แต่ 2 ท่านที่ผมสนิทและน่าจะนำมาเป็นแบบอย่างที่ดี

·       รศ.อัษฎางค์ ปาณิกบุตร

·       ดร.วิชิต แย้มบุญเรือน

            และอย่างเลขาธิการสมาคมฯ คนปัจจุบันคุณองอาจ คล้ามไพบูลย์ ก็ถือว่าอดีตเป็นนักกีฬาและนักบริหารมืออาชีพได้ดี

            หากบทความนี้ยังได้รับผลตอบรับที่ดีกลับมา โดยเฉพาะการร่วมแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ ผมก็ดีใจแล้ว เพราะการแบ่งปันความรู้จะนำไปสู่ความสำเร็จ

            ก่อนจะไปต่อเรื่องอื่น ๆ ผมขอเตือนคนไทยทุกคนไม่ว่าอยู่ในวงการกีฬาหรือนอกวงการกีฬาว่าคงจะต้องเฝ้ามองปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะเศรษฐกิจการเงินของโลกและการเมืองของไทย

            เรื่องเศรษฐกิจการเงินโลก ผมเขียนไว้ละเอียดในบทความ บทเรียนจากความจริง ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า หากท่านสนใจก็ติดตามอ่านได้ทางเว็บไซต์ของผม (www.chiraacademy.com) และเมื่อเช้าวันอาทิตย์ที่ผ่านมาผมก็ได้พูดไว้ในรายการวิทยุ Human Talk ทางสถานี 96.5 MHz. (6 โมงเช้า) แต่ที่น่าจะเกี่ยวกับกีฬา คือ สปอนเซอร์รายใหญ่ของ MAN U คือ AIG ซึ่งเกือบล้มละลายไปแล้ว ดีที่มีธนาคารกลางสหรัฐฯ มาช่วยพยุงต่ออายุโดยให้กู้ไป 8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ กีฬากับธุรกิจระดับโลกก็มีความเชื่อมโยงกัน อาจจะพูดได้ว่ากีฬาเกี่ยวข้องกับโลกาภิวัตน์อย่างมาก น่าสนใจ คนไทยต้องอย่าตกอยู่ในความประมาท และใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเคร่งครัด คือ

·       คิดเป็นระบบ มีเหตุมีผล

·       เดินสายกลาง

·       บริหารความเสี่ยงให้ดี

      โดยมีความรู้คู่คุณธรรมเป็นกรอบที่สำคัญ

            เยาวชนรุ่นใหม่ที่เล่นกีฬามีช่วงชีวิตที่มีความเสี่ยงมาก เพราะชีวิตไม่สมดุล คือ เล่นกีฬามากจนละเลยการเรียน ผมจึงขอถือโอกาสฝากข้อคิดไว้ให้น้อง ๆ ด้วย

·       กีฬากับการเรียนต้องไปด้วยกัน อย่าเล่นกีฬาโดยไม่สนใจการเรียน

      ผมคิดว่าน้องๆ เยาวชนควรจะตั้งปณิธานของตัวเราเองว่า อนาคตคืออะไร อายุ 30-40- 

50 ปี จะทำอะไร? ชีวิตจะมีความหวังหรือไม่?

สนใจการเรียน โดยแบ่งเวลาให้ดี  แบ่งเวลาซ้อม กับเวลาเรียนให้ดี

            ครูมัธยมและอาจารย์มหาวิทยาลัย ควรจะต้องทำตัวเป็นพี่เลี้ยงแนะนำอนาคตให้เกิดความสมดุลของชีวิตนักกีฬาเยาวชน

            อย่างในอเมริกา นักกีฬาเขาต้องเรียนจริงจัง และต้องมี tutor แนะนำ คล้ายๆ เป็นพี่เลี้ยง ขนาดนั้น ยังมีปัญหานักกีฬาหลายๆ คนเรียนไม่จบ และอนาคตก็ไม่ดี       

            ต่อเนื่องจากอาทิตย์ที่แล้ว ทีมเบสบอลของสหรัฐฯ ที่ชิคาโก้ คือ ชิคาโก้คับส์ ปีนี้ก็เข้ารอบสุดท้ายอีกแล้ว และก็ปี 1908  เป็น 100 ปีที่แล้วที่ชะนะเลิศเบสบอลครั้งสุดท้าย ก็ต้องดูกันต่อไปว่าจะมีโอกาสชนะเลิศอีกครั้งในรอบ 100 ปี

            ผมภูมิใจมากที่มีโอกาสได้เรียนรู้เกี่ยวกับทีม Chicago Cubs เพราะตำนานของเขายิ่งใหญ่มาก และปีนี้จะเข้ารอบ และชนะเลิศหรือเปล่า

            การ Play-Off (แข่งรอบสุดท้าย) ถ้าจะเอา League ละ 4 ทีม ของ Cubs เรียกว่า National  League ซึ่งจะต้องเล่นอีก 2 ทีม ไม่เกิน 14 ครั้ง จึงจะไปชิงชนะเลิศอีกกับทีมจากอเมริกันลีค ซึ่งปีนี้ดูท่าทีแล้วน่าจะมีโอกาส ดี ยกเว้นจะเจออะไรที่ไม่คาดถึง

            ผมเองจะติดตาม ถ้าท่านเคยไปเที่ยว Chicago ก็ลองไปดูที่สนามและติดตามดู เบสบอล เป็นกีฬาที่คนไทยไม่ค่อยจะเล่นและสนใจมากนัก

            เบสบอลในอเมริกา ถือว่าเป็นนานาชาติไปแล้ว เช่น มีนักเบสบอลเก่ง ๆ จาก ญี่ปุ่น และเกาหลีไปเล่น รวมทั้ง มีนักกีฬาจากอเมริกาใต้ด้วย  ญี่ปุ่นนำเอากีฬาเบสบอลไปเล่นแบบบ้าคลั่งมาก   เข้าใจว่าจะมาจากหลังครามโลกครั้งที่สอง อเมริกาเข้าไปครอบครอง ดูแลอยู่นาน กีฬาเบสบอลของญี่ปุ่นได้รับความสนใจมาก ๆ ซึ่ง 40 ปีที่แล้ว คนญี่ปุ่นไม่ได้สนใจกีฬาฟุตบอลเลย เพราะเด็กรุ่นใหม่เล่นแต่กีฬาเบสบอล  แต่พอญี่ปุ่นหันมาทำเรื่อง J League (ลีคอาชีพจริง) โดยการมีภาคธุรกิจเข้ามาสนับสนุน  ภายในไม่ถึง 20 ปี กีฬาฟุตบอลก้าวหน้าไปมาก

            ดูรูปแบบของไทย ก็น่าสนใจ เพราะช่วงนี้ นายกฯวรวีร์ ก็มองเรื่องการจัดไทยลีคให้เลขาธิการ คุณองอาจ  และอาจารย์วิชิต แย้มบุญเรือง บุคคลที่ผมเคารพรัก ซึ่งเป็นรุ่นพี่ผม  เรียนที่สวนกุหลาบ แต่ท่านเรียนเก่งจบด็อกเตอร์ และประสบความสำเร็จในอาชีพการงานที่ ปตท. พี่วิชิตเล่นทีมชาตินาน รุ่นหลังพี่อัษฎางค์ แค่ 1 ปี  รุ่นใกล้ ๆ พี่วิชัย  ชุ่มจินดา  ยุคนั้น เทพศิรินทร์ สวนกุหลาย นักกีฬาก็จะสนิทกันและจะติดทีมชาติมากมาย อย่าง บิ๊กหอย ธวัชชัย สัจจกุล จากสวนกุหลาบเล่นฟุตบอลรุ่นใกล้ ๆ กับผม

            อาทิตย์นี้  ถ้าไม่พูดถึงเรื่องกอล์ฟ  Nick Faldo กับ  Ryder Cup ก็คงไม่ได้ เพราะ Faldo เป็นนักกอล์ฟที่เก่ง แต่มีอุปนิสัยที่ค่อนข้างจะดื้อ และไม่ค่อยจะประนีประนอม

            เมื่อ 2-3 วันก็แถลงข่าวแบบสร้างแรงกดดันต่อสื่อมวลชนพอควรในการแข่งขันครั้งนี้หลายเรื่อง

-          อเมริกา แพ้มาตลอด แพ้แบบขาดลอย

-          อเมริกาขาด Tiger Wood

-          อเมริกา ก็น่าจะแพ้ต่อไป

แต่ถ้าเกิดพลิกล็อค อเมริกาชนะ ผมคิดว่า คงจะมุ่งประเด็นไปที่ภาวะผู้นำ Nick Faldo เพราะ Nick มีวิธีการทำงานที่ไม่ฟังใคร เช่น นักกอล์ฟเก่ง ๆ ในอดีต  เช่น Darren Clarke  หรือ Colin Montgomerie ซึ่งปัจจุบันอาจจะเล่นกอล์ฟไม่ดี แต่มีประสบการณ์ใน  Ryder Cup มากมาย อาจจะช่วยทีมได้ คุณ Faldo  ก็ไม่สน มั่นใจตัวเองเกินไป ผมคาดว่า ถ้าทีม  Europe แพ้  (ซึ่งระหว่างเขียนต้นฉบับเช้าวันอาทิตย์ ยังแพ้อยู่ 7 : 5) ก็คงจะเป็นข่าวใหญ่ทีเดียว (บทเรียนเรื่องนี้สอนให้เห็นว่าคนเก่ง แต่อาจจะไม่รู้จักตัวเอง ไม่ปรับตัว ไม่ฟังใครก็จะเก่งได้ระดับหนึ่ง อาจผิดพลาดแบบไม่น่าจะเกิด ก็จะตกลงมาแบบเจ็บๆ

เมืองไทยก็มีคนประเภทนี้อยู่ในหลาย ๆ วงการ เช่นการเมืองไทย

สุดท้าย ผมอดที่จะมาบ่นดัง ๆ กับ แฟนพันธุ์แท้ของ ท๊อตแนม ฮ็อทสเปอร์ ไม่ได้ว่า อะไรเกิดขึ้นกับ สเปอร์ เพราะก่อนจะแข่งคืนวันอาทิตย์ กับ Wigan  อยู่บ๊วย ในตาราง  ซึ่งดูแล้วเศร้าพิกล แถมตัวดี ๆ ขายไปเกือบหมด ส่วนหนึ่งไปอยู่ Sunderland อีกส่วนหนึ่ง คือ Berbatov ไปอยู่  Man U ส่วน Robbie  Keane ไปอยู่ Liverpool  ซึ่งทั้งสองคนก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ

ผมเลยวิเคราะห์ว่า ส่วนดี ๆของ Spurs คือ เคยขึ้นอันดับ 5 เกือบได้ไปแชมป์เปี้ยนลีค ยุคโค้ชคนเดิม คุณ  Yol ยุคปัจจุบัน ก็เปลี่ยนผู้เล่นอย่างมากมาย ยิ่งจำไม่ได้เลย บทเรียนคือ ถ้าของยังดี ๆ ยังใช้ได้ ก็อย่าไปเปลี่ยนทุกอย่างเพราะเปลี่ยนแล้ว มีแต่ความไม่แน่นอนหรืออาจจะแย่กว่าเดิม ลองคิดดูว่า สเปอร์ ตกไปอยู่ดิวิชั่น แชมป์เปี้ยนลีค อะไรจะเกิดขึ้นครับ แฟนสเปอร์ช่อยออกความเห็นด้วย

              จีระ  หงส์ลดารมภ์

บทความ ตีพิมพ์ในสยามกีฬา วันที่ 8 ตุลาคม 2551

 

ผู้ว่าฯ อดิศร.. ผู้ว่าฯ นักกีฬา

 

            ผมขอแก้ข่าวเรื่องเทนนิสว่าไทยแลนด์โอเพ่น ปี 2008 อาจจะเป็นปีสุดท้าย แต่ในหนังสือพิมพ์หลายฉบับบอกว่า ปี 2009 จะยังมีอยู่ จะนำเอา Nadal มาด้วย ขอบคุณธุรกิจต่าง ๆ รวมทั้ง ปตท. ด้วยที่ให้การสนับสนุนไทยแลนด์โอเพ่น ปี 2009 และปีต่อ ๆ ไป เพราะคุ้มครับ ข่าวเทนนิสไทยแลนด์โอเพ่นแพร่ไปทั่วโลก และทำให้กีฬากลายเป็นทุนทางวัฒนธรรมอย่างดีของคนไทย และคนไทยจะสร้างมูลค่าเพิ่มได้ สมาคมเทนนิสมีผลงานที่น่าประทับใจมากพอควร ผมก็จะให้กำลังใจต่อไป

            อีกไม่นานก็จะมีเทนนิสหญิง พัทยาโอเพ่น ปี 2009 ปีนี้ต้องกระจายข่าวมาก ๆ ผมไปดูทุกปี คนดูส่วนใหญ่กลายเป็นฝรั่งที่มาอยู่พัทยา ผู้จัดควรจะให้เยาวชนไทยทั้งที่เป็นนักเทนนิสรุ่นใหม่หรือเยาวชนที่ชอบกีฬาได้ดูด้วยจะได้เป็นการสร้างประสบการณ์ในแง่มุมต่าง ๆ ที่ดี ยังมีเวลาอีกประมาณ 3 – 4 เดือน ผมกับ สยามกีฬา จะช่วยกันโปรโมทให้คนไทยและเยาวชนไทยได้ดูด้วย

ขอขอบคุณ บ.ก.โอฬาร ที่ให้นักข่าวสยามกีฬาเริ่มเขียนฟุตบอลไทยลีกยาว ๆ และน่าสนใจ ฉบับล่าสุดก็เริ่มรายงานจำนวนผู้ชมด้วย เช่น วันที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแข่งกับนครปฐมผู้สื่อข่าวสยามกีฬารายงานว่ามีคนดู 5,000 คน ผมไปอยู่ในบรรยากาศด้วยขอฟันธงว่ามีคนเข้าดูประมาณ 8,000 คน แต่ผู้จัด คือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดอยุธยาบอกผมว่าวันนี้มีผู้ดูประมาณ 12,000 คน และแมตซ์ที่เล่นกับชลบุรีเคยขึ้นถึง 15,000 คน

 

            จึงเป็นประเด็นที่สำคัญว่า ปีนี้ทำไมทีมสโมสรไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมาแรง

§       ข้อแรก คือ สนามที่อยุธยา บรรยากาศ และแฟนคลับ ผมว่าบรรยากาศคล้าย ฟุตบอลจตุรมิตร ที่เล่นทุก ๆ 2 ปี เพราะคนดูสนุก มีอารมณ์ร่วม

§       ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคคนปัจจุบัน คุณอดิศร เกียรติโชควิวัฒน์ เป็นผู้ว่าฯ ที่สนใจกีฬาอย่างมาก ทราบว่าท่านดูทุกนัดที่ว่าง และ หากท่านมาไม่ได้ท่านก็โทรศัพท์ติดตามตลอดว่าผลเป็นอย่างไร ผู้นำเบอร์ 1 ดี ชอบกีฬา พนักงานส่วนมากก็เอาด้วย คนดูก็ชอบ พนักงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมาเชียร์กันเป็นพันคน ปัจจุบันมีแฟนคลับที่เรียกว่า ไฟฟ้าฟีเวอร์ ได้แน่นอน

§       เรื่องทรัพยากรมนุษย์และการบริหารจัดการ คือ กำลังถึง แรงจูงใจดี คือ ค่าตอบแทนผู้เล่นอยู่ในขั้นดี อยู่ได้สบาย คือ เป็นฟุตบอลอาชีพมากขึ้น หลายคนรวมโบนัส รวมเงินเดือน เบี้ยเลี้ยงกว่า 7 หมื่นบาทต่อเดือน ผู้เล่นบางคนเป็นพนักงานของการไฟฟ้าฯ ด้วย นักกีฬาถ้ามีความมั่นคงและขวัญกำลังใจทุก ๆ อย่างก็จะไปสู่ความสำเร็จได้

§       ผู้นำท้องถิ่นต้องเอาด้วย สนามที่ใช้เป็นของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อยุธยา นายก อบจ. ลดราคาให้จากเหมาจ่ายทุกแมตซ์ 400,000 บาทต่อปี เหลือแค่ 200,000 บาทต่อปี วันที่ผมไปดู นายก อบจ. หญิง คุณสมทรง พันธ์เจริญวรกุล ก็มานั่งเชียร์ให้กำลังใจอยู่ด้วย

สรุป คือ มหาดไทย นักปกครองระดับผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ยังไม่เอาจริงกับกีฬา เงินงบประมาณจากส่วนกลางไม่พอ วันที่ผมไปดูฟุตบอล อยุธยาเป็นจุดที่ดีสำหรับการส่งเสริมกีฬา และลดปัญหาสังคมลงไปได้มากถ้าส่งเสริมให้วัยรุ่นหันมาสนใจกีฬา ผมขอขอบคุณทีมงานของผู้ว่าฯ อดิศร โดยการนำของคุณมานพ ถนอมกิตติ รองผู้ว่าการจำหน่ายและบริการ (ภาค 3) และคณะผู้บริหารที่ต้อนรับผมอย่างอบอุ่น ขอขอบคุณนายก อบจ. หญิงเก่ง คุณสมทรง พันธ์เจริญวรกุล ที่กรุณาสนใจงานของผม ทั้งเรื่องความรู้ที่ท่านส่งทีมงานมาเรียนเรื่องการบริหารมืออาชีพกับผมและสนใจเรื่องกีฬาด้วย ผมขอบอกชาวอยุธยาด้วยว่า ถ้ามีโอกาสผมจะกลับมาอีก เพราะบรรพบุรุษ คือ คุณแม่ของผมก็เป็นชาวอยุธยา

      จังหวัดอยุธยาในอนาคตน่าจะเป็น

§       แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์

§       แหล่งการเรียนรู้และการสัมมนา (เพราะอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ)

§       แหล่งกีฬาระดับนานาชาติ

สำหรับกีฬานานาชาติก็เริ่มได้ด้วยการเล่นสโมสรของการไฟฟ้าฯ ในเอเชียแชมเปี้ยนลีก โดยใช้สนามที่นี่ ไม่ต้องให้มาเล่นที่กรุงเทพฯ คนดูโหรงเหรง

เมื่อวันพุธที่ผ่านมาผมไปดูทีมท่าเรือเล่นที่สนามคลองจั่น สมัยที่ผมเป็นเด็กนั้นทีมท่าเรือเป็นทีมที่มีประวัติความเป็นมายาวนานและเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จ แต่น่าเสียดายว่ามีคนดูสูงสุดไม่เกิน 300 คน

โอกาสที่สโมสรท่าเรือจะเป็นทีมที่มีอนาคตในระยะยาวคงจะต้องจับมือกับนายก อบจ. หรือ เทศบาลจังหวัดใดก็ได้ เช่น ใช้เทศบาลแหลมฉบังก็ได้ทำให้เมืองชลมีทีมเพิ่มขึ้นอีก 1 ทีม สนุกดี และขอความกรุณาสร้างแฟนคลับไว้เยอะ ๆ

ต่อเนื่องจากคราวที่แล้ว มีน่าสนใจหลายเรื่อง

§       เรื่องแรกผู้ที่สนใจเบสบอลสหรัฐฯ แข่งขันรอบสุดท้าย ชิคาโก้คัพ จะถูกสาปต่อไปหรือเปล่า เพราะเล่นดี ระหว่างฤดูเข้ารอบเป็นที่ 1 ของสาย National แต่ขณะที่เขียนนี้ตาม L.A. อยู่ 2:0 ซึ่งวันอาทิตย์นี้ถ้าแพ้ก็ตกรอบไปเลย รอมาแล้ว 100 ปี ไม่ทราบจะรออีกกี่ปี

ทีม Wolwesthertan หรือ วูฟแทมตัน ท่าดีทีเหลวอีกแล้ว ผมเคยวิเคราะห์ว่าจะแผ่วปลายหรือเปล่าก็แพ้ 2 นัดติดต่อกันแล้ว อยากให้ทีมนี้มีโอกาสมาเล่นในพรีเมีย เพราะอดีตเป็นทีมยักษ์ใหญ่เคยชนะเลิศ 3 ปีซ้อน แต่ในทศวรรษ 50 ช่วงนี้ตกต่ำ คนดูเกือบ 30,000 คนหายไป กลายเป็นยักษ์เล็ก ประวัติศาสตร์น่าสนใจมาก ผมยังอยากให้สยามกีฬาเล่นเรื่องทีมเก่าๆ เหล่านี้มากขึ้นให้คนไทยได้รู้ตำนานเดิม ๆ

§       ส่วนแฟนพันธุ์แท้ของสเปอร์ น่าจะติดตามว่าผลของการแข่งขันกับน้องใหม่ทีมฮัลลฺจะชนะหรือไม่? เพราะยังบ๊วยอยู่ ในขณะที่บอลถ้วยยังมีโอกาสทั้งคู่ คือ ดาร์ลิ่งกับยูฟ่าคัพ คงจะเน้นไปที่การปรับตัวของคาร์ลอสโค้ชชาวสเปนว่าจะบริหารลูกทีมได้อย่างไร เพราะมีตัวใหม่มากและมาจากหลายประเทศ

 

ผมว่ากีฬายุคนี้คล้ายกับธุรกิจ คือ ผู้นำต้องเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม สื่อสารให้ถูก และคาร์ลอสจะมีวิธีการปรับทีมที่รวดเร็วเกินไปไม่ได้ ต้องสร้างความมั่นใจให้ลูกทีม สำหรับสเปอร์ ชนะเลิศครั้งสุดท้ายในลีก 47 ปีที่แล้ว และสำคัญก็คือ ผู้ฝึกสอนกับลูกทีมไปกันได้ดี คล้ายทฤษฎี Melting Pot ของผมคราวที่แล้วที่เน้นการผสมกลมกลืนความสามารถของทุกฝ่ายเข้าด้วยกันอย่างพอดี ไม่ใช่ต่างคนต่างเล่นและขาดความมั่นใจ ต้อง Melting Pot ครับโค้ชคาร์ลอส

 

การปรับตัว ในวัฒนธรรมที่หลากหลาย เป็นห่วงปีเตอร์รีดเรื่องการทำความเข้าใจกับวัฒนธรรมไทย เราจะสื่อสารอย่างไรกับลูกทีมต่าง ๆ ควรจะให้ปีเตอร์ได้รู้จัก และศึกษาความหลากหลายทางวัฒนธรรม ภาษาไทยก็ต้องเรียน มิฉะนั้น 700,000 ปอนด์ไม่คุ้ม ไม่ใช่ตกงานเมืองนอกแล้วมาทำที่ไทย ดีใจที่ปีเตอร์ได้ไปดูการฝึกซ้อมของทีมการไฟฟ้าฯ ด้วย แต่อย่าลืมว่าช้างเผือกในหลาย ๆ ทีมที่ไม่มีโอกาสโดยเฉพาะในดิวิชั่น 1 และ 2 และทีมระดับมหาวิทยาลัยด้วย

 

ขอแสดงความยินดีกับฟุตซอลไทยระดับโลกแข่งที่บราซิล ไทยชนะครั้งแรกกับสหรัฐเป็นการเล่นระดับที่มีคนดูทั่วโลก ผมยังไม่รู้จักฟุตซอลดีนัก แต่ก็ดูเขาเล่นสนุกดี คนไทยก็เก่งไม่ใช่เล่น

และอุทธาหรณ์สำหรับนักกีฬาที่เคยประสบความสำเร็จและล้มเหลว ล่าสุด คือ O.J. Simpson นักกีฬาฟุตบอลอเมริกันระดับโลกที่โด่งดังมาก เคยมีคดีฆ่าเมียเก่า ลูกขุนยกฟ้องไปไม่ผิด แต่มาคราวนี้ไม่เข็ดทำผิดคดีอาญาอีกเลยถูกพิพากาจำคุกน่าจะตลอดชีวิตและไม่มีใครเป็นใจแล้ว เพราะทำผิดซ้ำสองก็ขอให้นักกีฬาไทยดูไว้เป็นตัวอย่าง ดังแล้วอย่าซ่าส์

วันเสาร์ผมจะไปเยี่ยมที่สโมสร นครปฐม ครับ

                               จีระ หงส์ลดารมภ์

บทความ ตีพิมพ์ในสยามกีฬา วันที่ 15 ตุลาคม 2551

ฟุตบอลไทยไปสู่มืออาชีพ

 

ผมมีงานเขียนด้านกีฬาเพิ่มมา 1 เรื่องที่สาธารณชนได้รับทราบผ่านสยามกีฬา   กีฬาคือชีวิตของผม ทำให้ผมทำงานสนุก และมีพลัง

มีท่านผู้อ่านหลายคนสนใจ ติดตาม นำบางเรื่องไปปฏิบัติ ถ้าเขียนแล้วไม่มีประโยชน์ จะเสียเวลา เขียนไปทำไม

ช่วงนี้ ผมจึงมีรายงานว่าใน 1 อาทิตย์ได้ทำอะไร เกี่ยวกับกีฬาบ้าง

อาทิตย์ที่แล้ว ผมจะไปดูสโมสรฟุตบอล นครปฐม  ตั้งใจว่าจะหารือรัฐมนตรี ไชยา  สะสมทรัพย์ ซึ่งท่านดูแลสโมสรนครปฐมอยู่  แต่ นครปฐม ถูกลงโทษ   จึงไปเล่นที่อื่น   เป้าหมายที่จะไปดู อยากเห็นบรรยากาศฟุตบอลในต่างจังหวัด อยากเห็นความเจริญของฟุตบอลระดับอาชีพให้มีคนดูมากขึ้น  จึงได้ไปเยี่ยมดูที่แมตซ์สโมสรบางพระ

บางพระ ใคร ๆ ก็รู้จัก เพราะอยู่ใกล้กับศรีราชา  เมื่อเด็ก ๆ คุณพ่อมักจะขับรถไปรอบ ๆ เขื่อน  ตอนช่วงหนุ่ม ๆ ก็ไปเล่นกอล์ฟที่สนามบางพระของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จึงมีความรู้สึกอยากกลับไปดูบรรยากาศเดิม อยากรู้ว่าฟุตบอลจะเป็นอย่างไร  เผอิญ เป็นทีมการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ชิงดำกับโค้ชบางพระด้วย

ขอรายงานว่า มีผู้ชมแมตช์นี้อย่างน้อย 4,000 คน แต่เป็นสนามเทศบาลแบบพื้น ๆ ไม่เหมาะอย่างยิ่งกับการเป็นสนามมาตรฐานของ Fifa หรือ AFC แต่ก็เห็นว่าสมาคมฟุตบอลน่าจะมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น เช่น

§       เน้นความปลอดภัยของผู้ชม ถ้า แมตช์ไหน กรรมการอาจตัดสินไม่ดี คนดู ไม่พอใจอาจจะเหยียบกันตายได้

§       ไฟฟ้าของสนามไม่มีก่อน 6 โมง  มืดเกือบจะมองไม่เห็นเลย

§       อัฒจันทร์ ที่แข็งแรงยังไม่ได้สร้างให้สมบูรณ์

ผมเข้าใจว่า กีฬาอาชีพฟุตบอลกำลังปรับตัว  สโมสรบางพระ จับมือ  บริษัทโค้กให้ความช่วยเหลือช่วยสนับสนุน ปัจจุบันมีกลุ่มเทศบาลบางพระช่วยเหลืออยู่ จำนวนคนดูน่าจะขยายได้กว่า 8,000 คนในอนาคต

บรรยากาศการแข่งขัน ต้องขอชมเชย ผู้จัดที่สร้างความรู้สึกที่ดีต่อคนดูและกรุณาต้อนรับผมอย่างดี แฟนคลับการไฟฟ้า ตามไปจากอยุธยาไปดูร่วม 600 คน

ถึงแม้ว่าสนามจะเล็กและยังไม่ได้มาตรฐาน แต่บรรยากาศสนุก ทุกคนมีส่วนร่วม หากปรับปรุงอีกไม่นานก็จะดีขึ้น

ผมมีโอกาสนั่งคุยกับบุคคลในวงการกีฬาหลายท่านเช่น คุณสาทิศ  สีดอกบวบ จาก การกีฬาแห่งประเทศไทย และนายกเทศมนตรีเมืองศรีราชา ฉัตรชัย ทิมกระจ่าง ซึ่งมาคุยและดูแลผมอย่างดี ปีหน้าไทยลีคจะมีทีมศรีราชาด้วย

และได้นั่งคุยกับเลขาธิการสมาคมฟุตบอลฯ คุณองอาจ ก่อสินค้า ทำให้ผมเห็นความเป็นมืออาชีพของสมาคมฯ มากขึ้น

คุณองอาจ เป็นบุคคลในวงการกีฬาฟุตบอลที่มีความรู้ และนายกฯ วรวีร์  มะกูดี ก็ได้มอบงานหลาย ๆ อย่าง เช่น

§       ดูแล ให้ไทยลีค มีมาตรฐานระดับของ Fifa หรือ AFC

§       ดึงเอานักฟุตบอลรุ่นพี่ของผม ดร.วิชิต แย้มบุญเรือง มาร่วมงานและให้อำนาจในการทำงานดูแลการแข่งขันอย่างแท้จริง

§       ผมเคยพูดกับเลขาฯ ว่าให้เวลากับการบริหารถ้วย  ข ค ง  ให้สโมสร มีส่วนร่วม ไม่ใช่ว่าจัดแบบขอไปที มีตารางการแข่งที่แน่นอน และเล่นแบบเป็นลีคมากขึ้นแบบอังกฤษมากกว่าเป็นแบบแพ้คัดออก  ทีมถ้วย ข ค ง  เล่นแค่ 4-5 แมตซ์เท่านั้น  ซ้อมมานาน ควรจะให้เล่นเป็นลีค

ทุก ๆ ทีมที่ไปเยี่ยม ผมขอเป็นกลาง ยกเว้นแต่ทีม ถ้วย ข ของสโมสร สมาคมศิษย์เก่าเทพศิรินทร์  เพราะเป็นโรงเรียนเก่าและเป็นอดีตผู้จัดการด้วย

ปีนี้ผมจะช่วยสนับสนุนให้สโมสรของเรา  ขึ้นมาดิวิชั่น  2 ให้ได้

ส่วนบรรยากาศอื่น ๆ ในแมตซ์ที่บางพระ ผมขอชมเชย เช่น

§       การติดสินของกรรมการโปร่งใส

§       ผู้บริหารสมาคมและองค์กรการกีฬาให้ความสนใจ

§       ผู้นำท้องถิ่นของบางพระและชลบุรีมากันพร้อม

ผมขอแสดงความยินดีต่อสโมสรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคด้วยความจริงใจ  เพราะทีมเขาดีจริง ๆ และเขามีแฟนคลับ เน้นจังหวัดอยุธยาเป็นจุดที่นำทีมซึ่งผมได้พูดเมื่อคราวที่แล้ว

เรื่องฟุตบอล อาทิตย์ที่แล้ว ผมขออภัยที่เขียนชื่อโค้ชของสเปอร์ผิดไป ความจริงชื่อ รามอส  ไม่ใช่ คาลอส และอย่างที่คาดไว้ว่า แข่งกับ ฮิลล์ ถ้าแพ้ ก็จะสร้างแรงกดดันมากขึ้นแล้ว  ก็แพ้จริง  ผมจะดูว่า สเปอร์จะแก้วิกฤติครั้งนี้ คล้ายนายกฯ สมชาย  จะแก้วิกฤติวันที่ 7 ตุลาคม ได้อย่างไร  ผู้นำในความเห็นของผม นอกจะเป็นแบบอย่าง (Role Model) ที่ดี ต้องสร้างศรัทธาให้ลูกน้อง ต้องแก้วิกฤติให้สำเร็จ     วิกฤติของสเปอร์ครั้งนี้ใหญ่ยิ่งมหาศาล ไม่เคยรุนแรงในช่วง 53 ปีที่ผ่านมา

ผมอ่านบทวิจารณ์ของนักข่าวอังกฤษ  ว่ามีจุดสำคัญที่สโมสรสเปอร์ผิดพลาดหลาย ๆ เรื่อง

§       การเก็บนักเตะดี ๆ ไม่มองกำไรจากการขาย  คิดว่าได้เงินมาแล้วน่าจะทดแทนได้  ซื้อนักเตะที่ราคาแพง แต่ไม่สร้าง  Melting Pot คือไม่สามารถผสมผสานให้ไปสู่ความสำเร็จได้

จุดอ่อนของสเปอร์ คือ การตัดสินใจของกลุ่มผู้บริหารและโค้ช มองการแก้ปัญหาแบบมีเงินแล้ว ซื้อความสำเร็จได้ แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่

§       สองเป็นความเห็นของผมเอง คือ ไม่เคยศึกษาปรัชญาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของเรา  พระองค์ท่านสอนให้  ทำอะไรให้เป็นขั้น เป็นตอน  สเปอร์ ยุคมาร์ติน โยล ได้ขึ้นชั้นทีม อันดับ 5 แล้ว  เป็นทีมที่เบียด Top 4 แต่อยากได้ Top 4 เร็วไป เปลี่ยนแปลงทีมมากเกินไป

ผมคิดว่าวิธีการเปลี่ยนของผู้บริหารและรามอส ปีนี้ คือการเปลี่ยนแบบ ยกเครื่อง   ซึ่งไม่ได้ผล กลับสร้างปัญหาให้สปอร์ทรุดไปกว่า 5 ปี

และยุทธวิธี (Tactics) ของการเล่น คุณรามอส อาจจะติดแบบสเปน สไตล์ยุโรป  เล่นฟุตบอลไม่ได้ดูบริบทของฟุตบอลอังกฤษ ซึ่งไม่เหมือนสเปน  นักเตะจึงปรับตัวไม่ทัน

                ผมจะสรุปว่า งานกีฬาของผมน่าจะเป็นงานที่ช่วยประเทศได้โดยดึงเอาคนที่สนใจกีฬาแต่อยู่นอกวงการมาช่วย

§       เศรษฐกิจเน้น การจ้างงาน การสร้างรายได้

§       สร้างเยาวชน สร้างทรัพยากรมนุษย์ให้มีชีวิตที่ยั่งยืน มีเกียรติ อย่างเช่นนักฟุตบอลอาชีพของไทยดี ๆ อายุไม่ถึง 25 ปี ก็มีรายได้กว่า 5 หมื่นบาทแล้ว

§       สนใจธุรกิจอย่างแท้จริง และสร้างการตลาด

§       สร้างให้เยาวชนสนใจกีฬามากกว่าเข้าหายาเสพติดหรือปัญหาสังคมอื่น ๆ

§       สร้างให้สังคมมีความสมดุล และที่สำคัญก็คือสร้างความรักความสามัคคีให้ชุมชนด้วย

                มีอีก 2 เรื่องที่น่าสนใจ คือ

§       ท่านผู้อ่านกรุณาติดตามรายการทาง TTV2 ของผม ทุกคืนวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ ประมาณ 22.10 น. ผมได้ออกอากาศสดไปแล้ว 3 ครั้ง ซึ่งคนในต่างจังหวัด และโดยเฉพาะระดับรากหญ้าก็จะมีโอกาสได้เรียนรู้จากโทรทัศน์ได้มากขึ้น โดยเปิดสายให้โทรมาขอคำปรึกษาได้

§       และ  เมื่อ 5 – 6 ปี ที่แล้ว ผมได้เขียนเรื่องประเทศไทยกับ  การเป็นเจ้าภาพรถแข่งฟอร์มูล่า

หลายคน หัวเราะเยาะผม ช่วงนี้ อดีตนายกฯ ทักษิณ ก็ไม่สน  มาวันนี้ สิงคโปร์ จัดแข่งไปแล้ว มาเลเซียจัดไปแล้ว จีนก็จะจัด

คุณวิกรม   กรมดิษฐ์  ได้ออกวิทยุ F.M. 96.5 MHz ว่าคนไทยต้องคิดนอกกรอบ อย่าทำอะไรแบบเดิม ๆ การท่องเที่ยวยุคใหม่ต้อง เน้นนวัตกรรม ผมเลยจะรื้อฟื้นเป็นเจ้าภาพรถแข่งสูตร 1 จะขอให้ สยามกีฬา  ผม และ คุณวิกรม มีโอกาสที่จะนำเสนอ Concept บ่อย ๆ ให้ประเทศไทยเจ้าภาพรถแข่งสูตรฟอร์มูล่าร์ มาเป็นความจริงให้ได้ภายใน 3 – 5 ปี

                                                                        จีระ  หงส์ดารมภ์ 

บทความ ตีพิมพ์ในสยามกีฬา วันที่ 22 ตุลาคม 2551

 

สัมภาษณ์โค้ชทีมชาติไทย ปีเตอร์ รีด

 

            ผมต้องขออภัยที่การเขียนของผมมีข้อผิดพลาดอยู่เสมออย่างคราวที่แล้วจะเขียนถึง ดร.วิชิต แย้มบุญเรือง ก็ไปลงชื่อถึง ดร.วิจิตร เกตุแก้ว  ผมคงตรวจทานไม่ดีเอง ทำให้นักคิดคนหนึ่งให้ทฤษฎีความเป็นเลิศทางคุณภาพว่าไว้ว่า ทำอะไรอย่าชุ่ย ต้องระวังอยู่เสมอ เช่น การทำอะไรนึกถึงให้ได้คุณภาพต้อง 4 เรื่อง

§      ต้องเร็ว เมื่อเทียบกับคู่แข่ง

§      แม่นยำทั้งตัวเลข ข้อเท็จจริง

§      ทำครั้งเดียว สำเร็จมีคุณภาพเป็นที่พอใจ

§      ใส่ปัจจัยผลิต 1 หน่วยได้อย่างน้อย เท่ากับ 1.5 หน่วย

การเขียนของผมคงต้องพัฒนาไปเรื่อย ๆ และยังมีผู้อ่านอีกมากที่ไม่รู้จักบทความของผม อาจจะคิดว่าไม่ใช่เกี่ยวกับกีฬาโดยตรง มองกีฬาแบบผม กีฬากลับทำให้เราได้บทเรียนทีดี และทำให้ชีวิตของเรามีความสุข มีความสมดุลและช่วยคนอื่น ได้

อาทิตย์นี้ผมโชคดีที่มีโอกาสได้ไปสัมภาษณ์ ปีเตอร์ รีด โค้ชทีมชาติฟุตบอลไทยซึ่งเลขาธิการสมาคมฯ คุณองอาจ ก่อสินค้า ได้จัดให้ ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ นอกจากได้แลกเปลี่ยนมุมมองแล้ว ยังได้เจาะลึกเรื่องวิธีการทำงานของเขาด้วย

บรรยากาศที่ผมได้ไปสัมภาษณ์ที่ศูนย์ฝึกทีมชาติไทยที่หนองจอกโค๊ชทีมชาติไทย คุณปีเตอร์ รีด ผมได้เจอกับคุณธารา พฤกษ์ชะอุ่ม ผู้ช่วยเลขาธิการสมาคมฟุตบอลฯ ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนทีมชาติไทย คุณสตีฟ ดาร์บี้ และคุณเทอรี่ เดมพ์ซี่ และอดีตทีมชาติไทยคุณตะวัน ศรีปาน คุณชัยยงค์ ขำเปี่ยม

ที่น่าประทับใจคือ คุณปีเตอร์ รีด ใส่สูทมาเพราะคิดว่าต้องเตรียมตัวมาออกรายการฯ แต่เห็นผมใส่ชุดกีฬา ยังอุตสาห์เปลี่ยนเสื้อผ้าให้เข้ากับบรรยากาศ สิ่งที่ผมประทับใจคือ การมีทัศนคติที่ดีของเขาต่อทีมชาติไทย มองทั้งจุดอ่อนและจุดแข็ง จุดแข็งก็คือ นักฟุตบอลไทยเป็นมีทักษะความสามารถเฉพาะตัวและเป็นคนชอบฟุตบอล ส่วนจุดอ่อนคือ

·       สมาคมฟุตบอลฯมีการจัดการที่ขาดความต่อเนื่องยังไม่เป็นมืออาชีพ แต่ยอมรับว่าปีนี้การแข่งขันพีเมียร์ลีกดีขึ้นมาก

·      นักฟุตบอลไทยเราขาดความมั่นใจและขาดขวัญกำลังใจ ยังเล่นแบบกลัว ๆ

·      ปีเตอร์ รีดยอมรับความหลากหลายของวัฒนธรรมการสื่อสารไทย ใช้ภาษาไทย แต่เขาเปิดกว้างและสนใจการเรียนรู้เกี่ยวกับฟุตบอลไทยมากขึ้น

ถ้าท่านผู้อ่านสนใจก็ลองดูบรรยากาศในการสัมภาษณ์ ในรายการคิดเป็น ก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง TNN 8  วันพุธที่ 29  ตุลาคม 2551 เวลา  9.10 –10.00  น. และ 22.00 – 22.50 น.

ยังมีควันหลงฟุตบอลการคัดเลือกฟุตบอลโลกโซนยุโรปของทีมอังกฤษ ผมขอสารภาพว่าเป็นแฟนพันธุ์แท้บ้าคลั่งฟุตบอลทีมชาติอังกฤษมานานแล้ว ตอนที่อังกฤษชนะเลิศบอลโลก ปี 1968 แข่งที่อังกฤษ ผมยังเด็กมาก ดีใจแต่ยังไม่ได้เข้าใจลึกซึ้ง รู้สึกว่ามีความสุขมาก ๆ แต่หลังจากปี 1968 โตขึ้น เข้าใจขึ้น มีแต่ความผิดหวังเพราะอังกฤษไม่ชนะเลิศฟุตบอลโลกเลย และ ปี EURO 2008 อังกฤษไม่ได้เข้ารอบสุดท้าย ก็เก็บความเศร้าไว้ลึก ๆ  เสมอ

ผมเป็นคนที่รู้ซึ้งว่า ถึงจะชอบก็ไม่แน่ใจว่าทีมชาติอังกฤษจะไปได้ไกลสุดหรือไม่ เพราะปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น

§      ลีกอังกฤษ เล่นแมตช์มากไปทำให้นักกีฬากรอบ เรื่องนี้น่าจะเป็นจริงเพราะท่านลองคิดดูว่าบางทีมต้องเล่นอาทิตย์ละ 2 ครั้งเกือบจะทั้ง 8 เดือน ช่วงคริสมาสต์ ก็ไม่หยุดพักแบบบอลลีกเยอรมัน

§      ตั้งแต่มีนักเตะต่างชาติมาเล่นมากไป เช่น อาเซนอล เกือบจะไม่มีนักบอลอังกฤษเลย โค้ชก็เป็นยุโรปหรืออเมริกาใต้ น่าจะมีกฎห้ามไว้บ้าง เช่น กฎของสโมสรฟุตบอลไทย ต่างชาติส่งชื่อได้ 5 แต่เล่นได้ไม่เกิน 3

§      เป็นธุรกิจมากไปโดยเฉพาะลิขสิทธิ์โทรทัศน์ นักฟุตบอล ร่ำรวย มากกว่าที่ตัวเองและครอบครัวจะจัดการชื่อเสียงและเงินได้

 ภรรยาและแฟนนักฟุตบอลก็ทำตัวดังแข่งกับนักฟุตบอลไปด้วยแถมสื่ออังกฤษชอบเรียกเรื่องพวกนี้ว่า  (WAG) Wife and Girlfriend

ซึ่งพอมายุค Capello ทำท่าจะไปได้ดี การคัดเลือกรอบแรกฟุตบอลโลกโซนยุโรป 4 ครั้งแรกก็เก็บได้เต็ม 12 คะแนน ขนาดยังไม่ไปแข่งรอบสุดท้าย แอฟริกาใต้ถูกจัดเต็ง 3 แล้ว คือสื่ออังกฤษก็เป็นแบบนี้แหละชนะเชียร์ ไม่มีเหตุผลแต่พอหาเหตุผลก็ไม่รู้ว่าปัจจัยความสำเร็จคืออะไรแต่พอแพ้ก็ด่าอย่างไม่มีเหตุผลเหมือนกัน ไล่โค้ชออก แบบไม่มีเยื่อใย

 ผมอ่าน การวิเคราะห์จากสื่ออังกฤษบอกว่า Capello ทำอะไรแบบแนวตะวันออกมากกว่าแนวตะวันตก และแนวคิด 6 แนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ

 1) คิด Macro ทำ Micro
 2) ทำเป็นขั้นเป็นตอน
 3) ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
 4) ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคมของที่นั้นๆ
 5) การสื่อความ การประสานงาน และการบูรณาการ (Communication, Coordination, Integration)
 6) ทำอะไรต้องมีผู้เป็นเจ้าของ  

            ข้อที่ 3 คือ ทำอะไรง่าย ๆ อย่าสลับซับซ้อน ฟุตบอลอังกฤษยุค Capello ไม่ยุ่งยาก เช่น เอากองหน้าแก่ชื่อ เอมิล เฮสกี้มาลงคู่กับเวย์น รูนีย์ ซึ่งเฮสกี้ปลดระวางไปตั้งนานแล้ว แต่ทำสำเร็จได้ สรุปคือฟุตบอลก็คือเล่นง่าย ๆ อย่าให้ปัจจัยอื่น ๆ มาแทรกซ้อนรบกวนสมาธิ เช่นไม่เน้นตัวบุคคล อย่างเบคแฮมจะเล่นก็ไม่ควรเอาภรรยามาวุ่นวายหรือนักฟุตบอลคนไหนไม่ฟิตก็ไม่ให้เล่น เช่น โอเว่น เป็นต้น คุณ Capello  มีความเด็ดขาดดี

            เรื่องฟุตบอล ที่ผ่านมาของบทบาทคุณทักษิณในเรื่องการสร้างภาพลักษณ์ทางการตลาด ซึ่งในช่วงที่เป็นเจ้าของสโมสรแมนซิตี้ สร้างภาพโดยให้สโมสรแมนซิตี้ รับนักเตะ 3 คนคือ เปรม" สุรีย์ สุขะ , "คาร์" เกียรติประวุฒิ สายแวว และ "มุ้ย" ธีรศิลป์ แดงดา ซึ่งช่วงนี้หลาย ๆ สื่อในประเทศไทยก็ฮือฮาว่าเด็กไทยมีโอกาสไปแข่งระดับอาชีพแต่วันนี้มีข่าวออกมาว่าจะโล๊ะ นักเตะไทยทั้ง 3 คนเพราะฝีมือไม่ได้เก่งจริง

 

 

            บทเรียนครั้งนี้เน้นว่าการทำอะไรไม่ว่ากีฬาธุรกิจหรือแม้แต่เรื่องการเมืองอยากจะให้เราเน้นการทำงานเชิงจริงจังมืออาชีพและยั่งยืน ไม่อยากให้ต้องสร้างข่าวผิด ๆ และทำให้คนไทยดีใจเล่น ๆ แต่แก่นสารไม่มี

            บทบาทของอดีตนายกท่านนี้ผมขอแสดงความตรงไปตรงมาว่าสติปัญญาความสามารถในการบริหารจัดการจังหวะในการสร้างกระแสสุดฮอดติดอันดับโลกมีคำถามอยู่ ที่สำคัญคือ ระยะยาวหรือความยั่งยืนอยู่ตรงไหนและเรื่องคือ การนำเอาแนวคิดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการที่ได้ให้รู้ว่าจะทำอะไรควรคิด  4 เรื่อง คือ

§      ทำอะไร

§      ทำอย่างไร

§      ทำเพื่อใคร

§      ทำแล้วได้อะไร

เป็นที่น่าเสียดายที่อดีตนายกฯไม่ได้มองอะไร เพื่อส่วนรวม แค่เพียงสร้างภาพลักษณ์และการตลาดเท่านั้น เรื่องสมาคมฟุตบอลฯ ปัจจุบันหลายกลุ่มก็พยายามอธิบายให้ผมทราบเสมอว่ากำลังทำอะไรและทำอย่างดีแล้ว เช่น

·      เน้นมาตรการ การแข่งขันให้มาตรฐานเข้ากับกฎ  AFC

·      ดึง ดร.วิชิต แย้มบุญเรือง เข้ามาช่วยเรื่องการจัดไทยลีก

แค่นี้ก็ยังไม่พอจะต้องดูต่อไปว่าสมาคมฟุตบอลจะมีธรรมาภิบาลจริงหรือไม่ การเลือกตั้ง ทำอย่างโปร่งใสหรือไม่ สมาชิกสโมสรทุกกลุ่มมีส่วนร่วมอย่างเสมอ การบริหารเน้นมืออาชีพหรือบรรดาผู้บริหารอิงหรือปลอดการเมืองหรือไม่

ผมก็พร้อมจะรับฟังและยินดีสนับสนุนถ้าผลงานของสมาคม โดยเฉพาะการแข่งขันระดับเอเชียและโลกมีผลงานที่วัดได้ไม่ใช่ชนะแค่อาเซียนเท่านั้น

 

                                                                      จีระ หงส์ลดารมภ์

 

 

 

บทความ ตีพิมพ์ในสยามกีฬา วันที่ 29 ตุลาคม 2551

 

ปีนี้ทีมหงส์แดงจะไปที่จุดสูงสุด?

 

            ขอขอบคุณบรรดาแฟนประจำคอลัมน์  เรียนรู้กีฬากับดร.จีระ  ที่เริ่มสนใจอ่านเว็บของผมในสยามกีฬาเพราะเป็นจุดเดียวที่ดูได้ว่าเรตติ้ง เป็นอย่างไร?

            เป้าหมายของผมจะพยายามเพิ่มผู้อ่านทุก ๆ อาทิตย์ ๆ ละประมาณ 200 คนเป็นอย่างน้อย ปัจจุบันผู้อ่านจำนวนกว่า 1,000 คนต่ออาทิตย์มีข้อสังเกตว่า ถ้าพาดหัวเรื่องฟุตบอลไม่ว่าไทยหรือบอลอังกฤษก็จะมีคนอ่านมาก แต่ไปพาดหัวกีฬาเรื่องอื่น เช่น กีฬาสร้างผู้นำหรือกีฬาอื่น ๆ เช่น เบสบอลหรือคริกเก็ตหรือแม้กระทั่งเทนนิส ก็อาจจะไม่ได้รับความสนใจ  การสร้างความสมดุลในการอ่านกีฬา เพื่อเป็นความรู้และเป็นบทเรียน เป็นเรื่องยาก  ผมก็จะพาดหัวแบบเอาใจตลาด ข้างในก็จะพูดเรื่องอื่น ๆ ด้วย เพราะบทความกีฬาของผมมองไกลและกว้างด้วยเพื่อพัฒนาให้ผู้อ่านได้คิดวิเคราะห์ในหลาย ๆ เรื่องเช่น

§       หลีกเลี่ยงการพนัน

§       จุดประกายเรื่องสุขภาพของตัวเองและครอบครัว รวมทั้งคนใกล้ตัว

§       เน้นการหาประสบการณ์จากกีฬาไปใช้ในการดำรงชีวิตทั่ว ๆ ไปและเพิ่มประสิทธิภาพในทำงาน เช่น สร้างภาวะผู้นำ

§       กีฬา สร้างงาน ให้ประเทศ ให้นักกีฬามีรายได้พอเพียงเลี้ยงครอบครัว มีชีวิตที่มีเกียรติแบบนักกีฬาต่างประเทศ

§       กีฬาไปสู่ธุรกิจที่ช่วยให้ประเทศมีความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

§       เน้นให้บุคคลที่เข้าสู่สมาคมกีฬาต่าง ๆ เป็นคนที่ทำเพื่อส่วนรวม ไม่มีผลประโยชน์ให้ตนเองและมีผลประโยชน์ทับซ้อน

§       เน้นความเติบโตของกีฬาไปต่างจังหวัด มีสนามกีฬาที่มีคุณภาพให้ผู้นำท้องถิ่นและส่วนกลางร่วมมือกัน

§       ให้นักกีฬาที่เก่งกีฬา เก่งการเรียนด้วย

§       ให้กีฬาสร้างแบรนด์ให้ประเทศไทย กระจายข้อมูลไปต่างประเทศ

§       ให้กีฬาเป็นทูตภาคประชาชน

อาทิตย์นี้มองกว้าง เรื่องต่าง ๆ รอบตัวเราที่เกี่ยวกับกีฬา ผู้อ่านได้มอง :

§       ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองของไทยและการหาทางออก

§       ปัญหาการล่มสลายของระบบการเงินของโลกที่กระทบต่อกีฬาและตัวเรา

§       การช่วยแก้ปัญหาของชาติ ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อช่วยชาวโลกและเศรษฐกิจโลก

ศาสนาพุทธช่วยในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทย เรื่องศาสนากับคุณธรรมและการพัฒนาคนเป็นเรื่องหนึ่งที่ผมอยากให้ท่านผู้อ่านของผมได้เข้าใจ ผมมีโอกาสไปนมัสการสัมภาษณ์หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ  ท่านระดมทรัพยากรการเงินกว่า 500 ล้านบาทเพื่อสร้างวิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ที่อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ผมมั่นใจว่าหนังสือพิมพ์อย่างสยามกีฬาในอนาคตก็คงจะต้องช่วยสังคมไทยในหลาย ๆ เรื่อง เช่น เรื่องการกีฬากับการสร้างคุณธรรมจริยธรรม เรื่องกีฬากับการสร้างค่านิยมไม่ซื้อสิทธิ์ขายเสียงในการเลือกตั้งบ้านเรา

ผมต้องการให้สื่อที่ดีอย่าง สยามกีฬา  ซึ่งดีอยู่แล้วดีมากขึ้นในการให้ข้อมูลผู้อ่านที่ถูกต้องในหลาย ๆ มุม และผมก็จะเป็นแนวร่วมกับสื่ออย่างใกล้ชิด ปัจจุบันการทำงานร่วมกับสยามกีฬาเป็นงานที่ผมภูมิใจและมีพลังที่จะเขียนบทความดี ๆ เพื่อกระตุ้นให้คนไทยให้ มีสติ สนใจกีฬาในหลายมติ

ผมเขียนต้นฉบับเช้าวันอาทิตย์  จึงขอพูดถึงบทความภาษาอังกฤษของคุณสตีฟ แมคมาน ซึ่งเขียนในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เมื่อวันเสาร์ที่แล้ว พูดถึงแมตซ์ช้างชนช้าง เมื่อวันอาทิตย์ ระหว่าง 2 ทีม คือ เชลชีและหงส์แดง

ถึงแม้ว่าผมไม่ใช่แฟนพันธุ์แท้หงส์แดง แต่ก็รู้จักแฟนหงส์แดงทั่วประเทศ และบางคนแสดงความเป็นหงส์แดงอย่างชัดเจนและบ้าคลั่ง

ในบทความซึ่งเขียนก่อนการแข่งขันแมตซ์ใหญ่เกิดขึ้น เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม คุณแมคมานได้บอกว่า  ทีมเชลซี ปีนี้ก็ยังแน่นปึ๊กโดยเฉพาะกองหลังและกองกลาง แต่คุณแมกมานซึ่งเคยเป็นนักฟุตบอลทีมหงส์แดงยังบอกว่าปีนี้อาจะมีโอกาสที่ทีมหงส์แดงขึ้นเป็นเบอร์ 1 ด้วยเหตุผลหลาย ๆ อย่าง คือ

§             การออกสตาร์ทของหงส์แดงปีนี้ไปได้สวย

§             คุณแมคมานพูดถึงคุณเจอร์ราร์ด ซึ่งถือว่าปีนี้เป็นปีที่เขาเล่นได้ดีและเป็นผู้เล่นระดับโลกที่โดดเด่น และผู้เล่นกองหน้าคือ คุณตอร์เรส ซึ่งเป็นกองหน้าที่คมและติดระดับโลกถึงแม้ว่าช่วงนี้ยังบาดเจ็บอยู่  

§             โค้ชเบนิเตซ ปีนี้สร้างความนิ่งของทีมและมียุทธวิธีที่ไม่สลับผู้เล่นอย่างในอดีตมากเกินไป

คุณแมคมานก็เลยคาดว่าถึงนักเตะหงส์แดงอาจจะสู้เชลชีไม่ได้  แต่ก็อย่าประมาททีมหงส์แดง

 ผมภาวนาให้บิ๊ก 4 มีการสลับตำแหน่งขึ้นอันดับ 1 บ้าง เพราะที่ผ่านมาค่อนข้างจะผูกขาดโดยแมนยูและเชลชี  ส่วนทีมหงส์แดงไม่ชนะเลิศมาร่วม 20 ปี ผมก็เลยให้กำลังใจแฟนหงส์แดงและมั่นใจว่า การเล่นที่คงเส้นคงวา เช่น เกมส์ที่ควรจะชนะกับทีมที่อ่อนกว่า พลิกล็อคแพ้แบบในอดีตคล้าย ๆ ทีมชลบุรีปีนี้ที่อยู่ดี ๆ ก็แผ่วปลายไป แต่ปีนี้ลุ้นแน่นอนครับ

ส่วนคุณรามอส  โค้ชของสเปอร์ส  เมื่อคืนวันเสาร์ถูกปลดไปเรียบร้อยแล้ว กีฬาก็แบบนี้แหละครับ คาดหวัง  (Expectation) ไว้สูง ทำไม่ได้ก็ต้องถูกปลดทั้ง ๆ ที่คุณแมกมานพึ่งเขียนไปว่า อย่าพึ่งปลด ให้โอกาสคุณรามอสถึงเดือนธันวาคมปลดครั้งนี้ก็เกิดอาการ กลับสู่สภาพอังกฤษ คือในอดีตเน้นใช้โค้ชยุโรปคาดว่าจะโค้ชคนใหม่ คุณเรดแนปป์ เข้ามาคุมทีมต้องเน้นความแตกต่างทางวัฒนธรรมมากและสร้างความสมดุล ต้องกลับไปสู่ Consistency (คงเส้นคงวา) และ Stability  (แน่นอน)มากขึ้น โดยผสมผสานระหว่างนักฟุตบอลอังกฤษที่เก่ง ๆ กับนักฟุตบอลจากยุโรปให้พอดีกัน

ส่วนคุณปีเตอร์ รีด ก็เริ่มทำงานทีมชาติแล้วที่เวียดนามการแข่งขันครั้งนี้ถ้ามีผลงานดีก็จะได้รับการยอมรับ ผมเป็นห่วงมาก ๆ เพราะทีมชาติไทย กรอบมาจากฟุตบอลไทยลีก และยังปรับตัวเรากับแนวคิดและวิธีการของคุณปีเตอร์ รีด ไม่ทันต้องให้เวลาคุณปีเตอร์ รีด สัก 1 ปี อย่าเพิ่งคาดหวังสูงเกินไป

หลังจากมีโอกาสได้สัมภาษณ์คุณปีเตอร์รีด ในรายาการคิดเป็นก้าวเป็นกับ ดร.จีระ ของผม  มีโอกาสได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและอาจจะพาคุณปีเตอร์ รีดไปพบกับคนไทยหลาย ๆ วงการไม่ใช่เฉพาะวงการฟุตบอลเท่านั้นปีนี้เราจะได้เห็นอะไรที่ครบถ้วน ไม่ใช่มีชีวิตอยู่แค่ที่พักที่สุขุมวิทและสนามซ้อมที่หนองจอก คุณปีเตอร์ รีด มีความรู้ดี มีสติปัญญาและพร้อมที่จะเรียนรู้รับข้อมูลต่าง ๆ

สุดท้าย เพื่อเป็นการช่วยรายงานฟุตบอลไทยในอนาคตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผมเลยขอเสนอวิธีการสรุปตารางผลฟุตบอลของอังกฤษแต่ละครั้งเขาจะเน้นคนดูและนำมาเป็นตารางสรุปที่ชัดเจน ซึ่งนำมาจาก  Daily Express ของอังกฤษจากสื่อข่าวของสยามกีฬา ก็นำมาประยุกต์ได้

 

                                                               จีระ  หงส์ลดารมภ์

                                                            [email protected]

บทความ ตีพิมพ์ในสยามกีฬา วันที่ 5 พฤศจิกายน 2551

 

แมนยู มีอะไรแตกต่างในบิ๊ก 4

 

            ฟุตบอลพรีเมียร์อังกฤษ ผ่านไปได้แค่ 1/4 เท่านั้น บิ๊ก 4 ก็กลับเข้าที่เกือบครบแล้ว  ช่วงแรก ๆ แมนยูฯ ทำท่าจะลำบาก แต่ก็เริ่มเข้ารูปเข้ารอยแล้วและยังเป็นทีมที่น่ากลัวในระยะยาว

            คนไทยที่เป็นแฟน สยามกีฬา  80 %  เป็นคนรุ่นใหม่ ที่ชอบโดยทั่วๆ ไป เป็นชาย อาจจะมากกว่าหญิงบ้าง แต่ผู้หญิงก็เริ่มสนใจฟุตบอลอังกฤษมากขึ้น ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากทีมที่ชื่นชอบ และอาจจะมีการพนันบ้าง

            ผมทดสอบดู ถ้าพาดหัวเกี่ยวกับฟุตบอลอังกฤษ โดยเฉพาะทีมที่คนไทยชอบ เช่น แมนยูฯ หรือ หงส์แดง ก็จะมีผู้อ่านสนใจอ่านติดตามใกล้ชิด คราวที่แล้วพูดถึงทีมหงส์แดง คนอ่าน Web ในสยามกีฬาเพิ่มจาก 1,200 คน มาเป็น 1,500 คน จนถึงที่เขียนวันอาทิตย์ มีผู้อ่านสนใจการบทความของผม เรื่องหงส์แดง  มีกว่า 4,500  แล้ว คาดว่าทั้งอาทิตย์ก่อนวันพุธก็คงจะไม่น้อยกว่า 5,000  ผู้อ่านเป็นคนที่ติดตามที่บ้าคลั่ง ฟุตบอลอังกฤษและอาทิตย์นี้ผมพูดถึงแมนยูฯ จะมีคนสนใจอ่านใน Web กี่คน เป็นการทดสอบและพิสูจน์ว่า ระหว่าง แมนยู ฯ กับหงส์แดง ใครจะมีแฟนพันธุ์แท้มากกว่ากัน

ผมสรุปได้เลยว่า ถ้าอายุเฉลี่ยไม่เกิน 40 น่าจะแมนยูฯ ถ้าอายุแก่กว่านั้นก็คงจะเป็น ลิเวอร์พูล เพราะคนที่ชอบลิเวอร์พูล เพราะเมื่อ 20 ปี ที่แล้วชนะตลอด

ผมจึงพาดหัวเรื่อง แมนยูฯ อาทิตย์นี้  ซึ่งท่านติดตามได้ว่าผมเน้นแนวใดบ้าง?

ประเด็นแรก ก็คือ ในบรรดาบิ๊ก 4  มีแมนยูฯ เป็นทีมเดียวที่ผมคิดว่ายังเก็บรักษาความเป็นอังกฤษไว้ได้ดีที่สุด ดูได้จากการรักษารากเง้าของความเป็นอังกฤษได้ดี

เฟอร์กี้ เป็นโค้ชชาวสก็อตแลนด์ ซึ่งเรียกว่ามีเชื้อสายอังกฤษเต็มตัวและประสบความสำเร็จ

นักฟุตบอลตัวหลักของแมนยูฯ ก็เป็นอังกฤษส่วนหนึ่ง

§       เฟอร์ดินาน

§       ไรอัน กิ๊กส์

§       เวน รูนี่

§       คาริค

§       แกรี่ เนวิลล์

§       จอห์น โอเชียร์

มีข้อดีที่ยังรักษาความเป็นฟุตบอลอังกฤษ  (รากเง้าไว้ได้) แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ปฎิเสธของดีจากยุโรป คือจะบริหารการเปลี่ยนแปลงให้ทันเหตุการณ์ เโดยดึง

§       โรนัลโด

§       เทเวซ

§       บาร์เบอร์ตอฟ

ผมจึงเรียกว่าเป็นการผสมผสานระหว่าง วินัยกับการเล่นแบบสร้างสรร  Discipline กับ Creativity  ฟุตบอลอังกฤษใน 3 ทีมที่เหลือ จะสไตล์ยุโรปหมดเลย เชลซี อาร์เซนอล หรือลิเวอร์พูล คงจะไม่น่าจะสำเร็จระยะยาวและจริง ๆ แล้ว ความภาคภูมิใจของคนดูชาวอังกฤษจะมีแค่ไหน ความจงรักภักดี (Loyalty) ต่อทีมจะเป็นอย่างไร? แถมโค้ชทั้ง 3 ทีมก็ไม่ใช่คนอังกฤษ

ทีมอังกฤษยังมีอีก 1 ทีม กลับสู่สภาพอังกฤษ ลอกแบบ แมนยูฯ มาเลยก็คือ  ไก่เดือยทอง ทีมที่ผมบ้าคลั่ง

ช่วงนี้ใคร ๆ ก็ปลื้มความสามารถของคุณเรดแนปป์โค้ชคนใหม่ซึ่งมาไม่ถึง 2 อาทิตย์จากคะแนนเต็ม 9 คะแนนได้คุณเรดแนปป์คืนมาทันที 7 คะแนน ถ้าเริ่มต้นแบบนี้ คุณรามอสก็คงจะยังไม่โดนปลด  คุณเรดแนปป์คงจะเน้น วินัยและการเล่นแบบสร้างสรร ซึ่งวินัยน่าจะมาจากฟุตบอลสไตล์อังกฤษที่สะสมกันมานานกว่า 100 ปี เช่นให้ เลสลีย์ คิงส์ กับ เลนนอน เจนาส และวู้ดเกต เอาสไตล์ยุโรปเข้ามาผสมอย่างสร้างสรรเรียกว่ากลับสู่สภาพแบบแมนยูฯ

ฉะนั้นอาจจะพูดได้ว่าทีมสไตล์แมนยูเป็นทีมที่มีอิทธิพลต่ออนาคตระยะยาวของสเปอร์ส เพราะสามารถหยุดความพ่ายแพ้ได้อย่างรวดเร็ว คุณเรดแนปป์ สามารถผลิตและสร้างผลงานได้อย่างรวดเร็ว สื่อหลายสื่อวิเคราะห์ว่าคุณเรดแนปป์ มองทีมอย่างสเปอร์ส ว่าเป็นทีมที่มีคุณภาพ มีศักยภาพ เพราะทีมที่คุณเรดแนปป์ ลาออกจาก ปอร์ทสมัธ ก็อยู่ในตารางอันดับกลาง ๆ ที่ไม่ได้มีปัญหาอะไรในขณะที่สเปอร์สมีแนวโน้มจะตกชั้นด้วย

คุณเรดแนปป์มองสเปอร์สเป็นทีมที่มีศักยภาพสูงในระยะยาวซึ่งก็เป็นจุดที่ผู้บริหารสเปอร์สต้องการให้สเปอร์สอยู่ ใน Top 4  อดีตอาจจะเร่งไปหน่อยและเน้นสไตล์ยุโรปมากไป โดยไม่คำนึงถึงวินัย

ยังไม่สำเร็จแต่ผมฟันธงได้ว่าแค่เปลี่ยนโค้ชไม่ถึง 2 สัปดาห์ สเปอร์ส อาจจะไม่ต้องตกชั้น เพราะขวัญกำลังใจของลูกทีมดีขึ้น สามารถมีรายได้จากการไม่ตกชั้นเป็นเงินมาหาศาล

ท่านผู้อ่าน ทราบไหมว่าเงินที่หายไปจาการตกชั้นคือ 48 ล้าน ปอนด์อยู่แชมป์เปี้ยนลีกได้ค่าลิขสิทธิ์โทรทัศน์ปีละ 2 ล้านปอนด์ แต่อยู่พรีเมียร์ได้ทีมละ 50 ล้านปอนด์ ไม่นับค่าที่ไปเล่นบอลยุโรปซึ่งอาจจะมีเป็นจำนวนมากมายด้วย

ทุกวันอาทิตย์ ผมก็จะติดตามบทความของคุณ John Dykes (จอห์น ไดค์ส) จากหนังสือพิมพ์บางกอกโพสด์ ซึ่งเป็นผู้ประกาศกีฬาของ สถานี ESPN อายุไม่มากแต่มีประสบการณ์ทำงานมาก อยากรู้ว่าทำไมเรดแนปป์ จึงตัดสินใจมาสู่ทีมอย่างสเปอร์ส คุณเรดแนปป์ให้สัมภาษณ์ว่าสเปอร์สเป็นทีมใหญ่และมี 3 เรื่อง

Crowd                                      =  คนดู

Stadium                       =   อัฒจันทร์

The Whole Setup         =  ระบบการบริหารและอดีตความยิ่งใหญ่

 

ซึ่งคุณ John Dykes วิเคราะห์ว่า ก็มีส่วนถูกหรือไม่ถูกอยู่บ้าง เช่นคนดูทีมสเปอร์สแค่ 36,000  สูงสุด แต่อาจจะมีคุณภาพและบ้าคลั่งสูง ผมเคยไปดูที่สนาม White Heart Lane  หลายครั้ง สนามจุได้ไม่มากซึ่งเปรียบเทียบกับบิ๊ก 4  ซึ่งมีจำนวนมากกว่า

§       อาร์เซนอล  70,000

§       แมนยูฯ       70,000

§       เชลซี          40,000

§       ลิเวอร์พูล    50,000

ซึ่งคุณ John Dykes บอกว่าเปรียบเทียบกับสโมสรอย่าง  ซันเดอร์แลนด์และนิวคลาสเซอร์ คนดูของสเปอร์สก็ไม่มากกว่า

และว่าคนอังกฤษเวลาพูดถึง Big 8 ก็จะหมายถึงบิ๊ก 4 บวกกับสโมสรอีก 4 สโมสรซึ่งมี สเปอร์ส นิวคาสเซิส เอสเวอตัน และแอสตันวิลล่า ผู้อ่านที่เป็นแฟนทีมอื่น ๆ อย่างเพิ่งน้อยใจ ผมคิดว่าสนาม White Heart Lane ของสเปอร์ส น่าจะปรับปรุงให้จุคนได้อย่างน้อย 50,000 คน เพราะ 30 ปีที่แล้ว อาร์เซนอล ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เรื่องจำนวนคนดูเท่าสเปอร์ส แต่ปัจจุบันสนามของอาเซนอลก็ขยายและสร้างใหม่จุคนได้กว่า 70,000

ระยะยาวอาร์เซนอล หงส์แดง และเชลซีจะไปทางไหนถ้ายังเน้น สไตล์ยุโรปและเงินยุโรป (รัสเชีย) อยู่อาจจะมีปัญหาได้ ผมคิดว่าสไตล์แมนยูฯ และสเปอร์สและทีมอื่น ๆ น่าจะมีวินัยและสร้างสรรค์ น่าจะทำให้คนอังกฤษพอใจมากกว่า

อาทิตย์นี้เลยเขียนเรื่องฟุตบอลอังกฤษ แต่ก็อย่างลืมฟุตบอลไทย ด้วย มี 2 เรื่อง

§       ขอชมเชยการบริหารจัดการที่เป็นมืออาชีพมากขึ้นของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในการจัดเตรียมการแข่งฟุตบอล ถ้วย  ข ค ง ซึ่งปีนี้คุณองอาจ ก่อสินค้า เลขาธิการสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย มาดูการจับฉลากแบ่งกลุ่มด้วยตัวเอง ให้เห็นถึงความสนใจ ถ้าถ้วย ข ค ง  ไม่ดีจะมีนักฟุตบอลป้อนมืออาชีพได้อย่างไร?  ในอนาคตต้องให้เป็นฟุตบอลมืออาชีพ

§       ขอแสดงความยินดีกับปีเตอร์ รีด ผลการแข่งขันครั้งแรกชนะเกาหลีเหนือ ก็ผ่านมา  1: 0  พอจะชิงดำกับเวียดนาม ฝนตก

ท่านอาจจะได้ดูการสัมภาษณ์ของผมกับปีเตอร์ รีด ทาง TNN8  เรื่อง การเตรียมตัวของไทยลีก อยากให้คนไทยดูฟุตบอลไทยมาก ๆ ผมจะช่วยกระตุ้นให้รักทีมชาติไทย ขออย่างเดียว สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย เอาจริงอย่าทำแบบขอไปที

                 จีระ  หงส์ลดารมภ์

เรื่อง     เชิญเข้าร่วมกิจกรรมเปิดบ้านศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง มจธ และรับฟังการบรรยายพิเศษ

เรียน    สมาชิกชาวบล็อกทุกท่าน

หมายเหตุ         รายละเอียดกิจกรรมเปิดบ้านศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง มจธ  

            ดูเพิ่มเติมได้ที่  www.cec.kmutt.ac.th    

            ด้วยศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง มจธ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  จะจัดกิจกรรม  เปิดบ้านศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง มจธ  2551 (CEC KMUTT Open House 2008)ระหว่างวันที่ 7-11 พฤศจิกายน 2551  ในงานได้จัดกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

-           การจัดนิทรรศการของศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง มจธ  ประกอบด้วย ภารกิจ พันธะกิจ พัฒนาการรูปแบบการจัดหมวดการฝึกอบรม  ผลงานและกิจกรรมของศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง มจธ    อาคารนวัตกรรมการเรียนรู้ (Innovative Learning) ระหว่างวันที่ 7- 11 พฤศจิกายน 2551

-           การบรรยายพิเศษ (Special  Presentation  for CEC KMUTT Open House) โดยในงานได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีชื่อเสียงและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคน รวมถึงผลกระทบต่อคนในยุคโลกาภิวัตน์  ณ อาคารสัมมนา ชั้น 3  ในวันอาทิตย์ที่ 9  และวันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน 2551  ดังรายละเอียดใน website

-           กิจกรรม คาราวานเพื่อนหนูคู่สมองจากสถาบันส่งเสริมอัจฉริยภาพและนวัตกรรมการเรียนรู้ (สสอน.) พร้อมการออกร้านแสดงอุปกรณ์ ของเล่นและเครื่องเล่นสนามที่ปลอดภัย   ณ ลานด้านหน้าอาคารสัมมนา ระหว่างวันที่ 7- 11 พฤศจิกายน 2551

                        ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง มจธ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะขอเรียนเชิญทุกท่าน ที่สนใจ เข้าร่วมกิจกรรม  สำหรับท่านที่ต้องการเข้าร่วมฟังการบรรยายพิเศษสามารถสำรองที่นั่งล่วงหน้า  ได้ที่ website โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น   อนึ่ง ทางศูนย์ฯ ได้จัดเตรียมอาหารว่างและอาหารกลางวันไว้ต้อนรับผู้เข้าร่วมฟังการบรรยายทุกท่าน

                        จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา              

                                                                                ขอแสดงความนับถือ

 

 

                                                                            (ดร.ธรรมนูญ  เฮงษฎีกุล)                                                                                                                ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง มจธ

ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง มจธ

โทร. 02 4708271   

โทรสาร 02 427 9633

บทความ ตีพิมพ์ในสยามกีฬา วันที่ 12 พฤศจิกายน 2551

 

Obama ได้ดีเพราะกีฬา

            หลังจากที่เขียนถึงหงส์แดงกับปีศาจแดง มา 2 อาทิตย์แล้ว แน่ใจว่าคนอ่าน สยามกีฬาเป็นแฟนพันธุ์แท้ทั้งสองทีม แต่น่าจะเป็นแมนยูมากกว่าหงส์แดง ทำให้ต้องเร่งหาพันธุ์แท้ของทีมอื่น  เช่น คุณอภิสิทธิ์ชอบนิวคาสเซิล ผมชอบสเปอร์ส อาจช่วยให้คนไทย มีแฟนฟุตบอลหลากหลายสโมสร

            ขอขอบคุณ การแสดงความคิดเห็นทุกคน ใน  web ของสยามกีฬาถ้าอยากรู้จัก ดร.จีระจริงก็ต้องศึกษาให้ลึก ๆ อย่าเพิ่งรีบวิเคราะห์วิจารณ์แบบตื้น ๆ หรือแบบแพ้ชนะ ความคิดเห็นแตกต่างกันไม่เป็นไร เพราะทำให้ฉลาดขึ้นชี้ให้เห็นว่า แฟนพันธุ์แท้ของทีมใดก็ตามอย่าบ้าคลั่งทีมตัวเองจนไม่มองกีฬาเป็นยุทธศาสตร์กว้างหรือมองเฉพาะมุมตัวเอง ผมเปิดรับความเห็นต่าง ๆ เต็มที่ ลูกศิษย์ที่ติดตามผมในเรื่องกีฬาอาจจะยังไม่มากพอ

 ผมเขียนไม่ใช่เพราะไม่มีอะไรจะทำ แต่อยากจะเสนอมุมมองใหม่ๆ อยากให้ผู้อ่านได้มองอะไรกว้างขึ้นกับการใช้ชีวิตอย่าหมกมุ่นในสิ่งเล็ก ๆ เท่านั้น ดูกันต่อไปนาน ๆ ว่า แนวความคิดของผมจะช่วยทำให้ผู้อ่านบางท่านได้  เรียนรู้จริงหรือไม่

            บทเรียนจากกีฬาไม่ใช่แค่ฟุตบอล แต่ฟุตบอลสำคัญเพราะคนไทยสนใจ ไม่ใช่แค่วิธีการเล่นในสนาม มองอะไรให้กว้างด้วย เช่น มีน้ำใจนักกีฬา นำไปใช้ในการทำงาน รับฟังความคิดเห็นคนอื่น ๆ  เมื่อประเทศไทยมีการขัดแย้งแบบเหลืองกับแดง เอาเป็นเอาตายไปข้างหนึ่ง ผู้อ่านเปิด web ผมได้ที่  www.chiraacademy.com จะได้รู้ว่ากีฬาเป็นส่วนประกอบเล็ก ๆ ที่เสริมเติมเต็มชีวิตของผม ผมได้ดีเพราะเป็นนักกีฬาเก่าที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ เล่นด้วย  เรียนด้วย ไม่ใช่บ้ากีฬาอย่างเดียว  ดูเรื่องอื่น ๆ ที่กระทบชีวิตของเราด้วย

            ขอบคุณผู้อ่านทุกท่าน ที่ให้กำลังใจจริง การวิจารณ์ที่ดี ผมจะนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้น

เช้าวันเสาร์ใน Web สยามกีฬามีคนคลิกเข้าไปขอความรู้แล้ว 12,000 คนมากกว่าที่เขียนเกี่ยวกับหงส์แดงถึง 50% แสดงว่าแมนยูมีแฟนมากกว่า ถึงผมไม่ได้เป็นแฟนแมนยูแต่ก็ศึกษาติดตามและมีสิทธิ์วิเคราะห์ได้ ในครอบครัวของผม พ่อผมซึ่งเคยเป็นทูตอังกฤษด้วย ยังทำให้ลูกชายคนเล็กคือน้องชายผม บ้าคลั่งแมนยูด้วย

ถึงไม่ได้เป็นพันธุ์แท้ของผีแดงก็อ่านและวิเคราะห์ได้ ผมชอบอ่าน คุยและวิเคราะห์จากหลายแหล่งข้อมูล ท่านลองไปดูเทปโทรทัศน์ TNN8 ที่ผมคุยกับคุณปีเตอร์ รีดว่าพูดกับเขาเรื่องอะไร และปีเตอร์ รีด เขามองผมอย่างไร?

            พวกแฟนพันธุ์แท้ผีแดง ถ้าจะรักแมนยู รักทีมชาติไทยด้วย รักความถูกต้อง โปร่งใสด้วย ช่วยแสดงความเห็นกันมากกว่านี้ เกี่ยวกับทีมชาติไทยหรือสมาคมฟุตบอลไทย ผู้อ่านกล้าแสดงความเห็นหรือไม่? ผมต่างหากที่กล้าพูดและกล้าแสดงออก มากกว่าสื่อ กีฬา หลายฉบับที่ กลัว กันไปหมด

            อยากให้ผู้อ่านทุกท่านได้สนใจผู้นำคนใหม่ของสหรัฐฯคือ คุณ Obama มีหลายมุมมองเกี่ยวกับภาวะผู้นำ ถ้าท่านอ่านหนังสือพิมพ์แนวหน้า คอลัมน์บทเรียนความจริงกับดร.จีระ ผมพูดถึงเขา?  ชาวผิวดำในอเมริกาทั่วๆ ไป ชอบกีฬาบาสเก็ตบอลเป็นพิเศษซึ่งเป็นกีฬาที่ผมอยากให้คนไทยสนใจ คนไทยมีทักษะที่ดี อยากให้สมาคมบาสฯ ในประเทศไทยเอาใจใส่เรื่องการพัฒนานักบาสของไทยแบบจริงจัง

            Obama ถึงไม่ได้เก่งบาสระดับมืออาชีพ แต่เมื่อมีเวลาว่างเขาก็จะเล่นบาสเพื่ออกกำลังกาย เช่นวันที่ลงคะแนน  4 พฤศจิกายน 2551  หลังจากลงคะแนนเสร็จก็เล่นบาสเก็ตบอล และช่วงการหาเสียงของเขาหากถ้ามีเวลาว่างก็มักจะเล่นบาสเพื่อผ่อนคลายเสมอ

            ส่วน Bush ถึงแม้จะมีปัญหาทางการเมืองอยู่มาก แต่ในด้านกีฬา เขาก็ชอบเบสบอลมากเป็นชีวิตจิตใจ และขนาดเคยเป็นเจ้าของทีมเบสบอลในเท็กซัส นับว่าเป็นคนที่มีความสนใจในกีฬามากพอควร

            ส่วน Bill Clinton สุขภาพยังพอใช้ เพราะ jogging บ่อย ๆ ถึงกระปรี้กระเปร่า แต่ยังต้องไปผ่าหัวใจเพราะงานระดับนี้เครียด แต่ก็ยังเอาใจใส่สุขภาพของตนเองด้วยการออกกำลังกายเสมอ

            สรุปคือผู้นำการเมืองเป็นแบบอย่าง (Role Model) ที่ดีของกีฬา แต่ยุคคุณสมัครกับคุณสมชายดูจะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีนักเพราะไม่ค่อยจะเอาใจใส่กีฬานัก

            จากนี้ไปกีฬาบาสเก็ตบอลในสหรัฐอเมริกาและในโลกคงจะดังขึ้นเรื่อย ๆ  และอาจจะกระทบกับการกระตุ้นระดับประเทศไทยด้วย

            True Vision มีรายการเกี่ยวกับบาสเก็ตบอลแล้ว ไม่ว่าจะเป็นระดับ NBA (อาชีพ) หรือระดับมหาวิทยาลัย (ไม่บ่อย) คนไทยโดยเฉพาะเด็กไทย และผู้บริหารสมาคมบาสเก็ตบอลของไทยก็น่าจะลองวิเคราะห์ดู เช่น

§       โรงเรียนประถม มัธยมทุก ๆ แห่งน่าจะมีการสนับสนุนกีฬาบาสเก็ตบอลทั้งหญิงและชายอย่างแท้จริง

§       อบต. เทศบาล และอบจ. ควรจะสนับสนุนเรื่องสนามแข่งขันบาสเก็ตบอลที่ได้มาตรฐานมากขึ้น

§       ธุรกิจเกี่ยวกับลูกบาสน่าจะส่งออกไปได้ดี และนำรายได้มาอุดหนุนนักเรียนไทย

§       ส่งเสริมเด็กไทยให้มองบาสเก็ตบอลในระดับโลกด้วย เป้าหมายบางคนอาจจะไปถึง NBA ในระยะยาว เพราะ NBA มีทุกชาติ เช่น จีน สเปน อเจนติน่า อื่น ๆ

§       จัด League อาชีพขึ้น และอาจจะจัดในระดับสโมสรในอาเซียนได้ ผมอยากดูการแข่งขันบาสเก็ตบอลมาก แต่ไม่รู้จะไปดูที่ไหน สมาคมบาสเก็ตบอลของไทยก็คงยังไม่มืออาชีพพอ

ควันหลง 2 – 3 เรื่อง ที่ผมสัญญากับท่านผู้อ่านไว้

§       เทนนิสระดับ WTA ซึ่งจะจัดที่พัทยา ผมจะริเริ่มให้มีนักเรียนไทย และเยาวชนที่สนใจได้ไปดูเทนนิสดี ๆ จะขอความร่วมมือจาก สยามกีฬา ด้วย ผมอยากให้ไทยเอาจริงเรื่องเทนนิสมากขึ้น

ช่วงนี้มีปรากฏการณ์ที่น่าสนใจในระดับโลก ซึ่งท่านผู้อ่านที่ชอบอาจจะนำมาวิเคราะห์

§       ปี 2008 – 2009 เทนนิสหญิงระดับอาชีพขึ้นมาโดดเด่น  อย่างน้อย ๆ 4-5 คนที่ยังเรียกว่าเป็น Top 5 เช่น  Ana Ivanovic, Jelena Jankovic , Dinara Safina, Venus กับ Serena William  วิลเลี่ยมทั้ง 2 คน คงจะสู้กันไปอีกนาน ปี 2009  ใครจะเด่นที่สุดยังไม่รู้ แต่การแข่งขันปีหน้าจะเข้มแข็งและสนุก

§       ส่วนชายกลายเป็น Big 4 ไปแล้ว

§       Roger Federer

§       Rafael Nadal

§       Novak Djokovic

§       และ Andy Murray

ผมทายไว้ว่าปีหน้า Murray น่าจะมาแรงมากเพราะเขาฉลาด วางแผนได้ดี เช่น

§       สภาพร่างกายฟิตและทนทานสู้ได้อย่างยั่งยืน

§       เน้น Tactics มี Coach เก่ง ๆ โดยเฉพาะศึกษาคู่ต่อสู้

§       เน้นการฝึกสมอง จิตใจ และสมาธิ ควบคุมอารมณ์

ก็ต้องดูกันต่อไปว่า ปีหน้าทั้งหญิงและชายใครจะไปถึงดวงดาว คงสนุกแน่

ส่วนเทนนิสของไทย ก็เป็นช่วงที่น่าสนใจ 2 – 3 เรื่อง

§       สมาคมเทนนิสแห่งประเทศไทย ควรจะมีนักการเมืองอย่างคุณสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นั่งเป็นนายกสมาคมฯ ตลอดไปหรือไม่? หรือเปิดโอกาสให้ผู้สนใจหลาย ๆกลุ่มเข้ามาช่วยกันบริหาร ผมอยากฟังความเห็นว่าแฟนเทนนิสส่วนมากพอใจบทบาทของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ

§       นักเทนนิสหญิงไทยอย่างน้องนกหรือคนอื่น ๆ จะขึ้นไปสู่จุดไหน จะแทนคุณแทมมารีนได้หรือไม่?

§       ส่วนของฝ่ายชายคงจะหดหู่ เพราะคุณภราดรคงยังไม่ไหว คุณดนัยก็คงจะผ่านช่วง Peak แล้ว จะหาใครมาทดแทน

                                                                                             จีระ  หงส์ลดารมภ์

 

 

 บทความ ตีพิมพ์ในสยามกีฬา วันที่ 19 พฤศจิกายน 2551

 

ผมในนามของ ผู้เขียนบทความคอลัมน์ เรียนรู้กีฬากับดร.จีระ ขอน้อมถวายความอาลัยต่อสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์เสด็จสู่สวรรคาลัย ท่านทรงประกอบพระราชกรณียกิจมากมาย แม้แต่กีฬาก็เป็นเรื่องที่พระองค์ท่านสนพระทัยเช่นกัน

 

คาร์ลิ่งคัพเหลือบิ๊ก 2

 

ขอแสดงความเสียใจกับแฟนพันธ์แท้ของหงส์แดงและเชลซีที่ตกรอบ 10 ทีมในคาร์ลิ่งคัพสโมสรเชลซีก็ไม่น่าจะเกิดขึ้น เพราะ

§       ทีมใช้ตัวจริงเกือบทั้งหมด

§       เล่นในบ้านเกิด

§       ยังเล่นกับทีมที่ไม่ใช่พรีเมียร์ด้วย

§       ดร็อกบายังอาจจะถูกแบนหลายนัด

ส่วนหงส์แดงเสร็จสเปอร์สไปแล้วแบบขาดลอย 4 : 2 ทำให้สเปอร์สมีโอกาสได้รักษาแชมป์ถ้วยต่อไปอีก 2 นัดข้างหน้า

ถึงจะเป็นถ้วยเล็กแต่ก็เป็นถ้วยที่น่าสนใจ เช่น

§       หลายทีมใช้ผู้เล่นชุดเล็ก ๆ ลง เช่น อาร์เซนอล ใช้ชุดเล็กมาหลายปีแล้ว ซึ่งเล่นได้ดีหงส์แดงส่งดาวรุ่งมาทดลองหลาย ๆ คน

§       ทีมที่ดิวิชั่นต่ำ ๆ ปีนี้หลุดมาได้หลายทีมนอกจากบิ๊ก 2 แล้ว เช่น

-          เดอร์บี้

-          แมนยูฯ

-          อาร์เซนอล

-          สเปอร์ส

-          เบิร์นลี่ย์

-          สโต๊กชิตี้

-          วัตฟอร์ด

-          แบล็คเบอร์น

ปีนี้คอยดูคู่ชิงอยู่บิ๊ก 2 หรือไม่ต้องติดตามต่อไป

            ระหว่างที่ผมเขียนต้นฉบับได้ทราบผลแต่การแข่งขันกอล์ฟ Barclays Singapore Open ดาวรุ่งนักกอล์ฟของไทยก็คือ คุณชัพชัย นิราช กำลังจะลงแข่งเป็นแมตต์สุดท้ายยังมีคะแนนนำผู้เล่นระดับโลกหลาย ๆ คนเช่น  Phil Mickelson  ,  Ernie ELS ต้องให้กำลังใจต่อไปว่าจะไปสู่ดวงดาวหรือไม่?

            คนไทยก็คงเห็นแล้วว่านักกอล์ฟไทยไปสู่ระดับโลกได้ดีและมีการสร้างชื่อเสียงและสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ประเทศไทยต่อไปไม่ว่าจะเป็น คุณชัพชัย นิราช คุณธงชัย ใจดี คุณถาวร วิรัตน์จันทร์ ผมชื่นชมความสามารถของคนไทยกีฬากอล์ฟต้องมีทั้ง

§             Head   =  สติปัญญา

§             Heart   = ความนิ่ง และสมาธิ

§             Execution = แก้ปัญหาให้สำเร็จ

อย่างไทเกอร์ วู้ด สำเร็จเพราะมีความสามารถทั้ง 3 ด้าน ทุกครั้งคนไทยพูดถึงไทเกอร์ วู้ด ผมอยากเห็นรัฐบาลไทยหรือสมาคมกอล์ฟแห่งประเทศไทย หาทางยกย่องเขาให้เป็นทูตการท่องเที่ยวให้ประเทศไทย ถึงแม้หลายคนบอกว่า ไทเกอร์ วู้ดไม่ค่อยจะรักประเทศไทย วิธีการคิดแบบนี้ น่าจะต้องทบทวนใหม่ ผมคิดว่ารัฐบาลไทยยังไม่มีความพยายามอย่างเต็มที่ที่จะยกย่องเขาอย่างจริงจังและสมเกียรติ น่าจะเป็นโครงการหนึ่งที่พวกเรา สยามกีฬา จะได้ทำเรื่องยกย่องไทเกอร์ วู้ด ต่อไปเพราะใครๆในโลกก็รู้จัก มาก่อนว่า ไทเกอร์ วู้ด เป็นลูกครึ่งไทย การที่เขาเล่นกอล์ฟดีมาก ซึ่งไม่ใช่เพราะมีทักษะและการแก้ปัญหาที่เก่ง แต่เขามีจิตใจที่นิ่งส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการที่เขามีเลือดคนไทยก็ได้ ผมคิดว่ายังไม่สายเกินไปที่จะนำไทเกอร์ วู้ด ซึ่งมีสัญชาติไทยมาเป็นทรัพยากรมนุษย์ของคนไทยมากกว่าที่จะมองเขาเป็นแค่คนอเมริกัน

ต่อเนื่องมาจากบทความเรื่อง Obama กับการกีฬาซึ่งแม้ผู้อ่านสนใจไม่มากนัก เมื่อเทียบกับการเขียนเรื่องบิ๊ก 4 และโดยเฉพาะแมนยู แต่มีแฟนท่านหนึ่งส่งข้อมูลมาที่ web ของสยามกีฬา พูดถึงอดีตนายกคนไทยว่า

ยังดีที่ Obama ชอบกีฬาบาสฯ แต่อดีตนายกไทยกีฬาของท่าน ซื้อมาขายไป

ผมฟังการวิเคราะห์ของผู้อ่านที่ติดตามบทความของผมแล้วก็ชอบมากเพราะ คมและเนียนไม่หยาบคาย ถึงแม้บทความเรื่อง Obama กับกีฬายังไม่เป็นที่นิยมมากนักในกลุ่มนักอ่านคนไทย ของ สยามกีฬา แต่ก็เห็นว่า คนอ่านวิเคราะห์ได้ดีและอาจจะเป็นการแบ่งปันความรู้กันระยะยาว

หนังสือ Herald Tribune ฉบับวันที่ 14 พฤศจิกายน 2551 ก็ลงบทความว่าไม่ใช่แค่ผู้นำการเมืองอย่าง Obama เท่านั้นยังมีผู้นำการเมืองของโลกหลาย ๆประเทศชอบกีฬาเป็นชีวิตจิตใจการขึ้นสู่ตำแหน่งทางการเมืองก็เพราะกีฬา บทความนี้เขียนโดยคุณ Christopher Clarey สรุปมาได้ดี

ยุโรป  นายกรัฐมนตรีของเดนมาร์ก ชื่อ Rasmussen เคยขี่จักรยานแข่งมาก่อนและเป็นจักรยานระดับขี่ขึ้นภูเขาด้วย นายกของเดนมาร์กเคยมาเยี่ยมคุณ Bush ที่ Texas ยังชวน George Bush ขี่จักรยานด้วยกันเลย  Rasmussen ได้รับเชิญจากนักจักรยานอาชีพชาวเดนมาร์ก ที่แข่ง Tour de France’s ขี่จนจบระยะทาง ซึ่งท่านผู้อ่านคงจะทราบดีว่าถ้าไม่แข็งแรงจริง ๆ ก็คงจะขี่ระดับขึ้นภูเขา Tour de France’s ไม่สำเร็จ

ในยุโรปอีกคนหนึ่งที่ผู้นำทางการเมืองถ้าพบเขาห่าง ๆ ไว้หน่อยก็ดี ถ้าโกรธขึ้นมาจะยุ่งคือVladimir Putin นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของรัสเชีย เขาเก่งเรื่องมวยปล้ำ คุณ Putin เขาฟิตมาก ๆ มักจะถอดเสื้อเพื่อจะแสดงความล่ำสันของร่างกาย Obama เตรียมตัวให้ดีถ้าพบ Vladimir Putin อาจจะถูกท้าให้แข่งมวยปล้ำก็ได้

อเมริกาใต้ ประธานาธิบดีของ  Bolivia, President Evo Morales ก็เคยเป็นนักกีฬาบาสเก็ตบอล ผมยังชอบกีฬา บาสเก็ตบอล แบบชีวิตจิตใจ การเมืองยุคใหม่ในโบลิเวียกับสหรัฐไม่ค่อยจะมีแนวทางตรงกัน ถ้า Obama เล่นบาสฯกับคุณ Morales น่าจะทำให้ความตึงเครียดลดลงไปบ้าง

ประเทศอื่น ๆ ในทวีปอเมริกา ผู้นำ เช่น อดีต Fidel Castro ใน Cuba ก็บ้าเบสบอลมาก่อนเป็นชีวิตจิตใจ

ในทวีปแอฟริกา แน่นอนอดีตดาราฟุตบอล George Weah ก็เคยเป็นนักฟุตบอลอาชีพระดับโลก เคยแข่งขึ้นเป็นประธาธิบดีของ Liberia

ส่วนในประเทศ  Kenya  ประเทศ ท่านประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คุณ Raila Odinga เป็นนักฟุตบอลเก่งเคยเล่นระดับสโมสรอาชีพและที่น่าสนใจนอกจากเล่นฟุตบอลเก่งแล้วยังเป็นชนเผ่าเดียวกันกับคุณพ่อของ Obama คุณ Obama น่าจะไปด้วยกันกับท่านประธานาธิบดีเพราะลูกสาวคนเล็กคุณ Obama ก็ชอบเล่น Soccer

ใน Asia นายกรัฐมนตรีคนปัจุบัน Taro Aso ก็เลยเป็นตัวยแทนประเทศญี่ปุ่นในการแข่งขันยิงปืนในโอลิมปิค ที่ Montreal  ท่านประธานาธิบดีของจีน Hu Jintal  เล่นปิงปองได้เก่งมาก

ส่วนผู้ครองนคร Dubai ชอบกีฬาม้าแข่ง อย่างเป็นชีวิตจิตใจ

ทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นว่ากีฬาสร้างผู้นำจริง แสดงให้เห็นว่าผู้นำกับกีฬาไปด้วยกันต่อไป ยังมีผู้นำอีกมากมายที่ผมไม่ได้นำมาเล่าให้ฟัง

 ขอให้กำลังใจทีมฟุตบอลชาติไทยที่จะลงเตะชิงชนะเลิศกับทีมเวียดนามในเย็นวันอาทิตย์นี้ กำลังใจและความมั่นใจของทีมชาติสำคัญมาก ถ้าได้ชัยชนะกลับมา ปีเตอร์ รีด มีกำลังใจในการทำงานต่อไป

ภายในไม่ถึง 5 ปีข้างหน้า ผมมั่นใจว่าอาชีพนักฟุตบอลจะเป็นอาชีพที่ผู้คนสนใจมากขึ้นเพราะ

§       รายได้จากการเล่นฟุตบอลอาชีพจะมากขึ้น ปัจจุบันนักเตะบางคนก็เริ่มมีรายได้ใกล้ ๆ หลักแสนแล้ว ภายใน 5 ปี รายได้นักเตะอาชีพบางคนจะได้ไม่ต่ำกว่า 5 แสน และอาจจะมากกว่านั้น ถ้ามีธุรกิจให้การสนับสนุน

§       และมีเกียรติเป็นที่ยอมรับของสังคมในมุมกว้าง แต่พวกเราก็ต้องช่วยกันเป็นโค้ชให้นักฟุตบอลได้มีการเตรียมตัวเพื่อมีชีวิตที่มีคุณค่า

§       ดูแลเรื่องสุขภาพ

§       หลีกเลียงการบาดเจ็บหรือรักษาพยาบาลให้ดีถ้ามีการบาดเจ็บ สโมสรก็ดูแลให้เขามีสวัสดิการหลังจากเลิกเล่นไปแล้ว

§       องค์กรเกี่ยวกับกีฬาก็ต้องบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นเลิศในระดับสมาคมและสโมสรและองค์กรการกีฬาแห่งประเทศไทยต้องลงทุนในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการให้ทันสมัย

§       ธุรกิจที่จะเข้ามาก็เน้นความยั่งยืน องค์กรธุรกิจก็จะต้องยกย่องด้วย

§       อาชีพสำคัญในอนาคตก็คือ Sport  Agents ทำหน้าที่ดูแลการเงิน การเจรจาต่อรอง การจัดตารางแข่งขันของนักกีฬาและการบริหารเวลา การทำงานเพื่อสังคมสร้าง Brand อีกหน่อยการซื้อตัวและตลาดนักเตะก็จะมีมากขึ้น

และในที่สุดไทยก็จะไปสู่ฟุตบอลอาชีพได้อย่างภาคภูมิใจแต่สมาคมและผู้เกี่ยวข้องต้องมืออาชีพจริง ๆ และต้องมองอะไรไกลๆ ไม่ใช่แค่ระยะสั้น

                                                        จีระ หงส์ลดารมภ์

                                           

บทความ ตีพิมพ์ในสยามกีฬา วันที่  19 พฤศจิกายน 2551

 

ผมในนามของ ผู้เขียนบทความคอลัมน์ เรียนรู้กีฬากับดร.จีระ ขอน้อมถวายความอาลัยต่อสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์เสด็จสู่สวรรคาลัย ท่านทรงประกอบพระราชกรณียกิจมากมาย แม้แต่กีฬาก็เป็นเรื่องที่พระองค์ท่านสนพระทัยเช่นกัน

 

คาร์ลิ่งคัพเหลือบิ๊ก 2

 

ขอแสดงความเสียใจกับแฟนพันธ์แท้ของหงส์แดงและเชลซีที่ตกรอบ 10 ทีมในคาร์ลิ่งคัพสโมสรเชลซีก็ไม่น่าจะเกิดขึ้น เพราะ

§       ทีมใช้ตัวจริงเกือบทั้งหมด

§       เล่นในบ้านเกิด

§       ยังเล่นกับทีมที่ไม่ใช่พรีเมียร์ด้วย

§       ดร็อกบายังอาจจะถูกแบนหลายนัด

ส่วนหงส์แดงเสร็จสเปอร์สไปแล้วแบบขาดลอย 4 : 2 ทำให้สเปอร์สมีโอกาสได้รักษาแชมป์ถ้วยต่อไปอีก 2 นัดข้างหน้า

ถึงจะเป็นถ้วยเล็กแต่ก็เป็นถ้วยที่น่าสนใจ เช่น

§       หลายทีมใช้ผู้เล่นชุดเล็ก ๆ ลง เช่น อาร์เซนอล ใช้ชุดเล็กมาหลายปีแล้ว ซึ่งเล่นได้ดีหงส์แดงส่งดาวรุ่งมาทดลองหลาย ๆ คน

§       ทีมที่ดิวิชั่นต่ำ ๆ ปีนี้หลุดมาได้หลายทีมนอกจากบิ๊ก 2 แล้ว เช่น

-          เดอร์บี้

-          แมนยูฯ

-          อาร์เซนอล

-          สเปอร์ส

-          เบิร์นลี่ย์

-          สโต๊กชิตี้

-          วัตฟอร์ด

-          แบล็คเบอร์น

ปีนี้คอยดูคู่ชิงอยู่บิ๊ก 2 หรือไม่ต้องติดตามต่อไป

            ระหว่างที่ผมเขียนต้นฉบับได้ทราบผลแต่การแข่งขันกอล์ฟ Barclays Singapore Open ดาวรุ่งนักกอล์ฟของไทยก็คือ คุณชัพชัย นิราช กำลังจะลงแข่งเป็นแมตต์สุดท้ายยังมีคะแนนนำผู้เล่นระดับโลกหลาย ๆ คนเช่น  Phil Mickelson  ,  Ernie ELS ต้องให้กำลังใจต่อไปว่าจะไปสู่ดวงดาวหรือไม่?

            คนไทยก็คงเห็นแล้วว่านักกอล์ฟไทยไปสู่ระดับโลกได้ดีและมีการสร้างชื่อเสียงและสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ประเทศไทยต่อไปไม่ว่าจะเป็น คุณชัพชัย นิราช คุณธงชัย ใจดี คุณถาวร วิรัตน์จันทร์ ผมชื่นชมความสามารถของคนไทยกีฬากอล์ฟต้องมีทั้ง

§             Head   =  สติปัญญา

§             Heart   = ความนิ่ง และสมาธิ

§             Execution = แก้ปัญหาให้สำเร็จ

อย่างไทเกอร์ วู้ด สำเร็จเพราะมีความสามารถทั้ง 3 ด้าน ทุกครั้งคนไทยพูดถึงไทเกอร์ วู้ด ผมอยากเห็นรัฐบาลไทยหรือสมาคมกอล์ฟแห่งประเทศไทย หาทางยกย่องเขาให้เป็นทูตการท่องเที่ยวให้ประเทศไทย ถึงแม้หลายคนบอกว่า ไทเกอร์ วู้ดไม่ค่อยจะรักประเทศไทย วิธีการคิดแบบนี้ น่าจะต้องทบทวนใหม่ ผมคิดว่ารัฐบาลไทยยังไม่มีความพยายามอย่างเต็มที่ที่จะยกย่องเขาอย่างจริงจังและสมเกียรติ น่าจะเป็นโครงการหนึ่งที่พวกเรา สยามกีฬา จะได้ทำเรื่องยกย่องไทเกอร์ วู้ด ต่อไปเพราะใครๆในโลกก็รู้จัก มาก่อนว่า ไทเกอร์ วู้ด เป็นลูกครึ่งไทย การที่เขาเล่นกอล์ฟดีมาก ซึ่งไม่ใช่เพราะมีทักษะและการแก้ปัญหาที่เก่ง แต่เขามีจิตใจที่นิ่งส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการที่เขามีเลือดคนไทยก็ได้ ผมคิดว่ายังไม่สายเกินไปที่จะนำไทเกอร์ วู้ด ซึ่งมีสัญชาติไทยมาเป็นทรัพยากรมนุษย์ของคนไทยมากกว่าที่จะมองเขาเป็นแค่คนอเมริกัน

ต่อเนื่องมาจากบทความเรื่อง Obama กับการกีฬาซึ่งแม้ผู้อ่านสนใจไม่มากนัก เมื่อเทียบกับการเขียนเรื่องบิ๊ก 4 และโดยเฉพาะแมนยู แต่มีแฟนท่านหนึ่งส่งข้อมูลมาที่ web ของสยามกีฬา พูดถึงอดีตนายกคนไทยว่า

ยังดีที่ Obama ชอบกีฬาบาสฯ แต่อดีตนายกไทยกีฬาของท่าน ซื้อมาขายไป

ผมฟังการวิเคราะห์ของผู้อ่านที่ติดตามบทความของผมแล้วก็ชอบมากเพราะ คมและเนียนไม่หยาบคาย ถึงแม้บทความเรื่อง Obama กับกีฬายังไม่เป็นที่นิยมมากนักในกลุ่มนักอ่านคนไทย ของ สยามกีฬา แต่ก็เห็นว่า คนอ่านวิเคราะห์ได้ดีและอาจจะเป็นการแบ่งปันความรู้กันระยะยาว

หนังสือ Herald Tribune ฉบับวันที่ 14 พฤศจิกายน 2551 ก็ลงบทความว่าไม่ใช่แค่ผู้นำการเมืองอย่าง Obama เท่านั้นยังมีผู้นำการเมืองของโลกหลาย ๆประเทศชอบกีฬาเป็นชีวิตจิตใจการขึ้นสู่ตำแหน่งทางการเมืองก็เพราะกีฬา บทความนี้เขียนโดยคุณ Christopher Clarey สรุปมาได้ดี

ยุโรป  นายกรัฐมนตรีของเดนมาร์ก ชื่อ Rasmussen เคยขี่จักรยานแข่งมาก่อนและเป็นจักรยานระดับขี่ขึ้นภูเขาด้วย นายกของเดนมาร์กเคยมาเยี่ยมคุณ Bush ที่ Texas ยังชวน George Bush ขี่จักรยานด้วยกันเลย  Rasmussen ได้รับเชิญจากนักจักรยานอาชีพชาวเดนมาร์ก ที่แข่ง Tour de France’s ขี่จนจบระยะทาง ซึ่งท่านผู้อ่านคงจะทราบดีว่าถ้าไม่แข็งแรงจริง ๆ ก็คงจะขี่ระดับขึ้นภูเขา Tour de France’s ไม่สำเร็จ

ในยุโรปอีกคนหนึ่งที่ผู้นำทางการเมืองถ้าพบเขาห่าง ๆ ไว้หน่อยก็ดี ถ้าโกรธขึ้นมาจะยุ่งคือVladimir Putin นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของรัสเชีย เขาเก่งเรื่องมวยปล้ำ คุณ Putin เขาฟิตมาก ๆ มักจะถอดเสื้อเพื่อจะแสดงความล่ำสันของร่างกาย Obama เตรียมตัวให้ดีถ้าพบ Vladimir Putin อาจจะถูกท้าให้แข่งมวยปล้ำก็ได้

อเมริกาใต้ ประธานาธิบดีของ  Bolivia, President Evo Morales ก็เคยเป็นนักกีฬาบาสเก็ตบอล ผมยังชอบกีฬา บาสเก็ตบอล แบบชีวิตจิตใจ การเมืองยุคใหม่ในโบลิเวียกับสหรัฐไม่ค่อยจะมีแนวทางตรงกัน ถ้า Obama เล่นบาสฯกับคุณ Morales น่าจะทำให้ความตึงเครียดลดลงไปบ้าง

ประเทศอื่น ๆ ในทวีปอเมริกา ผู้นำ เช่น อดีต Fidel Castro ใน Cuba ก็บ้าเบสบอลมาก่อนเป็นชีวิตจิตใจ

ในทวีปแอฟริกา แน่นอนอดีตดาราฟุตบอล George Weah ก็เคยเป็นนักฟุตบอลอาชีพระดับโลก เคยแข่งขึ้นเป็นประธาธิบดีของ Liberia

ส่วนในประเทศ  Kenya  ประเทศ ท่านประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คุณ Raila Odinga เป็นนักฟุตบอลเก่งเคยเล่นระดับสโมสรอาชีพและที่น่าสนใจนอกจากเล่นฟุตบอลเก่งแล้วยังเป็นชนเผ่าเดียวกันกับคุณพ่อของ Obama คุณ Obama น่าจะไปด้วยกันกับท่านประธานาธิบดีเพราะลูกสาวคนเล็กคุณ Obama ก็ชอบเล่น Soccer

ใน Asia นายกรัฐมนตรีคนปัจุบัน Taro Aso ก็เลยเป็นตัวยแทนประเทศญี่ปุ่นในการแข่งขันยิงปืนในโอลิมปิค ที่ Montreal  ท่านประธานาธิบดีของจีน Hu Jintal  เล่นปิงปองได้เก่งมาก

ส่วนผู้ครองนคร Dubai ชอบกีฬาม้าแข่ง อย่างเป็นชีวิตจิตใจ

ทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นว่ากีฬาสร้างผู้นำจริง แสดงให้เห็นว่าผู้นำกับกีฬาไปด้วยกันต่อไป ยังมีผู้นำอีกมากมายที่ผมไม่ได้นำมาเล่าให้ฟัง

 ขอให้กำลังใจทีมฟุตบอลชาติไทยที่จะลงเตะชิงชนะเลิศกับทีมเวียดนามในเย็นวันอาทิตย์นี้ กำลังใจและความมั่นใจของทีมชาติสำคัญมาก ถ้าได้ชัยชนะกลับมา ปีเตอร์ รีด มีกำลังใจในการทำงานต่อไป

ภายในไม่ถึง 5 ปีข้างหน้า ผมมั่นใจว่าอาชีพนักฟุตบอลจะเป็นอาชีพที่ผู้คนสนใจมากขึ้นเพราะ

§       รายได้จากการเล่นฟุตบอลอาชีพจะมากขึ้น ปัจจุบันนักเตะบางคนก็เริ่มมีรายได้ใกล้ ๆ หลักแสนแล้ว ภายใน 5 ปี รายได้นักเตะอาชีพบางคนจะได้ไม่ต่ำกว่า 5 แสน และอาจจะมากกว่านั้น ถ้ามีธุรกิจให้การสนับสนุน

§       และมีเกียรติเป็นที่ยอมรับของสังคมในมุมกว้าง แต่พวกเราก็ต้องช่วยกันเป็นโค้ชให้นักฟุตบอลได้มีการเตรียมตัวเพื่อมีชีวิตที่มีคุณค่า

§       ดูแลเรื่องสุขภาพ

§       หลีกเลียงการบาดเจ็บหรือรักษาพยาบาลให้ดีถ้ามีการบาดเจ็บ สโมสรก็ดูแลให้เขามีสวัสดิการหลังจากเลิกเล่นไปแล้ว

§       องค์กรเกี่ยวกับกีฬาก็ต้องบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นเลิศในระดับสมาคมและสโมสรและองค์กรการกีฬาแห่งประเทศไทยต้องลงทุนในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการให้ทันสมัย

§       ธุรกิจที่จะเข้ามาก็เน้นความยั่งยืน องค์กรธุรกิจก็จะต้องยกย่องด้วย

§       อาชีพสำคัญในอนาคตก็คือ Sport  Agents ทำหน้าที่ดูแลการเงิน การเจรจาต่อรอง การจัดตารางแข่งขันของนักกีฬาและการบริหารเวลา การทำงานเพื่อสังคมสร้าง Brand อีกหน่อยการซื้อตัวและตลาดนักเตะก็จะมีมากขึ้น

และในที่สุดไทยก็จะไปสู่ฟุตบอลอาชีพได้อย่างภาคภูมิใจแต่สมาคมและผู้เกี่ยวข้องต้องมืออาชีพจริง ๆ และต้องมองอะไรไกลๆ ไม่ใช่แค่ระยะสั้น

                              จีระ  หงส์ลดารมภ์

บทความ ตีพิมพ์ในสยามกีฬา วันที่  26 พฤศจิกายน 2551

 

กีฬาและการเมือง : หลีกเลี่ยงความรุนแรงทุกสถานการณ์

            ผมเขียนขณะการเมืองไทยกำลัง ร้อน อีกครั้งหนึ่ง ก็ร้อนแบบนี้มาหลายครั้งแล้วหวังว่า ร้อนได้แต่อย่ารุนแรง

            ในมุมหนึ่งคงจะทำได้ไม่ง่ายนักเพราะ 3 – 4 วันที่ผ่านมา ฝ่ายพันธมิตรก็ถูกถล่มด้วยอาวุธสงครามระเบิดอย่างต่อเนื่อง มีคนบาดเจ็บตายเพิ่มขึ้นทุก ๆ วัน แต่ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นต้องอดทน อย่างล้างแค้น เพราะไม่มีประโยชน์อะไรในระยะยาว

            ต้องฝาก บรรดาผู้เกี่ยวข้องกับการกีฬาว่า ความรุนแรง ของกีฬาของคนไทยก็ต้องหลีกเลียง เช่น

            ปีที่แล้วสโมสรกุยบุรี ทีมชิงถ้วยพระราชทาน ถ้วย ข ก็สร้างความหวาดวิตกให้บรรดาแฟนฟุตบอลได้เห็นโดยการใช้ ความรุนแรง

            ระดับไทยลีก ทีมสโมสร นครปฐม ของรัฐมนตรีไชยา ก็มีปัญหาความรุนแรง ชกต่อยกรรมการเช่นกัน

การชกต่อยกันระหว่างกรรมการบริหารสมาคมบาสเก็ตบอลแห่งประเทศไทยก็ต้องระมัดระวังอย่าให้เกิดขึ้น

            สำหรับผมเห็นเรื่องการแสดงออกของบรรดาแฟนพันธุ์แท้ฟุตบอลต่าง ๆ ที่ส่งมาทาง Web ของ สยามกีฬา ก็อดเป็นห่วงคนไทยที่บ้าคลั่งกีฬา คิดยังไม่เป็นแต่แสดงออกรุนแรงคำพูด

            ผมทำงานมานาน  Blog ของผมที่มีคนดูเข้ามามากมาย ยังไม่เคยเห็นการใช้คำพูดรุนแรงแบบนี้กับผม แต่ผมก็ไม่คิดอะไรเพราะ มาที่นี่ไม่ต้องการมาเอาชนะ แต่มาเพื่อค่อย ๆปรับความคิดของแต่ละท่าน ผู้อ่านที่เป็นคอกีฬา แต่แนวคิดเรื่อง แบ่งข้าง ยังเกิดขึ้นในกีฬาไม่ยอมรับความคิดเห็นที่หลากหลายก็มีปัญหาต่อไป บางทีโทษนักการเมืองอย่างเดียวไม่ได้ วงการกีฬามีปัญหาเช่นกันช่วยกันอย่าใช้ความรุนแรงทางคำพูด

            ผมไม่โทษตัวบุคคล น่าจะโทษการศึกษาของไทยที่ตกต่ำลงทุกที น่าใจหายเรียนเพื่อกระดาษ แต่ไม่สอนให้มีคุณธรรม จริยธรรม และคิดเป็นเรียนรู้ตลอดชีวิต

            ขอบคุณผู้ดูแล Web ของ  สยามกีฬา ถ้าภาษารุนแรงมาก ก็จะระมัดระวังอย่างดี

            การควบคุม อารมณ์ Emotion” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทุนมนุษย์ที่สำคัญ จะเป็นจุดสำคัญที่ช่วยการกีฬา ทั้งนักกีฬาและแฟนกีฬา

            ควันหลงจากบทความของผมคราวที่แล้วอย่างเรื่องกอล์ฟ คุณชัพชัย นิราช นำโด่งมา 3 วัน ช่วงตีวันสุดท้าย 2 – 3 หลุมแรกยังอยู่ที่  -11 แต่พอมาจบหลุมสุดท้ายได้แค่ -3 ซึ่งหายไประหว่างทาง 8 หายนี้คือตีเกิน 8 และแสดงว่าคุณชัพชัย นิราช ตกทฤษฎี  Heart  ซึ่งอาจจะขาด ความนิ่ง มีสมาธิและการควบคุมอารมณ์ ไม่ให้หลุดไปกับแรงกดดัน

สังเกตว่านักกีฬา ระดับโลก ที่มีทักษะ ความสามารถเก่งมาก ๆ แต่ไม่เคยชนะเพราะเป็นคนที่ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ดีในสถานการณ์กดดัน การควบคุมอารมณ์จะกระทบทุก ๆ กลุ่มในสังคมไทยและสังคมโลกไม่ว่าจะเป็นนักกีฬาหรือนักการเมือง แม้กระทั่งนักเรียน นักศึกษา การศึกษาขณะนี้มีทฤษฎีหนึ่งบอกว่า :

            I Q สำคัญน้อยกว่า EQ ซึ่งในที่สุดแล้วอาจจะพูดว่า IQ น่าจะมาก่อนแต่มี IQ อย่างเดียวก็ไม่พอ EQ ก็คือความสามารถในการควบคุมอารมณ์

            กว่าท่านผู้อ่านจะได้อ่านบทความของผมก็วันพุธช่วงเช้า ฝากถึงกลุ่มพันธมิตร ตำรวจ ส.ส. พลังประชาชน รัฐบาล และตำรวจ ทหารซึ่งจะบริหารความขัดแย้งในช่วง 2 วันนี้ ต้องมี EQ ช่วยไม่ให้เกิดความหายนะของชาติ

            อาทิตย์ที่แล้วผ่านช่วงพระพิธีพระราชทานเพลิงพระศพไปอย่างสมพระเกียรติ เหลือไว้คือความดีงามและ สยามกีฬา น่าจะทำรายการทั้ง TV หรือ บทความเรื่องสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์กับวงการกีฬา ด้วย เพราะน่าจะเป็นเรื่องที่สร้างความสนใจของสังคมไทยเพราะในมิติอื่น ๆ ไม่ว่าการแพทย์หรือการรักษาวิทยาศาสตร์และภาษาหรือการต่างประเทศ หรือศิลปะกับการเทิดพระเกียรติได้ครบถ้วนแล้ว

             อาทิตย์นี้มี 2 เรื่องใหญ่ ๆ เป็นประเด็นหลัก

            เรื่องแรก ผมไปร่วมการแข่งขันเทนนิสระหว่าง Bjorn Borg กับ John Mcenroe และผมขอขอบพระคุณทางท่านผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ของ ปตท. คุณสรัญ รังคสิริ และทีมงานของท่านที่กรุณาส่งบัตร VIP มาให้ผม นอกจากดูสนุกมีประสบการณ์แล้วยังได้เรียนรู้หลาย ๆ อย่าง เช่น

§       คนดูส่วนใหญ่กว่า 70% เป็นชาวต่างประเทศอาศัยอยู่ในเมืองไทยซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนไทยไม่ค่อยสนใจกีฬาเทนนิสมากนัก แต่มีชาวต่างประเทศชอบดูเทนนิสหรือว่าตั๋วแพงเกินไป?

§       ถ้าราคาตั๋วแพงไปคนไทยดูไม่ไหวจึงต้องควรอุดหนุนให้เยาวชนที่เทนนิสไปดูด้วย เพราเยาวชนชาวเทนนิสทั้งกรุงเทพฯ ต่างจังหวัด ถ้าได้เห็นประสบการณ์ ได้ดูระดับโลก จะเกิด แรงบันดาลใจ

§       เรื่องการส่งเสริมเยาวชนสมาคมเทนนิส ก็คงทำอยู่บ้างแล้ว แต่ขอให้ทำมากกว่านี้ เช่น  “WTA Pattaya Open” ต้นปีหน้า ผมอยากจะชวนเยาวชนไทยที่ไม่มีโอกาสได้ไปดู

§       Bjorn Borg อายุ 52 ปี John Mcenroe อายุ 49 ปี ผ่านการเล่นระดับโลกมาแล้วยังฟิตเล่นได้สนุก Bong ชนะระดับ Grandslam 11 ครั้ง Mcenroe 7 ครั้ง และมีความสามารถ ไหวพริบสูงซึ่งเด็กไทย นอกจากมีพลัง จิตใจนิ่งแล้ว ต้องเรียนรู้จากนักเทนนิสเก่งระดับโลก แบบนี้ตลอดเวลา

§       และขอบคุณ ปตท.ที่นำรายการแบบนี้มาให้ประเทศไทยได้ดู เสียดายที่คนไทยดูน้อย มีแต่ชาวต่างประเทศมากเกินไป

ส่วนกีฬา อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญอาทิตย์นี้ก็คือต้องติดตามกีฬากอล์ฟ ซึ่งคราวนี้มีนักกอล์ฟไทย 2 คนเป็นตัวเต็งอยู่ คือคุณชลลิต พลาผล  และคุณประหยัด มากแสง ยังมีความหวังกับคุณประหยัดรอบสุดท้าย ยังทำอยู่ที่การแข่งขันใหญ่อาชีพที่ญี่ปุ่น ซึ่งการแข่งขันครั้งนี้ คล้าย ๆ เมื่ออาทิตย์ที่แล้วที่  Barclays Singapore Open ซึ่งผมเชียร์คุณชัพชัย นิราช แต่ทำไม่สำเร็จ ผมก็ลุ้นแบบใจจดใจจ่อว่าคุณประหยัด มากแสงถ้าทำได้จะถือว่าเป็นความสำเร็จค่อนข้างใหญ่

§       การแข่งขัน Golf ระดับนี้ที่ญี่ปุ่นไม่ได้เป็นรองใครในโลกเงินรางวัลทั้งหมดกว่า 2 ล้านเหรียญ

§       นักกอล์ฟกับญี่ปุ่นไม่ต้องพูดถึงระดับยอดทั้งนั้น แต่ระดับโลกมีอย่าง Ernie ELS , Henrik Stenson ให้ร่วมด้วย

อาทิตย์หน้ามาดูกันว่าคุณประหยัดจะควบคุมอารมณ์ได้ไหม เพราะอาทิตย์ที่แล้วคุณชัพชัย ถ้าตีได้ Par ก็ชนะสบาย ๆ แต่ไปออกโบกี้มากมาย ผมก็เข้าใจเพราะแรงกดกันมีมากเหลือเกิน คำถามก็คือคุณชัพชัย จะเรียนรู้จากความเจ็บปวดกลับมาชนะรายการใหญ่และมีความคิดจะไปไกลกว่านี้ เช่นเล่นและชนะระดับ PGA หรือไม่?

สุดท้าย เรื่องฟุตบอล ผมขอชมเชยเลขาธิการฯ คุณองอาจ ก่อสินค้าได้เตรียมการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ถ้วย ข ผมไปดูมาด้วย

§       การจัดระบบการแข่งขันระดับ FIFA เลย

§       มีตัวแทนสมาคมเป็นประธานในการแข่งขัน

§       มีการประกาศว่าทีมไหนมีผู้เล่นจะเปลี่ยนตัวออกอย่างไร?

§       ระบบการปฐมพยาบาล

§       คนดูเริ่มมากขึ้นกว่าเดิมมาก แม้ระดับถ้วย ข

การแข่งขันฟุตบอลพระราชทาน ถ้วย ข ถ้าทำดีๆ จะสร้างนักฟุตบอลรุ่นใหม่ ๆ ช่วงนี้ สยามกีฬา ก็ส่งนักข่างไปทำข่าว ทำให้เกิดเป็นที่น่าสนใจมาก

ผมไปดูเพราะทีมสมาคมฟุตบอลเทพศิรินทร์ เล่นด้วย ซึ่งนำทีมส่งถ้วย ข มาตลอด ยุคผมเป็นนายกสมาคมฯ ก็ขึ้นมาจากชนะเลิศ ถ้วย ค สมาคมฟุตบอลเริ่มทำงานแบบมืออาชีพมากขึ้น ทำดีขอสนันสนุนต่อไป

ส่วนฟุตบอลทีมชาติไทย ขอแสดงความยินดีกับ ปีเตอร์ รีด ได้ถ้วยกับมาจากเวียดนาม เงินที่ได้ 1,400,000 บาทก็กรุณาแบ่ง ให้นักกีฬาทีมชาติเร็ว ๆ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจด้วย

ช่วงนี้ปีเตอร์ รีด กำลังปรับวิธีการทำงานคือ เริ่มรู้จักนักกีฬาทีมชาติแต่ละคนอย่างจริงจัง และคัดเลือกนักฟุตบอลได้เหมาะสมมากขึ้น ช่วงแรก ๆ ปีเตอร์ รีด ก็จะเลือกเด็กรุ่นใหม่เข้าเล่นในทีมชาติเร็วเกินไป อาจจะไม่ประสบความสำเร็จในการเล่นแมตใหญ่ ๆ นัก เพราะขาดประสบการณ์ ปีเตอร์ รีดจะต้องเรียนรู้ตลอดเวลาซึ่งจุดหนึ่งที่เขายอมรับและนำมาปฎิบัติ

ส่วนฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ ถ้าจะสรุปว่าปีนี้ สนุก เพราะมีทีมกว่า 10 ทีมที่พร้อมจะตกชั้น และทีมเหล่านี้พร้อมที่เป็นอันดับ 5 6 7 ได้ด้วย ส่วน บิ๊ก 4 ปีนี้น่าจะเหลือบิ๊ก 3 และทีมไหนจะขึ้นไปแทน ต้องเสียใจกับแฟนปืนใหญ่อาร์เซนอลที่มีปัญหามากมายก็ดูว่าต่อไปจะติดบิ๊ก 4 รอดหรือไม่ในปีนี้

                     จีระ  หงส์ลดารมภ์

      

บทความ ตีพิมพ์ในสยามกีฬา วันที่  3 ธันวาคม  2551

 

การเมือง : กระทบกีฬาอย่างแน่นอน

            สัปดาห์ที่แล้ว มีผู้อ่านไม่มากนักเพราะมองว่าไม่ได้พูดเรื่องกีฬาตรง ๆ แฟนพันธุ์แท้ก็เลยคิดว่าไม่ใช่ ผมตั้งใจจะเสนอแนวทางบางอย่างให้ท่านผู้อ่านได้มีมุมมองที่น่าสนใจและกว้าง เสริมกีฬาที่อยู่ในสายเลือดของท่านอยู่แล้ว

            เพราะถ้าประเทศของเรามีปัญหา ความรุนแรง กีฬาก็ไม่มีความหมายอะไรเพราะกีฬาจะลดความสำคัญไปโดยปริยาย เช่น การเมืองกระทบเศรษฐกิจไทยอีกไม่นานไม่มีสปอนเซอร์ ทีวีก็ไม่ถ่ายทอดสดฟุตบอลจากต่างประเทศซึ่งขณะนี้ คนไทย  โชคดีเพราะโทรทัศน์โดยเฉพาะ True Vision มีถ่ายทอดกีฬาจากต่างประเทศทุกชนิด

            กีฬาจากต่างประเทศ ต้องใช้เงิน จะมีความสามารถจ่ายได้อย่างไร?  ถ้าเศรษฐกิจลำบาก นักท่องเที่ยวมาเลย เงินก็หายไปเป็นแสน ๆ ล้าน คนตกงานจะมี Mood หรือความสนุกกับกีฬาได้อย่างไร? ดังนั้นหลีกเลี่ยงความรุนแรง ดูได้จากเหตุการณ์ที่อินเดียคนตายไปเกือบ 200 คน ของไทยระหว่างที่เขียนบาดเจ็บบ้าง แต่ตายน้อย

            แต่ก็มีผู้อ่านหวังดีกับผมส่ง Blog มาเขียนว่า

คิดไปก็น่าเห็นใจ ส่วนมากคนไทยเรียนเพื่อกระดาษแผ่นเดียวจริงๆ ระบบการศึกษาไทยยังน่าเป็นห่วง คนไทยเรียนเยอะแต่ไม่รู้จริงสักเรื่อง คิดแล้วปวดใจ เด็กนักเรียนไทยแบกตำรามากมายไปเรียน เรียนเสร็จแล้วยังมาเรียนพิเศษเพิ่มอีก  เรียนจบมาแล้วยังทำงานไม่เป็นเลย งง? ผมว่าอย่าไปซีเรียสเลย พวกนี้คิดไม่เป็นหรอก อยากไห้คนด่า แค่นั้นแหละครับที่คิดได้ ผมว่าสังคมไทยมอมเมาเยาวชนเกินไป อีกอย่าง ผู้ใหญ่ทำตัวไม่ดีไห้เด็กเห็น เป็นแบบนี้มาช้านานแล้วล่ะครับ กลัวเหลือเกินว่าไทยจะล้าหลังกว่าเพื่อนบ้านอย่าง เวียดนาม กัมพูชา และพม่า สงสารอนาคตประเทศไทย

            ผมต้องขอบคุณท่านผู้อ่านเขียนว่าการได้ปริญญาต้องมี ปัญญา  คิดเป็น ใฝ่รู้ ทำงานเป็น พัฒนาไปเรื่อย ๆ ไม่ใช่ได้กระดาษหนึ่งแผ่นและก็ออกไปทำงาน  ชีวิตผมก็คงจะเน้นตรงนี้ต่อไป แต่มี สยามกีฬา มาเป็นแนวร่วม

            กว่าจะถึงวันพุธ ก็ไม่ทราบว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น ที่แน่ๆ คือ

§       ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินยุบพรรคในวันที่ 2 ธันวาคม 2551 เวลา 9.30 น. ถ้าศาลรัฐธรรมนูญมีมติยุบพรรคพลังประชาชน นายกฯสมชาย ก็หมดสภาพความเป็นนายกฯทันที เพราะต้องยุติการเป็น ส.ส. คล้าย ๆ กับกรณีคุณสมัคร สุนทรเวช แต่ถ้าไม่ผิดก็คงจะสู้กันต่อไป สนามบินยังเปิดไม่ได้ อะไรจะเกิดขึ้น?

§       การกดดันของสื่อเกือบทุกฉบับและกลุ่มพลังต่าง ๆให้นายกฯสมชาย เสียสละเพื่อชาติ เพื่อส่วนรวม การกดดันของพันธมิตร วันอาทิตย์และวันจันทร์จะรุนแรงแค่ไหนและอำนาจรัฐจะดำเนินอยู่ได้หรือไม่? ก็คงต้องดูกันต่อไป

§       ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น จบแล้วต้องสามัคคี เยียวยา สานเสวนาอย่าหยุดแค่มีชัยชนะระยะสั้น ต้องสร้างอุดมการณ์ของชาติร่วมกัน การเมืองระยะยาวให้คนไทยมีส่วนร่วมมีข่าวสารข้อมูลอย่างแท้จริงและใช้เงินเท่านั้น

§       สร้างแนวทางสันติ อย่าแบ่งเหลือง แดง หรือแบ่งเป็นคนไทย ภาคใต้ ภาคเหนือ

ควันหลงจากกีฬาครั้งที่แล้ว ผมขอแสดงความยินดีที่ คุณประหยัด มากแสง เอาชนะอุปสรรค ชนะกอล์ฟระดับใหญ่ที่ญี่ปุ่นได้ รับรางวัลถึง 15 ล้านแล้ว นี่ก็เป็นตัวอย่างที่ดี Role Model ของการเป็นนักกีฬากอล์ฟอาชีพ จุดความสำเร็จของคุณประหยัด น่าจะอยู่ที่

§       เป้าหมายของการเป็นนักกีฬาอาชีพคือไปให้สุด ไม่ใช่มีเงินแล้วก็ไม่ฝึกซ้อมจริง ๆ

§       รักษาสุขภาพโดยเฉพาะเรื่องโภชนาการและกายภาพบำบัด

§       ควบคุมอารมณ์ให้ได้

§       ฝึกซ้อมตลอดเวลา

ประเด็นที่เกี่ยวกับคุณประหยัด คือบทบาทของธุรกิจที่เข้ามาส่งเสริมนักกีฬาไทย

มีตัวอย่างที่น่ายกย่องชื่นชมคือ บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นเวลากว่า 30 ปี ไม่เคยหยุดที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาด้านกีฬาไทยอย่างต่อเนื่อง

ผมขอยกย่องบุคคล 2 ท่านที่อยู่ที่บุญรอดฯ คือ คุณสันติ ภิรมย์ภักดี และคุณรังสฤษฏ์ ลักษิตานนท์ นอกจาก 2 ท่านจะทำงานร่วมกันแล้วยังชอบกีฬาเป็นชีวิตจิตใจและเป็นเพื่อนรักสมัยเป็นนักเรียนด้วย

การที่ทั้งสองท่านได้ทุ่มเทให้กีฬา สังคมไทยก็ควรจะยกย่องให้เกียรติ เพราะลำพังภาครัฐก็ไม่สำเร็จอย่างที่เป็นอยู่

อาทิตย์หน้าจะมี มวย คู่ศักดิ์ศรีของโลก คือ เดอลา โฮย่า และ ปาเกียว ซึ่งเป็นคู่ศักดิ์ศรีเพราะเปรียบเสมือนตัวแทนตะวันตกกับตะวันออก เพราะ ปาเกียว เป็นชาวฟิลิปปินส์ แค่ประเทศเขามีนักชกระดับนี้คนเดียว ก็เป็นภาพลักษณ์ของประเทศฟิลิปปินส์ได้มากมาย แสดงให้เห็นถึงความเป็นเลิศของคน  ฟิลิปินส์ ชอบใจที่ สยามกีฬา มักจะลงข่าวทั้งมวยไทยและมวยสากล

ประเทศไทยมีมรดกทั้งวัฒนธรรมของมวยไทยและประสบการณ์มวยสากลทั้งสมัครเล่นและอาชีพ

ถ้าในระดับมวยสากลอาชีพก็ถือว่ามีนักชกไทยขึ้นไปสู่แชมป์โลกมากที่สุด ในประเทศเอเชีย แต่อิทธิพลของผู้บริหารสมาคมมวยระดับอาชีพให้มีส่วนในการเข้าไปอยู่มวยสากลอาชีพของโลก คิดว่ายังไม่พอ ผมอยากเห็นประเทศไทยมีบทบาทอย่างแท้จริงคล้าย ๆ บทบาทของคุณวรวีร์ มะกูดีใน FIFA อย่างแท้จริง และสำคัญที่สุด

มรดกมวยไทยต้องเก็บรักษาไว้ เพราะปัจจุบันมีชาวต่างชาติมาลอกเรียนวัฒนธรรมมวยไทยของเราไปแล้ว อาจจะเก่งกว่าคนไทย เช่นเดียวกับอาหารไทยในต่างแดน ต้องรักษาคุณภาพคนไทยไว้อย่างเหนียวแน่น

ฟุตบอล ซูซูกิคัพ  ต้องเลื่อนไปเล่นที่ภูเก็ต ผมว่าช่วงนี้ภูเก็ต น่าจะบูมเพราะนักท่องเที่ยวบินตรงมาได้เลย ผมก็ว่าจะไปดูด้วยให้กำลังใจโค้ช คุณปิเตอร์ รีด ขอให้ทีมไทยโชคดี

เวลาวิเคราะห์นักฟุตบอลเก่ง ๆ โดยเฉพาะกองหน้ามักจะมองเรื่อง เป็นนักฟุตบอลตัวเล็ก ตัวใหญ่ เป็นส่วนสำคัญ ช่วงนี้มีข่าวว่า ตอร์เรส  ศูนย์หน้าของหงส์แดง เจ็บบ่อย ๆ ผมก็เลยสังเกตดูว่า มีนักฟุตบอลเก่งชาวอังกฤษเคยเล่นให้หงส์แดงคือ โอเว่นซึ่งประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแต่ก็เจ็บบ่อย ๆ ดังนั้น บรรดาแฟนพันธุ์แท้ หงส์แดงต้องระวังอย่าให้ ตอร์เรส ซึ่งเล่นดีแต่บาดเจ็บบ่อย ๆ เป็นโรคติดต่อมาจาก โอเว่น เพราะทั้งสองท่านทนแรงเสียดทาน ของฟุตบอลอังกฤษไม่ไหว เช่นเดียวกับปีนี้อาจจะไปไม่ถึงดวงดาว

ส่วนแฟนพันธุ์แท้ของปืนใหญ่ก็คงจะทราบว่าบทความน่าสนใจมาก ของคุณ John Dykes ในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ มองว่าปืนใหญ่ตัดสินใจถูกที่เลือก Fabregas เป็นกัปตันแทนคุณกัลลาส ซึ่งสร้างปัญหาไว้มากเพราะควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ Fabregas อายุแค่ 21 แต่มีความคิดเห็นที่น่าสนใจ เช่น พูดถึงอดีตกัปตันของปืนใหญ่ที่ผ่านมาที่ประสบความสำเร็จได้ เพราะ

Patrick Vieira เหมือนป้อมปราการใหญ่ ลูกทีมซึ่งได้ยามยากคือรู้กันอยู่แล้วทุกคน อุ่นใจ

Thierry Henry เป็นกัปตันที่ฉกฉวยโอกาสและตัดสินใจได้เฉียบขาดแหลมคมในการเข้าทำประตูหรือการป้องกัน

คุณ John Dykes มองว่าอายุ 21 ของ Fabregas ไม่ใช่อุปสรรคเพราะอายุ 21 แต่เล่นทีมใหญ่มานานแล้วและสะสมประสบการณ์ได้อย่างมาก

บทเรียนคืออะไร? กีฬาก็คล้าย ๆ ธุรกิจหรือการเมือง ผู้นำต้องมีความสามารถ กัปตันหรือผู้นำต้องพิเศษกว่าคนอื่น แต่สร้างให้ลูกทีมยอมรับ

ถ้าจะมองกีฬากับการเมืองหรือธุรกิจที่ผมสร้างผู้นำเป็นประจำ อาจจะสรุปได้ว่าคุณ Fabregas เป็นนักฟุตบอลที่มีสมองวิเคราะห์อะไรได้ดี ดูอย่าง Patrick Vieira  เขาเรียกว่าสร้าง ศรัทธา ให้แก่ผู้ร่วมทีมได้กับ Henry เรียกว่า Edge คือตัดสินใจได้รวดเร็วและได้ผล มีจังหวะที่พอดีทั้งรุกและรับ

                                       จีระ  หงส์ลดารมภ์

บทความ ตีพิมพ์ในสยามกีฬา วันที่  10  ธันวาคม  2551

 

การเมืองและกีฬา : ต้องการมืออาชีพและทำเพื่อชาติและส่วนรวม

ภายในวันอาทิตย์ ใครจะคิดว่าการเมืองของไทยจะเปลี่ยนอย่างมากมาย หลังจากพระจันทร์ยิ้มทุกอย่างก็ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อาทิตย์ที่แล้ว ผมเขียนว่า……

วันที่ 2

การวิเคราะห์ของผมและฟันธงว่าศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินอย่างเด็ดขาด และรวดเร็วก็เป็นจุดสำคัญ ขอบคุณความยุติธรรมของชาติที่ทำงานได้ผล และขอแสดงควมเสียใจกลับการเมืองเดิมที่คิดว่า เสียงข้างมากลากไป และอาจจะเรียนรู้บทเรียนดังกล่าวและถามคำถามว่าเป็นนักการเมืองเพื่ออะไร ผมคิดว่าบทเรียนครั้งนี้น่าจะมี 3 -4 เรื่อง

§       การสร้างผู้นำ ใครจะคิดว่า กลุ่มเพื่อนเนวิน ประมาณ 70 เหลือจริง ๆ แค่ 30 จะต้องสู้กับ ระบบทักษิณ ซึ่งมีทั้งเงินและมีอำนาจและมีคุณหญิงพจมาน บินกลับมาสารการเมืองทันเหตุการณ์

§       ใครจะคิดว่า นักการเมืองคือโปรแบบเสหนั่น จะกลับมาทำงานกับพรรคเก่าที่เคยร่วมกันมาคือ ประชาธิปัตย์

§       ใครคิดว่าคุณชวน หลีกภัย มีคุณธรรม จริยธรรมและเป็นบุคคลที่ผมเรียกว่า สังคม Trust” ท่านยิ่งกว่าท่าน ผ.อ. ต้องให้โอกาสผู้นำรุ่นใหม่ Why not  เพราะอเมริกามี Obama รัสเชียมี Medvedev ไทยก็มีคุณอภิสิทธิ์ได้

ใครที่อ่านบทความแนวหน้าของผม เมื่อปลายปีที่แล้ว จะรู้ว่า ผมพูดถึงการเมืองรุ่นใหม่ ของโลก ที่เป็นความหวัง 3 คน คือคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คุณ Medvedev และ Obama ไว้ว่าเป็นคลื่นลูกใหม่ ถ้าคุณอภิสิทธิ์ได้เป็นนายก คำทำนายผมถูกต้องครบทั้ง 3 คน

      และผมมั่นใจว่า คุณอภิสิทธิ์ก่อนเป็นกับหลังเป็นจะไม่ใช่มาร์ค คนเดิม เพราะได้เป็นแล้ว คนไทยจะเห็นความสามารถที่แท้จริงของเขา เพราะกว่าจะผ่านการเมือง น้ำเน่า ระบอบทักษิณ ลากมากไป มาร์คก็เกือบตกม้าตาย เพราะรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ได้อำนาจรัฐแล้ว ก็ต้องทำ 3 เรื่อง ซึ่งผมมั่นใจว่าทำได้

§       สร้างความสามัคคีในชาติ

§       เน้นความซื่อสัตย์ สุจริต

§       เน้นอนาคตไทยได้เวทีโลก

ซึ่งเรื่องการสร้าง Brand ของไทยในเวทีโลก ผมรับประกันได้ว่าคุณอภิสิทธิ์ทำได้ ผมเห็นมาแล้วและต้องหาทีมงานที่มีประสบการณ์มาก ๆ มาช่วยและคุณอภิสิทธิ์ ลด Ego ของตัวเอง ฟังหลาย ๆ แหล่งข้อมูลและนำมาตัดสินใจ ยิ่งสำเร็จมากขึ้น

            บรรดาแฟนพันธุ์แท้ฟุตบอลก็ต้องให้ความสนใจนิวคลาสเซิล เป็นพิเศษเพราะพี่มาร์คเขาเป็นพวกแฟนพันธุ์แท้ทีมนี้ ผมคิดว่า ถ้าแฟนคลับพาดหัว น่าจะให้มาร์คเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ แน่นอน

            ที่เขียนมาทั้งหมด ต้องรอดูอีกอาทิตย์ว่าการเมืองใหม่จะไปตามที่เป็นข่าวหรือไม่ เพราะการต่อสู้ทางการเมือง พวกมากลากไป ก็คงเข้มแข็ง แถมเงินหมุนเวียนสะพัดน่าสนใจอย่างยิ่ง ท่านผู้อ่านอย่ากระพริบตาเด็ดขาด

            อาทิตย์นี้ได้แสดงความยินดีกับคุณปีเตอร์ รีด กับทีมชาติไทยไปเล่นไกลถึงภูเก็ต แต่ก็ไม่ผิดหวังเพราะชนะคู่ปรับเก่าเวียดนามไปแล้ว เมื่อคืนวันเสาร์ ดูท่านจะเข้ารอบสองแน่ ๆ แต่ถ้าไม่ได้แชมป์ก็ถือว่าไม่สำเร็จ ต้องอวยพรด้วยความจริงใจ นักเตะชุดนี้เริ่มนิ่งและเริ่มมั่นใจ สภาพและขวัญกำลังใจก็น่าจะอยู่ในจุดที่ดี

            มีข่าวเรื่องสมาคมฟุตบอลภายใต้การทำงานของเลขาธิการฯ คุณองอาจก่อสินค้าได้ออกตารางฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานถ้วย ค ออกมาแล้ว

            ผมเคยบอกท่านเลขาธิการว่า ฟุตบอลพระราชทานยุคสมัยผมเด็ก ๆ ดังระเบิด ช่วยวางแผนระยะยาว ว่าจะจัดอย่างไร บริหารอย่างไร อย่างในปีนี้ก็เห็นมีทีมในถ้วยว่า ทีมและจะใช้สนามแข่งที่แน่นอนก็คือ บางกอกกล๊าสและดูรายชื่อสโมสรแล้ว ทำให้ผมนึกถึงสมัยเก่า ๆ ทำให้เห็นว่าฟุตบอลอยู่ในสายเลือดของคนไทย เช่น สโมสรนักเรียนเก่าอำนวยศิลป์ เป็นคู่แข่งสำคัญ ยุคนี้ฟุตบอลนักเรียนหายไปแต่กลับมาโดดเด่นที่ฟุตบอลถ้วย

            ผมมีเรื่องฝากคุณองอาจ ปีหน้านี้อาจจะจัดไม่ทันแต่ปี 53 น่าจะจัดแบบ F.A. Cup ซึ่งทุกประเทศในโลกเขาทำกัน อยากรู้เหมือนกันว่าทำไมทำไม่ได้ในประเทศไทย ในอดีตสมาคมไม่สนหรือไม่มีผลประโยชน์จึงไม่จัด F.A Cup แต่ปัจจุบันน่าจะทำ และทำให้ทีมถ้วยล่าง ๆ เขามีกำลังใจ เช่น สมมุตินะครับน่าสนใจ รอบสี่ เทศบาลหัวหินกับเทโร คนดูที่หัวหินเป็นหมื่น หรือสโมสรนักเรียนเก่าเทพฯกับการไฟฟ้า ฝากคุณองอาจไว้ เน้นว่าเยือนใครมีสนามต่างจังหวัด ก็ถ้าจับสลาดได้ก็เข้าไป กระตุ้นให้ชุมชนต่างจังหวัดบ้าคลั่ง ฝากไว้ด้วย ผมรู้ว่าเลขาฯองอาจอ่านคอลัมน์ผมอยู่ อย่างการเตรียมจัด ถ้วย ข,ค ก็เป็นแนวคิดของผม เพราะผมเป็นผู้จัดการทีมถ้วย ข ของสโมสรนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์มาก่อน ก่อนยุคคุณอาจอาจ สมาคมให้ความสนใจน้อยมาก จัดแบบขอไปทีไม่มีการวางแผนล่วงหน้าไม่มีการประชาสัมพันธ์ปีนี้ดีขึ้นอย่างมาก

            ประเด็นสุดท้ายน่าจะเป็นควันหลังจากโอลิมปิคที่ปักกิ่ง ซึ่งผ่านไป 3 – 4  เดือนแล้ว ถ้าท่านผู้อ่านติดตามก็จะรู้ว่าผมมักจะติดตามและสนใจความสำเร็จของนักกีฬาที่โดดเด่นในช่วงโอลิมปิก ในประเทศและต่างประเทศ อย่างที่ต้องถามก็คือ อย่างที่ต้องตามก็คือ Jamaica เรื่องวิ่งเร็ว เพราะในปีโอลิมปิกครั้งนี้ ประเทศ Jamaica เป็นประเทศเล็กนิดเดียวมีประชากรไม่ถึง 3 ล้าน และจริง ๆ แล้วก็ยากจนมาก แต่ได้เหรียญวิ่งกรีฑาทั้งหมด 11 เหรียญ เป็นเหรียญทอง 6 เหรียญ ได้ 100 เมตรทั้งหญิงและชายพร้อมกันและที่เหลือเป็นเหรียญเงินและทองแดง ซึ่งถ้านับความสำเร็จเรื่องกรีฑาจัดว่าอันดับหนึ่ง

เผอิญชีวิตผมชอบอ่านหนังสือกีฬา และสำหรับอเมริกา ก็จะรู้ว่ามีนิตยสารกีฬาดังของสหรัฐชื่อ “Sport  Illustrated” ซึ่งตีพิมพ์ที่อเมริกา ผมก็จองทุกเล่มที่ตีพิมพ์โดยจองไว้ที่ร้าน KinoKuniya สาขาเอ็มโพเรี่ยม เล่มฉบับวันที่ 20 ตุลาคมก็ได้ลงเรื่องโอลิมปิกกับเบื้องหลังและฉลองความสำเร็จของ Jarmaicaได้น่าสนใจ ซึ่งท่านผู้อ่านก็ติดตามอ่านได้ใน Web หรือซื้ออ่านได้จาก ร้าน KinoKuniya

ผมคิดว่ามีเรื่องที่จะเรียนรู้จากบทความหลาย ๆ เรื่อง

§       วิ่งเร็วเป็นกีฬาของ Jamaica มีมานานแล้ว เพราะประชากรของเขามีน้อย แต่สนใจการวิ่งเร็วมานาน

§       แต่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จเพราะพอดังขึ้นมา นักวิ่งก็โอนสัญชาติไปเป็นชาติอื่น ๆ หรือถูกดึงตัวไปเรียนหนังสือในมหาวิทยาลัยในสหรัฐ และก็ทนต่อความยั่งยืนไม่ไหวในที่สุดก็ไม่สำเร็จอย่างแท้จริง อย่าง Bolt  ที่ชนะเลิศ 100 เมตร และ 200 เมตร และนักวิ่งผู้หญิง 100 เมตร ชื่อ Fraser ให้ทุนไปเรียนต่อที่อเมริกาถึง 10 ทุน แต่มีคนแนะนำว่าอย่าไปเลย อยู่ที่ประเทศของเราดีกว่า บรรดานักวิ่งปีนี้ก็เลยฝึกและเรียนอยู่ทีประเทศของเรา

§       และบรรดาผู้ที่ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงปีนี้ไม่มีใครที่ไปวิ่งและเรียนที่สหรัฐแต่ทุกคนเรียนหนังสือระดับมหาวิทยาลัยชื่อว่า Kingston’s University of Technology และได้รับการฝึกฝนในประเทศ ดังนั้นจึงมีค่านิยมที่เอาใจใสในการฝึกซ้อมโดยไม่เน้นวัตถุนิยมต่างที่ยังยืน เหมือนกับการได้ทุนไปเรียนที่สหรัฐ

§       สรุป  Jamaica มี Bolt และ Fraser ดังไปทั่วโลก ฟิลิปปินส์มีปาเกียวชนะและดังไปทั่วโลก ถ้าภราดรคิดถึงชาติป่านนี้ไทยก็มีนักกีฬาระดับโลกอย่างแท้จริงเสียดาภราดรคิดสั้น ๆ เลยไปไม่ถึงดวงดาว

                                จีระ  หงส์ลดารมภ์

บทความ ตีพิมพ์ในสยามกีฬา วันที่  17  ธันวาคม  2551

 

ขอชื่นชมบุคคลในวงการกีฬา 2 ท่าน

  พลตำรวจเอกโกวิท ภักดีภูมิ และอาจารย์วีรศักดิ์ โควสุรัตน์

 

            สัปดาห์นี้บทความของผมอาจจะไม่สมบูรณ์นักเพราะต้องเขียนในช่วงเช้าวันจันทร์ ตามปกติผมจะมีเวลาช่วงเช้าในวันอาทิตย์ สูตรของผมก็จะออกกำลังกายก่อนประมาณ 1 ชั่วโมงหน้าบ้าน วิ่งและเดิน ยกน้ำหนัก พอร่างกายเข้าที่ เหงื่อออกได้ที่ก็จะเกิดพลังความรู้ความคิดสร้างสรรในการเขียนบทความให้ท่านผู้อ่าน สยามกีฬา กลายเป็นสิ่งสำคัญของผม

ให้ท่านผู้อ่านได้ประโยชน์และผมนำไปใช้คิดต่อ สุดสัปดาห์ที่ผ่านมาผมไปร่วมงานกับชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทยสังสรรค์ประจำปี ประทับใจในการจัดงานครั้งนี้มี ฯพณฯ องคมนตรี อำพล เสนาณรงค์ มาเปิด มีสมาชิกมาร่วมงานกว่าหมื่นคน นอกจากร่วมงานแล้วยังได้พบทั้งผู้ว่านายพูลศักดิ์  ประณุทนรพาล ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และนายธนภณ กิจกาญจน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี เป็นรุ่นน้องที่เทพศิรินทร์ จังหวัดนี้ไม่ได้เก่งเรื่องการท่องเที่ยวหรือผลไม้เท่านั้น นายกอบจ. ยังทุ่มเทเรื่องกีฬาอย่างมากและเป็นตัวอย่างที่ดีที่ผู้ว่าฯ กับนายก อบจ. จะทำงานร่วมกันในหลาย เรื่อง โดยเฉพาะกีฬาเข้าขากัน ท่านนายก อบจ.เป็นผู้นำการเมืองรุ่นใหม่สนใจกีฬา ท่านบอกว่าปีนี้ทีมฟุตบอลดีวิชั่น 1 ของจังหวัดพร้อมที่จะแข่งกับทุกทีม เพื่อจะเข้าสู่พรีเมียร์ คนดูอยู่ระหว่าง 1,000 - 1,500  คน ซึ่งผมบอกว่าคงจะต้องเร่งรัดให้มีมากกว่า 4,000 คน อย่างจังหวัดอยุธยาหรือจังหวัดสมุทรสงคราม

นายกอบจ. คนนี้มีความมุ่งมั่นในเรื่องกีฬา ความเป็นเลือดเขียวเหลือง มีกีฬาอยู่ในสายเลือด ผมถือโอกาสฝากแฟนที่อ่านบทความผมโดยเฉพาะในจังหวัดจันทบุรี ผมจะไปเยี่ยมเยียนจังหวัดต่างๆ และถือโอกาสเขียนบทความยกย่องบุคคลที่ทำงานปิดทองหลังพระในการสนับสนุนไปด้วย

            ข่าวทั่วไป เริ่มมีความเป็นไปได้กับเรื่อง กระตุ้นให้สมาคมจัด F.A Cup มากขึ้นจากการที่ผมเขียนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเขียนว่า ……..

            ผมมีเรื่องฝากคุณองอาจ ปีหน้านี้อาจจะจัดไม่ทันแต่ปี 53 น่าจะจัดแบบ F.A. Cup ซึ่งทุกประเทศในโลกเขาทำกัน อยากรู้เหมือนกันว่าทำไมทำไม่ได้ในประเทศไทย ในอดีตสมาคมไม่สนใจหรือไม่มีผลประโยชน์จึงไม่จัด F.A Cup แต่ปัจจุบันน่าจะทำ และทำให้ทีมถ้วยล่าง ๆ เขามีกำลังใจ เช่น สมมุตินะครับน่าสนใจ รอบสี่ เทศบาลหัวหินกับเทโร คนดูที่หัวหินเป็นหมื่น หรือสโมสรนักเรียนเก่าเทพฯกับการไฟฟ้า ฝากคุณองอาจไว้ เน้นว่าเยือนใครมีสนามต่างจังหวัด ก็ถ้าจับสลากได้ก็เข้าไป กระตุ้นให้ชุมชนต่างจังหวัดให้บ้าคลั่ง ฝากไว้ด้วย ผมรู้ว่าเลขาฯ องอาจ อ่านคอลัมน์ผมอยู่ อย่างการเตรียมจัด ถ้วย ข,ค ก็เป็นแนวคิดของผม เพราะผมเป็นผู้จัดการทีมถ้วย ข ของสโมสรนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์มาก่อน ก่อนยุคคุณอาจอาจ สมาคมฯให้ความสนใจน้อยมาก จัดแบบขอไปทีไม่มีการวางแผนล่วงหน้าไม่มีการประชาสัมพันธ์ปีนี้ดีขึ้นอย่างมาก

            ได้ทราบมาว่าในอดีตก็มีการจัดและปีที่แล้วก็พยายามโดยจะขอความร่วมมือกับเบียร์ช้างช่วยเป็นผู้สนับสนุนให้แต่ยังตกลงกันไม่ได้

            อาทิตย์นี้ผมอยากจะฝากให้ท่านผู้อ่านได้ศึกษาบุคคล 2 ท่านที่ทำคุณประโยชน์แก่กีฬาของไทย น่ายกย่องและเป็นแบบอย่าง Role Model ของคนในวงการกีฬา

            ท่านแรกคือ พลตำรวจเอกโกวิท ภักดีภูมิ ซึ่งเป็นอดีตรองบัญชาการตำรวจแห่งชาติ ปัจจุบันมีตำแหน่งรองประธานสภามวยโลก (WBC) และเป็นประธานสภามวยไทยของ WBC ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ สามารถสร้างชื่อในวงการมวยอาชีพของโลก นอกจากนั้นทำเรื่อง WBC มวยไทยด้วย  เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมมวยไทยไปสู่สากล ผมได้เชิญท่านมาสัมภาษณ์ในรายการ TTV2 เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ท่านผู้อ่านสามารติดตามได้ทุกวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ เวลา 22.00  - 23.00 น.เป็นเวลา 1 ชั่วโมง เห็นได้ว่าบุคคลที่ชอบกีฬาและมีประสบการณ์ พวกเราต้องยกย่องท่านเพราะมีแต่ เสียสละ  ให้ จุดสำคัญที่น่าวิเคราะห์ท่านพลตำรวจเอกโกวิท ก็คือ

§        ท่านทำหน้าที่ระดับนานาชาติ เสียสละทั้งทุนทรัพย์ส่วนตัวเพื่อกีฬาและสร้างผนึกกำลังให้ประเทศไทยอย่างแท้จริง

§       คนไทยต้องดูท่านเป็นแบบอย่างคืออยู่ในเวทีสมาคมกีฬานานาชาติ ทำหน้าที่เป็นแบบอย่างที่ผู้สนใจกีฬา

§        ท่านมีทัศนคติทีดีต่อกีฬา ส่งเสริมกีฬามวยไทยให้เป็นมวยอาชีพ ในระดับสากล เป็นที่ยอมรับของโลก เป็นบุคคลที่น่าสรรเสริญ มีความสามารถภาษาต่างประเทศ เข้ากับวิถีการทำงานในระดับนานาชาติได้ น่ายกย่อง

§       และแนวคิด ความกล้าหาญของท่านเป็นที่ยอมรับของสังคมไทยทั่วๆไป ท่านบอกว่า งานที่เข้ามาในสมาคมกีฬาต่างๆ อย่ายึดติดกับตำแหน่งตัวเป็นสำคัญ ควรจะสร้าง ผู้นำวงการบริหารกีฬาทั้งในประเทศและนานาชาติรุ่นใหม่ๆ ขึ้นมาเป็นตัวตายตัวแทน บางคนอยู่ในตำแหน่งติดต่อกัน 4 - 5 สมัย แก่แล้วไม่ยอมปล่อยวางและไม่เปิดโอกาสให้รุ่นน้องขึ้นมา

            ผมคิดว่าใครก็ตามจะมาเป็น รมต.กีฬา รวมทั้งองค์การในการกีฬาแห่งประเทศไทยรวมทั้งบทบรรณาธิการของสยามกีฬาด้วย น่าจะทำเรื่อง ธรรมาภิบาลในการบริหารการกีฬาอย่างงน้อย กฎ หลักที่ทุกสมาคมกีฬาทั้งสมัครเล่นและอาชีพที่ควรมีคือไม่ให้ผู้บริหาร อยู่ในตำแหน่งเกิน 2 วาระติดต่อกันจะเป็น 2 ปีต่อวาระละ 2 ปี น่าจะเหมาะสม และให้เว้นวรรคไปช่วงหนึ่งอาจจะกลับมาได้ ผมได้ดูตำแหน่ง สมัยคุณวิจิตร เกตุแก้ว เป็นนายกฯ กว่า 2 วาระ  คุณวรวีร์  มะกูดี สมัยเป็นเลขาธิการสมาคมฯ เป็นอยู่นานกว่า 2 สมัย และปัจจุบันเป็นนายกสมาคมฯ ก็ไม่ควรเกินวาระ หรือนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายกสมาคมลอนเทนนิสแห่งประเทศไทยฯ ก็น่าจะเป็นไปได้เกิน 2 วาระ ผมเชื่อว่าวงการกีฬาก็คงจะดีขึ้นเรื่อยๆ เพราะมีเลือดใหม่ๆเข้ามาแทนที่โดยเฉพาะ ลดปัญหาเรื่องความโปร่งใสต่างๆออกไป

            ส่วนอีกท่านหนึ่งผมไม่รู้จักส่วนตัวมาก่อนแต่ติดตามบ้างช่วงที่ท่านเป็นกรรมการเป็นคนขยันและมีวิสัยทัศน์เพราะท่านจบการศึกษาดีจากต่างประเทศและเป็นคนที่มีวิญญาณนักวิชาการก็จริงแต่ชอบกีฬา แต่พอออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีไปแล้ว มีความคิดถึงและเสียดายมากคือ คุณวีรศักดิ์ โควสุรัตน์ ผมขอชื่นชมเพราะเมืองไทย คนที่ออกจากตำแหน่งไปแล้วมักไม่ค่อยมีคนพูดถึงนัก แต่คุณวีรศักดิ์  ถึงจะเว้นวรรคการเมืองไป 5 ปีแล้วแต่อายุยังน้อย ก็อาจจะกลับมาใหม่ได้

            วันศุกร์นี้รายการโทรทัศน์ทางช่อง TTV2  ผมจะสัมภาษณ์สด อยากให้ท่านเป็น Role Model ดีๆ สำหรับประเทศไทย ด้านผู้นำกับต่างประเทศ คนดีเราต้องยกย่อง คนไทยบ้าตำแหน่งแต่ไม่บ้าผลงานแยกแยะออกไปแล้วได้ดี สมควรยกย่อง ไม่มีใครพูดถึง

            ขอให้ผู้อ่านได้ยกย่องคนดีของวงการกีฬาต่อไป

 

                                                จีระ  หงส์ลดารมภ์

บทความ ตีพิมพ์ในสยามกีฬา วันที่  24  ธันวาคม  2551

 

ฟุตบอลทีมชาติไทย : ผ่านจุดวิกฤติสำคัญ

 

            ผมเป็นผู้หนึ่งที่ติดตาม บ้าคลั่งฟุตบอลทีมชาติไทยมากว่า 50 ปี รู้จักคุ้นเคยกับนักเตะทีมชาติหลาย คน หลายรุ่นและมักจะไปดูเสมอ มีแต่ความผิดหวังเพราะฟุตบอลทีมชาติไทยมักจะมีผลงานไม่ได้ดีอย่างที่คาดไว้ เกาหลี จีน ก้าวหน้าไปมากกว่าเราเยอะ เด็กไทยก็ชอบฟุตบอลและมีจำนวนนักฟุตบอลมากกว่าหลายประเทศ เมื่อคืนวันเสาร์ ที่สนามราชมังคลากีฬาสถานของทีมชาติไทย แข่งกับทีมชาติอินโดนีเซีย  รอบรองชนะเลิศของถ้วยซูซูกิ

            ก่อนการเล่นคนไทยก็มั่นใจมากว่าคงผ่านไปชิง คาดว่าจะล้างตากับทีมสิงคโปร์ หรือเวียดนาม เพราะได้คะแนนตุนมาแล้ว 1 : 0 แค่เสมอก็เข้ารอบชิง แต่เมื่อคืนวันเสาร์ เวลาทีมไทยมีเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงในการแข่งขัน ฟุตบอลไทยถูกยิงก่อนแบบฟลุ๊ค แพ้ซะเฉย ๆ ขาดศักยภาพในการเอากลับมาชนะอุปสรรค เกิดความกลัวหรือ  Panic บางอย่างออกทะเลไปเลยแถมแฟนคนไทยพอเล่นไม่ดีก็ให้ไล่อีก

            ถ้าเป็นชุดทีมชาติในอดีต ผมคาดได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น คือพังเพราะทีมเราถูกยิงนำก่อนแบบไม่คาดคิด ความเชื่อมั่นของทีมหายไปเฉย ๆ ทำให้การเล่นต่ำกว่ามาตรฐานเพราะเคยชินกับความล้มเหลวแบบนี้ มานานยังเข้าไม่ได้ เพราะถ้าเกิดเสมอไปยิงลูกโทษหรือฟลุ๊ค  อินโดนีเซียยิงอีก 1 ลูก ก็ตกรอบอะไรจะเกิดขึ้น? กับความคาดหวังของคนไทย โดยเฉพาะอะไรจะเกิดขึ้นกับคุณปีเตอร์ รีด

            เดชะบุญในนาทีที่ 72 ลีซอซึ่งคราวนี้เล่นได้ดี แต่ยังยิงประตูไม่ได้เลย กลับทำสำเร็จอย่างสวยงามโดยการยิงประตูให้ทีมชาติไทยเพิ่มเป็น 1 : 1 หลังจากนั้นความหวังทีมชาติไทยก็กลับมาอย่างสวยงาม ชนะในที่สุด 2 : 1

            คำถามคือทำไมถึงทำได้ : คำตอบคือคงเป็นการสร้างปลูกฝังอุปนิสัยจากโค๊ชหรือบุคคลิกของทีมให้สู้จนกระทั่งนาทีสุดท้าย อย่ายอม อย่าอ่อน อย่าแพ้ น่าจะยกความดีให้ปีเตอร์ รีด เพราะผมสังเกต ปีเตอร์จะนิ่งและไม่ตกใจ ไม่มีอารมรณ์เครียดแบบโค๊ชและผู้จัดการไทย ทั่ว ๆ ไปโดยเฉพาะสมัยที่คุณธวัชชัย สัจจกุล (บิ๊กหอย) เพื่อนผมจากสวนกุหลาบนำทีมชาติไทยอยู่ระยะหนึ่ง

            ผมคิดว่า จุดสำคัญของทีมไทยก็คือ ทีมที่ควรจะชนะและทีมที่ควรจะแพ้ เริ่มชนะบ้าง ทีมไทยก็จะไปสู่บอลโลกได้ ถ้าอดีตมีอุปสรรค เรื่องจิตวิทยา หรือเรียกว่า Psychology  ที่คุณปีเตอร์ รีดปลูกฝังให้เอาชนะใจและให้จิตใจเข้มแข็ง

            อีกเรื่องคือ พลัง  คือทีมชาติชุดนี้ฟิตซ้อมมาดี ไม่แผ่วปลาย กล้าวิ่ง กล้ารุกไปข้างหน้าตลอด 90 นาที

            สุดท้าย น่าจะเป็นความรู้สึกที่พึ่งพาไว้ใจซึ่งกันและกัน เป็นทีมเดียวกัน คือ เอาใจใส่โฟกัสในสิ่งที่แต่ละคนมีหน้าที่ต้องทำ คือยิงประตูกลับมาให้ได้ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น

            ขอแสดงความยินดีกับทีมไทย ถือว่าเมื่อคืนวันเสาร์เป็นจุดหักเหที่ดีของทีมไทย ผมเรียกว่า มี Character มีจิตวิทยาที่ดีของทีมชุดนี้และ ยุทธศาสตร์ ที่นำไปปฏิบัติให้ได้ผลได้ ก็คงจะดูต่อไปว่ารอบชิงชนะเลิศจะสำเร็จได้หรือไม่?

            สมมุติว่าทีมไทยแพ้ไม่ได้ชิง คุณปีเตอร์ รีด จะทนแรงเสียดสีของคนไทยได้หรือเปล่า? เพราะแฟนคนไทยเคยชินกับความล้มเหลวมานาน  ทุกคนก็มีความรู้สึกเหมือนเดิม อยากให้คุณปีเตอร์ รีดได้ใช้โอกาสประสบการณ์ครั้งนี้เป็นบทเรียน ผมขอให้กำลังใจต่อไป อยู่กับทีมชาติไทยนาน ๆ

            อาทิตย์นี้ ผมได้ไปดูกอล์ฟแข่งในระดับ  Volvo Masters Asia ที่สนามไทยคันทรี่คลับ เป็นบรรยากาศที่ดี ขอบคุณทุกท่านที่ดูแลผม และชอบที่มีคนไทยดูกอล์ฟมากเท่ากับชาวต่างประเทศ ได้เห็นเยาวชนคนไทยที่ชอบกอล์ฟเป็นนักกอล์ฟมากมาย ทำให้รู้สึกว่าคนไทยกับกอล์ฟในระดับโลกน่าจะไปไกล

            ผมได้มีโอกาสคุยกับคุณชัพชัย นิราช ขณะที่เขียนอยู่ก็เป็นผู้นำร่วมกับคุณชวลิต และอีก 3 ท่าน ยังได้ให้กำลังใจว่าในการเล่นวันพรุ่งนี้คงจะใช้บทเรียนราคาแพงที่เคยนำหลังจาก 3 วันที่สิงคโปร์ แต่แล้วก็พังแบบไม่เป็นท่า แบบไม่น่าเชื่อเลย

            ผมคิดว่าคุณชัพชัย จะนำไปปรับปรุงการเล่นของตัวเองในวันสุดท้ายที่สิงคโปร์ ขออวยพรให้นักกอล์ฟไทย มีความนิ่งและมีสมาธิ บางครั้งถ้านำต้องนำแบบประคองไม่ใช่ตีแบบไทเกอร์ วูดส์ ที่เวลานำ มักจะไม่พัง

             ผมยังไม่ละความพยายามที่จะดึงไทเกอร์ วูดส์ มาเป็นตัวแทนประเทศไทยในหลาย ๆ ด้านเรื่อง มีข่าวคราวเรื่องไทเกอร์ วูดส์ในบทความใน Bangkok Post พูดถึงว่า ในช่วงที่เขาเจ็บ กว่า 6 เดือนแล้ว เขากลับได้เรียนรู้หลายอย่าง คือชีวิตของเขา ไม่ได้มีแค่ กีฬากอล์ฟ เขาหันมาใช้ชีวิตให้ครอบครัวมีเวลา เลี้ยงลูก และทำให้นึกถึงชีวิตวัยเด็กของเขาที่พ่อแม่เขาปลูกฝังและให้ความรัก

            และที่สำคัญปัจจุบัน ไทเกอร์ วูดส์ อายุแค่ 32 แต่เสียสละเงินจำนวนมากตั้ง มูลนิธิของไทเกอร์ วูดส์ มีโรงเรียนฝึกเยาวชนที่แคลิฟอร์เนีย แต่เป็นมูลนิธิที่ไม่ได้ฝึกกอล์ฟหรือเรียนแบบเด็กไทย ภาษาอังกฤษ วิชาฟิสิกส์ เคมี แต่ฝึก 25,000 คนให้เยาวชนในอเมริกาปรับตัวให้มี life Skill คือให้เข้าใจเรื่องคุณค่าของชีวิต คล้าย ๆ ว่าคนจะสำเร็จได้ต้องอยู่รอดไม่ใช่รู้เฉพาะวิชาการ ไม่ใช่ตีกอล์ฟเก่งแต่ใช้ชีวิตอย่างประหยัด รักสิ่งแวดล้อม มีวินัย กตัญญูต่อพ่อแม่ ตรงต่อเวลา

            ชีวิตของนักกีฬาไทย สังคมของคนไทยยกย่องผู้นำชัยชนะอย่างมากมาย แต่เมื่อท่านประสบความสำเร็จแล้ว คืนอะไรให้แก่สังคมบ้าง อยากให้คนในวงการกีฬาคิดถึงส่วนรวมมากขึ้น

            อย่างน้อยก็มีคนหนึ่งในวงการกีฬาที่ผมยกย่อง เชิญมาออกรายการโทรทัศน์เมื่อวันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม 2551  เวลา 22.00 น ทาง TTV2  รายการสดของผม ซึ่งในต้นปี 2552 จะได้ Sponsor จากบริษัทบุญรอด และเปลี่ยนชื่อรายการเป็น เปิดหน้าต่างความคิดกับ ดร.จีระ ผมคิดว่า คนที่จบนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและไปต่อ กฎหมาย  Harvard University มีความเข้าใจเรื่องกีฬา มองกีฬาแบบกว้างได้ ท่านนี้คือ อาจารย์วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ อดีตรัฐมนตรีฯ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

            คุณวีระศักดิ์ เน้นว่ากีฬาช่วยเยาวชนอย่างมาก ลดจากภัยยาเสพติด กีฬาจะสร้างคุณค่าและมูลค่าของเรา เศรษฐกิจสร้างงานให้คนทำ และช่วยเพิ่ม GDP ของประเทศ ผมว่าธรรมาภิบาลในสมาคมกีฬา คงจะต้องเคร่งครัดมากขึ้นและให้สมาคมกีฬามีการบริหารแบบโปร่งใสมากขึ้น

            เรื่องการกำหนด วาระ  การดำรงตำแหน่งไม่เกิน 2 วาระ ผู้บริหารสมาคมกีฬาฯ อดีตรัฐมนตรีฯ ผู้นี้ให้ความสนใจ ผมเชื่อได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น คนดีแบบนี้ และสื่อทั่วไปก็ให้ความสนับสนุนจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศต่อไป

            คนที่มาแทนก็น่าสนใจคือ น้องชายคุณบรรหาร ศิลปะอาชา เรียนหนังสือเก่ง เคยเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บางครั้งเวลาคุณบรรหาร ทำไม่ถูกต้อง คุณชุมพล ศิลปะอาชา ก็แสดงออก ผมรู้จักและชอบพอกับอาจารย์ชุมพลมานาน สมัยที่เป็นอาจารย์ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อวงการกีฬาในประเทศไทย

            สุดท้าย เรื่องข้อคิดของ John Dykes อีกครั้ง เขาก็มีมุมมองดี ๆ มองว่า เงิน มีอิทธิพลต่อกีฬา แต่ก็ไม่ใช่ทุก ๆ เรื่องจะสำเร็จ ดูได้จากปัจจุบัน  เสี่ย Abramovich เจ้าของทีมเชลซี คงจนไปเยอะ (พิษ Hamburger ) เชลซีไม่ซื้อนักเตะ ทีมอาจจะไม่สำเร็จ แต่ John Dykes บอกว่าดูตัวอย่างทีมใน Germany Hoffenheim ปีนี้ไม่มีใครคาด เพราะภายในระยะเวลา  5 ปี จากลีดต่ำ ๆ 4 – 5 พุ่งขึ้นมาเป็นจ่าฝูงได้ เพราะผู้บริหารเน้นการบริหารจัดการที่ไม่ใช่เงินนำ

     

                                         จีระ  หงส์ลดารมภ์

บทความ ตีพิมพ์ในสยามกีฬา วันที่  7 มกราคม 2552

 

เริ่มปี 2552 : ท่ามกลางข่าวร้าย กีฬาต้องช่วยให้มีข่าวดีบ้าง

 

            สิ่งแรกที่ทำให้คนไทยทั้งประเทศมีความสุขคือภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปทอดพระเนตรกีฬาแข่งเรือยาว ชิงถ้วยพระราชทาน ที่อ่างเก็บน้ำเขาเต่า อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ดูจากพระพักตร์ของท่านทรงมีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น ถือว่าเป็นสิ่งนำความสุขแก่พสกนิกรชาวไทยทุกคน และยิ่งกว่านั้น ส.ค.ส.ของพระองค์ท่าน ปี 2552 ทรงเน้นให้คนไทย

§       อย่าประมาท

§       คิดให้รอบคอบ มีสติ 360 องศา ว่ากระทบใกล้หรือไกล ซ้ายหรือขวา รู้จักตัวเอง ซึ่งเป็นการเตือนสติคนไทยทุก ๆ คน

แต่คนไทยก็เจอความหายนะจนได้เมื่อ เจ้าของบาร์ Santiga ซึ่งผู้ประกอบการ สนใจแต่ความสนุกสนานประมาท ไม่รอบคอบเรื่องความปลอดภัย ไม่ระมัดระวังในคืนวันที่ 31 ต่อไปถึงวันที่ 1 สร้างความเสียหายให้แก่คนไทยอย่างมากมายเป็นข่าวติดอันดับหนึ่ง

ส่วนการเมือง มีรัฐบาลใหม่ แต่จะไปรอดหรือเปล่าก็ยังไม่รู้เพราะแค่ประลองกำลังครั้งแรกก็เหนื่อย แต่ข้อดีก็คือ อย่างน้อยคนในโลกเริ่มรู้จักและศึกษาผู้นำไทยคนใหม่อายุ 44 ปี และถ้านายกฯอภิสิทธิ์ ประคองอดทนอยู่ได้นานเกินระยะหนึ่ง การเมืองไทยก็อาจจะไปสู่จุดที่สมดุลมากขึ้น

วงการกีฬาของไทยก็น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่ดีในหลายเรื่อง และถ้าผู้บริหารของสมาคมกีฬาต่างมีความหวังดีปรารถนาดีต่อกีฬาไทยอย่างจริงใจ กีฬาก็จะเปลี่ยน Mood ของประเทศและสร้างคุณภาพได้ในระดับหนึ่งแน่นอน

อย่างสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย นายกฯวรวีย์ ยอมรับว่าในการเลือกตั้งครั้งใหม่เดือนมีนาคม เดิมจะไม่มีการบล็อกคะแนนเสียงของสโมสรแบบในอดีต (ซึ่งแปลว่าแต่ก่อนมี) ขึ้นอยู่กับผลงานและความพอใจของสมาชิกสโมสรซึ่งถ้าสมาชิกยังอยากให้นายกฯ คนนี้เป็นอยู่ ผมก็โอเคด้วย สำหรับผมคิดว่าอย่าเล่นการเมืองแบบ พวกมากลากไป แบบในอดีตก็แล้วกัน

สิ่งที่สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย น่าจะทำคือ กำหนดวาระ ผู้บริหารไม่เกิน 2 ปี ติดต่อกัน 2 ครั้ง เว้นได้ 1 สมัยและกลับเข้ามาได้อีก ซึ่งเป็นการพิสูจน์ได้ว่าผู้บริหารบางสมาคมฯต้องไม่ยึดติดแบบไม่มีอาชีพอื่น และถ้าลองเปลี่ยนเลือดใหม่ๆ บ้างคงจะดีขึ้นได้

อย่างคราวนี้ คุณวรวีย์ เป็นต่อ 2 ปีก็ครบ 2 สมัย ก็อาจลองให้ ดร.วิชิต แย้มบุญเรือง เป็นบ้าง หลังจากนั้นอีก 2 ปี คุณวรวีย์ ก็อาจจะกลับมาอีก หรือคุณองอาจ ก็อาจจะสมัครเป็นนายกฯ ก็ได้ เปลี่ยนเลือดใหม่ ๆ บ้างก็ดี แต่ที่พูดไว้ ผมก็คิดว่าอาจจะยังไม่เกิดขึ้นทันทีแต่ก็เป็น มาตรการ โลกที่ทำกัน

ขอแสดงความเสียใจต่อแฟนคนไทยทุกคนที่ทีมชาติไทยแพ้อีกตามเคย ก็ยังดีที่ยังไม่ตกรอบก่อนตอนชิงกับอินโดนีเชีย ผมยังนึกว่าบทเรียนในอดีตที่ถูกนำและแพ้จะไม่เกิดขึ้น เพราะคราวนี้ทีมไทยนำเวียดนาม 1 : 0 และมาเสียประตูนาทีสุดท้ายของการทดเวลา ซึ่งก็แปลกที่ทีมไทย ประมาท เพราะในช่วงนั้นเสียลูกโทษหน้าเขต ทีมไทยมุ่งจะ ชนะ อย่างเดียวไม่ได้มุ่งแค่ชนะ 1 : 0 และต่อเวลา แต่พยายามมองไปถึงชนะ 2 :0 เด็ดขาด ลืมไปว่าเวลาที่เหลืออยู่ ถ้าเวียดนามเสมอ 1 : 1 ก็ตกรอบทันที จึงไม่ได้เล่นแบบครองบอลไว้ หวังจะต่อเวลากะถล่มให้ได้ 2 : 0 โดนเวียดนามตีกลับ ดูจากความเห็นของสื่อทั่ว ๆ ไปก็ค่อนข้างจะ เห็นใจ และยังให้กำลังใจ เพราะโค้ชยังใหม่อยู่ อย่าลืมว่านี่แค่ อาเซียนนะครับ เรายังไปไม่รอด ถ้าหวังเหนือกว่าอาเซียนในระดับเอเชีย เรายังจะมีความหวังมาก หวังมากไปหรือเปล่า?

บทเรียนครั้งนี้ ทำให้คุณปีเตอร์ รีดได้เรียนรู้ ข้อเท็จจริง ของนักเตะไทยมากขึ้น เรื่อง

§       วินัย

§       อุปนิสัย

§       ความคมในการทำประตู

§       ความเฉลียวฉลาดในการแก้เกม

ถ้าจะเสริมผู้ช่วยโค้ชคนที่มาช่วย นอกจากเสริม เรื่องวินัย พละกำลัง และความไม่ประมาท น่าจะเสริมเรื่องจิตใจ Heart มากกว่า Head เพราะฝีมือเหนือกว่า เวียดนามแต่ไม่ชนะ

สรุปก็คือคนที่ล้มเหลวจริง ๆ ไม่ใช่นักฟุตบอลหรือโค้ช เท่านั้นผู้บริหารสมาคมฟุตบอล ควรรับผิดชอบด้วยครับท่านนายกฯ วรวีย์ และทีมบริหารของสมาคมฯ ก็อย่าปัดความรับผิดชอบให้ไกลตัว คนไทยเขาดูอยู่ว่าทำอะไรกัน

ข้อดีของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในยุคนี้ก็คือ อย่างน้อยดึงเอามืออาชีพจากหลาย ๆ แห่งมาและมีการกระจายความรู้ไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น อย่างเรื่องการจัดฟุตบอล ถ้วย ข, ค ดีขึ้นมาก แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องกรรมการและทีมอยู่บ้าง แต่ก็น้อยลง ยอมรับว่าดีขึ้น คนดูก็มีมากขึ้น

เรื่องฟุตบอล ก็มีฟุตบอลคิงคัพ  และฟุตบอลรอบคัดเลือกเอเซียนคัพ ซึ่งคุณวรวีย์เน้นว่าต้องสำเร็จ ผมก็อยากให้สำเร็จ แต่ถ้าไม่สำเร็จขึ้นมาใครจะแอ่นอกมารับผิดชอบ เพราะแค่ปลดโค้ชคงจะไม่พอ

อนาคตสมาคมฟุตบอลไทยว่าใครจะมาเป็นนายกฯได้ ผมคิดว่านอกจาก ดร.วิชิต แย้มบุญเรือง แล้วในอนาคตอาจจะยังนึกถึง ผู้ว่าฯอดิศร เกียรติโชควิวัฒน์ ที่นำทีมการไฟฟ้าฯ ชนะเลิศ หรือลูกศิษย์ผม ดร.ชาติชาย  พุคยาภรณ์ ซึ่งชอบกีฬาอย่างมากและช่วงนี้ไปเป็นรัฐมนตรีช่วยฯ ด้วย และสุดท้ายก็คือ เลขาธิการฯ คนปัจจุบัน คุณองอาจ ก่อสินค้า ก็ถือว่าท่านจะเป็น Candidateได้ดี

ฟุตบอลไทยในอนาคตคงจะเน้นเรื่องฟุตบอลอาชีพต่างจังหวัดซึ่งถือว่าสมาคมฯทำได้ดี และวางพื้นฐานไว้ในระยะยาว จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการสร้างกีฬาให้คนไทยมีความภาคภูมิใจ

ที่เวียดนามเอาจริงเรื่องลีกฟุตบอลอาชีพมานาน บางครั้งผมแปลกใจว่า ทำไมฟุตบอลไทยถึงล้าหลังเรื่องนี้ นักเตะดังของไทยกลับไปเล่นให้ทีมอาชีพในเวียดนาม ต้องยอมรับว่าความไร้ประสิทธิภาพของการบริหารของสมาคมฟุตบอลในอดีต ซึ่งปัจจุบันน่าจะดีขึ้นบ้างแล้ว แต่ก็ยังช้าเกินไป ต้องมีแรงกดดับมากขึ้นจากสื่ออย่างพวก ๆ เรา

ช่วงนี้คงจะเห็นการแข่ง F.A CUP ของอังกฤษซึ่งเรื่องนี้ ผมเน้นให้มีการแข่ง F.A CUP ในไทย ทีมถ้วยต่ำ ๆ พร้อมที่จะเล่น F.A CUP ผมหวังว่า สยามกีฬา จะมีส่วนร่วมด้วยในอนาคต F.A CUP ของอังกฤษกลายเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะจะมีการพลิกล๊อกได้เสมอ ปัจจุบันไม่ห่างกันมาก 5 : 0 หรือ 6 : 0 ในอดีตน่าจะน้อยลง ทีมต่ำ ๆ ได้พัฒนาฝีเท้าด้วย

ส่วนบทเรียนสุดท้ายที่นักกีฬาของไทยและของอังกฤษยอมรับว่าสิ่งต้องจดจำคือ การควบคุมพฤติกรรมของนักฟุตบอล อย่าให้เกิดคดีต่างๆ

ล่าสุดเจอร์ราร์ด ของทีมลิเวอร์พูล ไปชกต่อยคนในผับ ผู้เสียหายบาดเจ็บ ถ้าคดีขึ้นศาล อาจจำคุก 5 ปี ช่วงนี้เป็นช่วงที่ทีมหงส์แดงกำลังมาแรง ถ้าเกิดเข้าคุกไปแฟนหงส์แดงอาจจะมีปัญหามาก

หรือทีมสโต้ก ชื่อ Fuller มีเรื่องชกต่อยกันเอง ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้น ไม่ควบคุมอารมณ์ให้ดี

ที่อเมริกา Michael Vicks ซึ่งเป็นผู้เล่น อเมริกันฟุตบอลมืออาชีพชั้นแนวหน้า มีพฤติกรรมแปลก ๆ คือเลี้ยงหมาไว้กัดกัน และมีการพนัน ถูกศาลจำคุกไปร่วม 5 ปี อนาคตหมดเลย หมดทั้งเงิน รายได้มหาศาลหมดทั้งโอกาส บทเรียนคือนักกีฬาไทยอย่าทำตัวแบบเว่อร์มากไป จะเสียใจทีหลัง ต้องฝึกให้เป็นตัวอย่างที่ดีของสังคม

ทฤษฎี Role Model  คือต้องเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม กีฬาไทยต้องทำหน้าที่นี้ต่อไป

                                 จีระ หงส์ลดารมภ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท