ปรากฎการณ์ของสังคมไทย : โครงการ AF (Academy Fantasia)


ผมมีมุมมองในเชิงสังคม ไม่ใช่ ใช้อารมณ์หรือความรู้สึกส่วนตัวมาเขียน ให้มาชื่นชอบใคร ไม่ชื่นชอบใคร

อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย (Academy Fantasia) หรือเราชอบเรียกกันย่อ ๆ ว่า AF ปัจจุบันเริ่มโครงการที่ 5 หรือ AF5 ไปแล้วและยังไม่สิ้นสุดโครงการ เป็นกิจกรรมการสร้างสถานการณ์จำลองให้นำคนที่มีความฝันอยากเป็นนักร้องดังให้เข้ามาในบ้านร่วมกัน มีกิจกรรมมากมาย มีการถ่ายทอดสด 24 ชั่วโมงผ่านเคเบิลทีวีที่ครองตลาดโดยส่วนใหญ่ของประเทศไทย ในระหว่างวันอาทิตย์ ถึง วันศุกร์ ทางผู้จัดโครงการจะมีโจทย์ประเภทของเพลงมาให้ผู้เข้าแข่งขัน แล้วจะมีการออกมาโชว์บนเวที เหมือนกับเวทีคอนเสิร์ตย่อย ๆ มีคนดูในเวทีมากมาย ในทุก ๆ วันเสาร์ พร้อมกันนั้นก็มีการถ่ายทอดสดโดยช่อง 9

ที่พิเศษหน่อย คือ คะแนนที่ให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันในแต่ละคนนั้น จะให้ผู้ชมทางบ้านที่ติดตามถ่ายทอดสดในทุก ๆ วัน เป็นผู้โหวตให้คะแนนผู้เข้าร่วมแข่งขันที่ตนชื่นชอบ ใครได้คะแนนโหวตน้อยที่สุด ก็ต้อง "ออกจากบ้าน" จนเหลือสัปดาห์ท้าย ๆ ก็จะได้ "ผู้ชนะเลิศ" และอันดับรอง พร้อมได้รางวัลมากมาย เซ็นสัญญากับทางบริษัทอีก 1 ปี

นั่นเป็นรายละเอียดคร่าว ๆ ของโครงการนี้

 

เมื่อมองอย่างผิวเผิน AF เป็นการพัฒนาจากการประกวดร้องเพลงธรรมดา ๆ กลายเป็นมากกว่านั้น อยากเป็นนักร้อง ต้องใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่น มีการฝึกฝน ลดข้อบกพร่องในแต่ละสัปดาห์ มีการดูชีวิตเป็นอยู่โดยผู้ดูเคเบิลทีวีนั้น ๆ

 

ลองวิเคราะห์กันไหมครับ ตามที่ คุณหนุ่มเมืองจันท์ (2551, หน้า 50 - 57) ได้เขียนไว้ในบทความ "มหัศจรรย์ AF" ในหนังสือ "ฝันเรื่อยเรื่อย เหนื่อยก็พัก"

AF เป็นรายการที่ทำรายได้ให้กับทรูวิชั่นส์ และเครือทรูทั้งหมด

สปอนเซอร์มากมาย แถมยังสร้างมูลค่าเพิ่มจากศิลปินนักล่าฝันได้อีกยาวหลายปี

เป็นการผสานธุรกิจในเครือทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นมือถือ อินเทอร์เน็ต ทรูวิชั่นส์ ทรูคอฟฟี ฯลฯ เพื่อสร้างพลังทางการตลาด

นักร้องที่เป็นนักล่าฝันเหล่านี้มีความยืดหยุ่นสูง จะให้ร้องเพลงอะไรก็ร้องได้หมด กลายเป็น "สิ่งใหม่" ที่ไม่เหมือนนักร้องแบบเดิม ๆ ถือเป็นกลยุทธ์ที่น่าสนใจ

จุดแข็งของ AF คือ "ความผูกพัน" ระหว่างคนดูกับนักล่าฝันคนนั้น

เห็นกัน 24 ชั่วโมง เกือบ 3 เดือน

ยังไม่ทันออกเทปก็มี "แฟนคลับ" เต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด

การสร้างมูลค่าเพิ่ม เมื่อนักร้องเหล่านี้เดินออกจากบ้าน คือ ได้เป็นพรีเซ็นเตอร์โฆษณา แสดงละคร แสดงภาพยนตร์ ฯลฯ

 

เราหันกลับมามองปัจจุบันกันครับ

กระแสของ AF5 ที่ผ่านมายังคงเหมือนเดิม มีแฟนคลับของแต่ละคนเกิดขึ้น ทุก ๆ วันเสาร์ของคนที่ไม่ได้บอกรับเคเบิลทีวี ก็คือ นั่งรอชมการถ่ายทอดสดคอนเสิร์ต AF

มีกรณีศึกษาและสถานการณ์ที่น่าสนใจมากมาย

ผมสนใจในสัปดาห์ทางทรูได้สร้างสถานการณ์จำลองขึ้นที่เกี่ยวกับ "ตุ๊กตานำโชค" ถ้าผู้แข่งขันท่านใด ได้รับการโหวตเป็นอันดับ 2 จะได้รับตุ๊กตานำโชคตัวนี้ สิทธิพิเศษก็คือ ถ้าสัปดาห์ใดคิดว่า ตัวเองจะต้องได้คะแนนน้อยที่สุด ต้องออกจากบ้าน สามารถบอกใช้ตุ๊กตานำโชคได้ ตัวเองก็ไม่ต้องออกจากบ้าน

ถึงสัปดาห์ที่เป็นโจทย์เพลงลูกทุ่ง ... นอกจากมีสถานการณ์ "ตุ๊กตานำโชค" แล้วทรูยังเพิ่มสถานการณ์มาอีก 1 สถานการณ์ คือ การให้เพื่อนที่ออกจากบ้านไปแล้วกลับมาเป็น "ตัวเลือก" สำหรับผู้ที่มีสิทธิใช้ตุ๊กตานำโชค ว่า ...

"...วันนี้ ถ้าคุณเลือกใช้ตุ๊กตานำโชค (คิดว่าตัวเองร้องไม่ได้และจะถูกโหวตออก) ก็แปลว่า คุณไม่เลือกเพื่อนที่ออกไปแล้วกลับมาอีกครั้ง (หมายถึง เลือกตัวเองไง ไม่เลือกคนอื่น)

แต่ถ้าคุณเลือกเพื่อนเข้าบ้านมา คุณไม่สามารถใช้สิทธิของตุ๊กตานำโชคได้..."

ผลที่ออกมา .....

เธอตัดสินใจอยู่นาน คุยกับเพื่อนที่อยู่ในนานว่าจะทำอย่างไรดี พร้อมด้วยน้ำตาอันไหลริน และเดินไปตอบอาต้อย เศรษฐาว่า "เพื่อน ๆ โหวตให้หนู ดังนั้น หนูขอเลือกใช้สิทธิของตุ๊กตาค่ะ" (หมายถึง ไม่เลือกเพื่อน เลือกเอาตัวเองรอดนั่นแหละ"

คนในฮอลล์เสียงเงียบกริบ ... ไม่คิดว่าจะมีผลออกมาแบบนี้ คือ เลือกตัวเอง ไม่เลือกเพื่อน

อาต้อย เศรษฐา จึงประกาศ ถึงคนที่ต้องออกจากบ้าน ก็คือ "เธอ" นั่นเอง กระโดดโหลดเต้นด้วยความดีใจที่ตัวเองตัดสินใจถูกที่ใช้สิทธิ์จากตุ๊กตานำโชค

ผมเชื่อลึก ๆ ว่า ทรูคงไม่ได้คิดว่า "เธอ" จะเลือกสิทธิ์นั้น แต่ทรูคิดว่า เธอจะเป็นผู้เสียสละ แล้วเลือกเพื่อนคนอื่น ๆ เข้าบ้าน เป็นการฉายภาพที่สวยงาม และมิตรภาพที่เธอมีกับเพื่อน ๆ ทุกคน จะทำให้กระแสของ AF แรงกว่านี้อีก เรียกว่า สร้างไคล์แมกซ์

ผลออกมาตรงกันข้าม ..

ทรูจึงแก้เกมทันที โดยให้อาต้อย เศรษฐา ออกมาประกาศปิดท้ายว่า "ทรู เป็นเจ้าของอะคาเดมี แฟนเทเชีย ขอเซอร์ไพรส์และแจ้งให้ทราบว่า ทรูจะนำผู้ที่ออกจากบ้าน กลับเข้าบ้านทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง"

เสียงเฮดังลั่น ท่ามกลางความงงของหลายคน รวมทั้งผมด้วย โห ... แก้เกมเร็วดีจริง

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโจษจันไปทั่วทั้งในเวที หนังสือพิมพ์ ยิ่งไปกว่านั้นในอินเทอร์เน็ต มีทั้งผู้เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยกับการกระทำของ "เธอ"

 

ผมเห็นอะไรบ้าง ... อัน AF ถือเป็นสื่อมวลชนแขนงที่ทำงานผ่านระบบโทรทัศน์ ได้มี "เธอ" แสดงให้เห็นถึง "การเอาตัวรอด" ในยุคปัจจุบันได้เด่นชัด คือ เพื่อนตาย เราอยู่ หรือ สังคมตาย เราอยู่

สื่อมวลชนมีอิทธิพลอย่างมากในการสร้างความนึกคิดให้กับคนในสังคม โดยเฉพาะวัยรุ่น วัยแห่งการค้นหาตัวตนของตัวเอง

การมีพฤติกรรมแบบนี้ ถึงจะเป็นตัวตนที่แท้จริง มันกลับเป็นการสอนคนในสังคมไว้ว่า "เราต้องไม่รักคนอื่น นอกจากตัวเอง เราต้องไม่รักสังคม นอกจากตัวเอง" แล้วสังคมที่มีคนเห็นแก่ตัวเองมาก ๆ เราจะอยู่กันอย่างมีความสุขได้อย่างไร กลายเป็นสังคมที่ความรัก ความเสียสละ เหือดแห้งไปเรื่อย ๆ เหมือนอยู่ทะเลทรายที่หาน้ำ (ใจ) ได้น้อยเต็มที

ทรูเกือบคอหัก แต่คงได้เตรียมการไว้บ้างแล้ว หากไม่เป็นอย่างที่คิด

 

อีกประเด็นที่ผมได้จากเวที AF นี้ คือ "เสียงร้องดีระดับเทพ ระดับเทวดาแค่ไหน ย่อมสู้ไม่ได้กับการมีหน้าตาดี หล่อ หรือสวย"

อาจจะเป็นความคิดส่วนตัวผมก็ได้ มาอายุและวัยล่ะมั้ง จะดูประกวดการร้องเพลง ก็ต้องให้คะแนนคนที่ร้องเพลงเพราะ ร้องเพลงดี เป็นหลัก คนหน้าตาดี แต่ร้องเพลงเหมือนเป็ดวิ่งเล่น แบบนี้ไม่ควรได้คะแนน

แต่เวที AF นี้ทำให้ผมรู้ซึ้งถึงหลักการให้คะแนน สะท้อนวิธีคิด วิธีมองของคนในสังคมไทยได้ชัดเจน

"ร้องดี หน้าตาธรรมดา" ตกรอบคนแรก ๆ คะแนนน้อย ๆ

"ร้องธรรมดา หน้าตาดี" เข้ารอบ คะแนนมากหน่อย

"ร้องไม่ได้เรื่อง หน้าตาดีมาก" เข้ารอบลึก ๆ คะแนนท่วมท้น แถมอาจจะชนะเลิศด้วย

 

คนในสังคมไทยคิดได้แค่นี้ ... ก็ไม่ต้องไปคิดหรอกว่า ประเทศเราจะพัฒนาไปมากกว่านี้

"คนร้องเพลงดี" แต่ไม่ได้รับการยกย่องว่า "ร้องเพลงดี" จากผลคะแนนที่เขาควรได้รับ เหมือน "คนทำความดี" แล้วไม่ได้รับการยกย่อง ต่อไปเขาจะทำความดีอีก เพื่ออะไร ทำชั่ว ๆ ดีกว่า "ร้องเพลงไม่ดี แต่หล่อ" ก็ชนะเลิศแล้ว

ช่างฉาบฉวยอะไรเช่นนี้ ... "เวทีนี้ไม่มีที่สำหรับคนร้องเพลงดี" อย่างนั้นหรือ วิธีคิดของคนในสังคมเปลี่ยนไป วิถีสังคมก็เปลี่ยนไปด้วย น่าคิดครับ

 

ที่ผมกำลังตั้งประเด็นอยู่นี้ อาจจะต้องลองให้นักจิตวิทยา นักสังคมศาสตร์มาช่วยมองปรากฎการณ์ของสังคมแบบนี้หน่อยว่า อันตรายหรือยัง กับการไม่เชิดชูคนทำดี จากกรณีศึกษานี้

 

เดี๋ยวจะมีคนมาแสดงความคิดเห็นในทำนองว่า ผิดหวังหรือ ที่คนที่ตัวเองเชียร์อยู่ไม่ได้เข้ารอบ หรือไม่ก็ อิจฉาล่ะสิ มีคนหล่อกว่าตัวเอง .... ทำนองเดียวกับเรื่องการเมืองที่ต้องเลือกข้าง กลางไม่เป็นเนี่ย ... ผมมีมุมมองในเชิงสังคม ไม่ใช่ ใช้อารมณ์หรือความรู้สึกส่วนตัวมาเขียน ให้มาชื่นชอบใคร ไม่ชื่นชอบใคร

 

คนในสังคม ต้องรู้จักมองสังคมครับ ไม่ใช่มองอารมณ์ความรู้สึกแต่ตัวเอง เราต้องรู้เท่าทันว่า สังคมตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง คนเอียงซ้ายมาก ๆ คิดอย่างไร คนเอียงขวาคิดอย่างไร

แต่ผมกลับคิดว่า ทุกฝ่ายไม่ว่าจะเอียงไปทางไหน เขามีความคิดเห็นเป็นของเขาเอง เพียงแต่ว่า สุดโต่งมากเกินไป ทำให้ไม่เห็นข้อบกพร่องที่ตัวเองมีต่างหาก ดวงตาฝ้าฟาง เห็นคนที่คิดไม่เหมือนตัวเองเป็นศัตรู ไร้สาระสิ้นดี ตีหัวกัน เพราะเห็นไม่เหมือนกัน แบบนี้ต้องไล่ไปอยู่ประเทศที่เขาปกครองแบบเผด็จการ หรือ คอมมิวนิสต์ แล้วคุณจะรู้ว่า "เสรีภาพมันสำคัญแค่ไหน" ... อยู่สังคมประชาธิปไตย แต่ไม่ยอมรับความคิดเห็นคนอื่น แล้วจะอยู่สังคมประชาธิปไตยไปทำไมล่ะครับ ... แปลกแต่จริง

 

อ้าว ไหงมาการเมืองหว่า ... กรณี AF ครับ

จบบันทึกดีกว่า

บุญรักษา คนดี ครับ

 

 

แหล่งอ้างอิง

 

หนุ่มเมืองจันท์.  ฝันเรื่อยเรื่อย เหนื่อยก็พัก. กรุงเทพฯ: มติชน, 2551.

 

หมายเลขบันทึก: 194490เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2008 11:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

ขอบคุณครับ คุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร  .. ที่แวะมาเยี่ยมบันทึกครับ

ขอบคุณ ท่าน ผอ.นายประจักษ์  ที่แวะนำพรความสุขมาให้ครับ

  • ธุ อาจารย์ค่ะ..

ต้อมไม่ค่อยได้มีโอกาสดูทีวี  แต่ก็ได้เห็นปรากฏการณ์ AF บ่อยๆ ตั้งแต่ซีซั่นแรกจนถึงตอนนี้   ซึ่งได้ดูแค่แวบๆ ตอนเดินผ่านทีวีก็เลยไม่ค่อยจะรู้เรื่องเหมือนคนอื่น   

ซีซั่นแรก..ผู้สมัครไม่ค่อยว่ารู้ว่ากล้องติดตรงไหนบ้าง   เจ้าอาการ/การแสดงออกทั้งหลายก็เลยเป็นภาพที่ค่อยสนิทใจอยู่  หากแต่ช่วงหลังๆ ทุกคนรู้ว่าทุกการกระทำจะต้องออกสู่สายตาชาวประชา   ก็เลยอดคิดไม่ได้ว่า..ทุกอากัปกิริยานั้นออกมาจาก "ใจ" ไหมเนี่ย???????

แต่ต้อมชอบคำตอบของนัทจากซีซั่นที่แล้วนะคะ  ที่ใช้สิทธิ์เลือกน้องสองคนที่ตกรอบไปก่อนให้เข้ามา  เพราะน้องสองคนนั้นตกรอบแรกๆ เลยไม่ทันได้เรียนรู้เทคนิคการร้องเพลงมากนัก   ต้อมว่านัทคิดถูกและได้ใจคนส่วนใหญ่  ก็ใครจะไปคิดถึงล่ะ   ถ้าให้ช่วย..ก็คงคิดแค่ว่าเลือกคนที่เราสนิทหรือคนที่ตกรอบไปก่อนหน้านี้เองเท่านั้น   แต่นัทก็คิดได้..

ขอบคุณอาจารย์ค่ะ ^^

ถูกใจมาก ๆ เลยครับ หนูต้อม เนปาลี  สำหรับความคิดเห็นนะ

เหมือนกันครับ ไม่ค่อยได้สนใจเท่าไหร่ แต่ได้ดูบ้างในยามพักผ่อน หรือ แอบดูคนอื่นที่เค้าเชียร์กันเป็นบ้าน ๆ ตลกดี และทำให้ทราบถึงอิทธิพลของสื่อโทรทัศน์ว่า แรงแค่ไหน

ประเด็นการเสแสร้งเป็นการแสดงละครชีวิตด้วยตัวเอง หัวใจไม่ใช่แบบนี้แน่นอนครับ เกมนี้เค้าสอนลูกหลานของเราให้เป็นคนไม่จริงใจครับ เพราะจริงใจมาก ๆ เดี๋ยวตกรอบ

พร้อมกันนั้นก็สอนคนดูไปด้วย

ยิ่งมีข่าวคาวระหว่างชายหญิงเมื่อไหร่ ยิ่งดังเป็นพลุแตก ทรูก็มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน

สำหรับ "นัท" ... ได้รับสถานการณ์ที่คล้ายกับ "เธอ" AF ปัจจุบัน แต่วิธีการคิดและตัดสินใจแตกต่างกันมาก พร้อมกับสอนให้เห็นอีกรูปแบบหนึ่งว่า "การเอาตัวรอด" ของคนในปัจจุบันเป็นอย่างไร

สิ่งที่น่ากลัวคือ การที่เด็ก คนที่ไม่ค่อยคิดอะไร ดูผ่านสื่อโทรทัศน์นั้น แล้วเลียนแบบหรือทำตาม "เธอ" โดยคิดว่า นี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการใช้ชีวิตในสังคม แบบนี้บ้านเมืองเราคงมีคนไม่ดีเพิ่มขึ้นแน่ ๆ ครับ

ขอบคุณด้วยความจริงใจครับ หนูต้อม :)

 

สวัสดีค่ะ แวะมาเยี่ยมค่ะ

......กลับไปตั้งหลักก่อนนะค่ะ.....

คุณ ครูเอ  ต้องกลับไปตั้งหลักก่อนอ่ะครับ .. ห้ามเกิน 1 ปีนะครับ :)

อิอิ

คนเรามีความคิดเห็นแก่ตัวเป็นทุนอยู่แล้ว เพียงแต่จะมีมากขึ้นหรือลดลงขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ การเรียนรู้ของแต่ละคน สังคมก็มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต ผู้คนล้วนเป็นตัวแปรของการสร้างคนดีหรือเพิ่มคนชั่ว งง ไหมค่ะ

รู้สึกว่า สถานะการณ์เหล่านี้ สร้างคนในชั่วพริบตา

ขณะเดียวกันก็ทำลายความฝันอันยิ่งใหญ่ของคนคนหนึ่ง

คุณ ครูเอ ครับ ... ตอนแรกงง ตอนนี้เข้าใจแล้วครับ 555 :)

* ขอบคุณหนุ่มเมืองล้านนา ที่นำบทความนี้ มาให้อ่าน  ... ชอบติดตาม อ่านคอลัมน์หนุ่มเมืองจันทน์ค่ะ ...

* ไม่มีทีวีให้ดูค่ะ อ. เสือ:) * แต่ชอบ - พระแพง - มากค่ะ

* แค่นี้ก่อนนะคะ :) ....

 

ขอบคุณครับ คุณ poo ... ไม่มีทีวี แต่รู้จักพะแพงด้วย :)

เคยดูซีซั่นแรกๆ เพราะดูไม่เป็นการค้าและสร้างกระแสที่ตัวเองไม่สนับสนุนแบบปัจจุบันขนาดนี้

ตอนหลังๆ เลิกดูเพราะเห็นกระแสมิจฉาทิฏฐิที่เกิดขึ้น ยิ่งรุ่นสุดท้ายนี้ไม่เคยดูเลย คงมีคนเก่งอยู่บ้างค่ะ แต่กระแสสังคมปัจจุบันพาเด็กให้พยายามเก่ง แต่ไม่พยายาม"ดี" น่าเสียดายค่ะ

สวัสดีครับ อาจารย์ กมลวัลย์ :)

ห่างหายพูดคุยกับอาจารย์ไปนานนะครับ ... งานคงกำลังยุ่งใช่ไหมครับ ...

ชื่นชอบคำว่า "พยายามเก่ง" แต่ไม่ "พยายามดี" ครับ

ตอนนี้ที่เห็นผ่านตาบ้าง ก็คือ "ความอยากได้อยากมี" จึงแสร้งทำ แสร้งเป็น เพื่อสร้างชื่อให้กับตนเอง เมื่อถึงเวลาต้องแสดงความสามารถนั้นจริง ๆ ก็ไม่มี แต่ด้วยการแสร้ง พร้อมกับหน้าตาดีไปทางเกาหลี ญี่ปุ่น ตามกระแสการหลั่งไหลของวัฒนธรรม ทำให้วัยรุ่นหันมาตั้งเป็น "แฟนคลับ" ทั้ง ๆ ที่ไม่มีความสามารถของการร้องเพลงใด ๆ เลย

กำไร ไม่สนใจ รากเหง้า ครับอาจารย์ :)

ผมขอคิดต่อครับ

ในแนวคิดการสร้างพื้นที่ให้กับเยาวชนเป็นเรื่องที่ดีครับ แต่ภายใต้ทุนนิยมกลับกลายเป็นว่าเราได้ใช้โอกาสนี้ สร้างค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง มีรูปแบบที่ปลุกเร้าเพื่อธุรกิจ

อย่างที่ผมบอกข้างต้นว่าคือ "เกมส์"

ซึ่งหากเรามองอีกด้านของปรากฏการณ์นี้เราก็ทำความเข้าใจไปถึง ชีวิต ในวันนี้ได้ ฉากหน้าที่ถูกสร้างให้เรางงงวยในส่วนของภาพลักษณ์นะครับ  ฉากหลัง หรือที่เราเรียกกันว่า behind the scene เป็นเบื้องหลังที่ผมสนใจมากกว่าสิ่งที่นำมาเสนอ

 

สวัสดีครับ คุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร  :)

ขอคิดต่อด้วยครับ ...

คำว่า "เกม" ในด้านการศึกษา ถือเป็น กิจกรรมการเรียนการสอนประเภทหนึ่งครับ ครูต้องจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กในรูปแบบของเกม อันมีวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เมื่อหลังจากเด็ก ๆ เล่นเกมที่ครูวางไว้แล้ว เด็กจะเกิดการเรียนรู้ได้จริงครับ

เมื่อนำ "เกม" ผ่าน "สื่อมวลชน" (ในที่นี้คือ สื่อโทรทัศน์ เป็นสื่อหลัก) เกมนี้ถ้าหากมีประโยชน์ในการเรียนรู้ การสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่ดี บุคคลที่รับสารเหล่านี้จะเลียนแบบในความดี ครับ หากไม่มีประโยชน์ หวังแต่กำไร จนไม่รับผิดชอบต่อสังคม เกมนี้คือ การสร้างพฤติกรรมที่ผิดต่อบุคคลและสังคม ครับ

 ดังนั้น ฉากหน้า คือ ภาพที่ออกมา , ฉากหลัง คือ วิธีคิด

คิดดี คือ ได้ผลดี , คิดไม่ดี คือ ได้ผลไม่ดี

เหมือน กรรม ไหมครับ

ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว

 

โหย ... ผมคิดไปเรื่อยแล้วล่ะ เหนื่อยที่จะคิด คิดแล้วเหนื่อย พักผ่อนดีกว่านะครับ

ขอบคุณมากครับ คุณเอก :)

อ้อ...ผมเขียนคำว่า "เกมส์" ผิด ใช้คำว่า "เกม" ใช่มั้ยครับ

ขอบคุณครูมากครับ

555 คุณเอก แหม ... มิได้ว่านะครับ ... :)

สวัสดีครับอาจารย์

มาอีกครั้ง พอดีวันนี้นั่งเตรียมเอกสารการสอนครับ เปิดอ่านบันทึกไปด้วย

เรื่องการสอนแบบไม่สอน ผมสนใจมากครับ หลายครั้งที่ผมเขียนคำผิด และอาจารย์ได้เขียนคำที่ถูก โดนที่ไม่ได้บอกผมโดยตรงนี่ ถือว่า "น่ารัก" มากในความรู้สึกผมนะ

ผมเคยเขียนคำผิดใน gotoknow นี่หละครับ มี blogger ท่านหนึ่งชี้แจงให้แก้ไข แต่การบอกแบบนั้นเจือด้วยอารมณ์ที่ไม่ค่อยดี ซึ่งผมคิดว่าไม่ใช่บรรยากาศของการเรียนรู้

หากมีสิ่งใดที่ผมบกพร่อง โดยไม่ตั้งใจ หรือผมอาจคิดไม่ถึง ก็กรุณาบอกกล่าวด้วยครับ

จะเป็นพระคุณ

ที่ผมเขียนอีกครั้ง เพื่อให้ท่านอื่นมาอ่านได้ เรียนรู้พร้อมกับผมไปด้วยครับ

 

อย่างนั้นหรือครับ ... มิได้คิดอะไรเลยนะครับ

ขอบคุณมากครับ :)

 สวัสดีค่ะอาจารย์  Wasawat Deemarn

  •  มารับความรู้สึกดีๆที่มีให้แก่กันค่ะ
  •  ผิดเป็น..ครู ค่ะ  คุณเอก อิอิ(ขออนุญาต อ.wat.นะคะ)
  •  คำบางคำเราไม่ค่อยได้ใช้บางทีก็สับสนค่ะ หรือไม่ก็ติดคำ ทับศัพท์ในภาษาอังกฤษ
  • เป็นครูก็เคยใช้ผิดเหมือนกัน (แต่เวลาสอนเด็ก ต้องชัวร์ค่ะ)เขียนไปแล้ว พอนึกขึ้นมาได้ก็เปิดพจนานุกรม แล้วมาแก้ไข
  •  เราชอบคนรักกัน ขึ้นป้ายไว้หลายแห่งใน นครสวรรค์ อ่านแล้วมีความรู้สึกดีๆค่ะ(แทนใจด้วยดอกกุหลาบสีแดงเลยนะคะ)
  • ขอบคุณค่ะ

                                    

 

       

อาจารย์คะ

ตั้งระบบดีดครูปูไว้ป่าวคะ

โพสต์หลายรอบแล้ว บ่ขึ้นเลยเด้อ

แง ๆๆๆ

ขอบคุณครับ คุณครูจุฑารัตน์ NU 11  :)

เมื่อวานเดินทางผ่านคอนหวันด้วยครับ ... แต่ไม่ได้แวะ

Gotoknow มีระบบดีดด้วยเหรอครับ ??? ... 555

ขอบคุณครับ คุณ ครูปู  :)

พูดได้ถูกใจ มากๆๆๆ ตั้งแต่ตัวแม่ออกไปหมด ก้อเลิกดูเลย

เพาะรู้สึกว่า มันไม่ถูกต้อง เสียงดี หน้าตาก้อดี แต่เสียดาย

เกิดเป็นผู้หญิง น่าสงสารที่สุด

ขอบคุณท่าน แฟนคลับ Af ที่แวะเข้ามาเยี่ยมบันทึกนี้:)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท