เงินหรือประโยชน์ใดๆ จากกองทุนสำรองเลียงชีพ ถือเป็นรายได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มีข้อยกเว้นตามข้อ 55 ของเอกสารเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี ของกรมสรรพากรอยู่สามกรณีคือ
55. เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ลูกจ้างได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพหรือตายดังนี้
(1) กรณีเกษียณอายุลูกจ้างผู้นั้นต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ และเป็นสมาชิก กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือ
(2) กรณีทุพพลภาพ ต้องเป็นกรณีที่แพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและ แสดงความเห็นว่าลูกจ้างผู้นั้นไม่สามารถที่จะทำงานในตำแหน่งหน้าที่ซึ่ง ปฏิบัติอยู่นั้นต่อไป ไม่ว่าเหตุทุพพลภาพนั้นจะเกิดเนื่องจากการปฏิบัติงานให้แก่นายจ้างหรือไม่ ก็ตาม
(3) กรณีตาย ไม่ว่าการตายนั้นจะเกิดจากการปฏิบัติงานให้แก่นายจ้างหรือไม่
คงไม่มีใครไม่อยากออกจากกองทุนมาด้วย วงเล็บ (2) กับ (3) แต่ประเด็นของ (1) เป็นประเด็นที่จะต้องพิจารณา-วางแผนล่วงหน้าสำหรับท่านที่คิดจะเกษียณอายุก่อนกำหนด
ในขณะนี้ตามคำวินิจฉัยของกรมกรรพากรที่ 706/3494 การเกษียณอายุแบบที่ไม่ต้องนำเงินหรือประโยชน์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาคิดเป็นรายได้พึงประเมิน จะต้อง
- มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
- เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
- ครบกำหนดการทำงานกับนายจ้าง ทั้งนี้ การครบกำหนดการทำงานมีได้ 2
กรณี คือ
(1) กรณีเกษียณอายุตามที่นายจ้างกำหนดไว้ในข้อบังคับการทำงาน หากนายจ้างกำหนดเกษียณอายุไว้น้อยกว่า 55 ปี จะเป็นผลให้ลูกจ้างที่ได้รับเงินจากกองทุนไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ แต่หากนายจ้างกำหนดเกษียณอายุไว้มากกว่า 55 ปี กรณีลูกจ้างจะได้รับยกเว้นภาษี ลูกจ้างจะต้องทำงานจนครบอายุเกษียณตามที่นายจ้างกำหนดไว้ในข้อบังคับการ ทำงานเท่านั้น
(2) กรณีสิ้นกำหนดเวลาการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน ลูกจ้างจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ต่อเมื่อลูกจ้างได้ทำงานจนครบเวลาที่กำหนด ไว้ในสัญญาจ้างแรงงานแล้วเท่านั้น
ในกรณีนายจ้างยอมให้ลูกจ้างเกษียณก่อนกำหนดอายุเกษียณ (Early Retirement) จะพิจารณาว่า เป็นการครบกำหนดการทำงานตามข้อ 3. ก็ต่อเมื่อนายจ้างได้ระบุหลักเกณฑ์การอนุญาตให้มี Early Retirement ไว้ในข้อบังคับการทำงานอย่างชัดเจนโดยไม่ต้องมีการใช้ดุลพินิจเพิ่มเติม เช่น กำหนดว่า "นายจ้างจะอนุญาตให้พนักงานเกษียณก่อนอายุได้ หากพนักงานมีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไปและทำงานกับนายจ้างมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี" ทั้งนี้ หากนายจ้างมีลักษณะตามองค์ประกอบในข้อ 1. และ 2. ข้างต้น ก็จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์การยกเว้นภาษีสำหรับเงินที่ลูกจ้างได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หากไม่เข้าเกณฑ์เหล่านี้ แล้วต้องออกจากงาน หรือเลิกทำงานก่อนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะต้องนำมาคำนวณรายได้พึงประเมิน และเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา -- ซึ่งหากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเงินก้อนโต ก็จะต้องเสียภาษีในอัตราสูง อย่าเพิ่งฝันหวานว่าจะเอาเงินทั้งหมดไปทำอะไร